skip to Main Content

บางนอน เมืองระนอง ระนอง

บางนอน เมืองระนอง ระนอง อดีต ตำบลบางนอน อยู่ในเขตการปกครองของตำบลปากน้ำ แต่ประชากรและหมู่บ้านเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2490 ได้จัดตั้งตำบลบางนอนแยกออกจากตำบลปากน้ำ ซึ่งแยกออกมาปกครองตนเอง โดยที่ตำบลบางนอน อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมือง ต่อมามีประกาศกระทรวงมหาดไทย จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบางนอนตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2538 และเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2554 มีประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลบางนอน มีดวงตราประจำตำบลเป็นรูป พระพุทธรูปปางไสยาสน์ (พระนอน) ข้อมูลที่ 1 เมื่อสมัยก่อน ได้มีคนเข้ามาทำเหมืองแร่ในหมู่บ้านบางนอน โดยมีการขุดเหมืองแร่จำนวนหลายเหมือง เพราะในเขตพื้นที่บ้านบางนอนในขณะนั้นมีสายแร่ดีบุกดีอยู่เป็นจำนวนมาก อยู่มาวันหนึ่งได้พบพระพุทธรูปองค์หนึ่งอยู่ในรางเหมืองแร่ เป็นปางพระพุทธไสยาสน์ หรือพระนอน การขุดพบพระนอนในครั้งนี้ ทำให้ประชาชนในพื้นที่คิดว่าเป็นนิมิตหมายอันดี พระองค์นี้คงเป็นสิริมงคลของหมู่บ้าน จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านบางนอน” ตามที่พบพระพุทธไสยาสน์ หรือพระนอนในครั้งนั้น ต่อมาได้มีพระสงฆ์รูปหนึ่งธุดงค์ล่องเรือมาจากสงขลา ขึ้นฝั่งที่ท่าน้ำในตำบลปากน้ำ พระสงฆ์รูปนั้น ชื่อว่า หลวงพ่อด่วน ถามวโร ท่านได้สร้างวัดและหล่อพระนอนองค์ใหญ่แทนพระนอนองค์เล็กที่ขุดพบในครั้งนั้น พระนอนองค์ใหญ่ประดิษฐ์สถานอยู่ที่วัดบางนอนมาถึงปัจจุบัน ข้อมูลที่ 2 คนสมัยก่อนได้มีการสัญจรไป - มา ผ่านตำบลบางนอนต้องอาศัยทางเท้าในการเดินทาง คนส่วนใหญ่จะเดินเท้าจากเมืองระนอง เพื่อไปที่หมู่บ้านเขาทะลุ หรือจากหมู่บ้านเขาทะลุเดินทางมายังเมืองระนองใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 2 วัน เมื่อมาถึงหมู่บ้านบางนอน (บาง หมายถึง คลอง) ก็มืดค่ำพอดีและจำเป็นต้องพักค้างคืนที่หมู่บ้านแห่งนี้ รุ่งเช้าจึงออกเดินทาง ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงบอกเล่าและพูดถึงหมู่บ้าน โดยใช้ชื่อว่า “บ้านบางนอน” ข้อมูลที่ 3 สมัยก่อนมีเด็กเลี้ยงควายหลายคนที่เดินทางมาจากหมู่บ้านอื่น จูงความเข้ามากินหญ้าในหมู่บ้านบางนอน ในขณะนั้นหมู่บ้านบางนอนมีทุ่งหญ้าขนาดกว้าง ทำให้เด็กเลี้ยงควายจูงควายเข้ามากินหญ้าบ่อยครั้ง แต่เด็กจูงควายไม่ใช่คนในพื้นที่บ้านบางนอน และครั้นแต่ก่อนหมู่บ้านบางนอนมีชื่อว่า “บ้านลาวนอน” ทำให้เด็กจูงควาย ฟังและพูดผิดเพี้ยน และเล่าผู้อื่นว่า หมู่บ้านที่ตนจูงควายไปกินหญ้าบ่อยๆ มีชื่อว่าบ้านบางนอน ทำให้ผู้อื่นรู้จักและเดินทางเข้ามาในหมู่บ้าน เรียกชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านบางนอน”

บ้านนา กะเปอร์ ระนอง

บ้านนา กะเปอร์ ระนอง องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา ได้รับการยกฐานะจาก “สภาตำบลบ้านนา” เป็น “องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา” ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 113  ตอนพิเศษ ที่ 52ง ลงวันที่ 25 ธันวาคม  2539 โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป มีพื้นที่รับผิดชอบในเขตตำบลบ้านนา อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ซึ่งในปัจจุบัน มีจำนวน 8 หมู่บ้าน จนกระทั่งได้มีราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ 121 ตอนพิเศษ 111ง  ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2547 ให้ยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลเชี่ยวเหลียง เข้ากับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมีประชากรไม่ถึงสองพันคน ตาม มาตรา 41 จัตวา แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2564 ตำบลบ้านนา มี 8 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านนา หมู่ที่ 2 บ้านกลาง หมู่ที่ 3 บ้านทองหลาง หมู่ที่ 4 บ้านแพรกซ้าย หมู่ที่ 5 บ้านแพรกขวา หมู่ที่ 6 บ้านนาเดิม หมู่ที่ 7 บ้านทองหลางล่าง และหมู่ที่ 8 บ้านทรัพย์สมบูรณ์

ม่วงกลวง กะเปอร์ ระนอง

ม่วงกลวง กะเปอร์ ระนอง     ตำบลม่วงกลวงใช่วงรัชกาลที่5 แห่งราชวงศ์จักรกรี (พ.ศ2411-2453)ได้มีผู้อพยพมาจากเมืองถลาง (เกาะภูเก็ต) โดยทางเรือและได้พักอาศัยบริเวณต้นมะม่วงใหญ่ ลำต้นโพรงกลวงมีอายุประมาณ100ปี ภายหลัง ปี พศ.2430 มีหัวหน้าหมู่บ้านชื่อนายพล นิยมและนายเขียว

หงาว เมืองระนอง ระนอง

หงาว เมืองระนอง ระนองตำบลหงาว จากการบอกเล่าของคนอาวุโส เดิมเป็นตำบลเล็กๆ ที่เกิดจากการอพยพย้ายถิ่นฐานของชาวบ้านจากอำเภอกะเปอร์บางส่วน และจากจังหวัดภูเก็ตมาตั้งบ้านเรือนใกล้กับทะเลและ ที่ราบริมภูเขาซึ่งสามารถทำเหมืองแร่ ทำประมง และเลี้ยงสัตว์ ได้ตามฤดูกาล รวมทั้งการติดต่อกับ ชุมชนอื่นทางเรือได้อย่างสะดวกที่สุดต่อมาชาวบ้านเชื้อสายจีนที่เดินทางมาจากจังหวัดภูเก็ตกลุ่มใหญ่เข้ามาประกอบอาชีพทำเหมืองแร่ ชุมชนเริ่มขยายตัวขึ้น ปลูกบ้านเรือนเพิ่มขึ้นบางส่วนได้ เลี้ยงวัวไว้บริเวณเชิงเขา จึงเรียกทุ่งหญ้าเลี้ยงวัวเป็นภาษาจีนว่า "บ้านทุ่งหง่าว” ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า "ทุ่งวัวเล่น” หลังจากนั้นชาวบ้านและคนรุ่นหลังได้เรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านทุ่งหงาว” สืบต่อมา

ลำพูน บ้านนาสาร สุราษฎร์ธานี

ลำพูน บ้านนาสาร สุราษฎร์ ที่ตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลล าพูนตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลล าพูน อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

นาสาร บ้านนาสาร สุราษฎร์ธานี

นาสาร บ้านนาสาร สุราษฎร์ นาสาร เป็นตำบลแห่งหนึ่งอยู่ในท้องที่อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากเป็นท้องที่ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร และแร่ธาตุ จึงมีประชากรต่างถิ่นเคลื่อนย้ายมาตั้งบ้านเรือน

เขานิเวศน์ เมืองระนอง ระนอง

เขานิเวศน์ เมืองระนอง ระนอง “เขานิเวศน์” มาจากชื่อ “นิเวศน์คีรี” เป็นชื่อเขาที่เป็นที่ตั้งของพระที่นั่งรัตนรังสรรค์ เป็นชื่อที่รัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานเมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองระนอง ต่อมาจึงได้ตั้งชื่อเป็นตำบลเขานิเวศน์ เป็นตำบลที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองระนอง โดยเขานิเวศน์มีทั้งหมดมี 20 ชุมชน

เชี่ยวเหลียง กะเปอร์ ระนอง

  เนื่องจากสมัยก่อนยังไม่มีถนนการคมนาคมต้องใช้เรือในการสัญจรไปมาระหว่างหมู่บ้านกับอำเภอโดยใช้คลองกะเปอร์เป็นเส้นทางสัญจรซึ่งมีน้ำลึกมากมีโค้งน้ำไหลเชี่ยวและแรงมากจึงเรียกว่าเชี่ยวหลากและบริเวณนั้นมีต้นเหลียงอยู่เป็นจำนวนมากประกอบกับช่วงหลังน้ำไม่เชี่ยวแล้วชาวบ้านจึงเรียกชื่อใหม่ว่า "เชี่ยวเหลียง” มาจนถึงปัจจุบันนี้

กะเปอร์ กะเปอร์ ระนอง

กะเปอร์ กะเปอร์ ระนอง ประวัติความเป็นมาของตำบลกะเปอร์เดิมเมื่อประมาณ 300 ปี มาแล้ว มีราษฎรจำนวนหนึ่งอพยพมาจากทะเลในแถบอำเภอตะกั่วป่าจังหวัดพังงาและจังหวัดภูเก็ตเข้ามาตั้งรกรากทำไร่ ทำสวนและทำแร่ โดยครอบครัวแรกที่เข้ามา มีหัวหน้าครอบครัวเป็นหญิงหม้าย ชื่อ นาง (กะ) เปอร์ เป็นคนเชื้อสายมาเลเซียจึงสันนิษฐานได้ว่าชื่อตำบลมาจากชื่อของผู้หญิงหม้ายนางนี้ ชุมชนดั้งเดิมในกะเปอร์คือชุมชนบ้านบางปรุ ซึ่งเป็นชุมชนกลุ่มคนที่มีเชื้อสายจีนมาตั้งรกรากอยู่ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี และในปี พ.ศ. 2311 มีการสร้างวัดชื่อว่าวัดปทุมธาราราม 

ทรายแดง เมืองระนอง ระนอง

ทรายแดง เมืองระนอง ระนอง จากอดีตกาลนานมาแล้ว บริเวณลำคลองที่จะเข้าสู่หมู่บ้าน จะมีหาดทรายเป็นสีแดงทอดเป็นทางยาวมากชาวบ้านจึงเรียกชื่อว่าหาดทรายแดง แต่มาตอนหลังการเข้าออกของเรือที่ผ่านไปมาไม่สะดวก เพราะความตื้นเขินของหาดทราย จึงมีการขุดลอกคลองใหม่โดยการดูดทรายทิ้ง จึงไม่มี หาดทรายสีแดงให้เห็นอีก แต่ชาวบ้านยังเรียกกันต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบันนี้ว่า "บ้านทรายแดง”
Back To Top