skip to Main Content

ปากทรง พะโต๊ะ ชุมพร

ปากทรง พะโต๊ะ ชุมพร ตำบลปากทรง เหตุที่ชาวบ้านเรียกชื่อนี้ สันนิษฐานว่า เจ้าเมืองระนองและเจ้าเมืองหลังสวนเป็นญาติกัน การเดินทางไปเยี่ยมเยียนกันในสมัยก่อนนั้น ไม่มีถนนจึงต้องทรงช้างไปเมืองหลังสวน เมื่อมาถึงปากแม่น้ำก็ต้องลงเรือต่อไปอีก ชาวบ้านเห็นเจ้าเมืองทรงช้างมาลงเรือที่ปากแม่น้ำ จึงเรียกบริเวณนี้ว่า "ปากทรง" และได้ยกเป็นตำบลมาจนถึงทุกวันนี้

พะโต๊ะ พะโต๊ะ ชุมพร

พะโต๊ะ พะโต๊ะ ชุมพร เมืองพะโต๊ะเป็นเมืองโบราณในอาณาจักรศรีวิชัย มีหลักฐานปรากฏในจดหมายเหตุของชาวจูเกาะ พ.ศ. 1766 และในพงศาวดารจีนราชวงศ์สูง พ.ศ. 1503- 1822 โดยแต่เดิมเมืองพะโต๊ะมีชื่อว่า “เมืองปะตา” ที่แปลว่า ตกหรือเหว

ปังหวาน พะโต๊ะ ชุมพร

ปังหวาน พะโต๊ะ ชุมพร  ตำบลปังหวาน  แต่เดิมเรียกชื่อว่า บ้านมะปรางหวาน ซึ่งมีความเป็นมา ดังนี้ เมื่อก่อนการคมนาคมส่วนมากจะเป็นทางน้ำ โดยมีแม่น้ำสายหลัก คือ แม่น้ำหลังสวน และมีน้ำที่ใหญ่มาก มีหาดทรายกว้าง เป็นที่จอดเรือและแพเพื่อพักแรม และทานอาหาร โดยที่ท่าน้ำที่มีผู้มาจอดพักมีต้นมะปรางหวานต้นใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง ซึ่งเรียกท่าน้ำนี้ว่า ท่าน้ำมะปรางหวาน นามมาก็เพี้ยนมาเป็นบ้านปังหวาน

พระรักษ์ พะโต๊ะ ชุมพร

พระรักษ์ พะโต๊ะ ชุมพร    ประวัติความเป็นมาชาวบ้านเล่าว่า เมื่อก่อนบริเวณนี้เป็นป่าที่มีความร่มรื่นมาก  ใครเดินไปมามักจะนอนพักบริเวนนี้และยังมีชาวบ้านเล่าว่ามีพระธุดงค์มักชอบเดินเข้าไปในป่าเพื่อปักกรดหาไม่เว้นแต่ละวัน และมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ชาวบ้านเห็นว่ามีพระภิกษุจำนวนมากและคิดว่าพระรักษาคุ้มครอง จึงเรียกติดปากว่า พระรักษ์ จนถึงปัจจุบัน
Back To Top