ลำพูน บ้านนาสาร สุราษฎร์ ที่ตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลล าพูนตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลล าพูน อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ท่าสะท้อน พุนพิน สุราษฎร์ธานี
ประวัติตำบล
ตำบลท่าสะท้อน ตั้งอยู่ในเขตอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ 58 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางทิศใต้ของที่ว่าการอำเภอพุนพิน โดยมีระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอพุนพิน ตามถนนสายสุราษฎร์ – พุนพิน และถนนสายสุราษฎร์ – ตะกั่วป่า เป็นระยะทาง 16 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยทั้งหมด 7 หมู่บ้านได้แก่ หมู่ 1 บ้านนาค้อ หมู่ 2 บ้้านบ่อกรัง หมู่ 3 บ้านท่าสะท้อน หมู่ 4 บ้านหนองจอก หมู่ 5 บ้านเขาพลู หมู่ 6 บ้านห้วยลึก หมู่ 7 บ้านศรีเจริญ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำสวนยาง สวนปาล์ม ค้าขายและรับจ้างกรีดยาง
สภาพพื้นที่เป็นที่ลาดต่ำเชิงเขา ไปจนถึงที่ราบลุ่มทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ทั้งหมดเหมาะสำหรับการทำสวนผลไม้ สวนยางพารา และปาล์มน้ำมัน
มีแม่น้ำตาปีไหลผ่านเป็นเส้นแบ่งเขต หมู่ที่ 4 ตำบลท่าสะท้อน กับตำบลเขาหัวควายและตำบลท่าข้าม อีกทั้งมีคลองท่าสะท้อน ไหลผ่านตำบลไปบรรจบลำน้ำตาปี บริเวณ หมู่ที่ 4 บ้านหนองจอก มีแหล่งน้ำขังที่ลุ่มโดยธรรมชาติขนาดใหญ่ 2 แหล่ง ได้แก่ ทุ่งกระจูด มีเนื้อที่ 3,100 ไร่ อยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 และป่าพรุนาค้อ อยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 1 เนื้อที่ 360 ไร่ นอกจากนี้ยังมี บ่อน้ำร้อน 1 แห่ง ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 6
สภาพภูมิอากาศ แบ่งเป็น 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน ฤดูฝนมีฝนตกชุกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – พฤศจิกายน ของทุกปี ประกอบกับสภาพพื้นที่เป็นที่ราบโล่ง มีลมพัดผ่านตลอดปี อากาศจึงเย็นสบาย ส่วนฤดูร้อนอากาศจะร้อนมากในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน ของทุกปี
แหล่งน้ำธรรมชาติ
แม่น้ำจำนวน 1 สาย คือ แม่น้ำตาปี
คลอง จำนวน 2 สาย คือ คลองนาค้อ และคลองท่าสะท้อน
ลำห้วย น้ำนวน 8 แห่ง ได้แก่ ห้วยโหด ห้วยรัตนโกศัย ห้วยตายงค์ ห้วยบ่อปราบ ฯลฯ
– ป่าพรุบางนาค้อ
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
– ฝายน้ำล้น จำนวน 1 แห่ง
– ประปาหมู่บ้าน จำนวน 34 แห่ง
– เขื่อนห้วยโหด จำนวน 1 แห่ง
เขื่อนน้ำล้น จำนวน 1 แห่ง
– บ่อน้ำตื้น จำนวน 50 แห่ง
ป่าไม้ 2 แห่ง คือ ป่าไม้หลังวัดท่าสะท้อน และ หลังโรงเรียนบ้านบ่อกรัง
การคมนาคม ตำบลท่าสะท้อน มีถนนหลายสายสำหรับใช้ในการติดต่อคมนาคมระหว่างหมู่บ้านและระหว่างตำบลในส่วนของการคมนาคมทางน้ำก็มีลำคลองท่าสะท้อน และแม่น้ำตาปีไหลผ่าน ซึ่งประชาชนก็ใช้การคมนาคมทางน้ำในการขนส่งสินค้าทางการเกษตรไปค้าขาย และใช้ในการเดินทางติดต่อสื่อสารโดยทั่วไป ดังนี้
ถนนลาดยาง (กรมทางหลวง) จำนวน 2 สาย ระยะทาง 15,000 เมตร
ถนนลาดยาง (ทางหลวงชนบท) จำนวน 2 สาย ระยะทาง 35,500 เมตร
ถนนคอนกรีต จำนวน 12 สาย ระยะทาง 6,870 เมตร
ถนนลาดยางแบบแอสฟัลท์ติกคอนกรีต,แคปซีล จำนวน 16 สาย ระยะทาง 22,976 เมตร
หินคลุก,ลูกรัง จำนวน 27 สาย ระยะทาง 29,559 เมตร
ถนนลาดยางแอสฟัลท์ติก ของ อบจ. 5 สาย ระยะทาง 9,500 เมตร
การไฟฟ้า
ราษฎรมีไฟฟ้าใช้เกือบทุกครัวเรือน คิดเป็น 99 %
มีไฟฟ้าสาธารณะในถนนสายหลักต่าง ๆ ครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่
การประปา
ระบบประปาหมู่บ้าน ประเภท บาดาล จำนวน 27 แห่ง
ระบบประปาหมู่บ้าน ประเภท ผิวดิน จำนวน 7 แห่ง
ระบบประปาผิวดินขนาดใหญ่ จำนวน 4 แห่ง
ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
มีที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 2 บ้านบ่อกรัง
ภาพแผนที่
อินโฟกราฟิก
โครงการที่ 1
วันที่ 7 ตุลาคม 2564 ทีมวิศวกรสังคมตำบลท่าสะท้อน
ได้จัดกิจกรรม “ยกระดับราชาเครื่องเทศไร่ทองดำแห่งท่าสะท้อน”
ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ) ณ ศาลาประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ เป็นการถ่ายทอดความรู้เพื่อช่วยต่อยอดผลิตภัณฑ์โดยเน้นไปทางด้านการตลาดเป็นหลักให้ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ การออกแบบออก Package แนะนำวิธีการขาย การถ่ายแบบผลิตภัณฑ์ให้ออกมาสวยดึงดูดความสนใจและดึงดูดลูกค้าเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์สร้างรายได้ให้กับประชาชนของตำบลท่าสะท้อน
ขอขอบคุณวิทยากร ผศ. พงศกร ศยามล
อาจารย์ที่ปรึกษาตำบล ผศ.จีรนันท์ กล่อมนรา แก้วรักษา
สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการฯในครั้งนี้ทุกคนจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองตามมาตรการ ควบคุมโรคระบาด โควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข จ.สุราษฎร์ธานีอย่างเคร่งครัด
โครงการที่ 2
วันที่ 8 ตุลาคม 2564
ทีมวิศวกรสังคมตำบลท่าสะท้อน จัดกิจกรรม
“สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สู่วิถีชีวิตที่ยั่งยืน(การทำก้อนเชื้อเห็ดและน้ำพริกเห็ด)”
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ)
เพื่อให้ชาวบ้านได้มีอาชีพเสริม และเกิดรายได้หมุนเวียนภายในชุมชน ทั้งนี้การจัดกิจกรรมเป็นไปตามมาตราการการป้องกันโควิดอย่สงเคร่งครัด
โครงการที่ 3
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2564
วิศวกรสังคมตำบลท่าสะท้อน ดำเนินการจัดกิจกรรมวิถีชุมชนคนลงทุ่ง ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ) ในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม zoom ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้มีการบรรยาย
ช่วงเช้า เวลา09.00 น. – 12.00 น. ในหัวข้อ ประโยชน์ของนิเวศกระจูดและการอนุรักษ์ โดย อ.ศักดิ์ชัย กรรมารางกูล โดยแบ่งให้คนในชุมชนปรึกษาว่ากระจูดสารถมานำมาทำประโยชน์อะไรได้บ้างนอกเหนือจากสิ่งที่ที่เคยทำกันมา เช่น ร่มจากกระจูด ที่คาดผมจากกระจูด แผ่นรองรองเท้าจากกระจูด ฯ
ช่วงบ่ายเวลา 13.00 น. – 16.00 น. บรรยายในหัวข้อ สื่อสร้างสรรค์จากกระจูด โดย อ.กนกอร ทองใหญ่ ได้มีการแบ่งกลุ่มคนในชุมชนเพื่อระดมความคิด เพื่อเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์พันธุ์กระจูดและให้คนในชุมชนตระหนักถึงพืชกระจูดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติแต่กลับสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนให้ยังคงอยู่และสร้างรายได้ให้กับชุมชน
ทั้งนี้ต้องขอขอบพระคุณวิยากรทั้ง 2 ท่านที่มาให้ความรู้แก่คนในชุมชนอีกทั้งนังสามารถนำความรู้ไปต่อยอดเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
กิจกรรม 1
วิศวกรสังคมตำบลท่าสะท้อน ลงพื้นที่ปลูกฟ้าทะลายโจร ที่โรงเรียนท่าสะท้อนวิทยา
ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณ ผู้อำนวยการโรงเรียนท่าสะท้อนวิทยาและคณะครูอาจารย์ที่ให้ความอนุเคราะห์สถานที่ในการเพาะปลูกฟ้าทะลายโจร และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
การลงพื้นที่ในครั้งนี้ได้มีมาตราการการป้องกัน covid-19 ขอให้ทุกคนดูแลรักษาสุขภาพด้วยนะคะ ด้วยความเป็นห่วงจากพวกเราวิศวกรสังคมตำบลท่าสะท้อน
กิจกรรม 2
วิศวกรสังคมตำบลท่าสะท้อนลงพื้นที่จัดกิจกรรม covid week
โดยมีการทำความสะอาดบริเวณบ่อน้ำพุร้อน ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสาธารณะของตำบลท่าสะท้อน ที่มีคนเข้ามาใช้บริการจำนวนมาก จึงมีการจัด Big cleaning Day มีการจัดทำหน้ากากอนามัย เพื่อรณรงค์การป้องกันการเกิดโควิดมีการแจกแอลกอฮอล์ ให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการบ่อน้ำพุร้อนและชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น
Facebook Page : https://www.facebook.com/U2T-
E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ : https://anyflip.com/iaata/vztq/