skip to Main Content

คลองชะอุ่น พนม สุราษฎร์ธานี

ประวัติศาตร์

คลองชะอุ่นเป็นลำคลองที่จุดประทีป หมู่ที่ 6 หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 2 หมู่ที่ 2 หมู่ 13 และหมู่ที่ 1 ของตำบล ต้นน้ำ กับภูเขา กั้นระหว่างอำเภอพนม ซับน้ำจากห้วยน้ำแดง ห้วยบางบ้าน คลองบางทรายนวล คลองบางปริก คลองบางสีที่ คลองศรีส คลองถ้ำลเลย์ คลองโสโครก คลองหัวหัว และคลองหินผุ 

ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่า ก่อนจะมีอำเภอพนมในปัจจุบันนี้ เรามีอำเภอคลองชะอุ่นเก่ามาก่อน พร้อมกับอำเภอท่าขนอน อำเภอท่าโรงช้าง ช่วงนั้นขึ้นกับมณฑลไชยา เป็นอำเภอขนาดใหญ่อำเภอหนึ่งในสมัยนั้น เหตุที่อำเภอคลองชะอุ่นต้องเลิกร้างไปสร้างอำเภอพนมนั้น เพราะเกิดโรคระบาด(โรคห่า) ผู้คนล้มตายเป็นอันมาก หมอไม่มีเพียงพอที่จะรักษา ผู้คนที่เหลือก็อพยพหนีตายไปอยู่ที่อื่น ประกอบกับว่าขณะนั้น พืชพันธุ์ป่าไม่อุดม สมบูรณ์ ผู้คนที่เหลืออยู่ประกอบอำชีพแบบชาวเขา คือทำไร่เลื่อนลอยปลูกข้าวเป็นอาหารหลัก แต่ช้างป่าซึ่งมีอยู่มากก็มาทำลายพืชพันธุ์ ผู้คนจึงอพยพหนีไปอยู่ที่อื่นหมดเป็นเหตุให้ต้องย้ายอำเภอไปอยู่ที่ปากคลองพนม  

ตามการบันทึกประวัติของอำเภอพนม ชี้ให้เห็นถึงประวัติของตำบลคลองชะอุ่นเช่นกัน ซึ่งบันทึกว่า “ความเป็นมานั้น คำว่า “พนม” เป็นภาษาเขมรซึ่งแปลว่า ภูเขาลำเนาไพร หรือชาวท้องถิ่นเรียกว่า “ปาก นม” หรือ “พะนม” เป็นคำบอกถึงความหมายของสถานที่แห่งนั้น ตามหลักฐานบางอย่างสันนิษฐานว่า มีภูเขาเป็น รูปนม บ้างก็ว่าพนมมือ แต่เดิมอำเภอพนมมีชื่อเรียกว่า อำเภอชะอุ่น เป็นอำเภอตั้งแต่ปี พ.ศ. 2433 ตั้งอยู่ฝั่งขวาของคลองชะอุ่น การปกครองขึ้นตรงต่อเมืองนครศรีธรรมราช โดยมีหลวงปราบประทุษราษฎร์เป็นนายอำเภอคนแรก ตามประวัติกล่าวไว้ว่าเหตุที่ตั้งเมืองนั้น เพราะบริเวณหัวแคว้นด้านนี้ชุกชุมไปด้วยอันธพาล ทางการจึงก่อตั้ง เป็นอำเภอเพื่อปราบอันธพาลนั่นเอง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2441 ทางราชการได้แบ่งการปกครองเป็นมณฑล จึงย้าย อำเภอชะอุ่นมาขึ้นกับมณฑลชุมพร ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2453 อำเภอชะอุ่นได้ถูกลดฐานะเป็นกิ่งอำเภอ ชื่อว่า กิ่งอำเภอปากพนม โดยมีขุนพนมธนารักษ์ ดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอคนแรก ในที่สุด คำว่า “ปาก” ได้หายไปเหลือเพียงชื่อว่า กิ่งอำเภอพนม แล้วได้ยกฐานะเป็น อำเภอพนม อีกครั้งเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514”   

ตำบลคลองชะอุ่น (ตำบลต้นยวนในสมัยนั้น) มี 5 หมู่บ้าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 แยกบ้านทับคริสต์ มาเป็นหมู่ที่ 6 ในปี พ.ศ. 2526 ตำบลคลองชะอุ่นมีประชากรหนาแน่นขึ้น การปกครองของกำนันไม่ทั่วถึงจึงขอให้ทางราชการแยกตำบลต้นยวนส่วนหนึ่งออกมาเป็นตำบลคลองชะอุ่น โดยมีกำนันคนแรกคือ นายลำดวน คงเดิม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2540 ได้เลือกตั้งนายสุธรรม จันทร์แสงกุล เป็นกำนันคนต่อมา ในปี พ.ศ.2543 นายไพฑูรณ์  คงเดิม ได้รับเลือกตั้งให้เป็นกำนัน กระทั่งในปี พ.ศ. 2550 นายสุธรรม จันทร์แสงกุล ได้กลับเข้ามารับ ตำแหน่งเป็นกำนันตำบลคลองชะอุ่นจนถึงปัจจุบัน   

โดยสภาตำบลคลองชะอุ่น ได้ยกฐานะใน ปี พ.ศ.2538  เป็น “องค์การบริหารส่วนตำบลคลองชะอุ่น” ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 โดยมีนายลำดวน  คงเดิม กำนันตำบลคลองชะอุ่นขณะนั้น เป็นประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลคลองชะอุ่น (คนแรกโดยตำแหน่ง) จนกระทั่งปี พ.ศ. 2540 ได้เลือกตั้งนายสุธรรม จันทร์แสงกุล เป็นกำนันคนต่อมาและดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลคลองชะอุ่น คนที่สอง โดยมีนายนิโรจน์  จันทร์เมฆ เป็นประธานสภาองค์กำรบริหารส่วนตำบล คนแรกตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 และในปี พ.ศ.2543 ได้มีการทำการเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองชะอุ่น โดยนายนิโรจน์ จันทร์เมฆ ได้รับการเลือกตั้งจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองชะอุ่น เป็นประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลคลองชะอุ่น คนที่สาม ต่อมาได้รับการเปลี่ยนชื่อตำแหน่งเป็น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองชะอุ่น     

ต่อมา ปี พ.ศ.2547 ได้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองชะอุ่น และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองชะอุ่น โดยนางจำปี ทองวัน ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วน ตำบลคลองชะอุ่น บริหารงานระหว่างปี พ.ศ.2547 – 2551   

“เทศบาลตำบลคลองชะอุ่น” ได้รับการยกฐานะการองค์การบริหารส่วนตำบลคลองชะอุ่นตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2551 ตามหนังสือ อำเภอพนม ที่ มท 0882.20/0422 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2551 เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นเทศบาลตำบล ซึ่งได้แจ้งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลคลองชะอุ่น อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเทศบาลตำบลคลองชะอุ่น  พร้อม แผนที่ท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2551 มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2551 เป็นต้นไป โดยมีนายไพฑูรณ์  คงเดิม ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีตำบลคลองชะอุ่นคนแรก และสภาเทศบาลได้แต่งตั้งนายสำเริง แก้วฉ่ำ เป็นประธานสภาเทศบาลตำบลคลองชะอุ่น  บริหารงานเทศบาลฯ จนครบวาระ 4 ปี ระหว่าง พ.ศ.2551 – 2555 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลคลองชะอุ่น และนายกเทศมนตรีตำบลคลองชะอุ่น พ.ศ.2555 นายไพฑูรณ์  คงเดิม ยังคงได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีตำบลคลองชะอุ่น และนายสำเริง  แก้วฉ่ำ ยังคงดำรงตำแหน่งประธานสภาเทศบาลตำบลคลองชะอุ่น บริหารงานเทศบาลฯ ตั้งแต่ พ.ศ.2556 จนครบวาระในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 และในวันที่ 28 มีนาคม 2564 ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลคลองชะอุ่น และนายกเทศมนตรีตำบลคลองชะอุ่น นายไพฑูรณ์ คงเดิม ยังคงได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีตำบลคลองชะอุ่น และนายสำเริง แก้วฉ่ำ ยังคงดำรงตำแหน่งประธานสภาเทศบาลตำบลคลองชะอุ่น บริหารงานเทศบาลฯ จนถึงปัจจุบัน

โดยแบ่งเขตการปกครองเป็น 13 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านคลองชะอุ่น หมู่ที่ 2 บ้านแสนสุข หมู่ที่ 3 บ้านทับคริสต์ หมู่ที่ 4 บ้านคลองหัวช้างหมู่ที่ 5 บ้านบางหิน หมู่ที่ 6 บ้านบางคราม หมู่ที่ 7 บ้านบางเตย หมู่ที่ 8 บ้านบางบ้าน หมู่ที่ 9 บ้านถ้ำถาวร หมู่ที่ 10 บ้านถ้ำเล่ย์ หมู่ที่ 11 บ้านควนพน หมู่ที่ 12 บ้านเขาเขียว หมู่ที่ 13 บ้านบางหลุด

ภาพแผนที่

อินโฟกราฟิกสรุปงาน

โครงการที่ 1 

วันที่ 8 ตุลาคม 2564 ทีมวิศวกรสังคมตำบลคลองชะอุ่น อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ได้จัดกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและส่งเสริมการตลาดด้วยสื่อดิจิทัล พื้นที่ตำบลคลองชะอุ่น กลุ่มสมุนไพรภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจ เเละสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ณ ศาลาประจำหมู่บ้าน หมู่ที่13 ตำบลคลองชะอุ่น อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

   โดยกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการทำผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพรชนิดแห้ง เป็นผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรที่มีในชุมชน ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและคนในชุมชน ในครั้งนี้เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์และออกแบบแพ็กเกจใหม่ เพื่อสร้างรายได้ให้กับประชาชนตำบลคลองชะอุ่น โดยมีวิทยากรคือ นางหวานจิต จันทวงศ์ การอบรมครั้งนี้เพื่อสร้างอาชีพเสริมและสร้างรายได้ให้ประชาชน 

สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการฯในครั้งนี้ทุกคนจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองตามมาตรการ ควบคุมโรคระบาด โควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข จ.สุราษฎร์ธานีอย่างเคร่งครัด

โครงการที่ 2

เมื่อวันที่ 8 – 9 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09:00 น. วิศวกรสังคมตำบลคลองชะอุ่น อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินการจัดโครงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน “กิจกรรมที่1 ปลูกปอเทืองและหญ้าแฝก” ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี 

      ขอขอบคุณ นายไพฑูรย์ คงเดิม นายกเทศมนตรีตำบลคลองชะอุ่น ที่ให้เกียรติเป็นประธานเปิดพิธีในการจัดอบรม และขอขอบคุณ ดร.วัชรี รวยรื่น อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ที่ให้เกียรติเป็นวิทยากรในการอบรมในครั้งนี้ และ นางสาววรรณนิสา เภาพันธ์ เป็นอาจารย์ประจำตำบลคลองชะอุ่นและเป็นผู้ดูแล ให้คำปรึกษาในการอบรม

      ทั้งนี้ทางวิศวกรสังคมได้จัดสถานที่ตามมาตรการป้องกัน Covid-19 เว้นระยะห่างอย่างเคร่งครัดและสวมหน้ากากอนามัยทุกคน 

       และที่สำคัญต้องขอขอบคุณผู้นำท้องถิ่นทุกท่านที่สละเวลาเพื่อเข้ารับการอบรม ทำให้โครงการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ขอบคุณที่ให้ความไว้วางใจกับพวกเรา U2T ตำบลคลองชะอุ่น

โครงการที่ 3 

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09:00 น. วิศวกรสังคมตำบลคลองชะอุ่น อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินการจัดโครงการกิจกรรมสร้างสัมมาชีพใหม่ให้กับคนในชุมชน “ การเลี้ยงปลาดุก และการปลูกผักสวนครัว ” ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี 

      ขอขอบคุณ นายไพฑูรย์ คงเดิม นายกเทศมนตรีตำบลคลองชะอุ่น ที่ให้เกียรติเป็นประธานเปิดพิธีในการจัดอบรมและขอขอบคุณ นายพงศ์พันธ์ หนูคง (ประธานกลุ่มเกษตรกรทำสวนตำบลคลองชะอุ่น) นายสุรินทร์ แสนน้อย (ปราชญ์ชาวบ้าน) ที่ให้เกียรติเป็นวิทยากรในการอบรมในครั้งนี้ และ นางสาววรรณนิสา เภาพันธ์ เป็นอาจารย์ประจำตำบลคลองชะอุ่นและเป็นผู้ดูแล ให้คำปรึกษาในการอบรม

       ทั้งนี้ทางวิศวกรสังคมได้จัดสถานที่ตามมาตรการป้องกัน Covid-19 เว้นระยะห่างอย่างเคร่งครัดและสวมหน้ากากอนามัยทุกคน 

         และที่สำคัญต้องขอขอบคุณผู้นำท้องถิ่นทุกท่านที่สละเวลาเพื่อเข้ารับการอบรม ทำให้โครงการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ขอบคุณที่ให้ความไว้วางใจกับพวกเรา U2T ตำบลคลองชะอุ่น

กิจกรรมอื่น ๆ

U2T Covid week  ก้าวต่อไปสู่ภัยโควิด

Back To Top