skip to Main Content

ลีเล็ด พุนพิน สุราษฎร์ธานี

ประวัติความเป็นมาของชุมชน

ความเป็นมาของตำบลลีเล็ด ในสมัยที่มีหัวเมืองขยายเป็นศูนย์กลางการปกครอง ขึ้นตรงกับสมัยกรุงศรีอยุธยา (ก่อน พ.ศ. 2439) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า (ร.5) ทรงเสด็จไปบ้านดอน (ทางเรือ) ทรงเห็นว่าคลองสายนี้เป็นทางลัดที่ใกล้กว่า ซึ่งทรงเสด็จไปตามคลองสายนี้ และได้ให้ชื่อว่า “คลองลัด”ชาวบ้านในคลองลัดซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพทำไร่ข้าว มีชาวจีนมาล่องเรือรับซื้อข้าวอยู่เป็นประจำ ขาวจีนจึงเรียกคลองลัดเพี้ยนไปเป็นคลองเล็ด ต่อมามีการปกครองระบบหัวเมือง ได้มีการตั้งหัวเมืองพุนพินขึ้นตรงกับเมืองไชยา โดยมีหลวงประเทศสาคร (คร่ำ เครือรัตน์) เป็นผู้ปกครอง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2439 สมัย ร.5 ทรงปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น โดยรวมอำนาจเข้ากับส่วนกลาง ทรงริเริ่มระบบการปกครองแบบหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด เป็นครั้งแรกที่บางปะอิน จังหวัดอยุธยา ในปี พ.ศ. 2445 มีการตั้งเป็นตำบลลีเล็ด มีขุนลีเล็ดลัทธิกิจ (นาค ธดากุล) เป็นกำนันคนแรก ในสมัยนี้ชาวบ้านในตำบลลีเล็ดจากที่เคยมีอาชีพทำไร่ข้าวปนกับสวนมะพร้าว เริ่มหันมาทำนา การทำไร่จึงหมดไป ส่วนในคลองชาวบ้านไม่กล้าลงไปหาปลาเพราะมีจระเข้ชุกชุมมาก ชาวบ้านที่อยู่ริมคลองต้องใช้ไม้กั้นเป็นคอกเพื่อลงไปอาบน้ำ ต่อมาไม่นานก็มีพวกแขกมารับซื้อจระเข้ ชาวบ้านจับจระเข้ ขายจนหมด ในที่สุดก็สูญพันธุ์ เมื่อในคลองไม่มีจระเข้ชาวบ้านก็เริ่มหันมาทำอาชีพประมงพื้นบ้าน นาข้าว กลายเป็นสวนมะพร้าวมาจนถึงปัจจุบัน อาชีพที่สำคัญของชาวลีเล็ดคือ การทำประมงกับวัดเก่าแก่ของตำบลลีเล็ดคือ วัดบางพลา เดิมชื่อ “วัดแก้วประดิษฐารา” สมัยนั้นบริเวณวัดมีต้นพลาชุกชุม ชาวบ้านจึงเรียกว่า วัดบางพลาจนติดปาก สันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 100 ปี โบสถ์หลังการฝังลูกนิมิต 2 ครั้ง ครั้งแรกเกิดเสมาวิบัติบวชพระไม่เป็นองค์ ประมาณปี พ.ศ. 2450 จึงมีการขุดลูกนิมิตขึ้นมาแล้วทำพิธีฝังลงใหม่ ซึ่งมีพ่อท่านครื้นเป็นเจ้าอาวาสในสมัยนั้น องค์เจดีย์มีอายุประมาณ 100 กว่าปี

แผนที่

อินโกราฟิก

โครงการที่ 1 

ในวันที่ 4 และ 5 ตุลาคม พุทธศักราช 2564 ที่ผ่านมา ทางวิศวกรสังคมตำบลลีเล็ดได้จัดกิจกรรมโครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการการฝึกทักษะอาชีพ (การทำกล้วยฉาบและลูกจากลอยแก้ว) ซึ่งจัดขึ้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลีเล็ด โดยในกิจกรรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากอาจารย์ธิติ พานวัน และอาจารย์สิทธิชัย ชีวะโรรส อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการเป็นประธานในพิธีเปิด และได้รับเกียรติจากท่านผู้อำนวยการธีรชาติ ชิตจุ้ย ผอ.รพ.สต.ตำบลลีเล็ด เป็นผู้กล่าวปิดโครงการ 

ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้วัตถุประสงค์หลักคือ ด้านการพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับ สินค้าOTOP) โดยเป็นการนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (Health Care/เทคโนโลยีด้านต่างๆ) และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy(การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน) ให้ตําบลลีเล็ดมีสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและเป็นการหารายได้ให้ชาวบ้านในตําบลอีกด้วย ในการจัดกิจกรรมครั้งผ่านไปได้ด้วยดีจากความร่วมมือของทุกๆผ่าน ไม่ว่าจะเป็นทีมผู้จัด เจ้าหน้าที่ และผู้เข้าร่วมโครงการ

โครงการที่ 2 

ในเช้าวันที่11 ตุลาคม พุทธศักราช 2564 ที่ผ่านมา ทีมวิศวกรสังคมตำบลลีเล็ดและทีมนักศึกษาฝึกงานจากสาขารัฐประศาสนศาสตร์ ประชาชนในพื้นที่บางส่วน ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฎิบัติการการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของพื้นที่บริเวณศูนย์เรียนรู้ป่าชายเลนบ้านห้วยทรัพย์ โดยแบ่งกิจกรรมเป็น2วัน วันที่1เป็นการเล่าสตอรี่ตำบล วันที่2เป็นการเที่ยวชมศูนย์การเรียนรู้และบรรยาย ในกิจกรรมครั้งนี้ได้รับเกียรติและการอำนวยความสะดวกจากผู้ใหญ่สุชาติ รักเดช ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่4บ้านห้วยทรัพย์ ในการพบปะและให้ข้อมูลบางส่วน

สาเหตุของการเริ่มต้นกิจกรรมในครั้งนี้ตำบลลีเล็ดมีทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ สวยงามและเป็นแหล่งพันธุ์สัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์ มีการเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของหอยแครง หอยแมลงภู่ เป็นจำนวนมากนอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอาหารทะเลสด ๆ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นครัวทะเลของอำเภอพุนพิน ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลลีเล็ดเป็นที่รู้จักในเรื่องของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติป่าชายเลน และการชิมอาหารทะเลสด ๆ หลากหลาย การปลูกป่าชายเลน การชมหิ่งห้อย ชมนก ลิงหางยาว การล่องเรือชมทัศนียภาพ และวิถีชีวิตของชาวประมง การชมหมู่บ้านโฮมสเตย์ การเดิน walk way เพื่อศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลนดังนั้น ทีมวิศวกรสังคมจึงจัดโครงการยกระดับเศรษฐกิจของตําบลลีเล็ด อําเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์คือ ด้านการสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการท่องเที่ยว) ให้ตําบลลีเล็ดมีสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและเป็นการหารายได้ให้ชาวบ้านในตําบลอีกด้วย

โครงการที่ 3 

ในเช้าวันที่11 ตุลาคม พุทธศักราช 2564 ที่ผ่านมา ทีมวิศวกรสังคมตำบลลีเล็ดและทีมนักศึกษาฝึกงานจากสาขารัฐประศาสนศาสตร์ ประชาชนในพื้นที่บางส่วน ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฎิบัติการการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของพื้นที่บริเวณศูนย์เรียนรู้ป่าชายเลนบ้านห้วยทรัพย์ โดยแบ่งกิจกรรมเป็น2วัน วันที่1เป็นการเล่าสตอรี่ตำบล วันที่2เป็นการเที่ยวชมศูนย์การเรียนรู้และบรรยาย ในกิจกรรมครั้งนี้ได้รับเกียรติและการอำนวยความสะดวกจากผู้ใหญ่สุชาติ รักเดช ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่4บ้านห้วยทรัพย์ ในการพบปะและให้ข้อมูลบางส่วน

สาเหตุของการเริ่มต้นกิจกรรมในครั้งนี้ตำบลลีเล็ดมีทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ สวยงามและเป็นแหล่งพันธุ์สัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์ มีการเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของหอยแครง หอยแมลงภู่ เป็นจำนวนมากนอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอาหารทะเลสด ๆ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นครัวทะเลของอำเภอพุนพิน ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลลีเล็ดเป็นที่รู้จักในเรื่องของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติป่าชายเลน และการชิมอาหารทะเลสด ๆ หลากหลาย การปลูกป่าชายเลน การชมหิ่งห้อย ชมนก ลิงหางยาว การล่องเรือชมทัศนียภาพ และวิถีชีวิตของชาวประมง การชมหมู่บ้านโฮมสเตย์ การเดิน walk way เพื่อศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลน

ดังนั้น ทีมวิศวกรสังคมจึงจัดโครงการยกระดับเศรษฐกิจของตําบลลีเล็ด อําเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์คือ ด้านการสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการท่องเที่ยว) ให้ตําบลลีเล็ดมีสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและเป็นการหารายได้ให้ชาวบ้านในตําบลอีกด้วย

โครงการที่ 4 

ในวันที่ 16 และ 17 พฤศจิกายน 2564 ไม่นานมานี้เอง ทีมวิศวกรสังคมตำบลลีเล็ดร่วมกับกศน.ตำบลลีเล็ด จัดกิจกรรมส่งเสริมและอนุรักษ์ป่าชายเลนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ในการดำเนินกิจกรรมครั้งนี้เป็นการฟังบรรยายจากวิทยากรคุณดวงใจ นิยาภรณ์ และคุณศิรินันท์ นิยายภรณ์ ในหัวข้อส่งเสริมและอนุรักษ์ป่าชายเลน จากนั้นก็ได้ร่วมกันทำกิจกรรมศูนย์เรียนรู้เพื่อมอบให้เป็นการเรียนรู้แก่เด็กๆในโรงเรียนบริดเวณใกล้เคียง วัตถุประสงค์หลักในกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อให้เกิดแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์ป่าชายเลนซึ่งเป็นหัวใจหลักของพื้นที่ตำบลลีเล็ด สร้างความรัก ความหวงแหน แก่ทรัพยากรธรรมชาติที่แสนมีค่าให้คงอยู่ในพื้นที่สืบต่อไป ในการจัดกิจกรรมทุกครั้งของทีมจะการตรวจวัดอุณหภูมิและบริการเจลล้างมือแอลกอฮอล์จากเจ้าหน้าที่อสม.ในพื้นที่ทุกครั้ง ขอขอบคุณไว้ในโอกาสนี้ด้วย

กิจกรรมอื่น ๆ 

1.ปลูกฟ้าทะลายโจร,U2Tโควิค,ลงพื้นที่เพื่อสอบถามเรื่องอาชีพ

Facebook Page : https://www.facebook.com/wisawakonsangkomleeled

E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ : https://online.pubhtml5.com/xvgl/okye/#p=1

Back To Top