บางนอน เมืองระนอง ระนอง อดีต ตำบลบางนอน อยู่ในเขตการปกครองของตำบลปากน้ำ แต่ประชากรและหมู่บ้านเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2490 ได้จัดตั้งตำบลบางนอนแยกออกจากตำบลปากน้ำ ซึ่งแยกออกมาปกครองตนเอง โดยที่ตำบลบางนอน อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมือง ต่อมามีประกาศกระทรวงมหาดไทย จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบางนอนตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2538 และเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2554 มีประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลบางนอน มีดวงตราประจำตำบลเป็นรูป พระพุทธรูปปางไสยาสน์ (พระนอน) ข้อมูลที่ 1 เมื่อสมัยก่อน ได้มีคนเข้ามาทำเหมืองแร่ในหมู่บ้านบางนอน โดยมีการขุดเหมืองแร่จำนวนหลายเหมือง เพราะในเขตพื้นที่บ้านบางนอนในขณะนั้นมีสายแร่ดีบุกดีอยู่เป็นจำนวนมาก อยู่มาวันหนึ่งได้พบพระพุทธรูปองค์หนึ่งอยู่ในรางเหมืองแร่ เป็นปางพระพุทธไสยาสน์ หรือพระนอน การขุดพบพระนอนในครั้งนี้ ทำให้ประชาชนในพื้นที่คิดว่าเป็นนิมิตหมายอันดี พระองค์นี้คงเป็นสิริมงคลของหมู่บ้าน จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านบางนอน” ตามที่พบพระพุทธไสยาสน์ หรือพระนอนในครั้งนั้น ต่อมาได้มีพระสงฆ์รูปหนึ่งธุดงค์ล่องเรือมาจากสงขลา ขึ้นฝั่งที่ท่าน้ำในตำบลปากน้ำ พระสงฆ์รูปนั้น ชื่อว่า หลวงพ่อด่วน ถามวโร ท่านได้สร้างวัดและหล่อพระนอนองค์ใหญ่แทนพระนอนองค์เล็กที่ขุดพบในครั้งนั้น พระนอนองค์ใหญ่ประดิษฐ์สถานอยู่ที่วัดบางนอนมาถึงปัจจุบัน ข้อมูลที่ 2 คนสมัยก่อนได้มีการสัญจรไป - มา ผ่านตำบลบางนอนต้องอาศัยทางเท้าในการเดินทาง คนส่วนใหญ่จะเดินเท้าจากเมืองระนอง เพื่อไปที่หมู่บ้านเขาทะลุ หรือจากหมู่บ้านเขาทะลุเดินทางมายังเมืองระนองใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 2 วัน เมื่อมาถึงหมู่บ้านบางนอน (บาง หมายถึง คลอง) ก็มืดค่ำพอดีและจำเป็นต้องพักค้างคืนที่หมู่บ้านแห่งนี้ รุ่งเช้าจึงออกเดินทาง ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงบอกเล่าและพูดถึงหมู่บ้าน โดยใช้ชื่อว่า “บ้านบางนอน” ข้อมูลที่ 3 สมัยก่อนมีเด็กเลี้ยงควายหลายคนที่เดินทางมาจากหมู่บ้านอื่น จูงความเข้ามากินหญ้าในหมู่บ้านบางนอน ในขณะนั้นหมู่บ้านบางนอนมีทุ่งหญ้าขนาดกว้าง ทำให้เด็กเลี้ยงควายจูงควายเข้ามากินหญ้าบ่อยครั้ง แต่เด็กจูงควายไม่ใช่คนในพื้นที่บ้านบางนอน และครั้นแต่ก่อนหมู่บ้านบางนอนมีชื่อว่า “บ้านลาวนอน” ทำให้เด็กจูงควาย ฟังและพูดผิดเพี้ยน และเล่าผู้อื่นว่า หมู่บ้านที่ตนจูงควายไปกินหญ้าบ่อยๆ มีชื่อว่าบ้านบางนอน ทำให้ผู้อื่นรู้จักและเดินทางเข้ามาในหมู่บ้าน เรียกชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านบางนอน”
ทรายแดง เมืองระนอง ระนอง
ประวัติตำบล
ประวัติบ้านทรายแดง
๑. ชื่อบ้าน (ชื่อปัจจุบัน) บ้านทรายแดง หมู่ที่ ๑ ตำบลทรายแดง อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง
๒. ที่ตั้ง หรืออาณาเขต
ทิศเหนือ จด บ้านบางแก้ว ตำบลบางแก้ว อำเภอละอุ่น (เขาฝาชี หมู่ที่ ๔)
ทิศใต้ จด ตำบลบางนอน ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองระนอง (หินดาด ตำบลทรายแดง)
ทิศตะวันออก จด ตำบลบางพระใต้ อำเภอละอุ่น (บางสีกิ้ม หมู่ที่ ๔ ตำบลทรายแดง)
ทิศตะวันตก จด แนวแม่น้ำกระบุรี เขตชายแดน ไทย – พม่า
๓. ประวัติความเป็นมา
จากอดีตกาลนานมาแล้ว บริเวณลำคลองที่จะเข้าสู่หมู่บ้าน จะมีหาดทรายเป็นสีแดงทอดเป็นทางยาวมากชาวบ้านจึงเรียกชื่อว่าหาดทรายแดง แต่มาตอนหลังการเข้าออกของเรือที่ผ่านไปมาไม่สะดวก เพราะความตื้นเขินของหาดทราย จึงมีการขุดลอกคลองใหม่โดยการดูดทรายทิ้ง จึงไม่มี หาดทรายสีแดงให้เห็นอีก แต่ชาวบ้านยังเรียกกันต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบันนี้ว่า “บ้านทรายแดง”
๔. การพัฒนาการของบ้าน
เดิมทีการสัญจรไปมาไม่สะดวก ส่วนใหญ่ใช้ทางเรือบริเวณคลองละอุ่น ต่อมามีการตัด ถนนเพชรเกษม ชาวบ้านจึงใช้สัญจรทางบกมากกว่า และเกิดชุมชนขึ้นกลายเป็นบ้านทรายแดงจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันมีกลุ่มต่าง ๆ เกิดขึ้นในหมู่บ้าน หลายกลุ่มเช่น
– จัดให้มีกองทุนหมุนเวียนของกลุ่มแม่บ้าน – กลุ่มฌาปนกิจแม่บ้าน
– จัดให้มีกองทุนสัจจะของหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์
– จัดให้มีกองทุนเลี้ยงไก่พื้นเมือง
– จัดให้มีกลุ่มเย็บจาก – ทำกะปิ – ร้านค้าริมทาง – ตลาดนัดชุมชน
– จัดให้มีสนามกีฬาเพื่อเยาวชนต้านยาเสพติด
– จัดกลุ่มเยาวชนเพื่อส่งเสริมอาชีพ
– จัดให้มี รปภ. หมู่บ้านโดยใช้ชุด อพป./ปชด.
๕. บุคคลสำคัญ –
๖. สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
– อุโมงค์ทหารญี่ปุ่น สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ตั้งอยู่ที่เกาะขวาง
– มีสระเก็บน้ำในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒
– มีอุโมงค์ลอดใต้ดินสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ สี่จุด คือ เกาะนพเกตุ ,เกาะยาง, เกาะปลิง
– หัวเขาใหญ่ และมีบ่อน้ำสมัยสงครามโลกอยู่ที่หัวสะพานไผ่เขียว
(ปัจจุบันบ่อน้ำแห่งนี้ชาวบ้านยังใช้อยู่)
๗. สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ
– ล่องเรือดูหมู่เกาะ ตกปลาตามธรรมชาติ ดูหอยนางรม และหอยแมลงภู่ขนาดใหญ่(ในแม่น้ำกระบุรี)
– ท่องเกาะนพเกตุดูถ้ำอุโมงค์
๘. สิ่งที่ประชาชนภาคภูมิใจ
– มีท่าเรือซอยท่าโพธิ์
– มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม อุดมสมบรูณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ
– มีทัศนียภาพที่สวยงาม
– มีผู้นำที่ดี จัดระเบียบหมู่บ้านถูกต้องมี รปภ. หมู่บ้านคอยอำนวยความสะดวก
และรักษาความปลอดภัยให้ ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
แผนที่
อินโฟกราฟิก
โครงการที่ 1
โครงการการยกระดับและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติในพื้นที่ตำบลทรายแดง อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ซึ่งได้รับเกียรติจากอาจารย์พงศ์พล ปลอดภัย และคุณกฤตวิทย์ หนูเพชร
หัวข้อในการอบรม
– หลักการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน โดยการร่วมกันทำSWOT ของแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่
– การวางแผนการสร้าง Tourism Trip เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่
– การผลิตสื่อสำหรับโปรโมตการท่องเที่ยวของทรายแดง แบบ One day trip
โครงการที่ 2
โครงการการส่งเสริมสัมมาชีพและสร้างทักษะการประกอบอาชีพแก่ประชนหรือครัวเรือนที่รายได้น้อย ในพื้นตำบลทรายแดง อำเภอ เมืองระนอง จังหวัดระนอง
เมื่อวันที่ 21 ตุลามคม ที่ผ่านมาทีมวิศวกรสังคม ตำบลทรายแดง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง หนึ่งตำบลในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ตำบล๑มหาวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัดโครงการ กิจกรรมส่งเสริมสัมมาชีพการแปรรูปหอยแมลงภู่เพื่อการถนอมอาหารและเพิ่มพูนมูลค่า: หอยแมลงภู่ดองธรรมชาติ และหอยแมลงภู่แดดเดียว ณ ศูนย์การเรียนรู้ช่องเขาเทพประธานพร ม.1 บ้านทรายแดง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง
โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมจากครัวเรือนยากจนและชาวบ้านในตำบลทรายแดง และได้รับความร่วมมือจาก ผู้ใหญ่บ้าน ม.1 และทีม อสม ตำบลทรายแดง เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสัมมาชีพการแปรรูปหอยแมลงภู่เพื่อถนอมอาหารและเพิ่มพูนมูลค่า
เมื่อวันที่ 22-23 ตุลามคม ที่ผ่านมาทีมวิศวกรสังคม ตำบลทรายแดง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง หนึ่งตำบลในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ตำบล๑มหาวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัดโครงการกิจกรรมส่งเสริมสัมมาชีพทางการเกษตรแบบผสมผสานเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร และรายได้ โดยคุณ ธนารัตน์ รัตนราทร (คุณท้อ) SMART FARMER เป็นวิทยากร และ คุณ อนงค์ ศรียุค เป็นผู้ช่วยวิทยากร ให้กับกิจกรรมส่งเสริมสัมมาชีพทางการเกษตรแบบผสมผสานเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร และรายได้ ณ ศูนย์การเรียนรู้ช่องเขาเทพประธานพร ม.1 บ้านทรายแดง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง
โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมจากครัวเรือนยากจนและชาวบ้านในตำบลทรายแดง และได้รับความร่วมมือจาก ผู้ใหญ่บ้าน ม.1 และทีม อสม ตำบลทรายแดง เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสัมมาชีพทางการเกษตรแบบผสมผสานเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร และรายได้
เมื่อวันที่ 24-25 ตุลามคม ที่ผ่านมาทีมวิศวกรสังคม ตำบลทรายแดง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง หนึ่งตำบลใน
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ตำบล๑มหาวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัดโครงการกิจกรรมส่งเสริมสัมมาชีพการแปรรูปผักเหลียงเพื่อเพิ่มรายได้ในชุมชน : น้ำผักเหรียงและผักเหลียงอบกรอบ ณ ศูนย์การเรียนรู้ช่องเขาเทพประธานพร ม.1 บ้านทรายแดง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง
โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมจากครัวเรือนยากจนและชาวบ้านในตำบลทรายแดง และได้รับความร่วมมือจาก ผู้ใหญ่บ้าน ม.1 และทีม อสม ตำบลทรายแดง เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสัมมาชีพ การแปรรูปผักเหลียงเพื่อเพิ่มรายได้ในชุมชน : น้ำผักเหรียงและผักเหลียงอบกรอบ
โครงการที่ 3
เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ที่ผ่านมาทีมวิศวกรสังคม ตำบลทรายแดง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง หนึ่งตำบลในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ตำบล๑มหาวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัดโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีเพื่อการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนของตำบลทรายแดง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง โดยอาจารย์ภูเด่น แก้วภิบาล เป็นวิทยากร และ อาจารย์ธีราวรรณ จันทร์แสง เป็นผู้ช่วยวิทยากร ให้กับกิจกรรมการพัฒนากระบวนการผลิตและยกระดับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ชุมชน,OTOP ในพื้นที่ตำบลทรายแดง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ณ กศน ตำบลทรายแดง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง
โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ชุมชนและชาวบ้านในตำบลทรายแดง เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนากระบวนการผลิตและยกระดับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ชุมชน,OTOP ในพื้นตำบลทรายแดง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง
สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและทีมวิศวกรทุกคนจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองตามมาตรการควบคุมโรคระบาด Covid-19 ของกระทรวงสาธารณสุข อย่างเคร่งครัด
กิจกรรม
1.กิจกรรม U2T Covid week)
ทีมวิศวกรสังคมตำบล ทรายแดงอำเภอเมืองจังหวัดระนอง ในโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่กิจกรรมพิเศษ U2T สู้ภัยโควิด “U2T Covid week” ร่วมเสริมทัพเป็นกองหนุนรัฐบาลให้ชุมชน เคลียร์เชื้อร้ายรณรงค์เร่งฉีดวัคซีน เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชนชุมชนและรณรงค์การสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีน พร้อมทีมวิศวกรถือป้าย เดินรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโควิดสังคมในพื้นที่ดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ทั้ง 82 ตำบล ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง ในวันที่ 27 พค 2564 พื้นที่ ทรายแดง ณ วัดทรายแดงวนาราม กิจกรรม ทำความสะอาดจุดเสี่ยง รร. บ้านทรายแดง
กิจกรรม
2.วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2564 พวกเราทีมวิศวกรสังคมตำบลทรายแดงลงพื้นที่ ปลูกฟ้าทะลายโจรร่วมกัน ณ ศูนย์การเรียนรู้ช่องเขาเทพประทานพร หมู่ 1 ตำบลทรายแดง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง
Facebook Page : https://www.facebook.com/U2T
E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ : online.anyflip.com/ycqgr/lgqw/mobile/index.html