skip to Main Content

ควนศรี บ้านนาสาร สุราษฎร์ธานี

ประวัติตำบลอย่างละเอียด 

ตำบลควนศรี ได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2556 มีพื้นที่ 24,375 เทศบาลควนศรีตั้งอยู่ที่ 222 ม.2 ตำบลควนศรี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ห่างจากอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี 55 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 39 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 24,375 ไร่ มีหมู่บ้าน 8 หมู่บ้านได้แก่

          หมู่ที่ 1 บ้านควนมหาชัย

          หมู่ที่ 2 บ้านควนศรี 

          หมู่ที่ 3 บ้านโคกเหรียง

          หมู่ที่ 4 บ้านวังใหญ่ 

          หมู่ที่ 5 บ้านมอเก็ต

          หมู่ที่ 6 บ้านควนเนียง 

          หมู่ที่ 7 บ้านควนพรุพี

          หมู่ที่ 8 บ้านควนวัด   

2. ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของตำบลควนศรี เป็นที่ราบ 1 ใน 2 ของพื้นที่ทั้งหมด 

3. แม่น้ำสำคัญ

แม่น้ำสำคัญของตำบลควนศรี คือ แม่น้ำตาปี 

4. ภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้น มี 2 ฤดู คือ ฤดูฝนและฤดูแล้ง ในฤดูฝนมีฝนตกชุกปริมาณมากจนทำให้เกิดน้ำท่วมในบางหมู่บ้าน ส่วนในฤดูแล้งอากาศร้อนอบอ้าว

5. ทรัพยากรธรรมชาติ

เนื่องจากตำบลควนศรีมีแม่น้ำตาปีตัดผ่าน จึงทำให้อุดมสมบูรณ์ไปด้วย ทรัพยากรประมง ทรัพยากรทางน้ำ ทรัพยากรป่าไม้ นอกจากนั้นแล้วพื้นที่ของตำบลควนศรี มีดินที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การทำเกษตร กรีดยาง สวนผลไม้ เช่น เงาะนาสาร ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของอำเภอบ้านนาสารที่ใครได้มาจำเป็นต้องแวะซื้อกลับบ้านหรือเป็นของฝากจากสุราษฎร์ธานี และอื่นๆ 

6. การคมนาคม

ตำบลควนศรีตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอบ้านนาสาร ห่างจากที่ว่าการอำเภอบ้านนาสารประมาณ 19 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดสุราษฎร์ธานีประมาณ 61 กิโลเมตร โดยมีถนนสายหลักดังต่อไปนี้

– ทางหลวงแผ่นดิน จำนวน 1สาย

– ทางหลวงจังหวัด จำนวน 1 สาย

– ถนนหมู่บ้าน จำนวน 24 สาย

– ทางหลวงชนบท จำนวน 1 สาย

7. ประวัติความเป็นมาชุมชน

ใช้ชื่อควนศรีซึ่งเป็นชื่อของวัด ที่มีหลวงพ่อคงแก้วที่ศักดิ์สิทธ์เป็นที่เคารพบูชาเป็นศูนย์รวมน้ำใจของชาวตำบลควนศรี เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เดิมอยู่ในเขตการปกครองของตำบลพรุพี อำเภอบ้านนาสาร กระทวงมหาดไทยได้ประกาศแบ่งแยกเขตการปกครองใหม่เมื่อปี 2529 ตั้งแต่ครั้งบรรพชน โดยมีประวัติเล่าต่อมายาวนานครั้งศึกเก้าทัพ พม่ายกทัพขึ้นจากระนอง และหัวเมืองรายทางมาทางใต้และผู้นำชุมชนต่างๆพาชาวบ้านหลบหนี ไปซ่อนตัวในชุมชนอื่นๆจนเมืองถลาง ไปพ่ายแพ้แก่ทัพคุณหญิงมุข คุณหญิงจัน ขณะนั้นพ่อท่านคงแก้ว เป็นเจ้าอาวาสอยู่วัดชื่อ วัดวนศรี ได้มีนายทหาร หลายคน เช่น ขนวัง นายสุด นายคงเข้ามาใช้บริเวณวัดควนศรีเป็นที่มั่น เมื่อแพ้สงคราม พวกทหารซึ่งเป็นผู้นำ ได้ฆ่าตัวตาย วัดควนศรีกลายเป็นวัดร้าง ปกคลุมไปด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่กลายเป็นป่า มองไม่เห็นวัด สมัยต่อมาซนรุ่นหลังอพยพ เข้ามาก่อตั้งถิ่นฐานใหม่ไปพบร่องรอยวัดเก่าจึงได้บูรณาการณ์ขึ้นมาใหม่ มีเหตุการณ์ ประหลาดเกิดขึ้นในวันหนึ่งขณะที่ชาวบ้านกำลังช่วยกันถางหญ้า มีช้างตกมันเชือกหนึ่งไม่ทราบว่ามาจากไหนใช้งาแทงบริเวณต้นไทรจนเอน ทำให้มองเห็นพระพุทธรูป ที่มีรากไทรทั้งต้นไทรงอกโอบปิดเอาไว้ และทำให้เศียรและแขนพระพุทธรูปหัก จนกลายเป็นสัญลักษณ์หลวงพ่อคงแก้ว แห่งวัดควนศรีจนทุกวันนี้ และเป็นที่เลื่องลือถึงความศักดิ์สิทธิ์อีกมากมาย ปัจจุบันจะมีงานประเพณีบวงสรวงหลวงพ่อคงแก้ว ในทุกปี ต้องมีมโนราห์มารำแก้บนในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 4 และขึ้น1 ค่ำเดือน5 เรียกว่า”โนราห์” พ่อท่าน โดยต้องมีมโนราห์ 2 โรงรำแข่งกัน ประชาชนชมโรงไหนมาก ให้ถือว่าโรงนั้นชนะ และรับเงินรางวัลไปพิเศษ นอกเหนือจากค่าจ้าง

เทศบาลตำบลควนศรี เป็นหน่วยงานราชการบริหารส่วนท้องถิ่นโดยได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นองค์การ บริหารส่วนตำบล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 ซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของ นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัดและกระทรวงมหาดไทย โดยมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้บริหาร   สูงสุด มีภารกิจอำนาจหน้าที่ภายใต้ระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับ และมติ ครม. ที่เกี่ยวข้อง

ต่อมาได้ยกฐานะเป็น เทศบาลตำบลควนศรี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน   2556 โดยปัจจุบันมีนายกธีระ โพธิ์เพชร ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี

ปัจจุบันเทศบาลตำบลควนศรีมี 8 หมู่บ้าน ประกอบไปด้วย

หมู่ที่ 1 บ้านควนมหาชัย

หมู่ที่ 2 บ้านควนศรี 

หมู่ที่ 3 บ้านโคกเหรียง

หมู่ที่ 4 บ้านวังใหญ่ 

หมู่ที่ 5 บ้านมอเก็ต

หมู่ที่ 6 บ้านควนเนียง  

หมู่ที่ 7 บ้านควนพรุพี 

หมู่ที่ 8 บ้านควนวัด 

8. โครงสร้างของชุมชน 

– ด้านการปกครอง 

เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น (รูปแบบทั่วไป)มีเทศบาลตำบล 1 แห่ง ประกอบด้วย 8  หมู่บ้าน โดยได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 23   กุมภาพันธ์ 2540 ซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของ นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัดและกระทรวงมหาดไทย โดยมี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้บริหาร   สูงสุด มีภารกิจอำนาจหน้าที่ภายใต้ระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับ  และมติ ครม. ที่เกี่ยวข้อง

ต่อมาได้ยกฐานะเป็น เทศบาลตำบลควนศรี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 6   กันยายน   2556 โดยปัจจุบันมีนายกธีระ โพธิ์เพชร ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี

– ด้านประชากร 

มีประชากรทั้งสิ้น 4,834 คน 1,487 หลังคาเรือน แยกเป็นชาย 2,372 คน คิดเป็นร้อยละ     49.06 หญิง 2,462 คน   

ตารางที่1 จำนวนประชากรและจำนวนครัวเรือนจำแนกตามหมู่บ้าน 

หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน หลังคาเรือน ประชากร

ชาย หญิง รวม 

1 บ้านควนมหาชัย 192 380 352 732

2 บ้านควนศรี 226 326 335 661

3 บ้านโคกเหรียง 185 322 328 650

4 บ้านวังใหญ่ 201 336 354 690

5 บ้านมอเก็ต 164 109 202 311

6 บ้านควนเนียง 98 118 132 250

7 บ้านควนพรุพี 265 303 567 870

8 บ้านควนวัด 156 350 320 670

รวม 1,487 2,244 2,590 2,834

– ด้านการศึกษา

(1.) โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 3 แห่ง ประกอบไปด้วย โรงเรียนบ้านควนมหาชัย โรงเรียนวัดควนศรี โรงเรียนบ้านควนพรุพี

(2.) ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน จำนวน 3 แห่ง

(3.) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำตำบล จำนวน 1 แห่ง

– ด้านศาสนา 

มีองค์กรทางศาสนา ได้แก่ วัด จำนวน 1 แห่ง คือ วัดควนศรี

9. โครงสร้างด้านเศรษฐกิจและอาชีพ

9.1.การเกษตร 

ส่วนใหญ่ประกอบเกษตรกรรม เช่นทำสวนยางพารา สวนปาล์ม ปลูกผัก ผลไม้ เลี้ยงปลาในกระชัง ค้าขาย รับจ้าง ธุรกิจส่วนตัว และทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งนี้การประกอบอาชีพยังต้องพึ่งพาอาศัยธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากอาชีพโดยส่วนใหญ่ของประชาชนในตำบลควนศรีเป็นอาชีพที่ยึดเอาทรัพยากรธรรมชาติเป็นวัตถุดิบเป็นสำคัญ สำหรับอาชีพนอกภาคเกษตรกรรม ได้แก่ การรับจ้างและการค้าขาย ซึ่งการรับจ้างเป็นการรับจ้างแรงงานภายในตำบลและตำบลใกล้เคียง สำหรับการค้าขายเป็นไปตามลักษณะการขายของเบ็ดเตล็ดภายในหมู่บ้าน หรือรับซื้อผลผลิตทางเกษตรภายในตำบล และตำบลใกล้เคียงมาจำหน่าย

9.2.การประมง

           มีประชาชนบางส่วนมีอาชีพทำประมงจับปลา จากแหล่งแม่น้ำตาปี และมีการเลี้ยงปลาในบ่อ อาทิเช่น ปลาดุก หอย เป็นต้น

  9.3.การปศุสัตว์

มีกลุ่มอาชีพเลี้ยงไก่ไข่ ไก่พื้นเมือง เป็นอาชีพเสริม

  9.4.การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

ส่วนใหญ่ประกอบเกษตรกรรมเช่นทำสวนยางพารา สวนปาล์ม ปลูกผัก ผลไม้  เลี้ยงปลาในกระชัง ค้าขาย รับจ้าง ธุรกิจส่วนตัว และทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม  ทั้งนี้การประกอบอาชีพยังต้องพึ่งพาจากธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากอาชีพโดยส่วนใหญ่ ของตำบลควนศรีเป็นอาชีพที่ยึดเอาทรัพยากรธรรมชาติเป็นวัตถุดิบเป็นสำคัญ

สำหรับอาชีพนอกภาคเกษตรกรรม ได้แก่ การรับจ้างและการค้าขาย ซึ่งการรับจ้างเป็นการรับจ้างแรงงานภายในตำบลและตำบลใกล้เคียง สำหรับการค้าขายเป็นไปตามลักษณะการขายของเบ็ดเตล็ดภายในหมู่บ้าน หรือรับซื้อผลผลิตทางเกษตรภายในตำบล และตำบลใกล้เคียงมาจำหน่าย

10. ความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม

พ่อท่านคงแก้ว ท่านเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ไม่ทราบข้อมูลที่แน่ชัดในด้านครอบครัวหรือเครือญาติ รู้เฉพาะท่านมีนามว่า คงแก้ว เป็นภิกษุ ในฐานะสมภารวัดควนศรีในอดีตซึ่งวัดควนศรี เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่ยุคศรีวิชัยแต่ไม่ทราบนามเดิมของวัด ท่านเป็นผู้สร้างวัดพร้อมกับตาปะขาว สหายผู้ร่วมสร้างวัด ปัจจุบันวัดควนศรีตั้งอยู่ที่หมู่8 ต.ควนศรี อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี พ่อท่านคงแก้วมีศิษย์เอกที่เป็นฆาราวาสขมังเวทย์อยู่สองคน คือ ตาสุด ศิษย์ผู้เป็นเลิศทางปัญญามักนุ่งขาวห่มขาว ตาคง ศิษย์ผู้เป็นเลิศทางอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์มักใช้ผ้าขาวม้าพันคอ ท่านทั้งสองมักแสดงอภินิหารให้ประจักษ์แก่สายตาผู้คนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจุบัน แสดงให้เห็นว่า พ่อท่านคงแก้วครั้งยังดำรงกายสังขารอยู่ คงเปี่ยมด้วยบุญฤทธ์สูงส่ง อันเป็นอาจารย์ของศิษย์เอกทั้งสอง ท่านอยู่ในยุคที่มีสงครามพม่าและมรณภาพลงในช่วงนั้นซึ่งมิอาจจะทราบข้อมูลที่ชัดเจนได้มากนัก 100 ปีเศษมาแล้ว ชาวบ้านควนศรีหนีโรคฝีดาษ ซึ่งชาวบ้านอพยพผูกแพหนีออกจากพื้นที่มากมาย และเหตุการณ์ประหลาดก็มาถึง เมื่อมีคนตาบอดพิการที่ไม่สามารถเดินได้เกิดอาการประทับทรงวิ่งฝ่าความมืดท่ามกลางแมกไม้ป่าในอดีตไป ณ ใต้ต้นไทร ชาวบ้านแตกตื่นวิ่งตามไป ชายชราในอาการประทับทรงจึงพูดขึ้นว่า พ่อชื่อคงแก้ว เป็นอดีตสมภารวัดนี้ในอดีต ไม่ต้องหนีไปไหน ให้สร้างวัดขึ้น ณ ที่แห่งนี้ พ่อจะช่วยรักษาโรคเอง หลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นชาวบ้านจึงถากถาง ณ โคนไทรมีพระพุทธรูปหินศิลาแลงลักษณะพระกรหักสองข้าง และพระศอ เอว หักไป มีรากไทรโอบอยู่หน่าแน่น และทราบว่านั้นคือพระพุทธรูปตัวแทนแห่งพ่อท่านคงแก้วนอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปอีกมากมาย และแบบแตกหักก็มีอยู่มาก พบร่องรอยซากเก่าของวัด ชาวบ้านจึงถมซากเก่า สร้างวัดขึ้น ณ บนซากเก่า หลังจากนั้นโรคฝีดาษก็หายขาดไปจากหมู่บ้านทำให้ชาวบ้านไม่ต้องอพยพไปไหนอีก พระพุทธรูปนี้ชาวบ้านได้รวบรวมไว้ในศาลาอดีตตั้งอยู่ภายในสวยยางพาราของวัด ภายหลังมีการปลูกมณฑปขึ้นจึงเคลื่อนย้ายมาไว้ในบริเวณวัด

ภาพแผนที่

อินโฟกราฟิกสรุปงาน

โครงการที่ 1 

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เดินหน้าปฏิบัติการ ทำแยมมังคุด และกัมมี่เงาะซึ่งโดยการแปรรูปผลไม้ตามฤดูกาล เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ และสร้างมูลค่าจากการแปรรูปผลไม้ให้เก็บรักษาไว้ได้นานยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยแก้ไขปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโครงการของวิศวกรสังคม ต.ควนศรี อ.บ้านนาสาร แหล่งที่มีเงาะอร่อยที่สุดของจังหวัดสุราษฎร์ธานี 

โดยปฏิบัติการครั้งนี้จัดขึ้น ณ  อาคารเอนกประสงค์ ต.ควนศรี อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีนายธีระ โพธิ์เพชร นายกเทศมนตรีตำบลควนศรี กล่าวต้อนรับ และมี ผศ.ดร.สุภาพร อภิรัตนานุสรณ์ และผศ.ดร.สุกัญญา ไหมเครือแก้ว มาเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับประชาชนในชุมชนบ้านควนศรี  ภายใต้การดูแลการปฏิบัติการของ ดร.เสาวนันท์ ขวัญแก้ว อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ และบุคคลที่เข้าร่วมโครงการจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองตามมาตรการ ควบคุมโรคระบาด โควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข จ.สุราษฎร์ธานีอย่างเคร่งครัด

โครงการที่ 2 

วิศวกรสังคมตำบลควนศรี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบล อาจารย์ ดร.เสาวนันท์  ขวัญแก้ว สังกัดคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เรียนเชิญท่านวิทยากร จากสังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจำนวน 3 ท่าน และสังกัดครุศาสตร์จำนวน 2 ท่าน เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีระบบดิจิทัลเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยผ่านระบบ Online and Onsite Service เรื่องการสร้างเอกสารและการแชร์ข้อมูลผ่านแอป Google Docs โดย ผศ.ดร.อัญชลีพร มั่นคง  เรื่องการแนะนำสินค้าและการจัดการคลังสินค้า โดย อาจารย์กรรณิการ์  แก้วเชื้อ  เรื่องการประยุกต์ใช้เครื่องมืออย่างสร้างสรรค์ในการสร้างสื่อ โดย อาจารย์กนกวรรณ  แก้วเกาะสะบ้า  เรื่องการทำประชาสัมพันธ์ออนไลน์ โดย ดร.ศราวุธ  มากชิต  และเรื่องเทคนิคการสร้างภาพด้วย Canva โดย อาจารย์นิธิศ เสาแก้ว  ให้แก่ชุมชนตำบลควนศรี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

โครงการที่ 3 (ข่าวสั้น)

วิศวกรสังคมตำบลควนศรี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบล ดร.เสาวนันท์ ขวัญแก้ว สังกัดคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เรียนเชิญท่านวิทยากร จำนวน 2 ท่าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิรุฬห์ และนางสาวประภัสสร สุริสุทธิ์ เพื่อถ่ายทอดยกระดับสินค้าทางการเกษตรผลิตภัณฑ์ชุมชนและสินค้า OTOP ของตำบลควนศรีด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ตำบลควนศรี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี กิจกรรมที่ 1 แต่งหมวกใบลานให้สวยงามด้วยเศษวัสดุ เพื่อใช้ในงานต่างๆ วิทยากร และกิจกรรมที่ 2 อบรมและสาธิตฝึกปฏิบัติทําหมวก Decoupage ให้แก่ชุมชนตําบลควนศรี อําเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ในโอกาสนี้ คณะผู้จัดโครงการขอขอบคุณ คุณดุสิทธิ์ ช่วยเพ็ญ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 8 ตำบลควนศรี ที่ช่วยติดต่อประสานงานโครงการโครงการถ่ายทอดเพื่อยกระดับสินค้าทางการเกษตรผลิตภัณฑ์ชุมชนและสินค้า OTOP  ของตำบลควนศรีด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ตำบลควนศรี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี และขอขอบพระคุณผู้เข้าอบรมโครงการทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมโครงการในครั้งนี้ และสรุปผลรายงานในการจัดกิจกรรมโครงการโครงการถ่ายทอดเพื่อยกระดับสินค้าทางการเกษตรผลิตภัณฑ์ชุมชนและสินค้า OTOP  ของตำบลควนศรีด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ตำบลควนศรี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำให้ผลการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายได้เป็นอย่างดี

โครงการที่ 4

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ดร.เสาวนันท์ ขวัญแก้ว อาจารย์ที่ปรึกษาพร้อมด้วยวิศวกรสังคมประจำตำบลควนศรี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี.ลงพื้นที่จัดอบรม “โครงการถ่ายทอดเพื่อยกระดับสินค้าOTOP ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล” เพื่อส่งเสริมการขาย บริการผ่านสมาร์ทโฟน (สร้างโลโก้ผลิตภัณฑ์ประจำตำบล) ให้แก่คนในชุมชนตำบลควนศรี

กิจกรรมที่ 1 : อบรมปฏิบัติติทำขนมคุกกี้สมุนไพร (ใบเตยหอม,ดอกอัญชัน,ตะไคร้และ,ใบมะกรูด)

กิจกรรมที่ 2 : อบรมปฏิบัติติทำทองม้วนสมุนไพร(ใบเตยหอม,ตะไคร้,ใบชะพลู,ดอกอัญชัน)

กิจกรรมที่ 3 : อบรมปฎิบัติทำขนมทองพับสูตรโบราณและสมุนไพร 

 โดย ผศ.ดร.สุภาภรณ์ อภิรัตนากนุสรณ์, ผศ.ดร.อุราภรณ์ เรืองวัชรินทร์  อาจารย์อุกฤษ  สิทธิสมบูรณ์ ผศ.ดร. สุกัญญา ไหมเครือแก้ว และนางณฤดี. คุ้มเสถียร เป็นวิทยากรให้ในครั้งนี้ ณ ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ที่ 8 บ้านควนวัด ตำบลควนศรี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

กิจกรรมอื่น ๆกิจกรรม Covid week

Back To Top