skip to Main Content

เขานิเวศน์ เมืองระนอง ระนอง

ประวัติตำบล

“เขานิเวศน์” มาจากชื่อ “นิเวศน์คีรี” เป็นชื่อเขาที่เป็นที่ตั้งของพระที่นั่งรัตนรังสรรค์ เป็นชื่อที่รัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานเมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองระนอง ต่อมาจึงได้ตั้งชื่อเป็นตำบลเขานิเวศน์ เป็นตำบลที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองระนอง โดยเขานิเวศน์มีทั้งหมดมี 20 ชุมชน

1.ชุมชนตรอกชายโสด

ปี พ.ศ. เหตุการณ์สำคัญ

2501 มีชาวบ้านอพยพเข้ามาอยู่ในชุมชนตรอกชายโสด

2519 เทศบาลเมืองระนองมีการเข้ามาจัดเก็บภาษีโรงเรือนในชุมชนตรอกชายโสด

2534 เทศบาลเมืองระนองได้จัดตั้งชุมชนตรอกชายโสด

2.ชุมชนพ่อตาขิง

ปี พ.ศ. เหตุการณ์สำคัญ

2453 ก่อตั้งโรงพยาบาลระนอง

2497 คนจากพื้นที่ตลาดบางส้านได้ย้ายเข้ามาในพื้นที่ชุมชนพ่อตาขิง

2554 ก่อตั้งร้านจำหน่ายกรอบรูปและของที่ระลึก กรอบรูปแกะสลักจากภาพถ่ายที่สวยงาม

3.ชุมชนตลาดพม่า

ปี พ.ศ. เหตุการณ์สำคัญ

2498 มีการตัดสายถนนเพชรเกษมเข้ามาสู่จังหวัดระนองโดยกรมทางหลวงได้ตัดถนนจากบ้านเขาฝาชีมาตามแนวถนนผาดาดเชื่อมต่อเขตเทศบาลระนอง

2554 ได้จัดตั้งชุมชนตลาดพม่าขึ้น และเทศบาลเมืองระนองเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนของตนเอง

2557 ลูกค้าของธนาคารออมสินจำนวนมากได้เดินทางมายังธนาคารก่อนที่ธนาคารจะปิดทำการ เพื่อรอคิวเข้าไปถอนเงินและปิดบัญชี หลังจากเกิดความไม่พอใจธนาคารออมสินได้ปล่อยกู้ให้กับรัฐบาลนำไปจ่ายหนี้ให้กับชาวนาโครงการรับจำนำข้าว

2558 ลงเสาเอก สร้าง สุขพาร์ค ศูนย์รวมร้านค้าขนาดย่อมใจกลางเมืองระนอง

2560 เปิดตลาดนัดสุขใจ โดยสุขปาร์ค เพื่อเป็นตลาดนัดขนาดเล็กให้ผู้คนมาเลือกซื้ออาหาร เครื่องดื่ม งานแฮนด์เมด จากแม่ค้าในพื้นที่

2561 เกิดเหตุรถตู้เสียหลักพุ่งชนเสาไฟฟ้าหัก ท่อประปาแตกน้ำทะลักพุ่งสูงเกือบ 2 เมตร ส่งผลให้กระแสไฟฟ้าดับในชุมชนตลาดพม่า ไม่มีไฟฟ้าใช้ร่วม 100 หลังคาเรือน เกิดเหตุสะเทือนขวัญจ่อยิงหนุ่มระนองดับหน้าผับดังกลางเมืองระนอง

2564 นายอรรถวุฒิ แพงคำอ้วน ผู้นำชุมชนตลาดพม่าพร้อมด้วยชาวชุมชนตลาดพม่า ชุมชนบางส้าน ชุมชนโรงกลวง รวมตัวกันคัดค้านการใช้โรงแรมเรืองราษฎร์ เป็นสถานที่กักกันตัวเลือก Alternative Local Quarantine เนื่องจากมั่นใจในมาตรการการกักตัว เพราะโรงแรมดังกล่าวอยู่ย่านใจกลางเมืองระนองและเป็นถนนเศรษฐกิจสายหลักของเมืองระนอง

4.ชุมชนสะพานยูงชาติเฉลิม

ปี พ.ศ. เหตุการณ์สำคัญ

2420 ก่อตั้งค่ายจวนเจ้าเมืองระนอง เป็นตระกลู ณ ระนอง จวนเจ้าเมืองระนองมีการก่อสร้างในลักษณะค่าย ซึ่งพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง ณ ระนอง) ท่านเป็นคนจีนที่สมรสกับคนไทย

2433 ก่อตั้งวัดสุวรรณคีรีวิหาร

2456 ก่อตั้งโรงเรียนชาติเฉลิม

5.ชุมชนเสาแดง

ปี พ.ศ. เหตุการณ์สำคัญ

2433 (คอซินบี้ ณ ระนอง) ได้สร้างบ้านเทียนสือ

2484 ก่อตั้งโรงเรียนบ้านเขานิเวศน์

2491 โดยคณะรัฐมนตรี อนุมัติโอนโรงเรียนบ้านเขานิเวศน์ ไปสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

2506 คณะรัฐมนตรี มีอนุมัติโอนโรงเรียนบ้านเขานิเวศน์ไปสังกัดกระทรวงเทศบาล

2537 จัดตั้งเป็นชุมชนเสาแดง-ตลาดใหม่

6.ชุมชนโรงกลวง

ปี พ.ศ. เหตุการณ์สำคัญ

2516 ชุมชนโรงกลวงมีการขยับขยายการถมพื้นที่

2543  ชุมชนโรงกลวง ได้เกิดกรณีเป็นคดีฟ้องร้องเรื่องเอกสารสิทธิ์การถือครองที่ดินกับตระกูล ณ ระนอง

2564      ผู้นำชุมชนตลาดพม่าพร้อมด้วยชาวชุมชนตลาดพม่า ชุมชนบางส้าน ชุมชนโรงกลวง รวมตัวกันคัดค้านการเลือกใช้โรงแรมเรืองราษฎร์ เป็นสถานกักกันตัวเลือก (Alternative Local Quarantine)

7.ชุมชนซอย 2

ปี พ.ศ. เหตุการณ์สำคัญ

2436 ก่อตั้งวัดอุปนันทาราม

2496 บริษัท ระนองคอลโซลลิมิเต็ด ได้สัมปทานการทำเหมืองแร่ด้วยวิธีเหมือนเรือขุด

2498 บริษัท ระนองคอลโซลลิมิเต็ด เลิกกิจการโดยขายกิจการต่อให้นายฟูคุณหลวง ซึ่งเป็นคนเชื้อชาติจีน สัญชาติอังกฤษ  เข้าดำเนินกิจการแทน และได้เวนคืนประทานบัตรเลขให้ทางราชการ กรมการปกครองได้นำที่ประทานบัตร 2 แปลงเวนคืนมาจัดสรรให้ราชการและชาวบ้านที่ไม่มีที่อยู่อาศัยทำการจับฉลากและออกโฉนดให้

2531 เทศบาลเมืองระนองได้เข้ามาดูแล และจัดตั้งเป็นชุมชนโดยใช้ชื่อชุมชนสหพันธ์ซอย

2535 ชุมชนสหพันธ์ซอย 2 มีประชาชนเข้ามาอาศัยหนาแน่นขึ้นจึงได้แยกมาจัดตั้งเป็นชุมชนใหม่ใช้ชื่อชุมชนซอย 2

2556 นายกเทศมนตรีเมืองระนองเปิดงานไนท์ม่าร์เก็ต ถนนคนกิน เทศบาลเมืองระนองร่วมกันชุมชนซอย2 จัดกิจกรรมถนนคนกินปิดถนนซอย 2 ขายของกินของใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ เวลา 17.00-22.00 น ทุกวันเสาร์

8. ชุมชนซอย 9

ปี พ.ศ. เหตุการณ์สำคัญ

2514 ก่อตั้งร้านไก่ย่างจีนพันธ์ ซอย 9

2516 ก่อตั้งร้านขนมเบื้องเจ้ภา

2537   จัดตั้ง ชุมชนซอย 9

2539 ก่อตั้งร้านโรตีบังหนุ่ยที่อร่อยที่สุดในซอย 9 สถานที่ตั้งอยู่ใกล้ๆการประปาระนอง

2553 ร้านโอทอป ข้างร้านโรตีบังหนุ่ยได้รับรางวัล 5 ดาวจากการประกวดสินค้าโอทอป

9.ชุมชนด่านท่าเมือง

ปี พ.ศ. เหตุการณ์สำคัญ

2445 คนจีนเดินทางโดยเรือมาค้าขายและปลูกที่พักชั่วคราวริมคลองท่าด่าน

2494 มีบริษัทเหมืองแร่ ไซมิสติลได้ทำการขุดแร่บริเวณชุมชนด่านท่าเมืองเป็นครั้งแรก

2501 มีชาวบ้านอพยพเข้ามาอยู่ในชุมชนด่านท่าเมือง 200 หลังคาเรือน

2523 ส.ส.ยงยุทธ นพเกตุ ร่วมกับชาวบ้านพัฒนาทำถนนกั้นแนวระหว่างราชพัสดุกับป่าชายเลนชื่อซอยร่วมใจ

2534 เทศบาลเมืองระนองได้จัดตั้งชุมชนด่านท่าเมือง

10.ชุมชนเสือป่า

ปี พ.ศ. เหตุการณ์สำคัญ

2471 รัชกาลที่7 ทรงม้าผ่านที่ตั้งชุมชนเสือป่าในปัจจุบัน มีพระราชประสงค์จะสร้างวังในบริเวณนี้ แต่ไม่ได้สร้าง เพราะเสด็จสวรรคตก่อน

2498 ก่อตั้งโรงเรียนสตรีระนอง

2544 ชุมชนเสือป่า ได้มีการเสียค่าเช่าที่อยู่อาศัยให้ทางจังหวัด ด้านหน้าถนนเรืองราษฎร์ตารางวาละ 10บาท/เดือน ส่วนด้านในตารางวาละ4บาท/เดือน

2552 แต่งตั้งผู้นำชุมชนคนปัจจุบัน ของชุมชนเสือป่า

1. อาจารย์ธันวา รัตนเดช

2. นายจำลอง

3. นายอนุภาพ วงศ์ธัญญะกวิน

4. นายเอียด เทพารักษ์ (คนปัจจุบัน)

11.ชุมชนตลาดองค์การ

ปี พ.ศ. เหตุการณ์สำคัญ

2513 มีชาวบ้านเข้าอยู่เป็นครั้งแรงในชุมชนตลาดองค์การ 8 หลังคาเรือน

2521 มีการจัดสร้างอาคารพาณิชย์ตึก 3 ชั้นเป็นครั้งแรกในชุมชนตลาดองค์การ

2536 เทศบาลเมืองระนองได้จัดตั้งชุมชนตลาดองค์การ

12. ชุมชนสหพันธ์

ปี พ.ศ. เหตุการณ์สำคัญ

2506 มีบริษัทซึ่งร่วมทุนมีหุ้นส่วนระหว่างคนไทยหลายคนและต่างชาติชาว มาเลเซีย ซึ่งมีชื่อว่านายคุลหลอง แซ่ฟู ได้นำ เรือขุดแร่มาจากจังหวัดพังงาเข้ามาทำการขุดแร่ดีบุกในเขตพื้นที่ ตำบลปากน้ำ ตำบลบางริ้น ตำบลบางนอน และ ตำบลเขานิเวศน์ ได้ตั้งสำนักงานอยู่บ้านเลขที่118/1 ถนนท่าเมือง ตำบลเขานิเวศน์ เขตเทศบาลเมืองระนอง โดยใช้ชื่อว่า บริษัท เรือขุดแร่สหพันธ์จำกัด ชุมชนสหพันธ์

2525 บริษัท เรือขุดแร่สหพันธ์จำกัดเลิกกิจการให้คนงานออกจากบ้านพักไปหาที่อยู่ใหม่คนงานบางส่วนกลับถิ่นเดิม แต่บางส่วนไม่มีที่จะไปประกอบอาชีพเพื่อขอเช่าที่ดินเป็นที่อยู่อาศัยอีกทั้งตอนนั้นคนงานทั้งหมดถูกลอยแพ บริษัทตัดน้ำ ตัดไฟหมด ชาวบ้านจึงรวมตัวกันเรียกร้องสิทธิ์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2534 เทศบาลเมืองระนองได้จัดตั้งชุมชน สหพันธ์

 13.ชุมชน ตลาดล่างภักดี

ปี พ.ศ. เหตุการณ์สำคัญ

2510 ได้มีตลาดแห่งแรกในชุมชนตลาดล่าง ผู้ก่อตั้งชื่อโกซิ่ม เป็นชาวจีน

2526 ตลาดโกซิ่มในชุมชนตลาดล่าง โดนไฟไหม้ใหญ่ เพราะห้องแถว แถวนั้นเป็นไม้ และได้รับการปรับปรุงสร้างใหม่จนกลายเป็นตึกปูนจนถึงทุกวันนี้

2532 จัดตั้งขนมกลุ่ม เต้าส้อ เต้าส้อวารุณี ในเขตชุมชนตลาดล่าง

2534 นาย กมล ตันติวีระวงศ์ เจ้าของตลาดล่างได้ขอให้เทศบาลทำถนนเส้นตลาดล่างให้เพื่อที่จะตัดผ่านกันได้  

2550 เจ๊สลิ่มเจ้าของที่ได้ปรับปรุงตลาดและสร้างโครงขึ้นมาใหม่และตั้งชื่อให้ว่าตลาดภักดี

2553 ได้มีการเปิดตลาดเพิ่มทรัพย์ ในชุมชนตลาดล่าง  

2554 ก่อตั้งชุมชนตลาดล่างภักดีและมีประธานชุมชนคนแรกและคนปัจจุบัน ชื่อ นายสันติ โชครุ่งเจริญถาวร   

2557 ได้มีการสร้างบริษัทสมบัติทัวในเขตชุมชนตลาดล่างภักดี

2559 โกมล ได้เปิดตลาดใหม่อีกแห่งหนึ่งในชุมชนตลาดล่างภักดี   

14. ชุมชน ตลาดเก่า

ปี พ.ศ. เหตุการณ์สำคัญ

2422 ก่อตั้งศาลเจ้าต่ายเต๊เอี๋ย ในชุมชนตลาดเก่า แต่ปัจจุบันเทศบาลได้แบ่งให้เขตตลาดเก่า เริ่มจากร้านทรงประจักษ์ลงไปเลี้ยวซ้าย ถึงวิมลรัตน์คาร์แคร์ เลี้ยวขวาไปถึงสี่แยกโรงรับจำนำ (ปัจจุบันศาลเจ้าต่ายเต๊เอี๋ย อยู่ในเขตชุมชนบางส้าน

2480 ก่อสร้างตึกลิ่มตั้ง โดยนายบุ่นตุ่ย ลิ้มตั้ง คหบดีเมืองระนอง ต้นสกุล ลิ่มตั้ง

2555 น้ำใส เขาสวย รีสอร์ท เปิดให้บริการ

2558 มีการเปลี่ยนมือผู้ถือครองที่ดิน อาคาร กิจการร้านค้าและที่อยู่อาศัย

ธนาคารสร้างขึ้นในชุมชน 6 แห่ง

คลินิกแพทย์สร้างขึ้นในชุมชน 6 แห่ง

คลินิกหมอฟันหมอฟันสร้างขึ้นในชุมชน 3 แห่ง

ตลาดท่าเมืองเปิดให้บริการ

2562 มีการสร้างสวนหย่อมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคล พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

 15.ชุมชน บางส้าน

ปี พ.ศ. เหตุการณ์สำคัญ

2419 ก่อตั้งศาลเจ้าต่ายเต๊เอี๋ย เป็นศาลเจ้าเก่าแก่และเป็นที่นับถือบูชาของชาวระนอง จากหลักฐานที่ปรากฏและพิสูจน์ได้คือ ป้ายศาล ป้ายแรก และจากการหาข้อมูลจากผู้เฒ่าผู้แก่ชาวชุมชนบางส้านเล่าว่า ศาลเจ้าแห่งนี้สร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2419 ซึ่งในสมัยนั่นจะเป็นศาลไม้เก่า บนที่ดินประมาณ20ตารางวา ต่อมาปี 2528 ผู้จัดการศาล มองเห็นถึงความสำคัญจึงพัฒนาให้เจริญขึ้นจนกระทั่งปัจจุบัน นอกจากนี้ศาลเจ้า แห่งนี้ยังใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมในงานประเพณีถือศีลกินเจของชาวเมืองระนอง

2433 ก่อตั้งพระที่นั่งรัตนรังสรรค์จำลอง ตอนนี้แทบเรียกได้ว่า เป็นแลนด์มาร์ค แห่งใหม่รองจากบ่อน้ำแร่ร้อน

2463 ก่อตั้งโรงเรียนหมิงซิน ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2463 จนถึงปัจจุบันนี้มีอายุมานานนับ 100 ปี เริ่มต้นจากชาวจีนที่อาศัยอยู่ในชุมชนอยากจะให้ลูกหลานในชุมชนได้เรียนหนังสือกัน จึงสร้างโรงเรียนหมิงซินขึ้นมา และพัฒนาปรับปรุงมาเรื่อย ๆจนถึงปัจจุบันนี้ 

รายชื่อผู้อำนวยการ โรงเรียนหมิงซิน 

1. นายวิรัช วัชรากร ปีที่ดำรงตำแหน่ง ปี 2490-2533 

2. นายธันวา วัฒนเดช ปีที่ดำรงตำแหน่ง ปี 2533-2548

3. นางอรทัย เจริญพร ปีที่ดำรงตำแหน่ง ปี 2548-2511 

4. นางอรทัย เจริญพร ปีที่ดำรงตำแหน่ง ปี 2551-2557 

5. นายคำนึง โสตถิอุดม ปีที่ดำรงตำแหน่ง ปี 2557-2564

2510 ก่อตั้งไอติมประเสริฐสงค์ ไอติมไข่แข็งแห่งระนอง ไอติมไข่แข็งมีมานานแล้วจากรุ่นพ่อรุ่นลูก ปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 2 มีความอร่อยแบบโบราณ จะใส่ลูกชิด ขนมปัง มันสัปปะรด ลูกเกด ข้าวเหนียว รากบัว เม็ดบัว ราดหน้าด้วยนมข้นจืด ไอติมมีสามรสชาติ กะทิ รสช็อคโกแลต และมีรสทุเรียน รสทุเรียนจะมีเฉพาะฤดูเท่านั้น ส่วนเครื่องนั้นสามารถใส่รวมได้หมดทุกอย่าง และทำเองทั้งหมด ถ้วยละ 40 บาท ซึ่งภายในร้านไร้การตกแต่งแบบประดิษฐ์ใดๆ  เป็นบ้านอาคารเก่าที่อยู่มายาวนานบนถนนตลาดเทศบาล  ด้านในมีโปสเตอร์หนังติดตามกำแพงบ้าน ซึ่งเด็กๆเจนใหม่อาจไม่ค่อยได้เห็น นอกจากไอติมแล้ว  ความอร่อยของขนมจีบที่รสชาติและแป้งห่อที่มีความมันไม่เหมือนใคร ร้านไอติมไข่แข็ง สูตรโบราณมากกว่า 50 ปี ในถนนเส้นหลักในตลาดตัวเมืองระนอง อยู่ในเขตชุมชนบางส้าน ร้านอยู่ทางด้านซ้ายมือ เป็นห้องเดียว มีป้ายร้านข้างหน้า ชื่อ ประเสริฐสงค์  

2526 ก่อตั้งศาลเจ้าเค่งจิ้วคุ่ยก๊วน (ศาลเจ้าไหหลำ) เป็นศาลเจ้าของชาวจีนไหหลำ อยู่ทางลงตลาดล่างจะมีทางเข้าทางข้างตลาด มีงานประจำปีโดยให้ชาวไทยลูกหลานไหหลำได้มากราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชา

2540 เริ่มมีการจัดงานอเมซซิ่งเรืองราษฎร์งานตรุษจีนระนอง ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถือเป็นงานประจำปีเลยก็ว่าได้ จัดมานานต่อเนื่อง 23ปี ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.2540 กับ “งานเทศกาลตรุษจีนถนนเรืองราษฎร์” เขตชุมชนบางส้านพัฒนา ถนนสายการค้าแห่งระนอง การจัดงาน ” มหัศจรรย์ถนนเรืองราษฎร์ ” เริ่มต้นจากแนวคิดของเทศบาลเมืองระนองร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนหมิงซิน และชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดระนอง โดยองค์กร ต่าง ๆ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการที่จะเฉลิมฉลองและสืบสานวัฒนธรรมประเพณีตรุษจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดระนอง รวมทั้งส่งเสริมการค้าขายให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจที่ดีและก่อให้เกิดรายได้แก่ชาวจังหวัดระนอง นอกจากนั้นยังเป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดระนองอีกทางหนึ่งด้วย โดยจะปิดถนนตั้งแต่สี่แยกตลาดเก่าจนถึงสามแยกรัตนสิน  เพื่อจำหน่ายสินค้า และจัดกิจกรรมต่างๆ ในบรรยากาศ   ไชน่า ตั้งแต่ 5 โมงเย็น ถึง 4 ทุ่ม  จัดงานเป็นเวลา 3วัน  ภายในงานมีการตกแต่งประดับโคมไฟ การจัด ซุ้มประตูงานเป็นแบบประเพณีจีน เพื่อแสดงเอกลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในเทศกาลตรุษจีน การเชิดสิงโต จัดแสดงดนตรี และการแสดงของเด็กนักเรียนโรงเรียนหมิงซิน การออกร้านจำหน่ายสินค้าของห้างร้านต่างๆ โดยนำสินค้าอุปโภค บริโภค ลดล้างสต็อก รวมทั้งสินค้าที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมาขายในราคาถูก มีการปิดถนนเรืองราษฎร์ ซึ่งได้รับความสนใจจากชาวระนองและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก โดยงานคืนแรกทางโรงเรียนหมิงซินจะมีการจัดกิจกรรมให้เด็กได้มีการแสดงโชว์ ร้อง เล่น เต้น รำ และจัดงานเลี้ยงน้ำชาสำหรับศิษย์เก่าและผู้ปกครองของเด็กนักเรียนที่ได้มีการรับเชิญ จัดขึ้นภายในโรงเรียน และมีการจัดตกแต่งเวทีทีและสถานที่ใหญ่โตสวยงามตามสไตล์จีนไชน่า สมชื่อโรงเรียนหมิงซิน หรือที่เรียกกันว่าโรงเรียนจีน  (งานเทศกาลนี้มีมาก่อนที่จะมีการจัดตั้งชุมชนบางส้าน)

2551 ประมาณ พ.ศ.2551 มีการรวมตัวกันจากกลุ่มคน 7-10 คน ได้ยื่น ขอจัดตั้งชุมชน กับ กองสวัสดิการเทศบาลเมืองระนอง และได้รับการจัดตั้ง เมื่อก่อนจนถึงปัจจุบันนี้ ก็คือ ตลาดบางส้าน ที่คนระนองรุ่นเก่าแก่จะใช้เรียกจนติดปาก เพี้ยนมาจากคำว่า บั่นซั่น ซึ่งแปลว่า เนินเขาเล็กๆ

16.ชุมชนร่วมจิต

17.ชุมชนตลาดแขก

18.ชุมชนระนองแลนด์ 

19.ชุมชนเสาวลักาณ์พัฒนา 

20.ชุมชนเฉลิมพระเกียรติ

แผนที่

อินโฟกราฟิก

โครงการที่ 1 

1. กิจกรรมอบรม การพัฒนากระบวนการผลิตและยกระดับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP ในพื้นที่เขานิเวศน์ 

      ทีมวิศวกรสังคมตำบลเขานิเวศน์ นำโดยอาจารย์อังคณาภรณ์ จันทร์แก้ว อาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลเขานิเวศน์ ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมอบรม การพัฒนากระบวนการผลิตและยกระดับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP ในพื้นที่ตำบลเขานิเวศน์ อ.เมือง จ.ระนอง ในระหว่างวันที่ 22-24 ตุลาคม 2564 น. ณ ตำบลเขานิเวศน์ อำเภอเมือง จังหวัดระนอง โดยจัดกิจกรรมอบรม  ศาลาอเนกประสงค์ชุมชนท่าด่าน ในวันที่ 22 ตุลาคม 2564 ห้องประชุม สำนักงานป่าชายแลน ชุมชนด่าน ในวันที่ 23 ตุลาคม 2564 และบ้านป้าพะนอในการจัดกิจกรรม วันที่ 24 ตุลาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น.

    โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์ภูเด่น แก้วภิบาล และ อาจารย์ธีราวรรณ จันทร์แสง เป็นวิทยากรผู้ถ่ายทอดความรู้ในการอบรมในครั้งนี้

• การส่งเสริมผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล สื่อออนไลน์ 

• การออกแบบตราสินค้า/บรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์สินค้า 

• การสร้างช่องทางการขายออนไลน์ 

• การทำการตลาดเพื่อขายสินค้าออนไลน์

     การดำเนินการจัดอบรมในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี  โดยทีมวิศวกรสังคมเขานิเวศน์

โครงการที่ 2 

2. กิจกรรมอบรม ส่งเสริมสัมมาชีพและสร้างทักษทะการประกอบอาชีพแก่ประชาชนที่มีรายได้น้อยในพื้นที่ตำบลเขานิเวศน์  อำเภอเมือง จังหวัดระนอง

       ทีมวิศวกรสังคมตำบลเขานิเวศน์ นำโดย  อาจารย์อังคณาภรณ์ จันทร์แก้ว อาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลเขานิเวศน์ ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ “โครงการส่งเสริมสัมมาชีพและสร้างทักษะการประกอบอาชีพแก่ประชาชนหรือครัวเรือนที่มีรายได้น้อย” ในพื้นที่ตำบลเขานิเวศน์ อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ในระหว่างวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2564 เวลา 08:00-17:00 น. ณ ศาลาอเนกประสงค์ชุมชมโรงกลวง ตำบลเขานิเวศน์ อำเภอเมือง จังหวัดระนอง

      โดยได้รับเกียรติจากนายวิชิต พรหมอินทร์ และ นางสุดารัตน์ ทองไตรภพ เป็นวิทยากรผู้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการทำขนมปั้นขลิบและหน้านวล

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 เวลา 08:00-17:00 น. ณ ศาลาอเนกประสงค์ชุมชมโรงกลวง เป็นการเรีรยนรู้การทำขนมปั้นขลิบไส้ปลา 

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 เวลา 08:00-17:00 น. ณ ศาลาอเนกประสงค์ชุมชมโรงกลวง เป็นการเรีรยนรู้การทำขนมหน้านวล 

เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 

(1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี  โดยทีมวิศวกรสังคมตำบลเขานิเวศน์

วัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสริมทักษะอาชีพแก่ครัวเรือนยากจนในพื้นที่ ให้สามารถนำทักษะอาชีพไปต่อยอด สร้างอาชีพ สร้างรายได้ในอนาคต

กิจกรรม

1. U2T Covid week” พวกเราทีมวิศวกรสังคม ตำบล เขานิเวศน์ อำเภอ เมืองจังหวัด ระนอง ในโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่กิจกรรมพิเศษ U2T สู้ภัยโควิด “U2T Covid  week” ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ร่วมเสริมทัพเป็นกองหนุนรัฐบาลให้ชุมชน เคลียร์เชื้อร้ายรณรงค์เร่งฉีดวัคซีน เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชนชุมชนและณรงค์การสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีน พร้อมทีมวิศวกรสังคมในพื้นที่ดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ทั้ง 82 ตำบล ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง

Facebook Page : https://m.facebook.com/U2T-SRU

E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ : https://online.pubhtml5.com/cybs/scqv/

Back To Top