ปากทรง พะโต๊ะ ชุมพร ตำบลปากทรง เหตุที่ชาวบ้านเรียกชื่อนี้ สันนิษฐานว่า เจ้าเมืองระนองและเจ้าเมืองหลังสวนเป็นญาติกัน การเดินทางไปเยี่ยมเยียนกันในสมัยก่อนนั้น ไม่มีถนนจึงต้องทรงช้างไปเมืองหลังสวน เมื่อมาถึงปากแม่น้ำก็ต้องลงเรือต่อไปอีก ชาวบ้านเห็นเจ้าเมืองทรงช้างมาลงเรือที่ปากแม่น้ำ จึงเรียกบริเวณนี้ว่า "ปากทรง" และได้ยกเป็นตำบลมาจนถึงทุกวันนี้
ปังหวาน พะโต๊ะ ชุมพร
ประวัติตำบล
ตำบลปังหวาน แต่เดิมเรียกชื่อว่า บ้านมะปรางหวาน ซึ่งมีความเป็นมา ดังนี้ เมื่อก่อนการคมนาคมส่วนมากจะเป็นทางน้ำ โดยมีแม่น้ำสายหลัก คือ แม่น้ำหลังสวน และมีน้ำที่ใหญ่มาก มีหาดทรายกว้าง เป็นที่จอดเรือและแพเพื่อพักแรม และทานอาหาร โดยที่ท่าน้ำที่มีผู้มาจอดพักมีต้นมะปรางหวานต้นใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง ซึ่งเรียกท่าน้ำนี้ว่า ท่าน้ำมะปรางหวาน นามมาก็เพี้ยนมาเป็นบ้านปังหวาน
ชุมชนบ้านปังหวาน สันนิษฐานว่า เริ่มมีผู้คนเข้ามาตั้งชุมชนสมัยเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 และเริ่มหนาแน่นขึ้นเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เดิมนั้นส่วนมากจะอยู่ที่ริมแม่น้ำหลังสวนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีชุมชนอยู่หนาแน่น คือ
1) ชุมชนบ้านส้มควาย ประกอบด้วย ชุมชนบ้านโพธิ์ทองหลาง และชุมชนบ้านพังเหา
2) ชุมชนบ้านในคลอง ประกอบด้วย ชุมชนบ้านชุมแสง และชุมชนบ้านคลองอาร์
3) ชุมชนบ้านคล้ายสองกอ
มี 9 หมู่บ้าน
หมู่ที่ 1 บ้านส้มควาย ประชากร 120 ครัวเรือน ชาย 139 คน หญิง 140 คน รวม 279 คน
1) ข้อมูลไทม์ไลน์ของหมู่บ้าน จากการสัมภาษณ์นาย อรรถพล กล่อมทรง ซึ่งเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลปัง หวานให้ข้อมูลเกี่ยวกับ หมู่ที่ 1 บ้านส้มควาย มีการจัดตั้งหมู่บ้านมานานแล้ว ไม่ทราบพ.ศ. ที่ต้อง อย่างชัดเจน ชื่อ ส้มควาย มาจากในขณะที่ต้องหมู่บ้านต้นส้ม ควายหรือส้มแขก จึงได้ตั้งชื่อ หมู่บ้านว่า บ้านส้มควาย แต่บัดนั้ นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
2) ข้อมูลผลิตภัณฑ์ในชุมชน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์แปรรูปกล้วยฉาบ ผลิตภัณฑ์ขนมไทยหลายชนิด ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกะลามะพร้าว ผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้า
3) ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน คือ ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและ ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและ เกษตรทฤษฎีใหม่ประจําตําบลปังหวาน
หมู่ที่ 2 บ้านพังเหา ประชากร 336 ครัวเรือน ชาย 419 คน หญิง 370 คน รวม 789 คน
1) ข้อมูลไทม์ไลน์ของหมู่บ้าน บ้านพังเหามีประชากรในพื้นที่จํานวนมากจึงแยกหมู่บ้านไปอีกหมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 9 บ้านสร้างสมบูรณ์แยกออกมาจากหมู่บ้านพังเหาใน สมัยผู้ใหญ่คมตะวัน สร้างแก้ว เป็นผู้ใหญ่บ้านอยู่ในขณะนั้นช่วงราวปี พ.ศ.2558
2) ข้อมูลผลิตภัณฑ์ในชุมชน ในปัจจุบันนี้ ผลิตภัณฑ์ต่างๆของชุมชนมีการยกเลิกไปบางส่วน เนื่องจาก สมาชิกในกลุ่มต่างแยกย้ายไปทําอาชีพของตน และความไม่พร้อมของหลายอย่าง
3) ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ค้นพบว่ามีสถานที่คล้ายร้านอาหาร มีชื่อว่า ครัวบ้านสวน-ศูนย์เรียนรู้บ้านสวนสุวรรณ ซึ่งเป็นที่พบปะสังสรรค์เป็นแหล่งที่ผู้คนไปมาได้ตลอด และนัดประชุมหรือทํากิจกรรมของคนในหมู่บ้านและผู้คนที่มาท่องเที่ยว
หมู่ที่ 3 บ้านคลองเหนก ประชากร 241 ครัวเรือน ชาย 286 คน หญิง 290 คน รวม 576 คน
1) ข้อมูลไทม์ไลน์ของหมู่บ้าน เป็นตำบลดั้งเดิมมีมานานหลายปีไม่ทราบ พ.ศ. ปกครอง โดย กํานันสุมนธ์ทิพย์สมบัติ ซึ่งเป็นคนปัจจุบันในการดำรงตำแหน่งดูแลในพื้นหมู่ที่ 3 บ้าน คลองเหนก
2) ข้อมูลผลิตภัณฑ์ในชุมชน ผลิตภัณฑ์ในชุมชน คือ น้ำผึ้งโพรง เริ่มจัดกลุ่มทําน้ำผึ้งโพรงขึ้นมาเมื่อ ปีพ.ศ.2557 โดยมีสมาชิกทั้งหมด 30 คน ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านก็ยังทําน้ำผึ้งโพรงกันอยู่
3) ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ในส่วนของแหล่งท่องเที่ยวในหมู่บ้านมีสถานที่ที่ สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้คือ “เขื่อนน้ำล้น”
หมู่ที่ 4 บ้านคลองนูน ประชากร 348 ครัวเรือน ชาย 520 คน หญิง 445 คน รวม 965 คน
1) ข้อมูลไทม์ไลน์ของหมู่บ้าน กํานันชอบ แดงหนองหิน ได้แบ่งแยกหมู่บ้านออกจากหมู่ ที่ 6 บ้านท่าแพ มาเป็นหมู่ที่ 4 บ้านคลองนูน เพราะประชากรมาก ครัวเรือนมาก เลยต้องแบ่งแยกหมู่บ้าน มีคลองนูนคลองเดียวคือสายหลักที่ไหลผ่านบ้านท่าแพแล้วออกมาทางคลองใหญ่คือ คลองปังหวาน และน้ำจากคลองปังหวานไหล ออกสู่แม่น้ำหลังสวน มีการรวมกลุ่มของชมรมผู้สูงอายุจัดต้องกลุ่ม ขึ้นมาเมื่อปีพ.ศ.2561 มีสมาชิกประมาณ 40 คน ร่วมทํากิจกรรม เช่น การรํา และกลองยาว
2) ข้อมูลผลิตภัณฑ์ในชุมชน ในส่วนผลิตภัณฑ์ของชุมชน คือ ทุเรียนทอด ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านก็ยังทํา ผลิตภัณฑ์นี้อยู่ เพื่อค้าขายในหมู่บ้านและตามสถานที่ต่างๆ
3) ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ไม่มีแหล่งท่องเที่ยว
หมู่ที่ 5 บ้านทอนพงษ์ ประชากร 157 ครัวเรือน ชาย 154 คน หญิง 164 คน รวม 316 คน
1) ข้อมูลไทม์ไลน์ของหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 หมู่บ้านทอนพงษ์เป็นหมู่บ้านเล็กๆช่วงแรกเริ่มผู้ใหญ่สายันต์ดํารงตําแหน่งผู้ใหญ่บ้าน จนเกษียณราชการ และในปีพ.ศ.2563 ได้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน ลูกของผู้ใหญสายันต์ได้ลงสมัครเลือกต้องเป็นผู้ใหญ่บ้านด้วย ปัจจุบันได้รับตําแหน่งเป็น ผู้ใหญ่บ้าน ชื่อ นายเกียรติศักดิ์ แก้วเจริญ ดํารงตําแหน่งเป็น ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 บ้านทอนพงษ์เป็นคนปัจจุบัน
2) ข้อมูลผลิตภัณฑ์ในชุมชน คือ ทุเรียนทอด ชาวบ้านในหมู่บ้านทําการค้าขายกันใน หมู่บ้านและตามสถานที่ต่างๆ
3) ข้อมูลไทม์ไลน์แหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ไม่มีแหล่งท่องเที่ยว
หมู่ที่ 6 บ้านท่าแพ ประชากร 285 ครัวเรือน ชาย 338 คน หญิง 315 คน รวม 653 คน
1) ข้อมูลไทม์ไลน์ของหมู่บ้าน เมื่อก่อนหมู่บ้านท่าแพอาศัยแพล่องลําคลองออกจากบ้านท่าแพ ไปสู่แม่น้ำหลังสวน มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหลังคาเรือน ผู้ที่ดํารงตําแหน่งปกครองหมู่บ้านคนแรก คือ กํานันชอบ แดงหนองหิน ดํารงตําแหน่งจนเกษียณอายุ จนต่อมานายสัมพันธ์ นาคเสน ดํารงตําแหน่งปกครองต่อมาประมาณ 5 ปีจนหมดวาระในการดํารงตําแหน่งในปีพ.ศ.2555 และเลือกต้องผู้ใหญ่คนที่ 3 ชื่อ ผู้ใหญ่ภาณุพงศ์ พิทักษ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนต่อไป
2) ข้อมูลผลิตภัณฑ์ในชุมชน คือ กระเป๋าถุงผ้าปาเต๊ะ เริ่มจัดตั้งทํากลุ่มขึ้น มาเมื่อปีพ.ศ.2562 จัดทําขึ้นเพื่อจัดจําหน่ายให้กับลูกค้าหลักในหมู่บ้าน มีปลาดุกร้า ผลิตภัณฑ์จากไม่ไผ่ และการจัดดอกไม้หน้าพิธี
3) ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ไม่มีแหล่งท่องเที่ยว
หมู่ที่ 7 บ้านคลองอาร์ ประชาชน 285 ครัวเรือน ชาย 338 คน หญิง 315 คน รวม 653 คน
1) ข้อมูลไทม์ไลน์ของหมู่บ้าน ตอนแรกตำบลปังหวานปกครองกันมา 2 ตำบล คือ ตําบลปังหวาน และตําบลพระรักษ์และ ต่อมาตําบลปังหวานแบ่งแยกเป็นตําบลพระรักษ์เมื่อก่อนเป็นตําบลปังหวานก่อนจะมาเป็นตําบลพระรักษ์ และก่อนที่จะจัดต้องเป็นหมู่ที่ 7 บ้านคลองอาร์ พื้นที่นี้เคยเป็นหมู่ที่ 9 มาก่อน ปกครองโดยผู้ใหญ่บ้านเสน่ห์อําพะวัน ปกครองได้ประมาณ 10 ปีแล้วก็ได้แบ่งแยกหมู่บ้านมาเป็น หมู่บ้านห้วยใหญ่หมู่ที่ 8
2) ข้อมูลผลิตภัณฑ์ในชุมชน เมื่อก่อนหมู่บ้านได้ทําผลิตภัณฑ์ คือ กล้วยฉาบและข้าวเกรียบมะละกอ ทําขายและทําขายส่ง แต่ในปัจจุบันนี้ผลิตภัณฑ์ต่างๆของชุมชนได้มีการยกเลิกไป เนื่องจากสมาชิกในกลุ่มต่างแยกย้ายไปทําอาชีพของตนและความไม่พร้อมของปัจจัยหลายๆอย่าง
3) ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ไม่มีแหล่งท่องเที่ยว
หมู่ที่ 8 บ้านห้วยใหญ่ ประชาชน 219 ครัวเรือน ชาย 281 คน หญิง 275 คน รวม 556 คน
1) ข้อมูลไทม์ไลน์ของหมู่บ้าน ประชากรในชุมชนของหมู่ที่ 7 ผู้ใหญ่เสน่ห์ อําพะวัน ปกครองไม่ทั่วถึง เนื่องจากมีจํานวนครัวเรือนมาก เลยแบ่งหมู่บ้านมาเป็นหมู่ที่ 8 บ้านห้วยใหญ่ ตําบลปังหวาน ผู้ใหญ่เสน่ห์อําพะวัน ผู้ใหญ่หมู่ที่ 7 ทําโครงการแบ่งแยกหมู่บ้าน ตั้งชื่อว่า “หมู่บ้านห้วยใหญ่” เป็นการ แบ่งแยก พ.ศ.2548 ปัจจุบันผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่8 คือ ผู้ใหญ่ถนอม พรหมแก้ว
2) ข้อมูลผลิตภัณฑ์ในชุมชน ไม่มีผลิตภัณฑ์ในชุมชน
3) ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน คือ บ่อน้ำร้อน มีมานานมากแล้ว และ น้ำตกเหนือเหว เป็นแหล่งน้ำตกตามธรรมชาติสร้างมา 100 กว่าปีแล้ว ได้ปรับปรุงเป็นแหล่งท่องเที่ยวเมื่อปี พ.ศ2550 ได้ปรับปรุงน้ำตกครั้งล่าสุดตั้งแต่สมัยก่อนเรียกน้ำตกเหนือเหว เพราะมีน้ำตกขึ้นอยู่เหนือเหวเลยได้เรียกกันว่าน้ำตกเหนือเหวมาจนถึงปัจจุบัน
หมู่ที่ 9 บ้านสร้างสมบูรณ์ ประชาชน 116 ครัวเรือน ชาย 113 คน หญิง 116 คน รวม 229 คน
1) ข้อมูลไทม์ไลน์ของหมู่บ้าน หมู่ที่ 9 ได้แยกหมู่บ้านมาจากหมู่ที่ 2 ช่วงประมาณปีพ.ศ.2558 เหตุที่ได้ตั้งชื่อหมูบ้านสร้างสมบูรณ์มาจากการตั้งชื่อตามบุคคลที่ทําประโยชน์ให้ชุมชน
2) ข้อมูลผลิตภัณฑ์ในชุมชน คือ ข้าวตอก ทุเรียนกวน มังคุดกวน และกลุ่มของชุมชน คือ ข้าวตอก ทุเรียนกวน มังคุดกวน และกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์จัดตั้งกลุ่มขึ้นมาประมาณ 15 คน ไม่ทราบปีพ.ศ. ที่จัดตั้ง
3) ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ไม่มีแหล่งท่องเที่ยว
ภาพแผนที่
อินโฟกราฟิก
โครงการที่ 1
วิศวกรสังคมตำบลปังหวาน อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้จัดกิจกรรมการถ่ายทอดเพื่อยกระดับสินค้าในชุมชนต.ปังหวาน ผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้า เมื่อวันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา ณ ศูนย์หมู่บ้านหมู่ที่1 ตำบลปังหวาน กิจกรรมที่ 1 การออกแบบบรรจุภัณฑ์และออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้า และต่อด้วยให้ความรู้เกี่ยวกับตลาดสินค้าและการขายผ่านออนไลน์ของสินค้าชุมชนปลาดุกร้า หวังเพื่อให้ชาวบ้านมีรายได้ และยอดขายที่เพิ่มมากขึ้น
ทางวิศวกรตำบลปังหวานได้รับเกียตริจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงศกร ศยามล ได้ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนอย่างใกล้ชิดจนได้เกิดเป็น ผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้าของชุมชนต.ปังหวาน อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร
โครงการที่ 2
วิศกรสังคมตำบลปังหวาน อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้จัดกิจกรรมการถ่ายทอดเพื่อพัฒนาสัมมาอาชีพเดิมในชุมชนต.ปังหวาน กิจกรรมการทำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า เมื่อวันที่ 17พฤศจิกายนที่ผ่านมา ณ ศูนย์หมู่บ้าน หมู่ที่1 ตำบลปังหวาน การก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าเพื่อเพิ่มรายได้ให้เเก่ชุมชน เเละพัฒนาอาชีพ
ทางวิศวกรตำบลปังหวานได้รับเกียรติจาก อาจารย์ดอกรัก ชัยสาร เเละผู้ช่วยวิทยากรได้ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนอย่างใกล้ชิด ทำก้อนเชื้อเห็ดเพื่อสร้างรายได้ด้วยตัวเอง และสร้างรายได้ไว้ใช้ หรือเพาะไว้รับประทานในครัวเรือนเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน พร้อมทั้งสอนการทำเชื้อเห็ด และได้ให้ชาวบ้านฝึกทำด้วยตัวเองทุกขั้นตอนในการผลิตก้อนเชื้อเห็ด โดยโครงการ ผศ.ดร.พัชรี หลุ่งหม่าน เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิศวกรสังคมดูแลตลอดโครงการ และได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากผู้นำในชุมชนพร้อมทั้งได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านตำบลปังหวานเป็นอย่างดี
ซึ่งสำหรับผู้ที่เข้าร่วมโครงการทุกคนจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองตามมาตรการ ควบคุมโรคระบาด โควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข อย่างเคร่งครัดอีกด้วย
กิจกรรม 1
กิจกรรม Covid week
เดินหน้าเต็มกำลัง U2T Covid week “รุกคลีนพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย สร้างความปลอดภัยให้ชุมชน”
สำหรับทีมวิศวกรสังคม ตำบลปังหวาน อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมเสริมทัพเป็นกองหนุนรัฐบาลให้ชุมชน เคลียร์เชื้อร้ายรณรงค์เร่งฉีดวัคซีน เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชนชุมชนและณรงค์การสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีน เพื่อต้านไวรัส Covid-19
กิจกรรม 2
กิจกรรม : ปลูกฟ้าทะลายโจรต้านโควิด
พื้นที่ : ตำบลปังหวาน อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
เนื้อที่ทั้งหมด : 630 ตารางเมตร โดยในเนื้อที่ส่วนรวม 40 ต้น เนื้อที่ส่วนตัว(บริเวณบ้านของวิศวกรสังคม) 150 ต้น
Facebook Page : https://web.facebook.com/U2T-
E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ : https://anyflip.com/hwuap/dmrd/