ลำพูน บ้านนาสาร สุราษฎร์ ที่ตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลล าพูนตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลล าพูน อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ตะปาน พุนพิน สุราษฎร์ธานี
ประวัติตำบล
ส่วนที่1 ข้อมูลพื้นฐาน
1.1ประวัติความเป็นมาของตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลตะปานเดิมเป็นสภาตำบลตะปาน ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลจากกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 โดยมีที่ทำการ ตั้งอยู่เลขที่ 9/1 หมู่ที่ 1 บ้านปลายคลอง
แต่ก่อนเมื่อประมาณ 100 ปีเศษ การตั้งถิ่นฐานของประชาชนส่วนใหญ่อาศัยพื้นที่ริมแม่น้ำ ตาปีเป็น พื้นที่ตั้งถิ่นฐาน โดยอพยพลงมาจากป่าต้นน้ำของแม่น้ำตาปีลงมาเรื่อย ๆ อพยพลงมาเห็นถึงสภาพ พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำมาหาเลี้ยงชีพ ดั่งคำโบราณที่กล่าวว่าในน้ำมีปลา ในนามีข้าว หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนใหญ่พื้นที่ที่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานต้องเป็นพื้นที่โค้งน้ำ หรือพื้นที่ที่เป็นจุดรวมของสายน้ำทำให้เป็น แหล่งอาหารของสัตว์น้ำ ทำมาหากินได้ เป็นแหล่งเพาะสัตว์น้ำและเป็น ที่ราบลุ่ม สามารถทำนาได้ และผู้นำในการตั้งถิ่นฐานคนแรกของตำบลนั้น ชื่อ “ปาน” ต่อมามีผู้อพยพมาอยู่มากขึ้น กลายเป็นชุมชนขนาดเล็ก เรียกว่า บ้านปากคลองตาปาน และเมื่อมีการอพยพมามากขึ้นจนกลายเป็นหมู่บ้านหนึ่ง ชื่อว่า บ้านตะปาน ซึ่งเป็นหมู่บ้านหนึ่งอยู่ในตำบลกรูด ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และปัจจุบันบ้านตะปาน เป็นชื่อหมู่บ้านหมู่ที่ 2 ของตำบลตะปาน (แผนพัฒนาท้องถิ่น,2561)
ไทม์ไลน์พัฒนาการของ ตำบลตะปาน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พ.ศ. ปี เหตุการณ์สำคัญ และอื่น ๆ
2439 1 ก่อตั้งอำเภอพุนพิน
2474 36 ก่อตั้งโรงเรียนวัดราษฎร์บำรุงมีผู้อำนวยการคนแรกชื่อ นายหว้า แซ่อิ๋ว
ก่อตั้งวัดราษฎร์บำรุง มีเจ้าอาวาสท่านแรก ชื่อ หลวงพ่อเผือก
2485 47 ก่อตั้งโรงเรียนบ้านบางเบา หมู่ที่ 3
2491 53 ก่อตั้งและเริ่มทำการสอนโรงเรียนบ้านปลายคลอง
2492 54
2493 55 พื้นที่ตำบลตะปาน ยังคงเป็น ตำบลกะปัน อำเภอลำพูน จังหวัดไชยา
2505 67 ก่อตั้งเป็นหมู่7 ตำบลกรูด
2508 70 โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุงได้รับงบประมาณสร้างสนามฟุตบอล ขนาด 59 × 89 ตร.ม.แบบสร้างเองราคา 20,000 บาทงบบริจาคจากชุมชน
2512 74 โรงเรียนบ้านบนไร่เปิดสอนอย่างเป็นทางการ
2516 78 โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุงได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ ป.1 ข ราคา 480,000 บาท
2518 80 ตั้งชื่อหมู่บ้านบางเบา
2519 81 โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุงได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครู แบบสามัญ ราคา 105,600 บาท
2523 85 ก่อตั้งที่พักสงฆ์บ้านบนไร่
2528 90 โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุงได้รับงบประมาณสร้างที่เก็บน้ำ แบบถัง ฝ.33 จุ 11 ลบ.ม. ราคา 30,000 บาท
2529 91 โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุงได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ สปช.202/26 ราคา 200,000 บาท
โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุงได้รับงบประมาณสร้างส้วม แบบ สปช 401/26 ลักษณะถาวร ราคา 40,000 บาทก่อตั้งโรงเรียนบ้านราษฎร์ประดิษฐ์
2530 92 ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านราษฎร์ประดิษฐ์ คนแรก ชื่อ นายเจริญ โชติรุจิยานนท์ ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ ตั้งแต่ ปี2529-2559 ,
คนที่2 ชื่อ นายเริงชัย ดำสุวรรณ ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการตั้งแต่ ปี2560 -ปัจจุบัน
2531 93 เกิดเหตุการณ์อุทกภัย (ปีกระทูน)
2534 96 บูรณะที่พักสงฆ์บ้านบนไร่
2535 97 ก่อตั้งหมู่ที่ 2 มีผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อนายวิจิตร จันทร์รอด
ก่อตั้งหมู่บ้าน เป็นหมู่4 บ้านทับแปด ตำบลตะปานผู้ใหญ่บ้านคนแรก ชื่อ นายสมบูรณ์ ชัยขัน ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ตั้งแต่ ปี2535-2540คนที่2 ชื่อ นายวิเชียร แซ่เดี่ยว ดำรงตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน ตั้งแต่ ปี2541-2544คนที่3 ชื่อ นายอนพัฒน์ เมฆฉาย ดำรงตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน ตั้งแต่ ปี2545-2548คนที่4 ชื่อ นายวิเชียร แซ่เดี่ยว ดำรงตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน ตั้งแต่ ปี2549-ปัจจุบัน
2536 98
2537 99 ก่อตั้ง อบต.กระทรวงมหาดไทย
จัดตั้งโครงการแห่เทียนพรรษาประจำปีของหมู่บ้านณ ศาลาประชาคมหมู่ที่4 เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงานของภาคใต้
ก่อตั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปาน
2538 100 เปิดใช้บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปาน
2539 101 ผู้ใหญ่บ้านคนแรกหมู่ที่5 นายสมบูรณ์ เพชรทอง
2541 103 นายสุเทพ อินทร์สุวรรณ ดำรงตำแหน่งเป็นกำนันคนที่ 2
2544 106 ชาวบ้านรวมกลุ่มทำน้ำพริกตะไคร่
เริ่มโครงการฌาปนกิจสงเคราะห์หมู่บ้านคนก่อตั้งโครงการชื่อนายสมนึก มีศรี ดำรงตำแหน่งส.อบต.
2545 107 ผู้ใหญ่บ้านคนที่2 หมู่2 นายกิตติพงษ์
จัดตั้งให้มีเครื่องใช้ประจำศาลาหมู่บ้าน หมู่ที่4 ตำบลตะปานโดยมีการเก็บค่าบำรุงรักษาเครื่องใช้ เพื่อเป็นรายได้ให้กับหมู่บ้าน
2546 108 มติรัฐมนตรียุบสวนปาล์มนายทุนทำให้เกิดการขโมยปาล์มของนายทุนและมีการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่จนทำให้กำนันต้องเสียชีวิต
โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุงได้รับงบประมาณสร้างสนามวอลเลย์บอลงบบริจาคจากชุมชนราคา45,000 บ
เปิดศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนแบบพอเพียงแก้จนฅนสหกรณ์
2547 109 ชาวบ้านค้นพบบ่อน้ำร้อน จดทะเบียนสหกรณ์การเกษตรตะปานเมืองใหม่
2548 110 นายราชันย์ อินทร์สุวรรณ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นกำนันคนที่ 4 และผู้ใหญ่ หมู่ที่ 1 บ้านปลายคลอง
2549 111 ก่อตั้งร้านค้าชุมชนประจำหมู่ที่ 2 ผู้ดูแลชื่อ นางหรรษา กิจเวชวิสุทธิ์
2550 112 ผู้ใหญ่บ้านคนที่3 หมู่2นายวิจิตร์ จันทร์รอด
จัดตั้งโครงการก่อสร้างระบบประปาผิวดินขนาดใหญ่
2551 113 ได้รับรางวัล ทางหลวงชนบทคมนาคมดีที่สุด
2552 114 สร้างอนสรณ์สถานขุนกรูดเกษมราษฎร์(นายแต้ม ตะปินา)
2553 115 ยกเลิกโรงเรียนบ้านบางเบา หมู่ที่ 3
2554 116 จัดตั้งโรงน้ำดื่มของหมู่บ้าน4
เกิดเหตุน้ำท่วมครั้งใหญ่ทำให้สะพานขาด ถนนหลายสายพัง
ราษฎรเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยต่อมามีการตั้งชื่อว่า ชุมชนวังโชกุน โดยการจัดสรรของรัฐตามมติคณะรัฐมนตรี
เกิดเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ภายในหมู่ที่ 3 (บ้านบางเบา) ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านในชุมชนเป็นอย่างมาก
2555 117 จัดตั้งโครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งหมู่ที่ 4
ก่อสร้างถนนลาดยางซอยตะปาน 6
นายฐานะดี จันทร์รอดดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 จนถึงปัจจุบัน
โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุงได้รับงบประมาณสร้างสนามเด็กเล่น ขนาด 15 × 15 ตารางเมตร แบบสร้างเอง ราคา 26,000บาทงบประมาณจากบริษัทสุราษฎร์ธานีเบเวอเรชจำกัด
2558 120 ก่อสร้างถนนลาดยางตะปาน 12
นายโสภณ รอดทองอ่อน รับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 คนที่2
2559 121 ก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้านขนาดใหญ่
ยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา
สนงทรัพยากรน้ำบาดาล 10 สอบราคาก่อสร้างโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำบ้านปลายคลอง
สร้างศาลาหมู่บ้านหลังใหม่ งบประมาณจาก “โครงการตำบล 5 ล้าน” รวมทั้งสร้างอ่างเก็บน้ำหมู่บ้านพื้นที่หลังศาลาหมู่บ้านหมู่ที่4
จัดตั้งชุด ชรบ.ออกตรวจภายในหมู่บ้าน เพื่อความสงบสุขในชุมชน
2560 122 เข้าร่วมโครงการไทยนิยมยั่งยืน ปลูกปาล์มสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน
มีเจ้าอาวาสวัดราษฎร์บำรุงชื่อ พระอาจารย์ไพรวัณจนถึงปัจจุบัน
เริ่มต้นก่อสร้างโครงการแก้มลิงหนองพร้าหาย
เข้าร่วมโครงการ ไทยนิยม ยั่งยืน ปลูกปาล์มสร้างรายได้ให้คนในชุมชน
2561 123 อบต.จัดอบรมทักษะอาชีพให้กับประชาชน,
สร้างอ่างเก็บน้ำของตำบล ,สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจึงประกาศตั้งเป็นวัดขึ้นในพระพุทธศาสนา มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีชื่อว่า“วัดปลายคลองพัฒนาราม”สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
ก่อตั้งลานกีฬาเอนกประสงค์
ก่อตั้งศาลาเอนกประสงค์
ก่อสร้างระบบปะปาขนาดใหญ่
เริ่มโครงการกองทุนแม่ของแผ่นดิน
มีวิสาหกิจชุมชนวังโชกุนอนุรักษ์สมุนไพร /มีการลักลอบตัดต้นพยอมทอง100ปีต้นใหญ่ที่สุดในหมู่บ้าน
2562 124 ที่พักสงฆ์บ้านปลายคลองเปลี่ยนเป็นวัด, จดทะเบียนสาหกิจชุมชน, ติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV
มีสถานธรรมลานธรรมบารมี และมีการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวOTOPนวัตวิถีวังโชกุน
2563 125 ก่อสร้างรับส่งสัญญาณวิทยุ
ที่มา: (วิศกรสังคมตำบลตะปาน,2564)
1.2ขนาดและที่ตั้งของตำบล
ที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลตะปาน ตั้งอยู่เลขที่ 9/1 หมู่ที่ 1 บ้านปลายคลอง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่างจากที่ว่าการอำเภอพุนพิน ประมาณ 42 กิโลเมตร และมีอาณาเขตดังนี้
1)ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลกรูด
2) ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอเคียนซา
3)ทิศตะวันออก ติดต่อกับ แม่น้ำตาปีและเขตอำเภอบ้านนาเดิม
4)ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอคีรีรัฐนิคม (แผนพัฒนาท้องถิ่น,2561)
1.3ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
1.3.1)แหล่งน้ำธรรมชาติ – จำนวนแม่น้ำไหลผ่าน จำนวน 1 สาย
1.3.2)ลำน้ำ , ลำห้วย คลอง จำนวน 7 แห่ง
1.3.3)น้ำที่ใช่ในการอุปโภค-บริโภค เป็นน้ำที่ได้จากน้ำฝน และน้ำดิบจากแม่น้ำตาปี ซึ่งจะต้อง นำมาผ่านกระบวนการของระบบประปา และระบบน้ำประปาหมู่บ้าน
1.3.4)ป่าไม้ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีป่าไม้อยู่เป็นส่วนส่วนน้อย
1.3.5)ภูเขา ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีภูเขาอยู่เป็นส่วนน้อย
1.3.6)ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลส่วนมากเป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย ร้านค้า สถานประกอบการ ตามลำดับ ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ก็ได้แก่ ดิน น้ำ ต้นไม้ อากาศที่ไม่มีมลพิษ (แผนพัฒนาท้องถิ่น,2561)
1.4ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
1.4.1 ลักษณะภูมิประเทศ ตำบลตะปานมีพื้นที่ส่วนใหญ่ปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน มีลักษณะทาง กายภาพเป็นที่ราบสูง ทางด้านตะวันตกต่ำลงมาทางตะวันออกริมฝั่งแม่น้ำตาปี ทางทิศตะวันออกริมฝั่งแม่น้ำตาปี ไหลผ่าน หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 มีคลองตะปานไหลผ่านหมู่ที่ 1,2 และ 4 และคลองชิงโสไหลผ่านหมู่ที่1 และไหลสู่ แม่น้ำตาปี เรียกว่าปากคลองตะปาน
1.4.2 ลักษณะภูมิอากาศ ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งทำให้มีช่วงฤดูฝนยาวนานและ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านทำให้ฤดูร้อนและฝนระยะเวลาใกล้เคียงกัน ทำให้ฤดูฝนมีน้ำมากเกินไปและฤดู ร้อนร้อนเกิดการขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ในช่วงฤดูแล้ง
1.4.3 ลักษณะของดิน ดินในพื้นที่ตำบลตะปาน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย (แผนพัฒนาท้องถิ่น,2561)
1.5การเดินทาง / การคมนาคม
การเดินทาง องค์การบริหารส่วนตำบลตะปาน มีถนนสายพุนพิน – พระแสง ได้แก่ ทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 4133 ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร การคมนาคม การคมนาคมทางน้ำ มีแม่น้ำที่สำคัญ คือ แม่น้ำตาปีไหลผ่าน (แผนพัฒนาท้องถิ่น,2561)
ส่วนที่2 โครงสร้างของชุมชน
2.1ด้านการเมืองการปกครอง
โดยปัจจุบันมีนาย นายธนิก กิจเวชวิสุทธิ์ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตะปาน และมีนางธนัชนก อำไพเพชร เป็นรองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล รักษาราชการแทนปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล มีนายประพัฒน์ สุภาภรณ์ เป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตะปาน นายชาญฤทธิ์ เจริญรักษ์ เป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตะปาน และนายพีรยุทธ์ นาคกุล เป็นเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตะปาน (องค์การบริหารส่วนตำบลตะปาน,2561)
การปกครองท้องที่ตำบลตะปานแบ่งออกเป็น5หมู่บ้านดังนี้
หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน
1 บ้านปลายคลอง กำนันราชันย์ อินทร์สุวรรณ
2 บ้านราษฎร์บำรุง(ตะปาน) นายฐานนะดี จันทร์รอด
3 บานบนไร่(บ้านบางเบา) นายฐานพัฒน์ ทิพย์บรรพต
4 บ้านราษฎร์ประดิษฐ์(บ้านทับแปด) นายวิเชียร แซ่เดี่ยว
5 บ้านห้วยทรายขาว นายโสภณ รอดทองอ่อน
ที่มา: (องค์การบริหารส่วนตำบลตะปาน,2561)
2.2ข้อมูลประชากร
ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ตำบลตะปาน มีประชากรตามข้อมูลทะเบียนราษฎร์ แยกตามรายหมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ ชาย(คน) หญิง(คน) รวม(คน)
1 907 849 1,756
2 416 379 795
3 762 749 1,511
4 422 408 830
5 375 371 746
รวม 2,882 2,756 5,638
ที่มา: (แผนพัฒนาท้องถิ่น,2561)
2.3ด้านการศึกษา / ศาสนา / วัฒนธรรม
1.ด้านการศึกษา
ระดับก่อนประถมศึกษามีจำนวน 6 แห่ง ดังนี้
-โรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลตะปาน
– โรงเรียนบ้านปลายคลอง
-โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
-โรงเรียนบ้านบนไร่
-โรงเรียนบ้านราษฎร์ประดิษฐ์
-โรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว
โรงเรียนระดับประถมศึกษาจำนวน 5 แห่ง ดังนี้
-โรงเรียนบ้านปลายคลอง
-โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
-โรงเรียนบ้านบนไร่
-โรงเรียนบ้านราษฎร์ประดิษฐ์
-โรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว
โรงเรียนมัธยมศึกษามี จำนวน 3 แห่ง ดังนี้
-โรงเรียนบ้านปลายคลอง (โรงเรียนขยายโอกาส)
-โรงเรียนบ้านบนไร่ (โรงเรียนขยายโอกาส)
-โรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว (โรงเรียนขยายโอกาส) (องค์การบริหารส่วนตำบลตะปาน,2561)
2.ด้านสาธารณสุข
ในด้านสาธารณสุขจากข้อมูลสถานพยาบาลในเขตตำบลตะปานมีสถานพยาบาลจำนวนทั้งสิ้น 1 แห่ง คือ
-โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปาน(แผนพัฒนาท้องถิ่น,2561) 3.สังคมสงเคราะห์
– ดำเนินการรับขึ้นทะเบียนและจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์
– รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
-ประสานการจัดทำบัตรผู้พิการ (แผนพัฒนาท้องถิ่น,2561)
4.การนับถือศาสนา
ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดจำนวน 2แห่ง สำนักสงฆ์จำนวน 1 แห่ง
-วัดราษฎร์บำรุง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
-วัดปลายคลองพัฒนาราม ตั้งอยู่หมู่ที่ 1
-สำนักสงฆ์บ้านบนไร่ ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 (แผนพัฒนาท้องถิ่น,2561)
2.4บริบททางสังคม / ความเป็นอยู่
อาชีพหลักของประชากรตำบลตะปาน คือด้านการเกษตร ปศุสัตว์ การเลี้ยงสัตว์น้ำ
1.การเกษตร
ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตตำบลตะปาน ร้อยละ ๘๐ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ยางพารา และ ปาล์มน้ำมัน ยางพาราส่วนใหญ่ปลูกในพื้นที่ดินเหมาะสมทุกหมู่บ้าน เป็นยางพันธุ์ดีทั้งหมด เมื่อยางที่มีอายุมากแล้วและจะมีแนวโน้ม ปลูกยางพันธุ์ดีทดแทน โดยจะมีการขอทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง สำหรับปาล์มน้ำมัน เกษตรกรได้มีการจัดหาซื้อพันธุ์ปาล์มจากแหล่งที่เกษตรกรเชื่อถือ สำหรับไม้ผลต่างๆ จะปลูกบริเวณใกล้ลำคลอง ห้วย ซึ่งปลูกตามสภาพความเหมาะสมของพืชที่ เพื่อเป็นพืชเสริมรายได้จากพืชหลัก(แผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบลตะปาน. สภาพพื้นที่และเศรษฐกิจ. (ออนไลน์).2556,สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564. จาก http://phunphin.suratthani.doae.go.th/2560/patana54/tapan.doc)
2.การปศุสัตว์
เกษตรกรจะมีการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ โค แพะ สุกร เป็ด และไก่พื้นเมือง ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ พร้อมมีการปรับปรุงพันธุ์ตลอดเวลา เพราะเกษตรกรจะคำนึงถึงผลตอบแทนและความคุ้มค่าเป็นหลัก(แผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบลตะปาน. สภาพพื้นที่และเศรษฐกิจ. (ออนไลน์).2556,สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564. จาก http://phunphin.suratthani.doae.go.th/2560/patana54/tapan.doc)
3.การเลี้ยงสัตว์น้ำ
การเลี้ยงสัตว์น้ำ มีการเลี้ยงปลาน้ำจืด เช่น ปลาดุก ปลาหมอ ปลานิล ปลาตะเพียนขาว เนื่องจากตำบลตะปานมีแม่น้ำตาปีไหลผ่าน และมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สร้างขึ้น เกษตรกรได้มีการจับปลาในแหล่งน้ำเหล่านี้เพื่อนำไปบริโภค (แผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบลตะปาน. สภาพพื้นที่และเศรษฐกิจ. (ออนไลน์).2556,สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564. จาก http://phunphin.suratthani.doae.go.th/2560/patana54/tapan.doc)
2.5ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม
ประเพณีและงานประจำปี
– ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ เดือนมกราคม
-ประเพณีวันสงกรานต์ เดือนเมษายน
-ประเพณีวันเข้าพรรษา เดือนกรกฎาคม – สิงหาคม
– ประเพณีวันสารทเดือนสิบ เดือนกันยายน – ตุลาคม
– ประเพณีวันออกพรรษาและชักพระ เดือนตุลาคม – พฤศจิกายน (แผนพัฒนาท้องถิ่น,2561)
2.6 ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ส่วนที่3 โครงสร้างเศรษฐกิจและอาชีพ
3.1แหล่งทุนทางธรรมชาติ
3.1.1 แหล่งน้ำ
แหล่งน้ำมีความสำคัญต่อเกษตรกรแหล่งน้ำธรรมชาติคือน้ำดิบจากแม่น้ำตาปีไหลตามแนวทิศตะวันออก ของตำบลซึ่งไม่ทำให้เกษตรนำมาใช้นำมาใช้ประโยชน์ได้มากนัก
คลองตะปาน ใช้น้ำได้ตลอดปี ถ้าเกิดภาวะวิกฤตปริมาณฝนน้อยอาจทำให้น้ำคลองไม่มีน้ำ จะมีผลกระทบต่อไม้ผลซึ่งมีการปลูกไม้ผลริมคลองตลอดสาย
(แผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบลตะปาน. สภาพพื้นที่และเศรษฐกิจ. (ออนไลน์).2556,สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564. จาก http://phunphin.suratthani.doae.go.th/2560/patana54/tapan.doc)
3.1.2 ป่าไม้
ด้านป่าไม้ซึ่งแยกเป็นประเภทดังนี้ ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าจำแนก และเขตสงวนแหล่งถ่านหินเป็นป่าสงวนเกือบทั้งตำบลประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมดส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรได้มีการทำการเกษตรเช่นปลูกยางพาราและปลูกปาล์มน้ำมัน
(แผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบลตะปาน. สภาพพื้นที่และเศรษฐกิจ. (ออนไลน์).2556,สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564. จาก http://phunphin.suratthani.doae.go.th/2560/patana54/tapan.doc)
3.2แหล่งอาหาร
หัวปลีทอด
ขั้นตอนการทำ
-น้ำหัวปลีมาซอยเป็นแว่นบางๆ
-แล้วมาคลุกเคล้ากับแป้งทอดกรอบแล้วทอดในน้ำมันพืชร้อนๆจนสุกเหลือง
-ตักขึ้นพักในตะแกรงให้สะเด็ดน้ำมัน
(ชุมชนวังโชกุน.เมนูอาหารแก้จน.(ออนไลน์).2014,สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564. จากhttps://issuu.com/pomdemandgroup/docs/____________________________________f21de90c095ff1?fbclid=IwAR3jmDMFQ9yWJ8_sTWIVDQogfN6BKmNQrfOnQ7wQeT2194w1TiJC5JhuYIk)
แกงกะทิหยวกกล้วยกุ้งสด
ขั้นตอนการทำ
-นำมะพร้าวขูดมาคั้นกับน้ำอุ่น แยกหัวกะทิกับหางกะทิไว้ต่างหาก
-ตำเครื่องแกงทั้งหมดให้ละเอียด
-หั่นหยวกกล้วยเป้นท่อนขนาดพอคำ นำไปแช่น้ำสะอาด แล้วใช้ตะเกียบหรือแท่งไม้ปั่นไปมาเพื่อให้เส้นใยที่ติดอยู่กับหยวกกล้วยออกหมด
-แกะเปลือกกุ้ง เอาเส้นดำออกและขี้กุ้งออกให้หมด
-นำหางกะทิใส่หม้อ ยกตั้งไฟร้อนปานกลางใส่เครื่องแกงลงละลาย รอจนน้ำกะทิเดือดจึงใส่หยวกกล้วยและกุ้งรอจนสุก จึงเทหัวกะทิลงไปคนให้เข้ากันปรุงรสด้วยน้ำตาลและเกลือให้ออกรสหวาน นำเจือด้วยรสเค็มปะแล่มแล้วยกลงพร้อมเสิร์ฟ (ชุมชนวังโชกุน.เมนูอาหารแก้จน.(ออนไลน์).2014,สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564. จากhttps://issuu.com/pomdemandgroup/docs/____________________________________f21de90c095ff1?fbclid=IwAR3jmDMFQ9yWJ8_sTWIVDQogfN6BKmNQrfOnQ7wQeT2194w1TiJC5JhuYIk)
ขนมใส่ไส้
ขั้นตอนการทำ
-ผสมแป้งทั้งสองชนิดเข้าด้วยกัน ใส่น้ำอุ่นแล้ว นวดให้เข้ากัน ปั้นเป็นก้อนกลม เส้นผ่าเส้นศูนย์กลางขนาด1/2นิ้วแล้วคลุมด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำบิดหมาดๆรักษาความชื้นของแป้ง
-คั้นมะพร้าวด้วยน้ำลอยดอกมะลิให้ได้หัวกะทิประมาณ 4 ถ้วย ผสมกับแป้งข้าวเข้ากัน เติมเกลือ ตั้งไฟคนตลอดเวลา ระวังอย่าให้แป้งเป็นลูก
-ทำส่วนผสมของไส้ขนม ผสมมะพร้าว น้ำตาลและน้ำ เข้าด้วยกัน ตั้งไฟกลาง คนจนเหนียวพอปั้นได้ ยกลง ทิ้งไว้จนเย็น ปั้นเป็นก้อนกลมๆขนาดประมาณ 1/2 ถ้าต้องการให้มีกลิ่นหอมมากขึ้นก็อบเทียนหอม
-แผ่แป้งให้ที่ปั้นไว้เป็นแผ่นกลม ใส่ไส้ ห่อปิดให้มิด
-ใส่ในใบตองและตักส่วนหน้าขนมใส่ประมาณ 2 -3 ช้อนชา แล้วห่อเป็นทรงสูง คาดด้วยทางมะพร้าวและกลัดด้วยไม้กลัด
-นึ่งประมาณ 10 นาที(ขนมใส่ไส้.วิธีการทำ.(ออนไลน์).2557,สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564. จากhttps://th.openrice.com/th/recipe/%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%AA%E0%B9%89/228?fbclid=IwAR0Gq1FSYS661qA4Zgmt_t69ShrH8rU4vjHN0uEteBgSNownk_wo43CNvu4)
3.3ผลิตภัณฑ์ชุมชน ของดี ของขึ้นชื่อ
3.3.1วิสาหกิจชุมชนวังโชกุนอนุรักษ์สมุนไพรหมู่ที่3 ผลิตภัณฑ์ยาสีฟันสมุนไพรพฤกษาเฮิร์บ , สบู่ฟักข้าว
เป็นกลุ่มที่เกิดจากการความร่วมมือร่วมใจกันของคนในชุมชนโดยมีนางจารีย์ เป็นประธานกลุ่มชาวบ้านในนามวิสาหกิจชุมชนวังโชกุนอนุรักษ์สมุนไพรจังหวัดสุราษฏร์ธานี ได้รวบรวมสมาชิกในชุมชนมาสร้างรายได้เสริมจากการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มซึ่งภายใต้วิสาหกิจชุมชนวังโชกุนอนุรักษ์สมุนไพรกิจกรรมเหล่านี้มีรากฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของขาวบ้านในชุมชนวังโชกุน ตั้งแต่อดีต โดยอาศัยภูมิปัญหาท้องถิ่นและทุนชุมชุนที่มีอยู่ในการดำเนินกิจกรรม เหตุเพราะเดิมชาวบ้านในชุมชนสังโชกุนมีการเพาะปลูกสมุนไพรตามบ้านเรือนจำนวนมาก เมื่อมีสมุนไพรจำนวนมากเกิน ชุมชนได้มีการไปศึกษาดูงานในพื้นที่ต่างๆ ต่อมาประธานชุมชนจึงนำแนวคิดนี้มาประยุกต์และปรับใช้ในการแปรรูปสมุนไพรที่ตนมีผลิตภัณฑ์ของชุมชนขึ้นเพื่อเสริมสร้างรายได้และอาชีพให้กับคนในชุมชน(ข้อมูลวิศวกรสังคมตำบลตะปาน,2564)
3.3.2 ผลิตภัณฑ์ชุมชนหมู่ที่5 ตะกร้าเชือกมัดฟาง
ผลิตภัณฑ์ตำบลของหมู่ที่ 5 ตำบลตะปานคือ สานตะกร้าหลังจากทำสวนยางเสร็จต่างคนก็ต่างนำผลิตภัณฑ์ไปทำที่บ้านของตัวเอง แล้วนำมาขาย ตามออเดอร์ ใช้เวลาว่างหลังจากทำสวน ที่มาของการสานตะกร้า ปีพศ. 2560 มีกลุ่มกศน.เข้ามาสอนนางวนิดา รอดทองอ่อน ปีพศ. 2561 ทำการสอนให้กับแม่บ้าน ในหมู่ที่ 5ปีพศ. 2561 เริ่มสอนตามหมู่บ้านต่างๆในตำบลเดียวกัน ปีพศ. 2563 ได้รับเชิญไปสอนสถานที่ต่างๆ เช่น สถานพินิจ(ข้อมูลวิศวกรสังคมตำบลตะปาน,2564)
3.3.3 ผลิตภัณฑ์ชุมชนหมู่ที่5 การผ้าเพ้นท์ผ้าปาเต๊ะ
การผ้าเพ้นท์ผ้าปาเต๊ะ ด้วยเทคนิคสีกากเพชร เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผ้าเป็นรายได้เสริมของครอบครัว ปีพศ. 2563 เริ่มทำจากผ้าถุงผ้าปาเต๊ะหรือผ้าอินโดครูจาก กศน.มาสอนที่บ้าน(ข้อมูลวิศวกรสังคมตำบลตะปาน,2564)
3.3.4 ผลิตภัณฑ์ชุมชนหมู่ที่2 น้ำพริกตะไคร้ป้าหรรษา
หมู่ 2 ตำบลตะปาน อ.พุนพิน ผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำพริกตะไคร้ป้าหรรษา คุณหรรษา กิจเวชวิสุทธิ์ ผู้ให้ข้อมูล แม่มะลิ จันทร์รอด ผู้คิดค้นสูตรน้ำพริกตะไคร้ และให้ชาวบ้านมารวมกลุ่มในการทำน้ำพริกตะไคร้ 2544 ในเวลาต่อมาเศรษฐกิจดีขึ้นราคายางพาราสูงขึ้นทำให้ชาวบ้านหันไปประกอบอาชีพขายน้ำยาพาราดังเดิมไม่มีเวลามาทำน้ำพริกตะไคร้ ทำให้กลุ่มสลายไป คุณหรรษา กิจเวชวิสุทธิ์ ซึ่งเป็นผู้ดูแลร้านค้าชุมชน ก็ได้ใช้เวลาที่ตนว่างทำน้ำพริกตะไคร้ขาย โดยใช้ชื่อว่า ‘น้ำพริกตะไคร้ป้าหรรษา(ข้อมูลวิศวกรสังคมตำบลตะปาน,2564)
3.4สถานภาพทางเศรษฐกิจของประชาชน
3.4.1 การเกษตร ประชากรในเขตตำบลตะปาน ร้อยละ 80 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตทาง การเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 80 อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 10 อาชีพค้าขาย ร้อยละ 5 อาชีพอื่นๆ ร้อยละ 5
3.4.2 การประมง ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตะปานไม่มีอาชีพประมงเป็นหลัก แต่มีการทำประมงเป็น รายได้เสริม ประมาณ 10 ครัวเรือน
3.4.3 การปศุสัตว์ เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนและเป็นรายได้เสริม เช่น เป็ด ไก่ โค สุกร เป็นต้น
3.4.4 การบริการ โรงแรม จำนวน 1 แห่ง
3.4.5 การท่องเที่ยว ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตะปานไม่มีแหล่งท่องเที่ยว แต่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ เกิดขึ้นในชุมชน เช่น การจัดงานประเพณีต่างๆ เป็นต้น
3.4.6 อุตสาหกรรม ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตะปาน ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม
3.4.6 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพหน่วยธุรกิจในเขตอบต.ตะปาน โรงแรม จำนวน 1 แห่ง ปั๊มน้ำมัน จำนวน 1 แห่ง โรงงานอุตสาหกรรม จำนวน – แห่ง – ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ จำนวน 1 แห่ง(แผนพัฒนาท้องถิ่น,พ.ศ.2561-2565)
การรวมกลุ่มเพื่อการประกอบอาชีพ
ชื่อกลุ่ม กิจกรรม ที่ตั้ง
1.กลุ่มเลี้ยงปลา เลี้ยงปลาของกลุ่มสมาชิก ม.1
2. กลุ่มร้านค้าชุมชน ร้านค้าชุมชน ม.2
3. กลุ่มเกษตรเลี้ยงสัตว ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ ม.2
4. กลุ่มน้ำพริกตะไคร้ ผลิตน้ำพริกตะไคร้ ม.2
5. กลุ่มมีดกรีดยาง ตีมีดกรีดยาง ม.2
6. กลุ่มทำขนม ทำขนมขาย ม.2
7. กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ ปลูกผักปลอดสารพิษ ม.4,ม.5
8. กลุ่มระดับทุนทำอาหารที่ปลอด สารพิษ เพื่อสุขภาพกับเด็กนักเรียน ระดมทุนทำอาหารที่ปลอดสารพิษเพื่อ สุขภาพกับเด็กรักเรียน ม.5
9. กลุ่มพืชสมุนไพร ปลูกพืชสมุนไพร ม.5
ที่มา: (แผนพัฒนาท้องถิ่น,2561)
ส่วนที่4 สถานที่สำคัญ
4.1แหล่งท่องเที่ยว
4.1.1สถานที่ท่องเที่ยวหมู่ที่3 แหล่งท่องเที่ยววิสาหกิจชุมชน OTOP นวัตวิถีวังโชกุน
วิสาหกิจชุมชนวังโชกุนอนุรักษ์สมุนไพร วิสาหกิจชุมชนวังโชกุนอนุรักษ์สมุนไพรตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 141/78 หมู่ที่ 3 ตำบลตะปาน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฏร์ธานี เป็นกลุ่มที่เกิดจากการความร่วมมือร่วมใจกันของคนในชุมชนโดยมี นางจารีย์ ประธานกลุ่มชาวบ้านในนามวิสาหกิจชุมชนวังโชกุนอนุรักษ์สมุนไพร จังหวัดสุราษฏร์ธานี ได้รวบรวมสมาชิกในชุมชนมาสร้างรายได้เสริมจากการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มซึ่งภายใต้วิสาหกิจ ชุมชนวังโชกุนอนุรักษ์สมุนไพรนั้น ประกอบไปด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่ ยาสีฟันพฤกษา แชมพูอัญชันใบบัวบก ชามะรุม และสบู่ฟักข้าว กิจกรรมเหล่านี้มีรากฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านในชุมชนวังโชกุน ตั้งแต่อดีต โดยอาศัยภูมิปัญหาท้องถิ่นและทุนชุมชนที่มีอยู่ในการดำเนินกิจกรรม เหตุเพราะเดิมชาวบ้านใน ชุมชนวังโชกุนมีการเพาะปลุกสมุนไพรตามบ้านเรือนเป็นจำนวนมากมาว่าจะเป็น กล้วย มะรุม ฟักข้าว อัญชัน เป็นต้น ซึ่งพอมีสมุนไพรเหล่านี้จำนวนเยอะเกินไปผนวกกับในช่วงปีพ.ศ.2559 ชุมชนวังโชกุนได้เปิดศูนย์การ เรียนรู้แก้จนคนสหกรณ์ขึ้นภายในชุมชนเพื่อเป็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทางศูนย์การเรียนรู้ได้นำเอา ชาวบ้านในชุมชนไปศึกษาดูงานในต่างพื้นที่ ต่อมาประธานกลุ่มจึงนำเอาแนวคิดดังกล่าวที่ได้ไปดูงานมามา ประยุกต์และปรับใช้ในการแปรรูปสมุนไพรที่ตนมีเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชนขึ้นเพื่อเสริมสร้างรายได้และอาชีพ ให้กับคนในชุมชน อีกทั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้ยังได้รับรางวัลสินค้าปลอดภัยจากกรมการพัฒนาชุมชนในปี พ.ศ.2562 ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่สามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้กับชุมชนรวมถึงครัวเรือนได้ ทั้งนี้ในทุกขั้นตอนของการปลูกตลอดจนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาวบ้านจึงรวมกลุ่มกันในการปลูก สมุนไพรตลอดจนการบรรจุลงบรรจุภัณฑ์ นำไปสู่การเกิดเป็นกลุ่มอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้ครอบครัวและ ชุมชน ต่อมาหลังจากนั้นก็มีหน่วยงานภาครัฐและสถาบันอุดมศึกษาได้เข้ามาให้การสนับสนุนทั้งในส่วนของ ความรู้ในด้านวิชาการและงบประมาณต่าง ๆ ทำให้ทางกลุ่มมีการพัฒนาการดำเนินงานภายในกลุ่มและ ผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายเพื่อลดรายจ่ายและตอบสนองความต้องการของคนในชุมชนได้มากขึ้น ปัจจุบัน วิสาหกิจชุมชนวังโชกุนอนุรักษ์สมุนไพรถือได้ว่าเป็นวิสาหกิจชุมชนที่สามารถผลิตสินค้าและบริการบนพื้นฐาน ทุนชุมชนและการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (วิศวกรสังคมตำบลตะปาน,2564)
4.2แหล่งโบราณสถาน
ไม่มี (ธนิก กิจเวชวิสุทธ์,ประพันธ์ สุภาภรณ์,ชาญฤทธิ์ เจริญรักษ์ สัมภาษณ์. 11 กันยายน 2564)
4.3ศาสนสถานของทุกศาสนา
วัด จำนวน 2 แห่ง คือ วัดราษฎร์บำรุง หมู่ที่ 2 และวัดปลายคลองพัฒนาราม หมู่ที่ 1 ตำบล ตะปาน
วัดราษฎร์บำรุง ตั้งอยู่หมู่ที่2
วัดปลายคลองพัฒนาราม ตั้งอยู่ที่1
สำนักสงฆ์ จำนวน 1 แห่ง คือ สำนักสงฆ์บ้านบนไร่ หมู่ที่ 3 บ้านบนไร่
สำนักสงฆ์บ้านบนไร่ ตั้งอยู่เลขที่81/1 หมู่ที่3 ตำบลตะปาน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
4.4แหล่งเรียนรู้/โรงเรียน/ห้องสมุดชุมชน
โรงเรียน จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง โรงเรียนบ้านบนไร่ โรงเรียนบ้านปลายคลอง โรงเรียนบ้านราษฎร์ประดิษฐ์ โรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว
โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
ที่มา:เพจโรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลตะปาน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 2 จัดตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 24 พฤษภาคม 2474 เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อ วันที่ 1 กรกฎาคม พุทธศักราช 2475 ใช้ชื่อว่า “ โรงเรียนประชาบาลตำบลบ้านกรูด ” เป็น โรงเรียนขนาดเล็ก มีเนื้อที่ 25 ไร่ มีเขตบริการหมู่ที่ 2 ของตำบลตะปาน โรงเรียนตั้งอยู่ในเขตบริการของ องค์การบริหารส่วน ตำบลตะปาน ห่างจากโรงเรียนประมาณ 3 กิโลเมตร ระยะทางจากโรงเรียนถึงที่ตั้งสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 ประมาณ 47 กิโลเมตร มีถนนลาดยาง ตัดผ่านหน้าโรงเรียน ทำให้การเดินทางสะดวก ปัจจุบันโรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล ถึง ประถมศึกษาปีที่ 6 (โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง.(2021). ประวัติความเป็นมา. (ออนไลน์). ค้นเมื่อวันที่8กันยายน2564. จากhttp://thaischool.in.th/school_detail.php?school_id=84105975&fbclid=IwAR07Fl7F2-05AyEHefSyqZ4qhpcddmNodBRcCP-vlCP8xoZ94PtpUW1h9A8)
โรงเรียนบ้านบนไร่
ที่มา: ถ่ายโดยนางสาวแก้วทิพย์ เดชมณี
โรงเรียนบ้านบนไร่ เปิดสอนเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๒ โดยได้รับการบริจาคที่ดิน จาก นายประยูร นางนงลักษณ์ ประดับศิลป์ จำนวน ๑๒ ไร่ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๓ ตำบลตะปาน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๒ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนตั้งเเต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๑ ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
โรงเรียนบ้านบนไร่.(2021). ประวัติความเป็นมา. (ออนไลน์). ค้นเมื่อวันที่8กันยายน2564. จาก
https://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-
โรงเรียนบ้านปลายคลอง
ที่มา: ถ่ายโดยนางสาวมนต์ชนก อินทร์เนื่อง , เพจโรงเรียนบ้านปลายคลอง
โรงเรียนบ้านปลายคลอง เป็นโรงเรียนขนาดกลาง สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 มีเนื้อที่ 48 ไร่เศษ โรงเรียนบ้านปลายคลองได้ก่อสร้างและเริ่มทำการสอน เมื่อปี พ.ศ. 2491 โดยชาวบ้านปลายคลอง ช่วยกันสร้างเป็นอาคารไม้ชั่วคราวหลังคามุงด้วยจาก ซึ่งมีนายเนื่อง หริตา เป็นผู้รักษาราชการในตำแหน่งครูใหญ่ เป็นผู้นำและให้ชื่อว่า “โรงเรียนประชาบาลตำบลกรูด 6 บ้านปลายคลอง” เเละขึ้นอยู่กับเขตการปกครองอำเภอบ้านนาสาร ซึ่งต่อมา ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2494 ทางกระทรวงมหาดไทย ได้เเบ่งเขตการปกครองใหม่ มาขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (โรงเรียนบ้านปลายคลอง.(2021). ประวัติความเป็นมา. (ออนไลน์). ค้นเมื่อวันที่8กันยายน2564.
จากhttp://thaischool.in.th/school_detail.php?school_id=84105719&fbclid=IwAR0W4gyv99jXl_WIjgmjURnw6BQ5fTk7UzBeaFp5jmumRZrCCtyCcGSsoo8)
โรงเรียนบ้านราษฎร์ประดิษฐ์
ที่มา:ถ่ายโดยนางสาวแก้วทิพย์ เดชมณี , เพจโรงเรียนบ้านราษฎร์ประดิษฐ์
โรงเรียนบ้านราษฎร์ประดิษฐ์ มีเนื้อที่ 20 ไร่ ซึ่งนายมาโนช แก้วสุคนธ์ เป็นผู้บริจาค เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2529 เป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง มีนายวาด จันทร์รอด ครูโรงเรียน “ วัดราษฎร์บำรุง ” เป็นครูคนแรก เปิดทำการสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีนักเรียน 24 คนโดยใช้อาคารเรียนชั่วคราวซึ่งราษฎรในท้องถิ่นสร้างขึ้น (โรงเรียนบ้านราษฎร์ประดิษฐ์.(2021). ประวัติความเป็นมา. (ออนไลน์). ค้นเมื่อวันที่8กันยายน2564. จากhttp://thaischool.in.th/school_detail.php?school_id=84105744&fbclid=IwAR2DlLH6N1qKeFMv4PDTMFFaQAgs4lIgHQ67wbs1IaqmWtxPc-oQrc1dTNw)
โรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว
ที่มา: เพจโรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว
โรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 2 อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งในพื้นที่เขตป่าสงวนเเห่งชาติหมู่ที่ 5 ตำบล ตะปาน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื้อที่ 34 ไร่ ระยะทางถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 58 กิโลเมตร การจัดตั้ง นายเเสง ทองอินทร์ ผู้นำราษฎรอพยพมาบุกเบิกตั้งถิ่นฐานใหม่ ในท้องที่ บ้านห้วยทรายขาว คาดหวังให้มีสถานศึกษาในหมู่บ้าน พื้นที่ 34 ไร่ ต่อมา นายสมบูรณ์ เพชรทอง นายประเสริฐ หลักชุม ผู้นำชุมชน และนายจิระ ศุทธางกูร หน.ปอ.พุนพิน ร่วมกัน จัดตั้งโรงเรียน ชื่อ “โรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว สาขาโรงเรียนบ้านบนไร่” โดยราษฎรใน หมู่บ้านร่วมกันสร้างอาคารเรียนชั่วคราว ขนาด 3 ห้องเรียน เปิดทำการสอน 1 พฤษภาคม 2529 ในปี 2539 เปิดเรียนเป็นโรงเรียนเอกเทศ ชื่อ “โรงเรียนบ้านห้วยทราขขาว” และ ขยายชั้นเรียนถึงระดับประถมศึกษาตอนปลาย ปัจจุบันเปิดทำการสอน ชั้นอนุบาล 1 ถึง ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 และ มัธยมศึกษาปีที่
1 – 3 (โรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว.(2021). ประวัติความเป็นมา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่8กันยายน2564.
แผนที่
อินโฟกราฟิก
โครงการที่ 1
ส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม
จัดกิจกรรมการส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ณ ศาลาหมู่ 3 บ้านบางเบา
ณ วันที่ 7 – 8 ตุลาคม 2564
✔️จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 25 คน พร้อมด้วยวิศวกรสังคมอีก 25 คน
✔️โดยมีวิทยากร 2 ท่านในการให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชน
▪️ท่านแรกชื่อ คุณฐานพัฒน์ ทิพย์บรรพต 🙏🏻 บรรยายเรื่องผลกระทบและการรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม
▪️ท่านที่สองชื่อ คุณพิมลรัตน์ เพชรรัตน์ 🙏🏻 บรรยายเรื่องการปลูกกลอยและแปรรูปกลอยให้มาเป็นผลิตภัณฑ์
โครงการที่ 2
มวิศวกรสังคมตำบล ตะปาน อำเภอ พุนพินจังหวัด สุราษฎร์ธานี ในโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่กิจกรรมพิเศษ U2T สู้ภัยโควิด “U2T Covid week” ร่วมเสริมทัพเป็นกองหนุนรัฐบาลให้ชุมชน เคลียร์เชื้อร้ายรณรงค์เร่งฉีดวัคซีน เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชนชุมชนและณรงค์การสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีน พร้อมทีมวิศวกรสังคมในพื้นที่ดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ทั้ง 82 ตำบล ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ณ โรงเรียนบ้านปลายคลอง
โครงการที่ 3
จัดกิจกรรมการส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สวนกลอยหมู่ 4 ของคุณลุงพิมลรัตน์ เพชรรัตน์
✔️จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน พร้อมด้วยวิศวกรสังคมอีก 20 คน
✔️โดยมีผู้รู้ 1 ท่านในการให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกต้นกลอย
▪️นำโดย คุณพิมลรัตน์ เพชรรัตน์ 🙏🏻
กิจกรรม 1
ระมวลภาพกิจกรรม
✔️วันที่ 30 สิงหาคม 2564 หลังจากทางวิศวกรสังคมตะปานได้ทำการจัดกิจกรรมปลูกฟ้าทลายโจร ณ สำนักสงฆ์บ้านบ่นไร่ หมู่ 3 ก็ได้จัดโครงการฟ้าทลายโจร “ปลูกเดือนแม่ เก็บเดือนพ่อ” ด้วยเช่นกัน
✔️เนื่องด้วยกิจกรรมเดียวกันทางผู้ใหญ่บ้านได้นำชาวบ้านเข้าไปปลูกฟ้าทลายโจรสมทบกับต้นฟ้าทลายโจรของทางวิศวกรสังคมด้วยเช่นกัน
✔️หลังจากปลูกทางด้านวิศวกรสังคม ตำบลตะปานก็ได้ผลัดกันเข้าไปดูแลฟ้าทลายโจรมาตลอด
Facebook Page : https://www.facebook.com/U2T-SRU-
E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ : https://heyzine.com/flip-book/44460e09bd.html#page/2