skip to Main Content

เกาะพะงัน เกาะพะงัน สุราษฎร์ธานี

ประวัติตำบล

ประวัติตำบลเกาะพะงัน

ขนาดและที่ตั้ง

ขนาดและที่ตั้งของอำเภอเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน ตั้งอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นอำเภอที่มีพื้นที่น้อยที่สุดของจังหวัด ตั้งอยู่ในอ่าวไทย ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศ ตะวันออกประมาณ 100 กิโลเมตร ห่างจาก         อำเภอเกาะสมุยประมาณ 15 กิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะ คือ เกาะพะงัน มีพื้นที่168 ตารางกิโลเมตร และเกาะเต่า มีพื้นที่25 ตารางกิโลเมตร(รวม 193 ตารางกิโลเมตร)

ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิอากาศ

เกาะพะงันได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทั้ง 2 ด้าน คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูกาลแบ่งออกเป็น 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน

• ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม เป็นช่วงปลายลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศจะคลายความชุ่มชื้น ประกอบกับ มีกระแสน้า อุ่นพัดจากทะเลจีนใต้ทำให้มีฝนตกน้อยและอุณหภูมิสูงขึ้น แต่คลื่นลมสงบ น้า ทะเลใส เหมาะแก่การท่องเที่ยวเป็นอย่างยิ่ง

• ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงมกราคม สำหรับช่วงเดือนมิถุนายนถึงตุลาคมเป็นช่วงลมมรสุมตะวัน ตกเฉียงใต้ทา ให้มีฝนตกชุกไปจนถึงเดือนมกราคมของทุกปี โดยเฉพาะเดือนพฤศจิกายน มีจำนวนวันที่ฝนตกโดยเฉลี่ยถึง 20.2 วัน ต่อเดือน ปริมาณน้า ฝน 1,919.2 มิลลิเมตรต่อปี

แม่น้ำสำคัญ

แหล่งน้ำธรรมชาติ 

ตำบลเกาะพะงันมีแหล่งน้ำสำคัญไหลผ่านหลายสาย ดังนี้

– คลองบางเจมะรุ มีต้นกำเนิดอยู่บ้านเขาไม้งาม สองสายไหลผ่านบ้านในสวนและบ้านมะเดื่อ-หวาน รวมกันออกสู่ทะเลบริเวณบ้านท้องศาลา

– คลองท่าทองเลาะและคลองศาลาคอย ต้นกำเนิดอยู่บนภูเขาตาหลวงไหลลงจากเขาผ่านบริเวณเหมืองแร่บ้านโฉลกบ้านเก่า บ้านในวกลงสู่ทะเลบริเวณอ่าววกตุ่ม

– คลองแม่หาดไหลลงมาจากเขาตาหลวงสู่ทะเลบริเวณอ่าวแม่หาด

– คลองตกและคลองออก มีต้นกำเนิดบนเขาหรา เขาหินนกไหลขึ้นเหนือลงสู่บ้านโฉลกหลำ

ประวัติความเป็นมาของชุมชน

              คำว่า “พะงัน” สันนิษฐานมาจากคำว่า “พะ” แปลว่า พบ กับคำว่า “งัน” หมายถึงหาดทรายที่มองเห็นได้เวลาน้ำลด สมัยรัชกาลที่ 5 พะงันเป็นเมืองๆ หนึ่ง ขึ้นอยู่กับเมืองไชยา พระยาวจี สัตยารักษ์

(ขำ ศรียาภัย) เจ้าเมืองไชยา ได้ส่งหลวงสมุทรคีรีมาเป็นเจ้าเมืองเกาะพะงัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ได้เสด็จประพาสอำเภอเกาะพะงัน จำนวน 14 ครั้ง และทรงจารึกพระอักษร “จปร รศ.108” ไว้ที่น้ำตกธารเสด็จ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของอำเภอเกาะพะงันในปัจจุบัน

พ.ศ. 2440 มีการจัดระบบการปกครองท้องถิ่น เมืองเกาะพะงันถูกยุบไปรวมกับเกาะสมุย

เรียกว่าอำเภอเกาะสมุย ดังนั้นเกาะพะงันจึงมีฐานะเป็นตำบล มี 2 ตำบล คือ ตำบลเกาะพะงัน และตำบลบ้านใต้ 

วันที่ 11 กันยายน 2513 กระทรวงมหาดไทยได้แยกเขตท้องที่เกาะพะงันเป็นกิ่งอำเภอ

และได้ประกาศยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอเกาะพะงัน เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2513 ในขณะนั้นใช้อาคารรับรองแขกของวัดราษฎร์-เจริญ เป็นที่ทำการอำเภอชั่วคราว

วันที่ 13 เมษายน 2520 ประกาศยกฐานะเป็น “อำเภอเกาะพะงัน” และได้มีพิธีเปิดป้ายที่ทำ

การอำเภอเกาะพะงัน เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2521 

          เกาะพะงัน ใหญ่เป็นอันดับสองรองจาก เกาะสมุย ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ห่างจาก เกาะสมุย ไปทางทิศเหนือประมาณ 20 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 100 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 120,625 ไร่ หรือ 168 ตารางกิโลเมตร มีประชาชนประมาณ 12,159 คน ประกอบด้วย 3 ตำบล คือ ตำบลเกาะพงัน ตำบลบ้านใต้ ตำบลเกาะเต่า รวมถึงเกาะน้อยใหญ่ คือ เกาะนางยวน เกาะแตนนอก เกาะแตนใน และ เกาะม้า โดย เกาะพะงัน เป็นหนึ่งในจำนวน 48 เกาะที่ตั้งอยู่ในช่องอ่างทอง ได้รับการยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อ พ.ศ.2513 และเป็นอำเภอเกาะพงัน เมื่อ พ.ศ.2520

          สำหรับภูมิประเทศของ เกาะพะงัน มีภูเขาอยู่ตรงกลางเกาะ ทอดตัวจากทิศเหนือจดทิศใต้ มีที่ราบทางด้านทิศตะวันตกของเกาะ ส่วนทางทิศตะวันออกเป็นเทือกเขาจดทะเล บางแห่งก็มีอ่าวเล็กอ่าวน้อยเรือเข้าจอดได้เป็นบางฤดู ช่วงมรสุมตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงเดือนมกราคม จะมีลมตะวันออกพัดผ่านซึ่งไม่เหมาะแก่การเดินทางท่องเที่ยว

โครงสร้างชุมชน

– ด้านการปกครอง

 เทศบาลเกาะพะงันครอบคลุมพื้นที่ หมู่ที่ 1-3 ตำบลเกาพะงัน และหมู่ที่ 1 ตำบลบ้านใต้

  เทศบาลเพชรพะงันครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 4-8 ตำบลเพชรพะงัน

โครงสร้างทางเศรษฐกิจเเละอาชีพ

โครงสร้างทางเศรษฐกิจเเละอาชีพของอำเภอเกาะพะงัน

       โครงสร้างทางเศรษฐกิจเเละอาชีพของอำเภอเกาะพะงัน  ขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยวและการผลิตสาขาเกษตรกรรมเป็นหลัก  การพาณิชยกรรม  และบริการประเภทกิจการค้า  ส่วนใหญ่เป็นกิจการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว  ได้แก่  การบริการที่พัก ร้านอาหาร  ธุรกิจนำเที่ยว  การขายของที่ระลึก  ทำสวนมะพร้าว สวนผลไม้ ประมง ธุรกิจบ้านพักตากอากาศ การท่องเที่ยว และค้าขาย การรับจ้างและแรงงาน  ในธุรกิจดังกล่าว

          พื้นที่การเกษตรแบ่งเป็นสวนผลไม้ประมาณ  ๕๐๐ ไร่  และสวนมะพร้าวประมาณ  ๑๓,๔๐๐ ไร่  ซึ่งผลไม้ที่นิยมปลูก ได้แก่   ทุเรียน  เงาะ  ลองกอง 

          การอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็กใช้แรงงานในครอบครัว  เช่น  โรงงานผลิตน้ำแข็ง   โรงงานผลิตน้ำดื่ม 

        ประชากรร้อยละ 90 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำสวนมะพร้าว เลี้ยงสัตว์ในครัวเรือน สวนผลไม้ ส่วนการประมงก็เป็นประมงชายฝั่ง มีเรือจับปลาหมึกเป็นหลัก อาชีพธุรกิจการท่องเที่ยวร้อยละ 5 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 5 คธนาคม

สถานที่สำคัญ

1.หาดแม่หาด

หาดทรายขาวโค้งทอดยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ปกคลุมด้วยต้นไม้นานาชนิดๆ เงียบสงบร่มรื่น เหมาะแก่การมาพักผ่อน เล่นน้ำทะเล นอนอาบแดดชิลล์ๆ พร้อมด้วยไฮไลท์ในช่วงเช้า ที่เราจะได้พบกับทะเลแหวกความยาวประมาณ 350 เมตร เชื่อมไปยังเกาะม้า ซึ่งไม่ต้องนั่งเรือออกไปไกลๆ ก็สามารถไปสัมผัสความมหัศจรรย์ของท้องทะเลได้

2. เกาะม้า

เกาะม้า อีกหนึ่งที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของเกาะพะงัน เอาใจคนชอบดำน้ำ เพราะนอกจากที่นี่จะมีทะเลแหวกที่เชื่อมกับหาดแม่หาดแล้ว ที่นี่ยังมีแนวปะการังที่สมบูรณ์ ทั้งปะการังอ่อน ปะการังโขด ดอกไม้ทะเล และปลาหลากหลายชนิดอยู่รอบๆ บริเวณเกาะ เป็นจุดดำน้ำแบบสน็อกเกิ้ลที่ถือได้ว่าสวยที่สุดบนเกาะพะงันเลยทีเดียว

3.อ่าวโฉลกหลำ

แวะไปเลือกซื้อพร้อมทานอาหารทะเลสดๆ กันที่อ่าวโฉลกหลำ ศูนย์กลางแห่งวิถีชีวิต หมู่บ้านชาวประมงบนเกาะพะงัน อ่าวโฉลกหลำเป็นอ่าวขนาดใหญ่ หาดทรายขาวละเอียด น้ำทะเลสีฟ้าใส มีความยาวชายฝั่งประมาณ 3.5 กิโลเมตร โดยบริเวณกลางอ่าวเป็นสะพานเทียบเรือประมงส่งความสดของอาหารทะเลขึ้นฝั่ง นอกจากจะมีความสดส่งตรงจากทะเลแล้ว ที่นี่ยังมีกิจกรรมเอ็กซ์ตรีม ไว้ให้นักท่องเที่ยวที่สนใจได้มามันส์กันอีกด้วย

4.เรือหลวงพะงัน

อีกหนึ่งจุดแลนด์มาร์คของพะงัน ไม่ควรพลาดที่จะแวะไปเซล์ฟฟี่ ที่เรือหลวงพงัน บริเวณหาดท้องศาลา เรือรบลำใหญ่ มีอายุประการปฏิบัติภาระให้กองทัพเรอไทยกว่า 40 ปี และได้ปลดระวางเมื่อปี 2551 ภายในท้องเรือยังมีการจัดนิทรรศการภาพถ่ายไว้ให้นักท่องเที่ยวชมเรื่องราวที่สำคัญอีกด้วย

5.วัดเขาถ้ำ

ไหว้พระทำบุญกันอีกสักนิด ที่วัดบนยอดเขา กับบรรยากาศร่มรื่น สบายๆ ภายในมีพระพุทธบาทจำลอง และพระพุทธรูปป่าเลไลยก์ไว้ให้สักการะบูชากัน ด้วยบรรยากาศที่เงียบสงบ ที่วัดนี้จึงเป็นอีกที่หนึ่งที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาตินิยมมานั่งวิปัสนา และนอกจากจะได้ไหว้พระรับบุญกันแล้ว ที่นี่ยังถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งจุดชมวิวพระอาทิตย์ตกดินที่สวยงามของเกาะพะงัน

6.อ่าวศรีธนู

การชมพระอาทิตย์ตกสวยๆ ที่อ่าวศรีธนู เป็นอ่าวที่มีอีกหนึ่งหาดสวยเป็นอันดับสามของเกาะพะงัน หาดทรายขาวละเอียดเป็นแนวยาว บรรยากาศเงียบสงบ สามารถลงเล่นน้ำได้ทั้งวัน ตลอดแนวชายหาด หรือถ้าอยากหากิจกรรมอื่นๆ ทำ ที่นี่ก็ยังสามารถดำน้ำดูปะการัง และเก็บภาพสวยๆ ของแสงแดดในยามที่พระอาทิตย์ตกดิน

แผนที่

อินโฟกราฟิก

โครงการที่ 1 

วันที่ 6-9 ตุลาคม 2564 ทีมวิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงันลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรมโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งอาหารเพื่อความยั่งยืนของเกาะพะงัน เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งอาหาร สร้างที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ ภายใต้โครงการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน ตำบลเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ บ้านโฉลกหลำ หาดยาว บ้านศรีธนู และบ้านใต้ ตำบลเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

โครงการที่ 2 

วันที่ 18-20 ตุลาคม 2564 ทีมวิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงันลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการตลาดของสินค้า OTOP ในชุมชนตําบลเกาะพะงัน เพื่อยกระดับสินค้าเพิ่มมูลค่าในการขาย และสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล โดยการแปรรูปผลิตภัณฑ์เป็นอาหารทะเลตากแห้ง ได้มีการอบรมให้ความรู้ด้านเทคโนโลยี และการตลาดทางสื่อโซเชียล ที่สามารถใช้ในการค้าขายออนไลน์ ภายใต้โครงการการพัฒนาสัมมาชีพและการสร้างอาชีพใหม่ การยกระดับสินค้า OTOP

โดยมีผู้เข้าร่วมที่รับความร่วมมือจากปราชญ์ชาวบ้านและชาวบ้านหมู่ที่ 7 ได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชน นายกเทศมนตรีตำบลเพชรพะงัน และผู้ใหญ่บ้าน 7

สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและทีมวิศวกรทุกคนจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองตามมาตรการการควบคุมโรคระบาด Covid -19 ของกระทรวงสาธารณสุข อย่างเคร่งครัด

กิจกรรมอื่น ๆ 

1.เนื่องจากสถานการณ์โควิด ฟ้าทะลายโจรเป็นหนึ่งในสมุนไพรไทยที่ความสำคัญทางการ แพทย์แผนไทย มีรสชาติขม จัดอยู่ในกลุ่มยาเย็น ชาวบ้านนิยมนำฟ้าทะลายโจรมากินเพื่อช่วย ป้องกันใช้บรรเทาอาการไข้หวัด แก้ไอและเจ็บคอ ไข้หวัดที่อาจจะมีความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด 19 ได้ง่าย ถึงแม้ว่าฟ้าทะลายโจรจะมีประโยชน์ แต่ต้องกินอย่างถูกวิธี มิเช่นอาจเป็นอันตรายต่อ ร่างกาย ดังนั้น ทีมวิศวกรสังคมตำบลเกาะพะงัน จึงได้ช่วยกันปลูกฟ้าทะลายโจร เพื่อไว้แจกจ่าย ชาวบ้านในพื้นที่ โดยสมาชิกบางส่วนปลูกที่บ้าน บางส่วนปลูกพื้นที่ส่วนกลางวัดอัมพวัน โดยเริ่ม ปลูกในเดือนสิงหาคม และได้ดำเนินการต่อมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน ทั้งหมด 19 ตารางเมตร 182 ต้น

กิจกรรมอื่น ๆ 

2.นอกจากนี้ ทางทีมวิศวกรสังคมได้ลงพื้นที่ จัดกิจกรรม Covid week โดยทำความสะอาด พื้นที่ส่วนกลาง คือ วัดอัมพวัน ซึ่งเป็นโรงพยาบาลสนามสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด และจัดทำแมสแจก ให้กับชาวบ้านในตำบลเกาะพะงัน และสถานีอนามัยบ้านโฉลกหลำ

Facebook Page : https://www.facebook.com/U2TPhangan-100579838848157/

E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ : https://anyflip.com/tsctw/zrbu/

Back To Top