skip to Main Content

บ้านนา กะเปอร์ ระนอง

บ้านนา กะเปอร์ ระนอง 

ประวัติตำบล

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา ได้รับการยกฐานะจาก “สภาตำบลบ้านนา” เป็น “องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา” ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 113  ตอนพิเศษ ที่ 52ง ลงวันที่ 25 ธันวาคม  2539 โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป มีพื้นที่รับผิดชอบในเขตตำบลบ้านนา อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ซึ่งในปัจจุบัน มีจำนวน 8 หมู่บ้าน จนกระทั่งได้มีราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ 121 ตอนพิเศษ 111ง  ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2547 ให้ยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลเชี่ยวเหลียง เข้ากับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมีประชากรไม่ถึงสองพันคน ตาม มาตรา 41 จัตวา แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2564 ตำบลบ้านนา มี 8 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านนา หมู่ที่ 2 บ้านกลาง หมู่ที่ 3 บ้านทองหลาง หมู่ที่ 4 บ้านแพรกซ้าย หมู่ที่ 5 บ้านแพรกขวา หมู่ที่ 6 บ้านนาเดิม หมู่ที่ 7 บ้านทองหลางล่าง และหมู่ที่ 8 บ้านทรัพย์สมบูรณ์

ตำบลบ้านนา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอกะเปอร์ มีพื้นที่ประมาณ 302 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 188,750 ไร่ ระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอกะเปอร์ ประมาณ 17 กิโลเมตร มีถนนเส้นทางหมายเลข 4130 ซึ่งเป็นเส้นทางหลักในการเดินทางคมนาคม โดยสามารถใช้เส้นทางของถนนสายนี้เดินทางไปยังอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนองและเชื่อมโยงไปยังจังหวัดพังงา และเส้นทางที่จะใช้เดินทางไปยังกรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลประสงค์ อำเภอท่าชนะ และตำบลปากฉลุย อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลกะเปอร์ อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง

มีด้านประชากร ทั้งหมด 770 ครัวเรือน จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริง ทั้งหมด 2,196 คน เพศชาย 1,100 คน เพศหญิง 1,096 คน

แผนที่

อินโฟกราฟิก

โครงการที่ 1 

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่มาตรฐาน OTOP ของตำบลบ้านนาด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัลขายสินค้า และบริการผ่านสมาร์ทโฟน การทำขนมครองแครง ระหว่างวันที่ 7 – 9 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 08.30 น. – 16.30 น. ณ ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ 1 บ้านเชี่ยวเหลียง ตำบลเชี่ยวเหลียง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง จัดขึ้นเพื่อยกระดับสินค้า และผลิตภัณฑ์ของชุมชนตำบลบ้านนา ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัลขายสินค้าและบริการผ่านสมาร์ทโฟน สื่อออนไลน์ มีสมาชิกเข้าร่วมจำนวน 30 คน ได้มีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้ภายใต้ 6 หัวข้อดังนี้ (1) วิธีการเตรียมอุปกรณ์การทำขนมครองแครง (2) วิธีการทำขนมครองแครง (3) วิธีการบรรจุภัณฑ์และเก็บรักษาขนมครองแครง (4) เทคนิคการขายสินค้าออนไลน์  (5) การสร้างอินโฟรกราฟฟิกเพื่อสร้างสื่อโฆษณาบนสื่อออนไลน์ (6) ขั้นตอนและวิธีการขายสินค้าออนไลน์ โดยวิทยากร : นางราตรี รักนุช และนายพรประดิษฐ์ คงมุสิก

โครงการที่ 2 

กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีด้านเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม น้ำสมุนไพร สินค้าแปรรูป ถ่านชาโคร และน้ำส้มควันไม้ ระหว่างวันที่ 4 – 5 ตุลาคม  พ.ศ. 2564 เวลา 08.30 น. – 16.30 น. อบรมออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Google Meet จัดขึ้นเพื่อยกระดับสินค้า และผลิตภัณฑ์ของชุมชนตำบลบ้านนา ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีด้านเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีสมาชิกเข้าร่วมจำนวน 50 คน ได้มีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้ภายใต้ 6 หัวข้อดังนี้ (1) วิธีการปลูกขิง กระชาย และส้มแขก (2) วิธีการนำสมุนไพร ขิง กระชาย มาแปรรูปเป็นผง และการนำส้มแขกมาแปรรูปเป็นสินค้า OTOP (3) วิธีการบรรจุภัณฑ์และเก็บรักษา (4) วิธีการนำไม้มาทำถ่านชาโคร (5) การทำน้ำส้มควันไม้จากการทำถ่านชาโคล (6) ขั้นตอนและวิธีการบรรจุภัณฑ์และวิธีการใช้งาน โดยวิทยากร : นางอุดมศิลป์ ถือทอง และนายชำนาญ ยอดแก้ว

โครงการที่ 3 

กิจกรรมพัฒนาสัมมาชีพใหม่ เพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน 1. สัมมาชีพอาหารเพื่อสุขภาพและหลักโภชนาการ 2. สัมมาชีพการทำก้อนเชื้อเห็ด 3. สัมมาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ระหว่างวันที่ 3 – 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 08.30 น. – 16.30 น. ณ ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ 7 บ้านทองหลางล่าง ตำบลบ้านนา อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง จัดขึ้นเพื่อพัฒนาสัมมาชีพเดิม และสร้างองค์ความรู้สัมมาชีพใหม่ เพื่อเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน ตำบลบ้านนา อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง มีสมาชิกเข้าร่วมจำนวน 90 คน แบ่งเป็นสัมมาชีพละ 30 คน ได้มีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้สัมมาชีพ 3 หัวข้อดังนี้  (1) สัมมาชีพอาหารเพื่อสุขภาพและหลักโภชนาการ (2) สัมมาชีพการทำก้อนเชื้อเห็ด (3) สัมมาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยวิทยากร : นางผ่องศรี สมหวัง และนางราตรี รักนุช วิทยากรสัมมาชีพอาหารเพื่อสุขภาพและหลักโภชนาการ นางวรรณจรัญ นครชัย วิทยากรสัมมาชีพการทำก้อนเชื้อเห็ด และว่าที่ร้อยตรีเจนณรงค์ กลดแก้ว วิทยากรสัมมาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

Facebook Page :https://www.facebook.com/U2T-

E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ :https://online.pubhtml5.com/gxkxv/rcwn/

Back To Top