บางนอน เมืองระนอง ระนอง อดีต ตำบลบางนอน อยู่ในเขตการปกครองของตำบลปากน้ำ แต่ประชากรและหมู่บ้านเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2490 ได้จัดตั้งตำบลบางนอนแยกออกจากตำบลปากน้ำ ซึ่งแยกออกมาปกครองตนเอง โดยที่ตำบลบางนอน อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมือง ต่อมามีประกาศกระทรวงมหาดไทย จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบางนอนตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2538 และเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2554 มีประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลบางนอน มีดวงตราประจำตำบลเป็นรูป พระพุทธรูปปางไสยาสน์ (พระนอน) ข้อมูลที่ 1 เมื่อสมัยก่อน ได้มีคนเข้ามาทำเหมืองแร่ในหมู่บ้านบางนอน โดยมีการขุดเหมืองแร่จำนวนหลายเหมือง เพราะในเขตพื้นที่บ้านบางนอนในขณะนั้นมีสายแร่ดีบุกดีอยู่เป็นจำนวนมาก อยู่มาวันหนึ่งได้พบพระพุทธรูปองค์หนึ่งอยู่ในรางเหมืองแร่ เป็นปางพระพุทธไสยาสน์ หรือพระนอน การขุดพบพระนอนในครั้งนี้ ทำให้ประชาชนในพื้นที่คิดว่าเป็นนิมิตหมายอันดี พระองค์นี้คงเป็นสิริมงคลของหมู่บ้าน จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านบางนอน” ตามที่พบพระพุทธไสยาสน์ หรือพระนอนในครั้งนั้น ต่อมาได้มีพระสงฆ์รูปหนึ่งธุดงค์ล่องเรือมาจากสงขลา ขึ้นฝั่งที่ท่าน้ำในตำบลปากน้ำ พระสงฆ์รูปนั้น ชื่อว่า หลวงพ่อด่วน ถามวโร ท่านได้สร้างวัดและหล่อพระนอนองค์ใหญ่แทนพระนอนองค์เล็กที่ขุดพบในครั้งนั้น พระนอนองค์ใหญ่ประดิษฐ์สถานอยู่ที่วัดบางนอนมาถึงปัจจุบัน ข้อมูลที่ 2 คนสมัยก่อนได้มีการสัญจรไป - มา ผ่านตำบลบางนอนต้องอาศัยทางเท้าในการเดินทาง คนส่วนใหญ่จะเดินเท้าจากเมืองระนอง เพื่อไปที่หมู่บ้านเขาทะลุ หรือจากหมู่บ้านเขาทะลุเดินทางมายังเมืองระนองใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 2 วัน เมื่อมาถึงหมู่บ้านบางนอน (บาง หมายถึง คลอง) ก็มืดค่ำพอดีและจำเป็นต้องพักค้างคืนที่หมู่บ้านแห่งนี้ รุ่งเช้าจึงออกเดินทาง ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงบอกเล่าและพูดถึงหมู่บ้าน โดยใช้ชื่อว่า “บ้านบางนอน” ข้อมูลที่ 3 สมัยก่อนมีเด็กเลี้ยงควายหลายคนที่เดินทางมาจากหมู่บ้านอื่น จูงความเข้ามากินหญ้าในหมู่บ้านบางนอน ในขณะนั้นหมู่บ้านบางนอนมีทุ่งหญ้าขนาดกว้าง ทำให้เด็กเลี้ยงควายจูงควายเข้ามากินหญ้าบ่อยครั้ง แต่เด็กจูงควายไม่ใช่คนในพื้นที่บ้านบางนอน และครั้นแต่ก่อนหมู่บ้านบางนอนมีชื่อว่า “บ้านลาวนอน” ทำให้เด็กจูงควาย ฟังและพูดผิดเพี้ยน และเล่าผู้อื่นว่า หมู่บ้านที่ตนจูงควายไปกินหญ้าบ่อยๆ มีชื่อว่าบ้านบางนอน ทำให้ผู้อื่นรู้จักและเดินทางเข้ามาในหมู่บ้าน เรียกชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านบางนอน”
หาดส้มแป้น เมืองระนอง ระนอง
ประวัติตำบล
ตำบลหาดส้มแป้น เดิมเป็นแหล่งแร่ดีบุกที่สำคัญของจังหวัดระนอง และได้มีชาวจีนกลุ่มหนึ่งเดินทางเข้ามาทำเหมืองแร่ แล้วกลับออกไป และได้บอกกับเจ้าเมืองระนองในขณะนั้นว่าที่ “ห้วยซัมเปี้ยน” มีแร่อุดมมาก คำว่า ”ห้วยซัมเปี้ยน” เป็นภาษาจีน แปลว่าลึกเข้าไปในหุบเขาชาวบ้านเรียกว่า “ห้วยซัมเปี้ยน” ต่อมา เพี้ยนเป็น “หาดส้มแป้น” และชื่อนี้เป็นที่แปลกใจของผู้มาท่องเที่ยวจังหวัดระนองเป็นอย่างมาก นักท่องเที่ยวส่วนมากคิดว่าเป็นชื่อหาดทราย ทำให้ต้องเข้ามาเยี่ยมชมในตำบลหาดส้มแป้น เป็นเหตุให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัดระนอง
วัดหาดส้มแป้น มีหลวงพ่อคล้าย ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านตำบลหาดส้มแป้น และเป็นสถานที่เลี้ยงปลาพลวง ปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่และหายาก เป็นปลาตระกูลเดียว กับปลาคราฟของญี่ปุ่น
ภาพแผนที่
อินโฟกราฟิก
โครงการที่ 1
กิจกรรมอบรม เชิงปฎิบัติการ การพัฒนากระบวนการผลิตและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน,OTOP
โครงการที่ 2
กิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ ในโครงการส่งเสริมสัมมาชีพและสร้างทักษะการประกอบอาชีพแก่ประชาชนหรือครัวเรือนที่มีรายได้น้อย
โครงการที่ 3
กิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ การยกระดับและการส่งเสริมการท่องเที่ยว
เชิงธรรมชาติ
กิจกรรม 1
การปลูกต้นฟ้าทะลายโจร ในพื้นที่ตำบลหาดส้มแป้น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง
กิจกรรม 2
COVID WEEK ตำบลฟาดส้มแป้น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง
Facebook Page : https://www.facebook.com/พาไปหลง-หาดส้มแป้น-105536395090210/
E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ : https://online.anyflip.com/lclty/rzeu/mobile/index.html