skip to Main Content

ปากทรง พะโต๊ะ ชุมพร

ประวัติตำบล

ตำบลปากทรง เหตุที่ชาวบ้านเรียกชื่อนี้ สันนิษฐานว่า เจ้าเมืองระนองและเจ้าเมืองหลังสวนเป็นญาติกัน การเดินทางไปเยี่ยมเยียนกันในสมัยก่อนนั้น ไม่มีถนนจึงต้องทรงช้างไปเมืองหลังสวน เมื่อมาถึงปากแม่น้ำก็ต้องลงเรือต่อไปอีก ชาวบ้านเห็นเจ้าเมืองทรงช้างมาลงเรือที่ปากแม่น้ำ จึงเรียกบริเวณนี้ว่า “ปากทรง” และได้ยกเป็นตำบลมาจนถึงทุกวันนี้

หมู่ที่ 1 บ้านต่อตั้ง 

บ้านต่อตั้ง ตำนานเล่าขานไว้ว่านายแสงซึ่งเป็นคนในหมู่บ้านเข้าป่าไปโค่นต้นไม้ในป่าเพื่อนำไปสร้างบ้าน โดยนายแสงโค่นต้นไม้จนขาดแล้ว แต่ต้นไม้ไม่ล้มลงบนพื้นดินต้นไม้ยังคงตั้งอยู่บนตอ เนื่องจากสมันก่อนต้นไม้ในป่าหนาแน่นและเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์มีต้นไม้อยู่ชิดติดกัน นั่นจึงเป็นเรื่องเล่าต่อๆกันมาจนได้ตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านตั้งตอ แล้วก็มีการเรียกชื่อเพี้ยนต่อกันมาเป็นบ้านต่อตั้งจนถึงปัจจุบัน  หมู่บ้านต่อตั้งอยู่ห่างจากอำเภอพะโต๊ะระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ส่วนใหญ่คนในพื้นที่เป็นคนใต้ 70% ชาวบ้านประกอบอาชีพการเกษตร ปลูกปาล์ม, ทุเรียน, มังคุด, หมากและยางพาราเล็กน้อย ปัจจุบันผู้ใหญ่เป็นบ้านคนที่ 7 ชื่อนายธิเบก เทพศิริ 

พ.ศ.2482  ก่อตั้งโรงเรียนบ้านต่อตั้งเมื่อวันที่ 1เดือนพฤษภาคม 

พ.ศ.2539  กรมชลประทานสร้างสะพานเพื่อเชื่อมถนนในหมู่บ้าน

พ.ศ.2540  เกิดพายุซีต้าทำให้บ้านเรื่องและพืชสวนเสียหายอย่างรุนแรง

พ.ศ.2549  เกิดพายุทุเรียนเมื่อวันที่ 25 เดือนพฤศจิกายน ส่งผลให้บ้านเรือน ถนนและพืชสวนเสียหาย

พ.ศ.2559  จัดงานวิ่งมินิมาราธอนผ่านเส้นทางหมู่ที่ 1 ของงานเทศกาลล่องแพพะโต๊

พ.ศ.2560  เกิดน้ำป่าไหลหลากส่งผลทำให้บ้านเรือนและถนนเกิดความเสียหาย ผู้คนหลี้ภัยไปอยู่บนเขา

พ.ศ.2561  กลุ่มแม่บ้านและกลุ่มออมทรัพย์รวมตัวกันทำขนมหวานหลายชนิด  

พ.ศ.2562  เกิดฝนตกหนักช่วงเดือนพฤษภาคม ทำให้ถนนถูกน้ำกัดเซาะเสียหายหลายสาย

พ.ศ.2562  มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านเมื่อวันที่ 12 เดือนตุลาคม

พ.ศ.2563  ก่อตั้งสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านเขาครา

หมู่ที่ 2 บ้านห้างแก

หมู่ที่ 2 บ้านห้างแกตำนานเล่าขานไว้ว่าครั้งหนึ่งมีเจ้าเมืองหลังสวนท่านหนึ่งได้พยายามสืบหาลูกหลานชาวบ้านว่าในหมู่บ้านไหนมีลูกสาวชาวบ้านสวยปรากฏว่าในหมู่บ้านนี้นั้นมีลูกสาวอยู่ 1 คนผู้เป็นบิดาเกรงว่าเจ้าเมืองหลังสวนจะส่งคนมารับลูกสาวเอาไปทำเมียจึงได้นำลูกสาวเพื่อหลบหนีเจ้าเมืองหลังสวนไปอาศัยอยู่ในป่าโดยได้สร้างห้างพักพิงอยู่บนต้นไม้ชื่อต้นสะแกเนื่องจากสมัยก่อนนั้นมีสัตว์ป่าที่เป็นอันตรายเช่นเสือโคร่งหมีช้างและวัวกระทิงที่อาศัยอยู่ในป่าเป็นจำนวนมากต่อมาชาวบ้านจึงเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่าบ้านห้างสะแกและต่อมาได้เพี้ยนจากบ้านห้างสะแกมาเป็นบ้านห้างแกเพราะชาวบ้านเรียกต้นไม้สแกต้นแกซึ่งเป็นภาษาพื้นบ้านแบบสั้นๆของคนภาคใต้เช่นทะเลเรียกว่าเลมะพร้าวแบบนี้เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันและชาวบ้านได้มีการทำอาชีพเกษตรสวนผลไม้และมีการคัดมังคุนมีคุณภาพส่งออกต่างประเทศ จีนและญี่ปุ่นปัจจุบันมีกำนันสุนทร กลับดีเป็นเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2

2457 ได้ก่อตั้งหมู่บ้านขึ้นตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่

2538 แบ่งแยกหมู่บ้านตะแบกงามออกจากหมู่บ้านห้ามแก

2541  จัดตั้งกลุ่มกิจกรรมพัฒนาสตรี( กองทุนข้าวสาร )

2544  กองทุนหมู่บ้านบ้านห้างแกได้รับการอนุมัติเงินจากกองทุนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

2547  แบ่งแยกในหมู่บ้านใหม่บ้านคลองเรือออกจากบ้านห้างแก

2549  เกิดพายุทุเรียนส่งผลให้บ้านเรือนถนนและพืชสวนเสียหาย

2560  เกิดน้ำป่าไหลหลากส่งผลทำให้บ้านเรือนถนนเกิดความเสียหาย

2560 กิจกรรมจิตอาสาร่วมอุดหลุมบ่อถนนลาดยาง

หมู่ที่ 3 บ้านบกไฟ 

ที่มาของชื่อหมู่บ้านบกไฟ หมู่บ้านบกไฟอยู่ที่ราบริมน้ำและเชิงเขา เมื่อก่อนการเข้าหมู่บ้านต้องเดินเท้าไปตามสายน้ำ ต้องข้ามน้ำข้ามบก ซึ่งพื้นที่บกริมน้ำจะมีต้นมะไฟเป็นจำนวนมาก ต่อมาเลยเรียกบริเวณนี้ว่าบ้านบกไฟ ซึ่งปัจจุบันมีประชากรร้อยกว่าครัวเรือน คนในหมู่บ้านส่วนใหญ่มีรายได้จากประกอบอาชีพ ปลูกกาแฟ ปลูกทุเรียน ปลูกปาล์ม ปลูกยางพารา ปลูกมังคุด ร่อนเเร่ดีบุก มีปราชญ์ชาวบ้าน เป็นหมอพื้นบ้านเป็นเเพทย์เเผนไทยเชี่ยวชาญเรื่องสมุนไพร ได้มีการเรียนรู้จากโรงเรียนเมื่อปี พ.ศ.2523  และได้มีการเริ่มรักษาผู้ป่วยเมื่อปี พ.ศ.2527 เริ่มเข้ามารักษาในตำบลปากทรงเมื่อปี พ.ศ.2541 มีความรู้ด้านการต่อกระดูก แตก,หัก การกดจุด รักษาโดยการใช้สมุนไพร ตัวยาหลัก เช่น ขมิ้นอ้อย ตะใคร้ ชันโรง มีเเปลงการเรียนรู้สมุนไพรที่บ้านบกไฟ สมุนไพรส่วนใหญ่ปลูกไว้เพื่อรักษาผู้ป่วยเเละปลูกไว้เพื่ออนุรักษ์สมุนไพรหายากต่างๆ

พ.ศ.2505  มีการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน คือนายแย้ม นางคก นิลพานิชย์ 

พ.ศ.2508  เข้ามาเพิ่มอีกรวมเป็น5ครอบครัว โดยทำไร่ทำนาเพื่อเลี้ยงชีพ ต่อมามีการอพยพเพิ่มมากขึ้น 

พ.ศ.2513  ได้ประกาศเป็นหมู่บ้าน โดยมี นาย วีระชิต อันเงิน (ผู้ใหญ่เชษฐ์)เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก 

พ.ศ.2523  และได้มีการเริ่มรักษาผู้ป่วย

พ.ศ.2527 เริ่มมีผู้ป่วยเข้ามารักษาในตำบลปากทรงมากขึ้น

พ.ศ. 2540 มีเหตุการณ์  ดินถล่ม 

พ.ศ.2541 มีความรู้ด้านการต่อกระดูก แตก,หัก การกดจุด รักษาโดยการใช้สมุนไพร ตัวยาหลัก เช่น ขมิ้นอ้อย ตะใคร้ ชันโรง 

พ.ศ. 2563  บ้านบกไฟเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวได้รับรางวัลป่าชุม  

หมู่ที่ 4 บ้านปากทรง

หมู่ที่ 4 บ้านปากทรงมีตำนานเล่าขานไว้ว่าตำบลปากทรง เหตุที่ชาวบ้านเรียกชื่อนี้ สันนิษฐานว่า เจ้าเมืองระนองและเจ้าเมืองหลังสวนเป็นญาติกัน การเดินทางไปเยี่ยมเยียนกันในสมัยก่อนนั้น ไม่มีถนนจึงต้องทรงช้างไปเมืองหลังสวน เมื่อมาถึงปากแม่น้ำก็ต้องลงเรือต่อไปอีกชาวบ้านเห็นเจ้าเมืองทรงช้างมาลงเรือที่ปากแม่น้ำ จึงเรียกบริเวณนี้ว่า “ปากทรง” และได้ยกเป็นตำบลมาจนถึงทุกวันนี้ปัจจุบันชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกร  เช่น   ปลูกปาล์ม  ปลูกทุเรียนปลูกมังคุดสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นภูเขาสูงชัน  มีลักษณะภูมิประเทศเป็นทิวเขาต่อกันเป็นแนวยาวสลับซับซ้อน   มีห้วยลำธารมาก   มีแม่น้ำสายใหญ่ไหลผ่าน คือแม่น้ำหลังสวน มีที่ราบเล็กน้อย ได้แก่พื้นที่ราบเชิงเขาและพื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำ   พื้นที่ที่เป็นที่ราบที่ใช้ทำการเพาะปลูกมีน้อย  ส่วนมากเป็นที่ราบแถบเชิงเขาและที่ราบลุ่มแม่น้ำ  ที่ราบเหล่านี้เหมาะแก่การเพาะปลูกอย่างยิ่ง  เพราะมีปุ๋ยในดินอย่างอุดมสมบูรณ์ พื้นที่ป่าสงวนเป็นป่าดิบชื้นส่วนมากขึ้นอยู่ตามที่ราบเชิงเขาและบนภูเขาสูง  ลำน้ำที่สำคัญคือแม่น้ำหลังสวนซึ่งมีต้นน้ำจากภูเขายายหม่น ซึ่งเป็นเขากั้นแดนระหว่างอำเภอพะโต๊ะกับอำเภอเมืองระนอง เป็นส่วนมากในตำบลบ้านปากทรงส่วนใหญ่เป็นคนที่นับถือศาสนาพุทธปัจจุบันผู้ใหญ่บ้านชื่อนายธรรมรงค์  คงแก้ว

2540   จัดตั้งตำบลปากทรง

2540  เกิดพายุ ซีต้า ทำให้บ้านเรือนพืชสวนเสียหายอย่างรุนแรง

2475   ก่อตั้งโรงเรียนบ้านปากทรง

2559   อบรมโครงการพัฒนาสุขาภิบาลจัดการเรื่องขยะในชุมชน

2560  เกิดน้ำป่าไหลหลากบ้านเรือนและถนนเกิดความเสียหาย

2561  ทอดผ้าป่าสามัคคี ณ สำนักสงฆ์รัตนราช

2561  นายอำเภอพะโต๊ะเข้าดูพื้นที่เสียหายด้วยความเป็นห่วงและกำลังใจมูลนิธิเด็กพิเศษปากทรง

2562  กิจกรรมจิตอาสานำโดยผู้ใหญ่บ้านโรงเรียนบ้านปากทรงให้ตำรวจพื้นที่ร่วมอุดหลุมบ่อถนนลาดยาง

2562  เกิดฝนตกหนักช่วงเดือนพฤษภาคมถนนเกิดน้ำกัดเสียหายหลายสาย

2563  พัฒนาทางเดินเท้าท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เขาครา

หมู่ที่  5 บ้านทับขอน   

       บ้านทับขอนประมาณก่อนปี 2500 เคยมีชุมชนเคยตั้งรกรากอยู่เดิมแล้ว เเต่ประมาณ พ.ศ 2500 ได้เกิดโรคมาเรเรียระบาดหนักชาวบ้านส่วนหนึ่งจึงอพยพออกไปอยู่ที่อื่น เนื่องจากหนีโรค ประมาณปี 2505-2509 จึงได้มีชาวบ้านจากหลายพื้นที่ เช่น จาก อ.ละเเม อ.หลังสวน อ.ท่าชนะ อ.เกาะสมุย  เริ่มเข้ามาเเผ้วถางป่า ปลูกบ้าน จับจองพื้นที่เพื่อทำการเกษตร  การเกษตรในยุคเเรกจะเป็นการปลูกกาเเฟ ต่อมาเริ่มปลูกแบบผสม กาแฟ+ผลไม้ ปัจจุบันจึงมีการปลูกแบบไม่ผสม ทำเป็นสวนไป อาทิ สวนปาล์ม สวนยาง สวนมังคุด สวนทุเรียน เป็นต้น “ตำนานเคยกล่าวว่า หมู่บ้านทับขอน เคยมีพระธุดงค์มาปักกลด ใกล้น้ำตกทับขอน แล้วให้ปริศนาคำทาย แกชาวบ้านว่า ทำไมช้างไม่กินข้าว ชาวบ้านต่างงงไม่ทราบ ท่านจึงบอกว่างั้นต่อไปที่แห่งนี้จะร้างคนร้างนา ก็เป็นจริงดั่งท่านพูด คือ เกิดโรคไข้มาลาเรียระบาดหนัก คนล้มตาย ที่มีชีวิตก็ต่างหนีอพยพออกไป จนเป็นหมู่บ้านร้าง นับได้ว่าคนในหมู่บ้านบ้านปัจจุบันคือคนที่อพยพมาจากต่างถิ่นอื่นทั้งหมด”

อาชีพ   สวนใหญ่จะมีการทำเกษตร เช่น สวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้ อาทิ มังคุด ทุเรียน หรือ สวนกาเเฟ ส่วนในช่วงต้นปี ถึงกลางปี ชาวบ้านจะมีอาชีพเสริม คือ การทำหมากแห้งขาย เพราะมีการปลูกต้นหมากไว้เยอะ พอถึงฤดูการชาวบ้านก็จะนำมาผ่า และตากแดดจนแห้ง

พ.ศ 2500 ได้เกิดโรคมาเรเรียระบาดหนักชาวบ้านส่วนหนึ่งจึงอพยพออกไปอยู่ที่อื่น เนื่องจากหนีโรค

พ.ศ. 2505   มีการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน

พ.ศ. 2506  ชาวบ้านเริ่มเข้ามาเเผ้วถางป่า

พ.ศ. 2507  ชาวบ้านจากหลายพื้นที่ เช่น จาก อ.ละเเม อ.หลังสวน อ.ท่าชนะ อ.เกาะสมุย เริ่มเข้ามาเเผ้วถาง       ป่า ปลูกบ้าน

พ.ศ. 2508  จับจองพื้นที่เพื่อทำการเกษตร

พ.ศ. 2509   มีชาวบ้านจากหลายพื้นที่เข้ามาอาศัย

หมู่ที่6 บ้านสะพานสอง

ชื่อหมู่บ้านสะพานสอง เกิดจากทางเข้าหมู่บ้านมีสะพานอยู่สองเเห่ง คนในหมู่บ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวน อาทิ สวนปามล์น้ำมัน สวนยางพารา สวนกาแฟ เเละ สวนผลไม้เป็นส่วนใหญ่ เเละปัจุบันหมู่บ้าน ไม่มีโรงเรียนในหมู่บ้าน การอุปโภคบริโภคคนส่วนใหญ่หาของป่ามาประกอบอาหาร. และการประปาในหมู่บ้านใช้เป็นประปาภูเขา บางพื้นที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เพราะในหมู่บ้านเป็นพื้นที่ภูเขาสูงสลับกับป่า   

  พ.ศ 2520. ผู้คนย้ายถิ่นฐานมาจากละเเม เข้ามาทำเหมื่องเเร่ดีบุกจับจองพื้นที่. โดยการถ่างป่าเเละสร้างที่อยู่ อาศัย โดยมีการสร้างบ้านประมาณ3-4หลังคาเรือน ต่อมาได้มีคนอพยบมาเรื่อยๆเเละตั้งถิ่นฐานอยู่ ระเเวกเดี่ยวกัน

  พ.ศ.2535  ได้มีการตั้งสำนักสงค์ขึ้น คือสำนักสงค์บ้านหนาว

หมู่ที่ 7 บ้านตะแบกงาม

ประวัติหมู่ที่ 7 บ้านตะแบกงาม  แยกหมู่ที่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยแยกมาจากหมู่ที่ 2  มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2536  ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2540 มีโรงเรียนหนึ่งแห่งคือ โรงเรียน ตชด. บ้านตะแบกงาม ซึ่งโรงเรียนเกิดขึ้นมาก่อนหมู่บ้าน ชาวบ้านประกอบอาชีพการเกษตร ปลูกปาล์ม, ทุเรียน มังคุดและยางพาราเล็กน้อย มีสำนักสงฆ์ 2 แห่ง มีมาก่อนหมู่บ้าน มีสำนักสงฆ์ตะแบกงาม (นิกาย) และสำนักสงฆ์สามัคคีธรรม (ธรรมยุทร)  มีประเพณีและวัฒนธรรมที่หลากหลายเนื่องจากมีคนจากหลายพื้นที่เข้ามาอยู่อาศัย มีหมอสมุนไพรประจำหมู่บ้าน อยู่ห่างจากอำเภอเป็นระยะทาง 25 กิโลเมตร ปัจจุบันผู้ใหญ่เป็นบ้านคนที่ 2  ชื่อนายสมชาย  ไชยราช

พ.ศ. 2500  มีการตัดถนนจากเหมืองแร่เข้าทางปากเลขและเริ่มมีคนเข้ามาอาศัย

พ.ศ. 2525  เริ่มมีการเข้ามาทำสวน  

พ.ศ. 2532  เกิดพายุเกย์ ทำให้ถนนได้รับความเสียหาย

พ.ศ. 2536  มีการแยกออกจากหมู่ที่ 2 ครั้งแรก และมีการเลือกผู้ใหญ่บ้านคนแรก

พ.ศ. 2540  เกิดพายุซีต้าทำให้มีถนนขาดหายสาย บ้านเรือนได้รับความเสียหายจำนวนมากและมีการเลือก     ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 

พ.ศ.2549  เกิดพายุทุเรียนเมื่อวันที่ 25 เดือนพฤศจิกายน ส่งผลให้บ้านเรือน ถนนและพืชสวนเสียหาย

พ.ศ.2560  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ รร.ตชด.บ้านตะแบกงาม

พ.ศ.2561  ปศุสัตว์อำเภอพะโต๊ะมาประเมินโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตะแบกงาม

พ.ศ 2563  มีนักท่องเที่ยวมากางเต้นนอนที่ อ่างเก็บน้ำบางนาว  

หมู่ที่ 8 บ้านในแจะ  

ประวัติหมู่ที่ 8 บ้านในแจะ  แยกจากหมู่ที่ 1 วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 และเลือกตั้งผู้ใหญ่คนแรกในปีเดียวกัน ในอดีตมีการทำเหมืองแร่ชื่อปะแจะ  จากนั้นมีการถามไถ่ชาวบ้านที่ผ่านไปมาว่ามาจากไหน ชาวบ้านที่มาจากเหมืองปะแจะจะบอกว่ามาจากในแจะ จึงเป็นที่มาของหมู่บ้านในแจะ ชาวบ้านประกอบอาชีพทำเหมืองดีบุกมาตลอดจนถึงปี พ.ศ. 2528  มาเปลี่ยนเป็นสวนกาแฟ เนื่องจากปี พ.ศ. 2527 กาแฟมีราคาแพง ปัจจุบันชาวบ้านประกอบอาชีพการเกษตร ปลูกปาล์ม, ทุเรียนและหมาก  คนอีสาน 70% ของหมู่บ้าน นับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก  มีวัฒนธรรมที่หลากหลายแต่จะโดดเด่นไปในทางภาคอีสาน มีสำนักสงฆ์ในแจะ มีพระ 1 องค์ ปัจจุบันผู้ใหญ่เป็นบ้านคนที่ 3 ชื่อนาย สมศักดิ์  ชูฝ่ายคลอง 

พ.ศ.2505  เริ่มมีการทำเหมืองแร่ดีบุกครั้งแรก  

พ.ศ.2526  เลิกทำเหมืองแร่ดีบุก

พ.ศ.2527  กาแฟมีราคาแพง 

พ.ศ.2539  ชาวบ้านเริ่มทำสวนกาแฟครั้งแรก

พ.ศ.2539  แยกจากหมู่ที่ 1 วันที่ 23 พฤษภาคม และเลือกตั้งผู้ใหญ่คนแรก

พ.ศ.2546  เลือกตั้งผู้ใหญ่คนที่ 3 (คนปัจจุบัน)  

พ.ศ.2540  เกิดพายุซีต้าทำให้บ้านเรื่องและพืชสวนเสียหายอย่างรุนแรง

พ.ศ.2549  เกิดพายุทุเรียนเมื่อวันที่ 25 เดือนพฤศจิกายน ส่งผลให้บ้านเรือน ถนนและพืชสวนเสียหาย

พ.ศ.2558  เกิดฝนตกหนัก ถนนได้รับความเสียหายหลายสาย  

พ.ศ.2560  ได้ทำแกงไก่ลูกชกเป็นของขึ้นชื่อในหมู่บ้านไปร่วมในงานเทศกาลล่องแพพะโต๊

พ.ศ.2563  หยุดการพัฒนาถ้ำค้างคาวเขาช่องลม

หมู่ที่ 9 บ้านคลองเรือ

           ประวัติหมู่ที่ 9 บ้านคลองเรือ เดิมมีสภาพเป็นป่าสมบูรณ์มีผู้เข้าไปอาศัยและบุกรุกป่าเป็นที่ทำกินครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ.2518จำนวน2ครอบครัวคือครอบครัวนายละเมียดสวัสดิภักดิ์และเพื่อนบ้านอยู่ริมคลองเรือขณะนั้นประกอบอาชีพหลักคือการร่อนแร่ดีบุกและทำเหมืองแร่แบบชักจอบต่อมาจะหาได้ยากขึ้นและมีราคาถูกลงจึงเริ่มหันมาแผ่วถางป่าเพื่อทำไร่ปลูกข้าวปลูกกาแฟและผลไม้ต่างๆระยะหลังได้ชักชวนญาติพี่น้องตลอดจนคนต่างถิ่นเข้ามามากขึ้นประกอบกับราคากาแฟที่สูงขึ้นทำให้มีประชาชนทั้ง 4 ภาคของประเทศมาตั้งรกรากทำกินโดยทำสวนกาแฟเป็นพืชหลักในปีพ.ศ. 2528 – 2531 เป็นช่วงที่มีการบุกรุกมากที่สุดการป้องกันปราบปรามของเจ้าหน้าที่เป็นไปด้วยความยากลำบากเพราะการสัญจรไปมาต้องใช้ม้าและการเดินด้วยเท้า

2518 :  มีผู้เข้าไปอาศัยและบุกรุกป่าเป็นพื้นที่ทำกินครั้งแรกจำนวน 2 ครอบครัว

2528 : มีประชาชนทั้ง 4 ภาคของประเทศมาตั้งรกรากบุกรุกป่าทำกินโดยทำสวนกาแฟเป็นพืชหลัก

2532 : ตั้งโรงเรียนบ้านคลองเรือโดยครูตชดมาช่วยสอน

2537 :  เกิดโครงการคนอยู่ป่ายัง

2539 : มีการบุกรุกป่าต่างๆซึ่งไม่น้อยกว่า 400 ไร่และขยายโครงการไปตามหมู่บ้านต่างๆที่อยู่ร่วมระหว่างคน กับป่า

2541 :  ได้รับชื่อเป็นหมู่บ้านรักษาป่ายอดเยี่ยมจนได้คัดเลือกให้รับพระราชทานธงพิทักษ์ป่าเพื่อรักษาชีวิต

2550 :  รางวัลตำบลเขียวขจีจากสถาบันราชพฤกษ์

2554 :  รางวัลชนะเลิศราชทานการจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ

2560 : เกิดน้ำป่าไหลหลากและถนนเกิดความเสียหายผู้คนลี้ภัยไปอยู่บนเขา

2562  : เกิดฝนตกหนักถนนถูกกัดเซาะเกิดความเสียหายหลายสาย

แผนที่

อินโฟกราฟิก

โครงการที่ 1 

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และเชิงเกษตร

เมื่อวันที่ 18 ต.ค. 64 วิศวกรสังคมตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ จังหวัดชุมพร ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย) ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และเชิงเกษตร ในหมู่ 5 นำโดยวิทยากร อาจารย์ ศักดิ์ชัย กรรมารางกูรและอาจารย์ ดร.มิติ เจียรพันธุ์ อบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน เพื่อให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชนและชาวบ้านในการเข้าร่วมครั้งนี้

เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 64 วิศวกรสังคมตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ จังหวัดชุมพร ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย) ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และเชิงเกษตร ในหมู่ 5 นำโดยวิทยากร อาจารย์ ศักดิ์ชัย กรรมารางกูรและอาจารย์ ดร.มิติ เจียรพันธุ์ อบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนและอบรมเชิงปฏิบัติการการลงพื้นที่และจัดทำแผนที่การท่องเที่ยว ร่วมกับชาวบ้านและผู้นำชุมชน

โครงการที่ 2 

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการยกระดับผลิตภัณฑ์ในตำบลปากทรง

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2564 วิศวกรสังคมตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ จังหวัดชุมพร ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย) ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้จัดกิจกรรมการยกระดับผลิตภัณฑ์ในตำบลปากทรง ณ ศาลาประจำหมู่บ้าน หมู่ 1 บ้านต่อตั้งนำโดยวิทยากร ดร.ชวนพิศ เรืองจรัสและผศ.ดร.พัชรี หลุ่งหม่าน อบรมให้ความรู้เรื่องการผลิตสินค้าให้ถูกคุณลักษณะ สะอาดและปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีการอบรมอบรมเชิงปฏิบัติการการสาธิตทำวุ้นกะทิเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ในชุมชนให้ดียิ่งขึ้นโดยร่วมกับชาวบ้านและผู้นำชุมชน ภายใต้มาตราการการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด19

Facebook Page : https://www.facebook.com/Pakthrng999/

E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ : https://pubhtml5.com/punl/zejq

Back To Top