skip to Main Content

พังกาญจน์ พนม สุราษฎร์ธานี

ประวัติตำบล

ตำบลพังกาญจน์ เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ประมาณ ประมาณ 28,089 ไร่ พื้นที่มีลักษณะเป็นภูเขาพื้นที่ป่าสมบูรณ์ เป็นภูเขาและพื้นที่ราบ พื้นที่โดยทั่วไปจะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ มีคลองศกเป็นแหล่งน้ำสำคัญ ถนนคมนาคมสายหลักได้แก่ สายสุราษฎร์ธานี-ตะกั่วป่า อากาศเป็นแบบร้อนชื้น ฝนตกชุกตลอดปี มีประชากรรวมจำนวน 2,664 คน ประกอบด้วย 5 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 พังกาญจน์ล่างพัฒนา มีประชากร 776 คน หมู่ที่ 2 พังกาญจน์เหนือพัฒนา มีประชากร 481 คน หมู่ที่ 3 ชุมชนบ้านช่องม้าเหลียว มีประชากร 714 คน หมู่ที่ 4 บ้านปากบางยวน มีประชากร 319 คน และหมู่ที่ 5 บ้านบางยวนพัฒนา มีประชากร 374 คน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การทำสวนยางพารา การทำสวนปาล์มน้ำมัน การทำสวนสวนผลไม้ รองลงมาคือรับจ้าง และรับราชการ มีโรงเรียนระดับประถมศึกษา 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านพังกาญจน์ และโรงเรียนชุมชนบ้านช่องม้าเหลียว โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนมัธยมเปี่ยมรัก ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน 1 แห่ง ได้แก่ ศูนย์การศึกษานอก อำเภอพนม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน 1 แห่ง ได้แก่  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลพนม มีวัด 2 แห่ง ได้แก่ วัดพังกาญจน์ และสำนักสงฆ์วัดป่าเขาหน้าแดง อย่างไรก็ตาม ยังมีประชาชนส่วนน้อยมากที่มีรายได้น้อยไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตของตนเองและสมาชิกในครอบครัว หรือบางรายไม่มีรายได้เนื่องจากสภาพร่างการไม่พร้อมในการทำงาน เช่น เป็นผู้สูงอายุ เป็นผู้พิการ เป็นต้น นอกจากนี้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบทำให้เกิดการว่างงานมากขึ้น และมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ สำหรับภาคการเกษตรในตำบลพังกาญจน์ส่วนใหญ่จะเป็นการทำเกษตรแบบดั่งเดิม คือ อาศัยต้นทุนเดิมจากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นที่ โดยเฉพาะเรื่องดินกับเรื่องน้ำซึ่งอาศัยฤดูกาลเป็นหลัก โดยส่วนใหญ่จะเป็นสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมันที่ไม่ต้องการการดูแลเรื่องน้ำเป็นพิเศษ กล่าวคือ สามารถอาศัยน้ำฝนตามฤดูกาลได้ ยกเว้นสวนผลไม้ เช่น สวนทุเรียน สวนลองกอง เป็นต้น ที่จำเป็นต้องจัดการระบบน้ำให้เป็นไปตามความต้องการของพืชนั้น ๆ

แผนที่

อินฟกราฟิก

โครงการที่ 1 

วันที่ 8 ตุลาคม 2564 ทีมวิศวกรสังคมตำบลพังกาญจน์ อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้จัดกิจกรรม พัฒนาการของกลุ่มเครื่องแกงบ้านพังกาญจน์ล่างและลงพื้นที่เพื่อพูดคุยและสอบถามกับสมาชิกกลุ่มเครื่องแกงดังกล่าว ทำให้มีความเห็นตรงกันว่า เห็นควรให้มีการปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเดิมทีชาวบ้านจะนำเครื่องแกง จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ เครื่องแกงกะทิ เครื่องแกงพริก และเครื่องแกงส้มหรือเครื่องแกงเหลือง ที่บดแล้วใส่ถุงพลาสติกใส มัดด้วยยางวง และเขียนระบุประเภทเครื่องแกงแต่ละชนิดด้วยปากกาเคมี มาพัฒนาเป็นการนำเครื่องแกงจำนวน 3 ชนิดข้างต้นใส่กระปุกขนาดแตกต่างกัน จำนวน 3 ขนาด แล้วนำสติกเกอร์ที่ออกแบบขึ้น จำนวน 3 ขนาด ปิดทับบริเวณข้างหรือบนกระปุก เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้และจดจำในส่วนที่มา ผู้ผลิต ปริมาณ การติดต่อ ประเภทเครื่องแกงและผู้ให้การสนับสนุน นอกจากนี้ ทางทีมวิศวกรสังคมตำบลพังกาญจน์ได้ช่วยประชาสัมพันธ์เครื่องแกงดังกล่าวเพื่อสร้างการรับรู้ถึงบรรจุภัณฑ์ใหม่ที่น่าสนใจมากขึ้นบนสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเพิ่มโอกาสในการจำหน่ายเครื่องแกงให้มากขึ้น

 สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองตามมาตรการ ควบคุบโรคระบาดโควิด 19 ของกระทรวงสาธารณสุขจ.สุราษฎร์ธานี

โครงการที่ 2

เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.00-16.30 น. โดยวิศวกรสังคมตำบลพังกาญจน์ร่วมกับประชาชนและภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ตำบลพังกาญจน์ จำนวน 20 คน ร่วมกันปลูกปอเทือง จากเมล็ดปอเทือง จำนวน 75 กิโลกรัม และหญ้าแฝก จำนวน 500 หน่อต้นกล้า ในพื้นที่บริเวณวังหัวกาซิตี้ หมู่ 4 ตำบลพังกาญจน์ อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยการปลูกปอเทืองใช้วิธีการหว่านเมล็ดและโรยมูลวัวให้ทั่วพื้นที่ปลูก สำหรับการปลูกหญ้าแฝก จะปลูกเป็นแนวขั้นบันไดตามพื้นที่ลาดเอียงของแนวดิน แล้วโรยด้วยมูลวัวเพื่อให้เป็นปุ๋ยในการเจริญเติบโตในระยะแรก  เนื่องจากพื้นที่บริเวณวังหัวกาซิตี้ หมู่ 4 ตำบลพังกาญจน์ อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นดินลูกรังผสมหินและกรวดที่นำมาถมเพื่ออัดเป็นโครงสร้างเสริมในการป้องการการพังทลายของตลิ่งร่วมกับคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งทางพื้นที่เคยปลูกไม้ยืนต้นขนาดใหญ่เพื่อให้ร่มเงาแล้ว แต่อัตราการเจริญเติบโตช้าและบางต้นก็ตาย ทางทีมวิศวกรสังคมตำบลพังกาญจน์ได้หารือกับพื้นที่จนนำไปสู่การปลูกปอเทือง ซึ่งเป็นต้นไม้ในพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่เรื่องการปรับปรุงดิน ที่ทรงแนะนำให้แก่เกษตรกรทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยพืชสดใช้เอง ทดแทนการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนที่มีราคาแพง นอกจากปอเทืองจะเป็นพืชที่มีคุณสมบัติในการบำรุงดิน และเป็นปุ๋ยพืชสดที่ดีมากในการปรับปรุงดิน  โดยการหว่านปอเทือง 1 ครั้ง เท่ากับการปรับปรุงโครงสร้างดินได้ถึง 15 ปีแล้ว ปอเทืองยังสามารถเพิ่มความสวยงามในพื้นที่ซึ่งเป็นประโยชน์ในเชิงท่องเที่ยวได้อีกด้วย นอกจากนี้ เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดินในบริเวณวังหัวกาซิตี้ ซึ่งเป็นแนวเขื่อนเพื่อป้องกันการพังทลายของตลิ่งของคลองพนมบริเวณหมู่ที่ 4 ตำบลพังกาญจน์ อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กตามแนวโค้งออกตามทิศทางการไหลของน้ำ ซึ่งพื้นที่บริเวณแนวโค้งนั้นเป็นดินถมแนวลาดเฉียงทับถมขวางเส้นทางการไหลของลำธารสายหนึ่งที่จะไหลลงสู่คลองพนมและอยู่ติดกับถนนพอดี ทำให้เกิดปัญหาน้ำไหลกัดเซาะหน้าดิน หากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นต่อเนื่องในระยะยาว อาจทำให้ดินที่นำมาถมเพื่อเป็นโครงสร้างเสริมสำหรับการป้องกันการพังทลายของตลิ่งเสียหายได้ และถนนอาจชำรุดได้ ทางทีมวิศวกรสังคมตำบลพังกาญจน์ได้หารือกับผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 จนนำไปสู่การปลูกหญ้าแฝก ซึ่งเป็นพืชในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการพัฒนาปรับปรุงบำรุงดิน ฟื้นฟูดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ และแก้ปัญหาดินเสื่อมโทรม

กิจกรรมอื่น ๆ 

1.การปลูกฟ้าทะลายโจรตำบลพังกาญจ์ อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี 

ทีมวิศวกรสังคมได้มีการปลูกดูแลรักษาฟ้าทลายโจรมีการเตรียมหน้าดิน การเตรียมเมล็ดพันธ์ุ เพื่อสู้กับCOVID-19 โดยวิศวกรสังคมได้ปลูกฟ้าทลายโจรในพื้นที่บริบ้านของตนเองโดยมีพื้นที่โดยรวม 86.25 ตารางเมตร

COVID WEEK

Facebook Page : https://www.facebook.com/U2t-

E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ : http://online.anyflip.com

Back To Top