skip to Main Content

ม่วงกลวง กะเปอร์ ระนอง

ประวัติตำบล

ประวัติตำบลม่วงกลวง

    ตำบลม่วงกลวงใช่วงรัชกาลที่5 แห่งราชวงศ์จักรกรี (พ.ศ2411-2453)ได้มีผู้อพยพมาจากเมืองถลาง (เกาะภูเก็ต) โดยทางเรือและได้พักอาศัยบริเวณต้นมะม่วงใหญ่ ลำต้นโพรงกลวงมีอายุประมาณ100ปี ภายหลัง ปี พศ.2430 มีหัวหน้าหมู่บ้านชื่อนายพล นิยมและนายเขียว นิยมมีหน้าทีลาดตะเวนดูแลทางน้ำเพื่อระวังโจรผู้ร้ายที่อาศัยสัญจรทางเรือมีหลักฐานท่าที่จอดเรือเรียกว่าวังเรือเหวน จนเป็นที่รู้จักของคนรุ่นหลัง ต่อมาได้ขุดเจอซากเรือ ณ สถานที่ดังกล่าวมีการนำขึ้นมาบูชาบวงสรวงเป็นสิริมงคลตามความเชื่อของคนม่วงกลวง จึงมีชื่อเรียกว่า บ้านม่วงกลวง ต่อมามีผู้มาอาศัยจำนวนมากจนสามารถจัดตั้งเป็นตำบล จึงชื่อว่า ตำบลม่วงกลวงจนปัจจุบัน

    ขนาดพื้นที่มีลักษณะลาดเอียงจากทิศตะวันออก ไปทางทิศตะวันตกสู่ทะเลอันดามันและมีสภาพเป็นป่าชายเลน องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงกลวง มีพื้นที่ประมาณ 56.24 ตารางกิโลเมตร หรือโดยเฉลี่ย 35,150 ไร่  แยกเป็น

หมู่ที่ 1 บ้านม่วงกลวง มีพื้นที่ 11,200 ไร่

หมู่ที่ 2 บ้านบางเบน มีพื้นที่ 8,200 ไร่

หมู่ที่ 3 บ้านสำนัก มีพื้นที่ 9,250 ไร่

หมู่ที่ 4 บ้านอ่าวเคย มีพื้นที่ 6,500 ไร่

พื้นที่ป่าชายเลนตำบลม่วงกลวง จำนวน 14,375 ไร่ (ข้อมูลจากสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลน ที่ 9 กะเปอร์-ระนอง)

      ลักษณะภูมิประทศ  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบริมฝั่งทะเลอันดามัน สลับด้วยภูเขา เป็นพื้นที่ราบ คิดเป็นร้อยละ 45 เทือกเขา ร้อยละ 25 และพื้นน้ำ ร้อยละ 30 อากาศค่อนข้างอบอุ่นและชื้น ตำบลม่วงกลวง ประกอบด้วย 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านม่วงกลวง หมู่ที่ 2 บ้านบางเบน หมู่ที่ 3 บ้านสำนัก และ หมู่ที่ 4 บ้านอ่าวเคย

      ลักษณะภูมิอากาศ  ฤดูร้อน ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน

ฤดูฝน ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – ตุลาคม ช่วงที่มีฝนตกชุก ระหว่างเดือน กรกฎาคม – กันยายน    ฤดูหนาว ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – มกราคม

      การคมนาคม    จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางถนนเพชรเกษมถึงจังหวัดชุมพร ผ่านอำเภอกระบุรีผ่านอำเภอละอุนถึงจังหวัดระนอง มุ่งหน้าลงใต้จะเข้าสู่ตำบลม่วงกลวง อำเภอกะเปอร์ (ระยะทางจาก จ.ระนอง ถึง ต.ม่วงกลวง ประมาณ 50 กม.)

        ทรัพยากรธรรมชาติ   เนื่องจากอุทยานแห่งชาติแหลมสน จังหวัดระนอง อยู่ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จึงทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่นกว่าจังหวัดอื่นและตกเกือบทั่วไป ส่วนฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัด เพราะอยู่ไกลจากอิทธิพลของอากาศหนาวพอสมควรแต่บางครั้งอาจมีฝนตกได้ เนื่องจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทยเอาฝนมาตกปริมาณน้อยกว่าจังหวัดที่อยู่ทางด้านตะวันออกของภาคใต้ 

        แม่น้ำสำคัญ   ตำบลม่วงกลวงมีห้วย บึงน้ำ ลำคลอง  ที่เกิดจากเทือกเขาทางด้านทิศตะวันออกเป็นส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นทางน้ำสายสั้น ๆ ไหลลงสู่ทะเลอันดามันทางด้านทิศตะวันตก ลำน้ำสำคัญได้แก่ห้วยฝาแฝดคลองม่วงกลวง คลองท่ายาง คลองหลุง คลองลัดโนด คลองชะนูด แต่เป็นแหล่งน้ำที่กักเก็บน้ำไม่ได้มากนักโดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้ง

      แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น       

          บ่อน้ำตื้น   2    บ่อ

          บ่อน้ำบาดาล     8    บ่อ

          ถังเก็บน้ำ ฝ.99   4  แห่ง

          ถังเก็บน้ำ ฝ.33 1   แห่ง

          ทำนบกักเก็บน้ำ 1  แห่ง

          สระกักเก็บน้ำ 6  สระ

          ระบบประปาหมู่บ้านแบบผิวดินขนาดใหญ่  ขนาดความจุหอถังสูง 30 ลบ.ซม.หมู่ที่ 1    1  แห่ง

          ระบบประปาหมู่บ้านแบบบาดาล หมู่ที่ 2(สร้างโดยกรมทรัพยากรน้ำ)     1  แห่ง

          ระบบประปาหมู่บ้านแบบผิวดิน  หมู่ที่ 2(สร้างโดยมูลนิธิศุภนิมิตร)    1  แห่ง

          ระบบประปาหมู่บ้านแบบผิวดิน  หมู่ที่ 4 (สร้างโดยกรมอนามัย)       1  แห่ง

      ด้านการปกครอง

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงกลวง :นายอุสมานแซะแดง

ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงกลวง :นายธีรพงษ์บุรี

กำนันตำบลม่วงกลวง :นายสมหมายชิดเอื้อ

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 บ้านม่วงกลวง :นายชัยวัฒน์ ณ สุวรรณ

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 บ้านบางเบน :นางสาม๊ะม่งเก

        ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 บ้านสำนัก :นายสมหมายชิดเอื้อ

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 บ้านอ่าวเคย :นายสู้ไหลหมานกล้าศึก

      ด้านประชากร  ประชากรชายจำนวน 2,201คน   ประชากรหญิงจำนวน 2,221คน จำนวนครัว 

         เรือน1,300ครัวเรือ 

       ด้านการศึกษา

         โรงเรียนประถมศึกษา(ElementarySchools) จำนวน2  แห่ง

  โรงเรียนมัธยมศึกษา (Secondary school) จำนวน3   แห่ง

  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (Child Development Center) จำนวน2  แห่ง

ด้านศาสนา   ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์

ความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม

          ศาสนาพุทธ                                        ศาสนาอิสลาม

  วันมาฆบูชา                                         การละหมาด

  วันวิสาขบูชา                                        ประเพณีถือศีลอด (เดือนรอมฎอน)                              

          วันอาฬาหบูชา                                     ประเพณีฮารีรายอ

          วันเข้า/ออกพรรษา                               พิธีเข้าสุนัต

  ฯลฯ

     โครงสร้างด้านเศรษฐกิจและอาชีพ

        1.ด้านการเกษตร การทำสวนยาง น้ำมันปาล์ม สะตอ

        2.ด้านประมง ปูทะเล ปลาทะเล หอยทะเล

        3.ด้านบริการ  ร้านอาหาร รีสอร์ทโฮมสเตย์ รับซื้ออาหารทะเลและผลผลิตทางการเกษตร ร้านขาย 

            ของชำ ปั๊มน้ำมัน

        4.การปศุสัตว์ การเลี้ยงแพะ วัว

     สถานที่สำคัญ

       ม.1  ศูนย์การเรียนรู้เกษตรผสมผสานบ้านม่วงกลวง (สวนลุงแดง)

              จุดชมวิวเขาชาย

              โรงเรียนพัฒนศาสน์วิทยา

      ม.2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบางเบน

             มัสยิดกอมารีย๊ะ

             อาคารศูนย์หลบภัยสึนามิ

             ท่าเทียบเรือประมงพื้นบ้าน

             อ่าวท่าหิน

       ม.3 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดเราะห์มะห์

            โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงกลวง

             มุสลิมโฮมสเตย์

            กศน.บ้านม่วงกลวง

            ระนองรีสอร์ทเอ็นลากูน่า

            โรงเรียนบ้านสำนัก

            มัสยิดเราะห์มะห์

            มัสยิดบ้านท่ายาง

            จุดชมวิวเขานารายณ์ (ดอยร้อยวิว)

             องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงกลวง

       ม.4 โรงเรียนบ้านบางเบน

            โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางเบน

             วาสนารีสอร์ท

            แสงทองรีสอร์ท

            อันดามันรีสอร์ท

            อุทยานแห่งชาติแหลมสน

            หาดอ่าวเคย

            มัสยิดนูรุ่ลเอี๊ยะซาล

             ท่าเทียบเรือบางเบน    

        การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม  ประชากรในตำบลม่วงกลวงแต่ก่อนจะประกอบอาชีพค้าขายประมงและเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่แต่ในปัจจุบันมีการหันมาทำธุรกิจการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นเช่นการขายทัวร์ท่องเที่ยว 3 เกาะได้แก่เกาะค้างคาวเกาะญี่ปุ่นและเกาะกำการทำล่องแพเปียกคลองลัดโนดและมีการทำโฮมสเตย์ที่พักเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสการวิถีชีวิตชาวประมง

 ผลิตภัณฑ์ชุมชน

 1.ปลาเค็มฝังทรายไร้แดด

 2.น้ำผึ้งโพรง

 3.ผ้ามัดย้อม

 4.เครื่องแกง

แผนที่

อินโฟกราฟิก

โครงการที่ 1 

โครงการยกระดับเศรษฐกิจรายตำบลแบบบูรณาการตำบลม่วงกลวง 

  ชื่อกิจกรรม พัฒนาศูนย์การเรียนรู้การเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของตำบลม่วงกลวง

  วิทยากร  นายชัยวัฒน์ ณ สุวรรณ ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่1 ตำบลม่วงกลวง

  บรรยายเรื่องแนวคิดการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

               เรื่องการปลูก การดูแลรักษา การขยายพันธุ์ผักพื้นบ้าน การขยายพันธุ์สมุนไพรริมรั้ว การปลูกฟ้าทะลายโจร

                เรื่องการเลี้ยงปลาทับทิมในบ่อดิน

               การลงพื้นที่จริงเพื่อดูสภาพพื้นดินและลงมือปฎิบัติการปรับสภาพดิน การปลูกผักสวนครัว การปลูกฟ้าทะลายโจรและวิธการดูและพืช

โครงการที่ 2 

โครงการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ตำบลม่วงกลวง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง

วิทยากรดร.นภัทร นาคสวัสดิ์ 

บรรยายเรื่อง การเลือกใช้วัตถุดิบและอุปกรณ์การทำเครื่องแกงประเภทต่างๆ

ขั้นตอนวิธีการทำเครื่องแกงส้ม เครื่องแกงกะทิ เครื่องแกงเขียวหวาน

การบรรจุภัณฑ์ การพาสเจอร์ไรซ์และวิธีการเก็บรักษา

กิจกรรม

1.กิจกรรมสำรวจครัวเรือนยากจน

2.กิจกรรมU2Tสู้ภัยCovid Week

3.การอบรมทักษะดิจิทัล การออกแบบInfogrophics ด้วยโปรแกรม Canva การตัดต่อวิดีโอ ด้วยโปรแกรม Kine Master

4.การอบรมทักษะทางการเงิน Finnacid Literacy

5.การอบรมทักษะภาษาอังกฤษ

6.กิจกรรมการปลูกฟ้าทะลายโจร

Facebook Page : https://www.facebook.com/U2Tmuangkluang/

E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ : https://online.pubhtml5.com/crvbr/tncw/#p=5

Back To Top