skip to Main Content

ปากตะโก ทุ่งตะโก ชุมพร

ประวัติตำบล

    อำเภอทุ่งตะโก ตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด สภาพภูมิประเทศของอำเภอทุ่งตะโก จ.ชุมพร มีทั้งที่ราบ พื้นที่เนินเขา และที่ราบชายฝั่งทะเล โดยมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอสวี ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อ่าวทุ่งตะโก (ส่วนหนึ่งของอ่าวไทย) ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอหลังสวน ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอหลังสวน และ อำเภอสวี จ.ชุมพร

     การกำเนิด เมืองทุ่งตะโก (ทุ่งตาโก ) ขึ้นเป็นเมืองบริวารของเมืองชุมพร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1199 เป็นสมัยตอนปลายของสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงเสียม-อู่ทอง (ไชยา) ก่อนเกิดสหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ (ไชยา) เล็กน้อย เกิดเมืองนี้ขึ้นเพราะผู้อพยพชนชาติอ้ายไต ตาโก ที่มาจากเกาะไหหลำ ที่มาตั้งรกรากที่บ้านปากกิ่ว (ต.วัง อ.ท่าชนะ) และที่เมืองตากลบ มีประชาชนชาวตาโกหนาแน่นเกินไป จึงได้กระจายพลเมืองตาโกที่บ้านปากกิ่ว ไปร่วมกันสร้างบ้านแปลงเมืองใหม่ ที่เมืองทุ่งตาโก ใกล้เมืองชุมพร

    ในพระราชประวัติของพระเจ้าตากสินฯ ในวัยเด็กขณะที่นายพ่วง (พระเจ้าตากสินฯ) อายุ 16 ปีได้เดินทางกลับจาก มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน มาลงเรือที่เกาะชวา ได้มาขอโดยสารเรือสำเภาของ นายบุญชู (เจ้าพระยาจักรีฯบุญชู) ที่เกาะชวาขอมาลงเรือ ที่ท่าเรือท่ากระจาย เมืองท่าชนะ แต่นอนหลับเพลินในเรือสำเภา ของนายบุญชูจึงต้องไปลงเรือที่ท่าเรือทุ่งตะโก แล้วต้องขอโดยสารเรือสำเภา กลับมาที่ท่าเรือท่ากระจายเมืองท่าชนะอีกครั้งหนึ่ง แสดงว่า เมืองทุ่งตะโก เป็นเมืองท่าค้าขาย เล็ก ๆ ยาวนานมาแล้ว

    เมืองทุ่งตะโก (ทุ่งตาโก) ได้ปรากฏหลักฐานในตำนาน การสร้างเมืองนครศรีธรรมราช หลังจาก สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ (ไชยา) ได้ล่มสลาย ว่ามีการสร้างเมืองสิบสองนักษัตร เป็นเมืองบริวารของ เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งหนึ่งในจำนวนนี้คือ เมืองชุมพร ซึ่งมีศักดิ์เป็นเมืองตรี และ         มีเมืองขึ้นเล็ก ๆ อีก 7 เมืองด้วยกัน คือ เมืองปะทิว เมืองท่าแซะ เมืองเมลิวัน เมืองกระ (ปัจจุบัน คือ   อ.กระบุรี) เมืองระนอง เมืองหลังสวน และ เมืองตะโก ต่อมาในภายหลังได้รวมเอาเมืองกำเนิดนพคุณ (คือ อ.บางสะพานน้อย) เข้ามาด้วย เมืองตะโก จึงได้มีชื่อในประวัติศาสตร์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และได้ถูกจัดให้ เป็นหัวเมืองจัตวา และที่มีความสำคัญเนื่องจากเป็นทางผ่านของกองทัพ ที่ยกมาจากเมืองหลวง ทั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงธนบุรี และ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

    เมืองทุ่งตะโก ถูกพม่าตีแตกและเผาทำลายจนสิ้นซากพร้อม ๆ กับเมืองชุมพร ในสมัยสงคราม 9 ทัพ จึงเป็นเมืองที่ไร้ชื่อ ตลอดมา จากหลักฐานที่ปรากฏ คนสุดท้ายที่รักษาเมืองตะโกคือ “หมื่นรามราชรักษา” จนถึงปี พ.ศ. 2440 เมืองทุ่งตะโก ได้ถูกลดฐานะลงมาเป็นเพียงตำบล ขึ้นกับเมืองสวี ตลอดมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 นายประมวล กุลมาตย์ ส.ส.เมืองชุมพร ได้เสนอ เรื่องต่อกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอยก ต.ทุ่งตะโก ต.ปากตะโก และ ต.ทุ่งตะไคร้ ยกฐานะขึ้นเป็น กิ่งอำเภอทุ่งตะโก จึงได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 93 ตอนที่ 106 เรื่องแบ่งท้องที่อำเภอสวี จ.ชุมพร และตั้งเป็น กิ่งอำเภอทุ่งตะโก ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2519 ในสมัยที่ ม.ร.ว. เสนีย์ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย เมืองทุ่งตะโก ได้ยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2534

  ชุมชนบ้านปากตะโก เป็นหมู่บ้านชาวประมงริมทะเลที่มีวัฒนธรรมผสมระหว่างไทย – จีน เนื่องจากตั้งอยู่ในบริเวณปากน้ำ ซึ่งเป็นสถานที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามความเชื่อของคนจีนที่ล่องเรือขึ้นฝั่งและตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่ หมู่บ้านปากตะโกจึงเป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีความร่วมสมัย นอกจากจะได้เที่ยวชมอารยธรรมเก่าแก่ของชุมชนแล้ว ที่นี่ยังมีชายหาดอรุโณทัยที่เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศอีกด้วย

แผนที่

อินโฟกราฟิก

โครงการที่ 1 

ตำบลปากตะโกได้ทำการจัดอบรมโครงการออนไลน์การส่งเสริมแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ผ่านเส้นทางการท่องเที่ยวในชุมชน

การจัดการเพื่อป้องกันโรคติดต่อ และช่องทางการประชาสัมพันธ์ พื้นที่ตำบลปากตะโก อำเภอทุ่งตะโก

จังหวัดชุมพร

วันที่ 20 ตุลาคม 2564 

เพื่อให้ความรู้เเก่คนในชุมชน

โครงการที่ 2

กิจกรรม 1

กิจกรรม Covid week

กิจกรรม 2

การปลูกฟ้าทะลายโจร

Facebook Page : https://www.facebook.com/U2Tsru-

E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ : https://anyflip.com/zmumj/aczb/?fbclid

Back To Top