skip to Main Content

เวียงสระ เวียงสระ สุราษฎร์ธานี

ประวัติความเป็นมาของชุมชน

เมืองโบราณเวียงสระ ปัจจุบันตั้งอยู่อยู่ 7 ตำบลเวียงสระ อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี ความเป็นมา ยังไม่ชัดเจนมากหนัก ทั้งที่นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี ให้ความสนใจและพยายามศึกษาค้นคว้า มีเนื้อที่ 386 ไร่ 1 งาน 15.38 ตารางวา มีลักษณะเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นเมืองที่มี น้ำ ล้อมรอบ แบ่งตัวเมืองออกเป็นสองส่วนเกือบเท่ากัน ทางด้านทิศเหนือใช้ลำน้ำคลองตาลเป็น คู่เมือง ด้านทิศตะวันตกใช้ลำแม่น้ำตาปีเดิม (แม่น้ำหลวง) เป็นแนวคู่และท่าเรือ ส่วนด้านทิศ ตะวันออกและทิศใต้ มีการขุดคูชักน้ำจากลำน้ำทั้งสองเข้ามา  มีตำนานเมืองเวียงสระเล่าว่า เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 – 12 ได้มีพราหมณ์ 2 คนพร้อมด้วยอาจารย์อีก 2 ท่าน กับ สมัครพรรคพวกอีกประมาณ 30,000 คน ได้ล่องเรือลงมาทางใต้ ได้ขึ้นบกที่เมืองตะโกลา (เมืองตะกั่วป่า ปัจจุบัน) และล่องลงมาตามลำน้ำตะกั่วป่า มาตั้งเมืองที่บ้านน้ำรอบบริเวณ ริมคลองพุมดวง ได้ตั้งชื่อเมืองว่า ระวะตี (บางท่านว่า ชื่อ ทวาราวดี) เนื่องจากเกิดไข้ห่าระบาดจึงอยู่ได้ไม่นาน ก็ได้อพยพมาตั้งเมืองที่ เมืองเวียงสระ ซึ่งอยู่ใกล้แม่น้ำ และได้ขุดคูเป็นปราการรอบเมือง เพื่อให้น้ำเข้ามาได้เมืองเวียงสระสมัยนั้นเจริญมาก  ต่อมาเมืองเวียงสระเกิดไข้ห่าหนีไปเขา ชวาปราบ (อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่) อยู่ที่นั้นจนเห็นว่าไข้ห่าหมดแล้วก็กลับมาเมือง เวียงสระอีก ต่อจากนั้นมีนายพรานคนหนึ่ง ชื่อพรานสุรีย์ไปพบพระบรมธาตุเข้า พระยาศรี ธรรมโศกราชจึงยกไพร่พลช้างม้าไปสร้างพระธาตุที่เมืองนครศรีธรรมราช และครองเมืองต่อไป

ขนาดและที่ตั้งของตำบล เทศบาลตำบลเวียงสระ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเวียงสระ และบางส่วนของตำบลบ้านส้อง เทศบาลตำบลเมืองเวียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงสระ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเวียงสระ) มีพื้นที่ประมาณ 4.25 ตาราง กิโลเมตรหรือประมาณ 2,500 ไร่ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มลำคลองตาล มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 38 เมตร ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 2,3,4,5,6,7,9,และ 10 จำนวนหมู่บ้านในเขตเทศบาลเมืองเวียงเที่เต็มทั้งหมู่บ้านมีจำนวน 2 หมู่บ้านได้แก่ หมู่ที่ 1,8 ตำบลเวียงสระ  โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้ ทิศเหนือติดต่อกับ อบต. เวียงสระ อำเภอเวียงสระ ทิศใต้ติดต่อกับ เทศบาลตำบลเขานิพันธ์ อำเภอเวียงสระ ทิศตะวันออกติดต่อกับ เทศบาลตำบลบ้านส้อง อำเภอเวียงสระ ทิศตะวันตกติดต่อกับ เทศบาลตำบลทุ่งหลวง อำเภอเวียงสระ

ลักษณะภูมิประเทศ ตำบลเวียงสระมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม และที่ราบสูง ริมคลองตาลเป็นคลองที่มีต้นกำเนิดจากเขากระเบียด และเขาพรุกำ ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของชุมชน มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 38 เมตร ลักษณะภูมิอากาศมี  2  ฤดู  คือ ฤดูร้อน อยู่ในช่วงเดือน มกราคม ถึง เมษายน และ ฤดูฝน อยู่ในช่วงเดือน พฤษภาคม ถึง ธันวาคม

ทรัพยากรธรรมชาติ มีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ที่ยังต้องอาศัยน้ำฝน โดยส่วนใหญ่ปริมาณน้ำฝนตกน้อยเป็นภาวะฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำฝนค่อนข้างเล็กน้อยจึงทำให้ผลผลิตทาง การเกษตรเกือบทุกชนิดมีปัญหา ได้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นยางพารา ปาล์มน้ำมัน ผลไม้ หรือพืชไร่ แหล่งน้ำธรรมชาติจะมี คลองตาลโดยคลองตาลเป็นแม่น้ำไหลลงแม่น้ำตาปี เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ

แม่น้ำที่สำคัญได้แก่ คลองเสียว คลองสูญ คลองน้ำเฒ่า คลองตาล โดยคลองตาลจะเชื่อมต่อกับแม่น้ำตาปี การคมนาคม ขนส่ง  สภาพการคมนาคมขนส่ง  ส่วนใหญ่ค่อนข้างสะดวก โดยมีถนนที่ใช้ในการสัญจรไปมาดังนี้- ทางหลวงแผ่นดินสาย  41     เป็นถนนลาดยาง 6   ช่องจราจร- ทางหลวงแผ่นดินสาย  4009  เป็นถนนลาดยาง 4 ช่องจราจร- ทางหลวงแผ่นดินสาย  4015  เป็นถนนลาดยาง 2 ช่องจราจร

– ถนนลาดยางและถนนคอนกรีตเสริมเหล็กในเขตเทศบาล- ถนนลูกรัง,ถนนหินคลุกในเขตเทศบาล

ด้านการปกครองแบ่งเขตการปกครอง เป็น 10 หมู่บ้านประกอบด้วยหมู่บ้าน หมู่1 บ้านหัวสะพาน กำนันตำบล นายณรงค์  ยังชู หมู่2 บ้านดอนเหรียง ผู้ใหญ่บ้าน นายธงชัย ชูทัพ หมู่3 บ้านควนบก ผู้ใหญ่บ้าน นายพีระยุทธ์  ชัยสิทธิ์ หมู่4 บ้านควน ผู้ใหญ่บ้าน นายสำราญ ชัยสวัสดิ์ หมู่5 บ้านไร่ใต้ ผู้ใหญ่บ้าน นายรังสรรค์ ทองนา หมู่6 บ้านทุ่งกรูด ผู้ใหญ่บ้าน นายปราโมทย์  เลื่อนศิริ หมู่7 บ้านเวียง  ผู้ใหญ่บ้าน นายจงจิตร อภิชาตกุล หมู่8 บ้านคลองตาล  ผู้ใหญ่บ้าน นายศรันย์  รัชชู  หมู่9 บ้านหนองโสน ผู้ใหญ่บ้าน นายอุรพงศ์  คะเชนทร์ หมู่10 บ้านคลองเสียว ผู้ใหญ่บ้าน นายโกศล สุขเกษม

ด้านประชากรจำนวนประชากรใน ตำบลเวียงสระ จำนวนประชากร : 10339 คนเพศชาย 5038 คน    เพศหญิง 5301 คน  จำนวนหลังคาเรือน : 4559 หลังคาเรือนด้านการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง คือ  – ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลเมืองเวียง ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 โรงเรียนประถมศึกษา 5 แห่ง คือ – โรงเรียนบ้านหัวสะพานมิตรภาพที่217 ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 – โรงเรียนบ้านไทรห้อง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 – โรงเรียนวัดเวียงสระ ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 – โรงเรียนวัดคลองตาล ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 – โรงเรียนบ้านหนองโสน ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง คือ – โรงเรียนเวียงสระ ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 กศน.ตำบลเวียงสระ ตั้งอยู่หมู่ที่ 8ด้านศาสนาการนับถือศาสนา ประชากรส่วนใหญ่ 97 % นับถือศาสนาพุทธ วัด จำนวน 2 วัด คือ วัดคลองตาล, วัดเวียงสระ โบสถ์คริสต์ จำนวน 2 แห่ง คือ  – บริเวณสามแยกกสิกร – ชุมชนหน้าสถานี

ภูมิปัญญาท้องถิ่นภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลเวียงสระ มีภูมิปัญญท้องถิ่นด้านต่าง ๆ ดังนี้

1.แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาการตีเหล็ก – การตีเหล็กบ้านหนองโสน ตั้งอยู่ บ้านนายอรุณ เกิดขาว – การตีเหล็กบ้านควน ตั้งอยู่ บ้านนายสุชาติ ทำชี – การตีเหล็กบ้านไร่ใต้ ตั้งอยู่ บ้านนายประเสริฐ คงลำพูน

2.แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านอาชีพจักสาน – ภูมิปัญญาบ้านทุ่งกรูด เป็นกลุ่มผู้สูงอายุและแม่บ้าน

ที่ได้รับการสืบทอดภูมิปัญญาการจักสานเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือน  – ภูมิปัญญาการจักสานบ้านนางฉิ้ม หนองลุง เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาการสานเครื่องใช้ประเภท ตะกร้า กระบุง เสื่อ และของเล่น เช่น ปลา งู นก ตั๊กแตน เป็นต้น  – ภูมิปัญญาการจักสานบ้านคลองเสียว ครูภูมิปัญญา คือยายแตงและยายม้วน เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาการจักสานจาก ก้านมะพร้าว ไม้ไผ่และหวายประเภท ตะกร้า กระบุง ข้อง นางและค้อมไก่เป็นต้น3.แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาอาชีพการร้อยลูกปัดมโนราห์ การประดิษฐ์ – การร้อยลูกปัดมโนราห์บ้านนางพรจิต ชูชื่น เช่นการร้อยควาน สร้อยข้อมือ ปิ่นปักผม และเข็มขัด เป็นต้น – การเย็บปักถักร้อยและการร้อยลูกปัดมโนราห์ บ้านนางพรศรี เอกราช เป็นการเย็บปักเครื่องประดับและของใช้ในจนสามารถจำหน่ายสร้างอาชีพได้4.แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านการก่อสร้าง ช่างไม้- บ้านนายสนิท ศรีเชื้อ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ – บ้านนายทวี ทองรอด เป็นแหล่งเรียนรู้การทำไม้เท้าและสลักบ้านควนบก – บ้านคลองเสียว แหล่งเรียนรู้การทำกรงนก

ด้านพิธีกรรมความเชื่อ- บ้านของตาซีด บุญเกลี้ยง บ้านหนองโสน เป็นครูภูมิปัญญาและนายชอบ ทองจิม อดีตผู้ใหญ่บ้าน ความเชื่อการทำพิธีกรรมในวาระต่างๆ ของชีวิตตั้งแต่การเกิด การแต่งงาน การบวช การขึ้นบ้านใหม่ – บ้านลุงจาบ บ้านหัวสะพาน เป็นครูภูมิปัญญา ที่ได้รับความเชื่อถือจากชาวบ้านทั้งในและนอกชุมชน ที่ความเชื่อว่าจะเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและครอบครัว – บ้านนายณรงค์ อนุกูล ที่บ้านเวียง หมู่ที่ 7 หน้าที่หลักในงานประเพณีเข้าฐานวัดใน ซึ่งเป็นประเพณีประจำถิ่นที่มีความสำคัญของคนเมืองเวียงสระ

ระเพณีวัฒนธรรม

1. งานวันขึ้นปีใหม่ 2. งานวันเด็ก 3. วันมาฆบูชา 4. งานประเพณีการเข้าฐานวัดใน 5. ประเพณีสงกรานต์ 

6. ประเพณีจบปี – จบเดือน 7. วันวิสาขบูชา 8. วันเข้าพรรษา 9. วันแม่แห่งชาติ10. วันสาทรไทย 11. วันหมับใหญ่ หรือวันฉลองหมับ 12. วันออกพรรษา13. ลอยกระทง  14. ส่งท้ายปีเก่า  โครงสร้างเศรษฐกิจและอาชีพ ด้านการเกษตรประชาชนในตำบลเวียงสระ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้ เช่น ทุเรียน เงาะโรงเรียน มังคุด เป็นต้น บางส่วนมีการปลูกพืชไร่ ปลูกพืชผักสวนครัวไว้รับประทานและจำหน่าย  ด้านการปศุสัตว์ประชาชนที่ทำการเกษตรส่วนมากจะเลี้ยงสัตว์พันธุ์ดีๆ และมีการคำนึงถึงผลประโยชน์ ส่วนใหญ่จะเลี้ยงสัตว์ไว้บริเวณครัวเรือน เช่น สุกร ไก่ เป็ด ที่เหลือจากการบริโภคจะจัดจำหน่าย ส่วนการเลี้ยงโค กระบือ จะเลี้ยงเพื่อจำหน่ายไว้บางส่วนผลิตภัณฑ์ชุมชนสบู่น้ำผึ้งเพื่อสิ่งแวดล้อม ปี 2560 ได้มีการริเริ่มการคิดและทดลองการทำสบู่ไว้ใช้กันเองในชุมชนต่อมา ปี 2561 เริ่มเป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น เพราะมีการจัดบูทที่อำเภอ เกษตร จึงได้มีการนำสบู่น้ำผึ้งเพื่อสิ่งแวดล้อมไปวางที่บูทและได้รับความสนใจจึง มีการจัดทำตามออเดอร์ และมีการบอกต่อใน กยธ. กศน. ปี 2563 เริ่มมีความชะงักต้นปีเนื่องจากเหตุการณ์โควิด 19 จึงทำให้ไม่มีออเดอร์ของสบู่น้ำผึ้งเพื่อสิ่งแวดล้อม ปี 2564 ได้มีการพัฒนาจัดทำในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้าน ม.7 เนื่องจากในตำบลเวียงสระมีความอุดมด้วยน้ำผึ้ง ทางกลุ่มแม่บ้านจึงเห็นความสำคัญของน้ำผึ้งที่มีประโยชน์ต่อการดูแลผิว คนในจึงคิดการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สบู่น้ำผึ้งเพื่อสิ่งแวดล้อมขึ้นมา เพื่อเสริมสร้างรายได้ให้แก่คนในตำบล จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ เป็นสบู่ที่ทำขึ้นมาจากวัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีสรรพคุณช่วยในเรื่อง สิวฝ้ากระจุดด่างดำ ผลัดเซลล์ผิวเก่าสร้างเซลล์ผิวใหม่ จากธรรมชาติ 100%แหล่งท่องเที่ยว เมืองโบราณเวียงสระ เป็นเมืองและแหล่งชุมชนโบราณแห่งหนึ่งทางภาคใต้ เชื่อกันว่าเมืองเวียงสระมีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 7 จดหมายเหตุจีน กล่าวถึงเมืองพัน – พัน ว่าได้มีการติดต่อส่งทูตไปยังราชสำนักจีนในสมัยราชวงศ์เหลียง เมื่อราว พ.ศ.967 เมืองเวียงสระเจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน แต่ช่วงเวลาดังกล่าวไม่มีหลักฐานการจารึกที่แน่ชัดว่ามีกษัตริย์ปกครองบ้านเมืองสืบต่อกันมาอย่างไร แต่มีหลักฐานทางโบราณวัตถุที่พอจะยืนยันได้แน่ชัดว่า เมืองนี้ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนาจากอินเดียแน่นอน และเชื่อกันว่าการล่มสลายของเมืองเวียงสระน่าจะเนื่องมาจากการเกิดไข้ห่าระบาด บริเวณเมืองเวียงสระได้พบหลักฐานทางด้านโบราณคดีมากมาย

ซึ่งมีตั้งแต่เครื่องมือหินสมัยก่อนประวัติศาสตร์และยุคต่อเนื่อง เรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทำให้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าชุมชนโบราณเวียงสระนั้นได้มีการพัฒนาการต่อเนื่องเรื่อยมา ทั้งเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่และมีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีค่อนข้างสูง หลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุในอดีตมีอายุมากกว่า 1000 ปี มีดังนี้ เครื่องมือหินสมัยก่อนประวัติศาสตร์ พระพุทธรูป หินทรายแดงนูนสูง เทวรูปพระวิษณุหรือพระนารายณ์สวมหมวกทรงกระบอกทำด้วยศิลา พระวิษณุหรือพระนารายณ์ 4 กร พระ-วฑุกะไภลพ ซึ่งเป็นบริเวณเมืองเวียงสระและบริเวณรายรอบนั้นก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความเจริญรุ่งเรืองในด้านความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ และพุทธศาสนาลัทธิมหายานได้เป็นอย่างดี

แหล่งโบราณสถานวัดเวียงสระ มีเนื้อที่ทั้งหมด 281 ไร่ 1 งาน 84 ตารางวา ปัจจุบันกรมศิลปากรสาขาที่ 8 จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้จดทะเบียนไว้แล้วเมื่อเดือน มกราคม 2527 เชื่อกันว่า เป็นวัดสร้างใหม่หลังจากการสร้างเมืองเวียงสระ เดิมเป็นวัดร้าง ตั้งติดกับคูเมืองเวียงสระโบราณ ภายในวัดมีสระน้ำวิหารอุโบสถ และกุฏิสงฆ์ ในสระน้ำ เมืองเวียงสระ เป็นเมืองที่มี ชื่อเสียงและมีความสำคัญทางศาสนาและประวัติศาสตร์ ซึ่งเชื่อกันว่าเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 10 -16 มีอาณาจักรแห่งหนึ่งมีอำนาจและมีอิทธิพลมากครอบคลุมจากชุมพรไปถึงชวา เรียกอาณาจักรนี้ว่าอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองไชยา รวมทั้งเมืองเวียงสระด้วย พระพุทธรูปหินทรายแดง  สระน้ำโบราณ เจดีย์ หอไตร  หอระฆัง เทวรูปพระนารายณ์ (พระวิษณุ)คูเมืองอู่เรือหรือท่าจอดเรือ  การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ตำบลเวียงสระเป็นตำบลที่มีพื้นที่ขนาดเล็กจึงได้มีการขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นและได้มีการเปลี่ยนแปลงในด้านสภาพแวดล้อม บ้านเรือนให้ดีมากขึ้นกว่าเดิมโดยการขยับขยายพื้นที่ต่างๆ ให้น่าอยู่มากกว่าเดิมและเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านสังคมและวัฒนธรรมให้คนในชุมชนการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ตำบลเวียงสระมีการจัดทำปฏิทินประเพณีวัฒนธรรมของชุมชนเมืองเวียงสระ

ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจจะมาเรียนรู้สามารถออกเป็นช่วงเวลาในการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับช่วงเวลากิจกรรมของชุมชน และสามารถเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้กับชุมชนได้อีกด้วย มากกว่าการมาท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว

แผนที่

อินโฟกราฟิก

โครงการที่ 1

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

กิจกรรมการถ่ายทอดเพื่อยกระดับสินค้า OTOP และผลิตภัณฑ์ชุมชน (ปุ๋ยหมักจากเศษวัสดุเหลือใช้ )

มีการอบรมการทำปู๋ยหมักจากเศษใบไม้โดย ดร.วัชรี  รวยรื่น และ ดร.นรานันท์ ขำมณี ที่มาให้ความรู้ในการอบรมในครั้งนี้ โดยใช้วัตถุดิบจากขี้วัวแห้งและใบไม้แห้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้จากภายในชุมชนเพื่อลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ยเคมี และค่าใช้จ่ายอื่นๆในครัวเรือน เพราะการทำปุ๋ยหมักครั้งนี้ถ้าทำได้ทุกครัวเรือน เพื่อนำไปใช้ในการใส่ต้นไม้ ใส่พืชผักสวนครัวเป็นต้น 

และการอบรมการทำสบู่เพื่อสิ่งแวดล้อมโดยมี ดร.วัชรี  รวยรื่น และ ดร.นรานันท์ ขำมณี และท่านวิทยากรนางรัตนภรณ์ สุวรรณโชติ เป็นวิทยากรในการอบรมและเป็นหัวหน้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชน ซึ่งการอบรมในครั้งนี้เราสามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ในครัวเรือนได้อีก การทำสบู่น้ำผึ้งเพื่อสิ่งแวดล้อมครั้งนี้จะมีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก เพราะสามารถหาวัตถุดิบได้จากชุมชน มีสรรพคุณช่วยในเรื่อง : สิวฝ้ากระจุดด่างดำ ผลัดเซลล์ผิวเก่าสร้างเซลล์ผิวใหม่ จากธรรมชาติ 100%

ครงการที่ 2 

กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาชุมชนในด้านสิ่งแวดล้อมและสร้างองค์ความรู้สัมมาชีพใหม่

เพื่อเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชนโดยใช้เทคโนโลยี โดยวิทยากรทั้ง 2 ท่าน 1. ดร. วัชรี รวยรื่น 2. ผศ. ดร. พงศักดิ์ นพรัตน์ ที่มาให้ความรู้อบรมเชิงปฏิบัติการการใช้งานระบบสารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในครั้งนี้ ซึ่งการอบรมในครั้งนี้จะมีการอบรมในเรื่องของการจัดการขยะอันตราย การให้ความรู้และการทำถังขยะย่อยอินทรีย์ การจัดการกับการเผาขยะในที่โล่ง การจัดการขยะรีไซเคิล และการทำปุ๋ยหมักในเข่ง(เหมาะสำหรับในครัวเรือน) โดยให้ชาวบ้านในชุมชนนำมาปรับใช้กับครัวเรือนของตนเองดดยเริ่มจากการแยกขยะและอาหารออกจากกัน เป็นต้น

โครงการที่

กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจพอเพียงและส่งเสริมอาชีพด้านการท่องเที่ยววันที่ 6 พฤศจิกายน 2564 อาจารย์เกสสิณี ตรีพงศพันธ์ุ ที่มาให้ความรู้ ทักษะใหม่ๆในการพูดคุย ทักทาย และต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในเมืองเวียงสระของเรา และวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 ดร. วัชรี รวยรื่น ,อาจารย์ รัตนพล สุวรรณโชติ ที่มาให้ความรู้เรื่องการวางแผนเพื่อที่จะยกระดับชุมชนเมืองเวียงสระ จุดเด่น และสถานที่ต่างๆเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชุมชน ภูมิปัญญาชุมชน ประเพณีท้องถิ่น ฯลฯ และสิ่งที่เราสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนและคนในชุมชน

กิจกรรมอื่น ๆ 

1.ลงพื้นที่เก็บแบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่ วัดเวียงสระและวัดคลองตาล ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ในพื้นที่ของตำบลเวียงสระ

2.ลงพื้นที่เก็บข้อมูลครัวเรือนยากจนเพิ่มเติม 

3.เข้าร่วมอบรมออนไลน์โครงการ U2T สู้ภัย COVID (U2T COVID WEEK)

4.โครงการอบรมทักษะดิจิทัล 

5.อบรมออนไลน์โครงการกระจายความรู้สู่ผู้ประกอบการยุคใหม่ From Gen Z to be CEO 

6.อบรมทักษะการเงิน Finnacial Literacy

Facebook Page : https://www.facebook.com/U2t-เวียงสระ

E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ : https://online.pubhtml5.com

Back To Top