skip to Main Content

เชี่ยวเหลียง กะเปอร์ ระนอง

ประวัติตำบล

ประวัติความเป็นมาของชุมชน

                 เนื่องจากสมัยก่อนยังไม่มีถนนการคมนาคมต้องใช้เรือในการสัญจรไปมาระหว่างหมู่บ้านกับอำเภอโดยใช้คลองกะเปอร์เป็นเส้นทางสัญจรซึ่งมีน้ำลึกมากมีโค้งน้ำไหลเชี่ยวและแรงมากจึงเรียกว่าเชี่ยวหลากและบริเวณนั้นมีต้นเหลียงอยู่เป็นจำนวนมากประกอบกับช่วงหลังน้ำไม่เชี่ยวแล้วชาวบ้านจึงเรียกชื่อใหม่ว่า “เชี่ยวเหลียง” มาจนถึงปัจจุบันนี้

เขตพื้นที่

ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลปากทรง  อำเภอพะโต๊ะ    จังหวัดชุมพร

ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบางหิน   อำเภอกะเปอร์   จังหวัดระนอง

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลบ้านนา   อำเภอกะเปอร์   จังหวัดระนอง

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลกะเปอร์  อำเภอกะเปอร์   จังหวัดระนอง

ลักษณะภูมิประเทศ

     สภาพพื้นที่และลักษณะภูมิประเทศของตำบลเชี่ยวเหลียง จะมีทั้งพื้นที่ราบและภูเขาสลับซับซ้อนซึ่งยังคงความอุดมสมบูรณ์เป็นเขตอนุรักษ์สัตว์ป่าของกรมป่าไม้ มีลำคลองหลายสายไหลผ่านตลอดปี

ภูมิอากาศ

     อยู่ภายใต้อิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกชุกเกือบตลอดปี เฉลี่ยประมาณ ๒๐๐ วัน ต่อปี ปีหนึ่งมี ๒ ฤดู คือฤดูร้อนและฤดูฝน

    – ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมพาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม มีอากาศร้อนมากและนับวันอุณหภูมิที่สูงขึ้นเนื่องจากสภาวะแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป

    – ฤดูฝน แบ่งออกเป็น ๒ ช่วง เพราะได้รับอิทธิพลของลมแตกต่างกัน ช่วงที่หนึ่งระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม มีฝนชุกมาก เนื่องจากได้รับอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงใต้จากทะเลอันดามัน ช่วงที่สอง ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดจากฝั่งอ่าวไทย ทำให้มีฝนเบาบาง อุณหภูมิไม่สูงนัก อากาศเย็นสบาย อุณหภูมิมีความแตกต่างกันไม่มากนักระหว่างเดือนที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดกับเดือนที่มีอุณหภูมิต่ำที่สุด มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ ๑๖ – ๓๙.๕ องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง ๓,๔๑๗ – ๕,๒๔๘ มิลลิเมตรต่อปี

โครงสร้างของชุมชน

ด้านการปกครอง

 เขตการปกครอง

               ตำบลเชี่ยวเหลียง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง มีหมู่บ้าน ทั้งหมด ๗ หมู่บ้าน ได้แก่

▪ หมู่ที่๑      บ้านน้ำแดง

▪ หมู่ที่๒      บ้านย่านยาว

▪ หมู่ที่๓      บ้านเชี่ยวเหลี่ยง

▪ หมู่ที่๔      บ้านขุนรอง

▪ หมู่ที่๕       บ้านนาใน

▪ หมู่ที่๖       บ้านหล่อไหล

▪ หมู่ที่๗       บ้านชลนิมิต

ด้านศาสนา 

 ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

สถานที่สำคัญ

ศาสนสถาน ประกอบด้วย วัด / สำนักสงฆ์ จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่ 

สำนักสงฆ์เวฬุวัน ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 บ้านน้ำแดง

วัดคงคารี ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 บ้านย่าวยาว

สถานศึกษา ประกอบด้วย โรงเรียนประถมศึกษา / ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  1 แห่ง ได้แก่ 

โรงเรียนบ้านเชี่ยวเหลียง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลเชี่ยวเหลียง 

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ บ้านนาใน ตำบลเชี่ยวเหลียง

สาธารณสุข มีหน่วยบริการสาธารณสุข ดังนี้ 

โรงพยาบาลส่งเสริมส่วนตำบลเชี่ยวเหลียง

แผนที่

อินโฟกราฟิก

โครงการที่ 1

ยกระดับเศรษฐกิจ วิศวกรสังคมตำบลเชี่ยวเหลียง จัดโครงการอบรม 4 สัมมาชีพชาวบ้านแห่เข้าร่วมกว่า 100 คน

เมื่อวันที่ 11-14 ตุลาคม พ.ศ.2564 วิศวกรสังคมตำบลเชี่ยวเหลียงและว่าที่ร้อยตรี อนุชิต พงศ์พรหม(อาจารย์ที่ปรึกษา)  ได้เริ่มจัดโครงการอบรม 4 สัมมาชีพ ประกอบด้วย โครงการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำขนมเบเกอรี่ โครงการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะก้อนเชื้อเห็ด โครงการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะพันธุ์ปลาดุก โครงการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเครื่องแกง มีชาวบ้านกว่า 100 คนแห่เข้าร่วมโครงการ ผลการประเมินปรากฏว่ามีชาวบ้านกว่าร้อยละ 80 มีระดับความรู้ความเข้าใจในหัวข้อที่อบรมเพิ่มขึ้นกว่า 70 เปอร์เซ็นต์

โครงการที่ 2 

ไม่มีที่ไหนไม่มีของดี ปลาดุกร้าสูตรเด็ดและน้ำพริกปลาดุกร้ามีเทคนิคการปรุงมากว่า 70 ปี

เมื่อวันที่ 27-29 ตุลาคม พ.ศ.2564 วิศวกรสังคมตำบลเชี่ยวเหลียงและว่าที่ร้อยตรี อนุชิต พงศ์พรหม(อาจารย์ที่ปรึกษา)  จัดโครงการยกระดับผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้าและน้ำพริกปลาดุกร้ามีชาวบ้านเข้าร่วมโครงการกว่า 50 คน ซึ่งวิศวกรสังคมตำบลเชี่ยวเหลียงได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ได้แก่ ตู้ตากปลาดุกร้าพลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้สามารถผลิตสินค้าได้เยอะขึ้น ประหยัดเวลามากขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศของจังหวัดระนองมีฝนตกกว่า 8 เดือนต่อปี ทำให้มีผลกระทบต่อกระบวนการผลิตปลาดุกร้า

โครงการที่ 3 

ทันโลกการตลาดออนไลน์ เปลี่ยนวิธีการขาย ขายยังไงให้ได้กำไรสุดปัง 

จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลและผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลทีมวิศวกรสังคมตำบลเชี่ยวเหลียงและว่าที่ร้อยตรี อนุชิต พงศ์พรหม(อาจารย์ที่ปรึกษา)  ได้เห็นถึงปัญหาหรือสาเหตุของการตลาดในตำบล จึงเป็นที่มาของกิจกรรมอบรมการตลาดออนไลน์ที่จัดขึ้นในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 เป็นกิจกรรมที่ให้ความรู้ ความสำคัญ และเทคนิคในการขายของผ่านตลาดออนไลน์ในปัจจุบัน เพื่อให้ชาวบ้านและประชากรในตำบลสามารถขายสินค้าได้ผ่านช่องทางออนไลน์

กิจกรรมอื่น ๆ 

1.แปลงฟ้าทะลายโจร

2.กิจกรรมเกี่ยวข้าวประจำปีตำบลเชี่ยวเหลียง

-ในตำบลเชี่ยวเหลียงได้มีการจัดกิจกรรมเกี่ยวข้าวประจำปีเพื่ออนุรักษ์วิถีชาวบ้านแบบดั้งเดิมไว้ให้คงอยู่สืบไปและเป็นกิจกรรมที่ทำให้ชาวบ้านมีความรักใครสามัคคีกันช่วยกันเก็บเกี่ยวข้าวที่ทุกๆคนได้ร่วมกันหว่านเมล็ดข้าว

Facebook Page  : https://www.facebook.com

E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ ลิงค์ : https://online.pubhtml5.com/evrd/azyp/

Back To Top