skip to Main Content

ท่าโรงช้าง พุนพิน สุราษฎร์ธานี

ประวัติตำบล

ตำบลท่าโรงช้าง เดิมเป็นอำเภอท่าโรงช้าง ยุบรวมเป็นอำเภอท่าข้ามเมื่อปี พ.ศ. 2473 และเปลี่ยนชื่อ เป็นอำเภอพุนพิน ในปี พ.ศ.2481 สภาพชุมชนตำบลท่าโรงช้างดั้งเดิม เป็นชุมชนริมแม่น้ำคมนาคมทางเรือ อาชีพของประชาชนทำนา ทำไม้ซุง ทำสวนผลไม้ ค้าขาย คล้องช้าง ผู้ที่มีช้างหลายเชือกแสดงออกถึง ผู้มีฐานะทางสังคม บริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภอท่าโรงช้าง โรงพักตำรวจ และวัดท่าโรงช้าง ซึ่งปัจจุบันเป็นวัดร้างตั้งอยู่บริเวณหมู่ที่ 3 และ 4 ในปัจจุบัน มีโรงฝึกช้างและท่าลงช้างสำหรับอาบน้ำ และชักลากไม้ซุงลงแม่น้ำพุมดวงเพื่อนำไปขาย สันนิษฐานว่าคำว่าท่าโรงช้าง จะเพี้ยนมาจากคำว่า “ท่าลงช้าง” ก็ได้ไม่มีหลักฐานแน่ชัด

เรื่องเล่าประวัติตำบลท่าโรงช้าง

บุคคลที่สำคัญที่ผู้คนกล่าวถึง คือ นายอำเภอ เคลื่อน มณีนิล และขุนช้าง ชื่อเดิม ชื่น บุญชิตสำหรับวัดท่าโรงช้าง มีบันทึกว่า พื้นที่วัดถูกน้ำกัดเซาะ จนเหลือน้อยลงเรื่อยๆ ชาวบ้านจึงนิมนต์หลวงพ่อลอย จากวัดท่าโรงช้าง มาเป็นเจ้าอาวาส วัดตะเคียนทอง และรื้อวัด ท่าโรงช้าง นำไม้บางส่วน ไปสร้างวัดตะเคียนทอง และเปลี่ยนชื่อเป็น วัดนาคาวาส ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านหัวไทร ในปัจจุบัน

ในสมัยก่อน ท่านขุนท่าโรงช้าง หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า กำนัน ซึ่งท่านขุนท่าโรงช้าง คนแรกชื่อ นายชื่น บุญชิต

นายอำเภอท่าโรงช้าง ที่มีผู้คนกล่าวถึงจนปัจจุบัน คือ นายอำเภอเคลื่อน มณีนิล นายอำเภอพัฒน์ สุทธิกิจ และนายอำเภอ ขุนรองเมือง ซึ่งเป็นนายอำเภอคนสุดท้ายของตำบลท่าโรงช้าง ก่อนที่จะถูก

ยุบรวม

โรงเรียนในสมัยก่อน จะมีเพียงโรงเรียนเดียวเท่านั้น ชื่อโรงเรียนชูเวชวิทยา เป็นโรงเรียนเอกชนเจ้าของโรงเรียนคือ นายพันชู วงศ์สุบรรณ

ก่อนปี พ.ศ. 2446 ท่าโรงช้าง อยู่ในการปกครองของมณฑลคีรีรัฐ

พ.ศ. 2446 ในสมัยรัฐกาลที่ 5 ถูกยกฐานะเป็นอำเภอ ประกอบด้วยตำบลบางมะเดื่อ ตำบลบางเดือน ตำบลกรูด ตำบลถ้ำสิงขร และตำบลย่านยาว โดยมีนายอำเภอ 7 ท่าน เรื่องตามลำดับ ดังนี้

1. ขุนรองเมือง บำรุงราษฎร์

2. ขุนศิษย์อัตถากร

3. ขุนภักดี

4. ขุนนุการสหกิจ

5. นายพัฒน์

6. นายแปลก

7. นายเคลื่อน

ตำนานแม่ยายบางบาล เล่าว่า เมื่อปลายกรุงศรีฯ พม่าตีกรุงศรีฯ จนแตก แม่ทัพ นายกอง ต่างส้องสุมกำลังคน แยกเป็นก๊ก เป็นเหล่า หลายชุมชน หนึ่งในนั้น มีนายทหารขุนพลฝีมือเยี่ยมทางเวทย์มนต์ คาถาอาคม มาพำนักอยู่ที่บริเวณที่ราบสูงของบ้านท่าข้าม อำเภอพุนพิน (ควนท่าข้าม) พลทหารหาเสบียง มาตั้งหลักบนเนินสูง ด้านล่างมีการทำนาข้าว ชื่อ นายศรี สงคราม เมื่อมาอยู่ที่ท่าข้ามได้จัดสร้างของขลัง เป็นพระดินเผา โดยเฉพาะยอดขุนพล เพื่อแจกจ่ายบำรุงขวัญในยามศึก พระยาคนนี้ มีวิชาอาคม กลายร่างเป็นเสือเมื่อ

อยู่บนบก กลายเป็นจระเข้เมื่ออยู่ในน้ำ ได้กลายร่างลงสู่แม่น้ำตาปี อาศัยอยู่บริเวณถ้ำใต้น้ำ (พญาท่าข้าม) ข้างทางรถไฟในปัจจุบัน ถ้ำนี้ยาวเป็นสิบกิโลเมตร มีคนเอามะพร้าวทางสีแดง โยนเข้าปากถ้ำ ไปออกที่บ้านเกาะ เหนอ เขตอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี

ขณะที่อยู่บ้านท่าข้าม มีภรรยาชื่อ แม่ยายถิน อยู่ถนนตาปีเจริญ ชาวบ้านเรียกว่า “หลาแม่ยาย” เป็นที่เคารพเหมือนกัน ก่อนหน้านี้พญาท่าข้ามมีภรรยาเป็นสนมเอกในกรุงศรีฯ มาแล้วคนหนึ่ง แต่ได้มาพบรักกับหญิงงามอีกคน คือ แม่ยายเกาะเหนอ จากนั้นพญาท่าข้าม ได้ท่องไปตามคลองต่างๆ พักพิงไหนก็ได้ผู้หญิงถิ่นที่นั่น เป็นภรรยาเสมอ “แม่ยายบางบาล” ก็เป็นหญิงงามอีกคนที่ได้เป็นภรรยาของ

พญาท่าข้าม อยู่ที่ตำบลท่าโรงช้าง ต่อมามีภรรยา ชื่อ แม่ยายบ้านนา และเดินทางต่อ ไปอำเภอพระแสง ได้พบหญิงงามเนื้อสีทอง ชาวบ้านเรียกว่า “ศรีวรรณทอง” ซึ่งเป็นคู่ของ พญายอดน้ำ เป็นพญางูจึงเกิดการสู้รบกับพญาท่าข้าม จนเลือดแดงฉานไปทั้งคุ้งน้ำตาปี

ตำนานแห่งจระเข้ เมืองพุนพินทุกปี เมื่อถึงเดือน 6 จะมีพิธีเซ่นไหว้ในตอนเย็น ต่อมาได้มีการเข้าทรงบอกว่า การเซ่นไหว้นั้นผิดวิธี ให้ทำในตอนเช้าของวันพฤหัสบดีแรกของเดือน 4 ในทุกๆ ปี

แผนที่

อินโฟกราฟิก

โครงการที่ 1 

การจัดกิจกรรมการสร้างสัมมาชีพใหม่ให้แก่ตำบลท่าโรงช้าง โดยการผลิตน้ำพริกไตปลาแห้งบรรจุขวดแบบการสเตอริไรส์

โครงการที่ 2 

กิจกรรมการอบรมการขายสินค้าผ่านสื่อออนไลน์ เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนมากยิ่งขึ้น

กิจกรรม 1

ช่วยเหบือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในตำบลท่าโรงช้าง โดยการแจกถุงยังชีพ รวมกับอาสาสมัครกู้ภัยมูลนิธิกุศลศรัทธาสุราษฎร์ธานี

Facebook Page : https://web.facebook.com

E-Book หนังสือประวัติศาสตร์  : http://online.pubhtml5.com/yuzo/cvay/#p=1

Back To Top