ลำพูน บ้านนาสาร สุราษฎร์ ที่ตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลล าพูนตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลล าพูน อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
อรัญคามวารี เคียนซา สุราษฏร์ธานี
ตำบลอรัญคามวารี
ขนาดและที่ตั้ง
ตำบลอรัญคามวารี มีเนื้อที่ 113 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 70,625 ไร่
ทิศเหนือ ติดกับ ต.เคียนซา อ.เคียนซา จ.สุราษฏร์ธานี
ทิศใต้ ติดกับ ต.พ่วงพรมคร อ.เคียนซา จ.สุราษฏร์ธานี
ทิศตะวันออก ติดกับ แม่น้ำตาปี ตลอดแนว ฝั่งตรงข้ามเป็นพื้นที่ อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฏร์ธานี
ทิศตะวันตก ติดกับ ต.พ่วงพรมคร,ต.บ้านเสด็จ อ.เคียนซา จ.สุราษฏร์ธานี
พื้นที่ราบและที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำตาปี มีแม่น้ำตาปีไหลผ่านพื้นที่จำนวน 3 หมู่บ้านคือ หมู่ที่ 1,3,5 พื้นที่เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม
แม่น้ำที่สำคัญ
แม่น้ำตาปีมีต้นกำเนิดมาจากทิวเขานครศรีธรรมราช ในเขตอำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ไหลขึ้นทางทิศเหนือไหลผ่านอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช แล้วเข้าสู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผ่านอำเภอพระแสง บ้านนาสาร พุนพิน เคียนซา และตำบลอรัญคามวารีเป็นพื้นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำตาปี ทำให้มีแม่น้ำตาปีไหลผ่านพื้นที่จำนวน 3 หมู่บ้านคือ หมู่ที่ 1,3,5จึงเหมาะแก่การทำเกษตรกรรม
ภูมิอากาศ
ตําบลอรัญคามวารีมีลักษณะอากาศแบบร้อนชื้น ได้รับอิทธิพลมาจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงเหนือ ทําให้มีฝนตกเกือบทั้งปี อุณหภูมิอย่ระหว่าง 21C- 34C แบ่งเป็น 2 ฤดูกาล ได้แก่ฤดูแล้ง ตั้งแต่ เดือนมกราคม ถึง เดือน เมษายนฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนธันวาคม
ทรัพยากรธรรมชาติ
• ดิน เป็นดินร่วนเหมาะสมกับการเกษตร ที่ดินอยู่ในเขตอนุรักษ์บ่อถ่านหิน
• แม่น้ำ มีแม่น้ำตาปีไหลผ่าน หมู่ที่ 1,3, 5 มีลําคลองเล็กๆไหลลงแม่น้ำตาปีป่าไม้ป่าไม้ริมแม่น้ำตาปี ป่าเขารักษ์
• ป่าไม้ ป่าไม้ชุมชนจำนวน 1 แห่ง
เส้นทางการคมนาคมของตำบลอรัญคามวารี
➢ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 44 (กระบี่-ขนอม) ผ่านหมู่ที่ 2 บ้านบางใหญ่
➢ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4133 (พุนพิน-พระแสง) ผ่านหมู่ที่ 1 บ้านห้วยมุด,หมู่ที่ 4บ้านมิตรประชาราษฎร์,หมู่ที่ 5 บ้านหารดำ
➢ ทางหลวงชนบท (โยธาธิการ) (อรัญคามวารี-ท่าชี) ผ่านหมู่ที่ 3 บ้านกระซุม ,หมู่ที่ 5 บ้านหารดำ
➢ ทางหลวงชนบท (โยธาธิการ) (อรัญคามวาร-ีเคียนซา) ผ่านหมู่ที่ 1 บ้านห้วยมุด, หมู่ที่ 3 บ้านกระซุม
➢ ถนนราดยาง (อบจ.) (ถนนสาย44-บ้านบางใหญ่) ผ่านหมู่ที่ 2 บ้านบางใหญ่
ประวัติความเป็นมาของชุมชน
ตำบลอรัญคามวารี แต่เดิมขึ้นอยู่กับตำบลพ่วงพรมคร สมัยก่อนเป็นพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำตาปีไหลผ่านด้านทิศตะวันออกของตำบล มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์มากมาย เช่น หนองหมื่นทิพย์ หนองไหลอย หนองคัน และหารดำ ต่อมาราษฎรจากตำบลใกล้เคียงอพยพมาตั้งถิ่นฐานมากขึ้น จึงแยกตัวออกจากตำบลพ่วงพรมคร ตั้งชื่อว่า “ตำบลอรัญคามวารี” ตามสภาพพื้นที่ที่มีป่าและแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์
และมีประวัติความเป็นมาของแต่ละหมู่ ดังต่อไปนี้
ประมาณปี 2470 ณ หมู่ 1 บ้านห้วยมุด ได้มีชาวบ้านย้ายมาจากบ้านกระซุม มาถากไร่ทำสวนอยู่ไม่กี่ครัวเรือน โดยมีการตั้งบ้านเรือนอยู่ริมห้วยและมีต้นละมุดป่าต้นใหญ่อยู่บริเวณนั้น จึงได้ตั้งชื่อว่า หมู่บ้านห้วยมุด ซึ่งมีนายพลับ แข็งมาก นายลิด แซ่อุ้ย นายหยวงฮุ้ย แซ่เอี๊ยบ นายนุช ถ้ำจันทร์ นายแต้ม สร้อยหอม และนายพาน ถิ่นเทพา เป็นครัวเรือนแรกๆที่เริ่มมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านห้วยมุด โดยจะมีการประชุมหมู่บ้านเวลา 13.00 น. ในทุกวันที่ 9 ของเดือน
หมู่ที่ 2 บ้านบางใหญ่ แต่เดิมหมู่บ้านบางใหญ่เป็นป่าดงดิบในปี 2500 ไม่มีคนอาศัยอยู่หลังจากนั้นได้เกิดวาตภัยครั้งใหญ่มีต้นไม้ใหญ่โค่นล้มมากมาย ทำให้มีนายทุนเข้ามาเหมาซื้อไม้ซุงไปขาย ชาวบ้านที่มารับจ้างขนไม้ซุงเห็นว่า มีพื้นที่ว่างจึงได้เข้ามาถางไร่ทำสวน ปลูกข้าวโพดอยู่ไม่กี่ครัวเรือน โดยผู้ที่เข้ามาอาศัยตั้งครัวเรือนแรกเริ่มนั้นมี นายลาภ พิสูทธิ์ทอง นายชิน ชัยสวัสดิ์ นายร่วง รักธรรม(ปู่ของผู้ใหญ่นิพนธ์) และนายบูรณ์ คงกระพันธ์ เป็นครอบครัวแรกเริ่ม ที่มาตั้งถิ่นฐาน
หมู่ที่ 3 บ้านกระซุม บ้านกระซุม มีเรือของมโนราห์ล่องเรือมาจากท่าข้าม – พุนพิน บังเอิญว่าคนขับเรือได้ทำเรือล่มหลังวัดอรัญคามวารีซึ่งเป็นคลองมีท่าน้ำอยู่หลังวัด แล้วชฎา ที่คนในยุคก่อนเขาเรียกว่า ซุม ที่ใส่บนหัวนางชฎาตกในคลองแม่น้ำหลังวัดอรัญคามวารี เขาจึงได้เรียกว่าหมู่บ้านกระซุม จนถึงปัจจุบัน
หมู่ที่ 4 บ้านมิตรประชาราษฎร์ พ.ศ. 2519 ได้มีชาวบ้านย้ายถิ่นฐานจากบ้านกระซุม เพื่อมาจับจองที่ดินเพื่อเป็นที่พักที่อยู่อาศัย และการทำมาหากินการทำไร่ทำสวน และได้มีการจั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ติดกับเส้นทางการสัญจร มีผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือ นายเสงี่ยม จันทร์ภิบาล
หมู่ที่ 5 บ้านหารดำ เดิมที พ.ศ. 2524 ตำบลอรัญคามวารีได้แยกออกมาจากตำบลพ่วงพรหมคร ซึ่งหมู่ที่ 5 ได้โอนมาจากหมู่ที่ 4 (บ้านหารดำ)
ประวัติความเป็นมาวัดอรัญคามวารี
พ.ศ.2404 หมู่ที่ 3 พระนิ่ม เป็นผู้ริเริ่มชักชวนกำนันพับ จันทร์ภิบาล และนายพรม มณีโชติ ผู้ใหญ่บ้าน ปลูกกุฎิขึ้น 1 หลัง เพื่อเป็นที่พักของพระภิกษุสงฆ์ตั้งเป็นสำนักสงฆ์บ้านกระซุม พ.ศ.2410 หมู่ที่ 3 ภิกษุนิ่มบวชอยู่ได้5พรรษา ทางคณะสงฆ์ได้สถาปนาสำนักสงฆ์บ้านกระซุมขึ้นให้เป็นวัดกระซุม และต่อมารัชกาลที่4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เดินทางไปที่บ่อถ่านหิน ต.พ่วงพรมคร ได้เดินทางผ่านวัดกระซุม ซึ่งท่านเห็นว่าชื่อกระซุมเป็นชื่อที่ไม่ไพเราะ จึงได้ตั้งชื่อขึ้นมาให้ใหม่เป็นชื่อวัดอรัญคามวารี ซึ่งมีความหมายคือ อรัญหมายถึง ป่า คาม หมายถึง หมู่บ้าน วารี หมายถึง น้ำ ซึ่งรวมความหมายแล้วแปลว่า หมู่บ้านที่มีทั้งป่าและแม่น้ำ และพระภิกษุนิ่มได้เป็นเจ้าอาวาสนับตั้งแต่นั้นมา พ.ศ. 2450 พระครูมุณีนิ่มมรณภาพ พ.ศ.2453 ชาวบ้านได้นิมนต์พระแดง อิสสโร วัดภูเขาหลัก จังหวัดนครศรีธรรมราช มาเป็นเจ้าอาวาส พร้อมด้วยชาวบ้านได้สร้างอุโบสถขึ้น 1 หลัง พ.ศ.2527 ได้มีพระมาเป็นเจ้าอาวาสคือพระอนันต์ วิสารโทมาจากวัดโพธิ์ธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ท่านได้พัฒนาวัดให้มีความเจริญขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน
โครงสร้างของชุมชน
• ด้านการปกครอง
การบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลอรัญคามวารี แบ่งเขตการปกครองเป็น 5 หมู่บ้าน
หมู่ 1 บ้านห้วยมุด มีนาย ธานินทร์ แซ่ภู่ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 2 บ้านบางใหญ่ มีนาย นิพนธ์ รักธรรม เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 3บ้านกระซุม มีนาย จิตรกรณ์ พุทธิศาวงศ์ เป็นกำนัน
หมู่ที่ 4บ้านมิตรประชาราษฎร์ มีนายสุทธิศักดิ์ ดำรงเกียรติ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 5 บ้านหารดำ มีนางพรเพ็ญ อภินันทชาติ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
• ด้านประชากร
ประชากรทั้งสิ้นจำนวน 5,087 คน แยกเป็นเพศชาย 2,543 คน หญิง 2544 คน จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 2,004 ครัวเรือน
หมู่ที่1บ้านห้วยมุด มีประชากร 1,313 คน
หมู่ที่2บ้านบางใหญ่ มีประชากร 743 คน
หมู่ที่3บ้านกระซุม มีประชากร 1,026 คน
หมู่ที่4บ้านมิตรประชาราษฎร์ มีประชากร 505 คน
หมู่ที่5บ้านหารดำ มีประชากร 1,495 คน
• ด้านการศึกษา
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก1แห่ง ได่แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอรัญคามวารี ตั้งอยู่หมู่ที่3
โรงเรียน 4 แห่ง ได้แก่
1โรงเรียนบ้านห้วยมุด ตั้งอยู่หมู่ที่1
2โรงเรียนบ้านบางใหญ่ ตั้งอยู่หมู่ที่2
3โรงเรียนวัดอรัญคามวารี ตั้งอยู่หมู่ที่3
4โรงเรียนบ้านมิตรประชาราษฎร์ ตั้งอยู่หมู่ที่4
• ด้านศาสนา
ประชาชนในตำบลอรัญคามวารีส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
มีวัด 1 แห่ง ได้แก่ วัดอรัญคามวารี ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านกระซุม
มีสำนักสงฆ์ 2 แห่ง ได้แก่ สำนักสงฆ์บ้านห้วยมุด ตั้งอยู่หมู่ที่1 บ้านห้วยมุด
สำนักสงฆ์เฉลิมพระเกียรติบ้านบางใหญ่ ตั้งอยู่หมู่ที่2 บ้านบางใหญ่
• โครงสร้างด้านเศรษฐกิจและอาชีพ
การเกษตร
อาชีพโดยส่วนใหญ่ของราษฎรตำบลอรัญคามวารีประกอบอาชีพทางเกษตรกรรมทำสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน เป็นต้น
1.สวนยางพาราประมาณ 49,738 ไร่
2.สวนปาล์มน้ำมันประมาณ 7,660 ไร่
การประมง
การประมงเป็นการประมงน้ำจืด โดยตำบลอรัญคามวารีมีแม่น้ำตาปีไหลผ่าน ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านห้วยมุด หมู่ที่ 3 บ้านกระซุม และหมู่ที่ 5 บ้านหารดำ
การปศุสัตว์
– เลี้ยงโค
อุตสาหกรรม
มีอุตสาหกรรมวิสาหกิจชุมชน การผลิตน้ำดื่ม
การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
– การพาณิชย์
– ปั๊มน้ำมัน 1 แห่ง
– สหกรณ์ 1 แห่ง
สหกรณ์
กองทุนสวนยางอรัญคามวารี
กลุ่มอาชีพ
– กลุ่มผสมปุ๋ย
– กลุ่มเลี้ยงจิ้งหรีด
• ความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม
ประเพณีและงานประจำปี ได้แก่
1. ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ เดือนมกราคม
2. งานวันสงกรานต์รดน้ำพ่อท่านแดง เดือนเมษายน
3. ปริวาสกรรมของพระสงฆ์ เดือนมีนาคม
4. ประเพณีวันสารทเดือนสิบ เดือนตุลาคม
5. ประเพณีวันลอยกระทง เดือนพฤศจิกายน
6. ประเพณีวันเข้าพรรษา เดือนกรกฎาคม
7. ประเพณีวันออกพรรษา เดือนตุลาคม
สถานที่สำคัญ
• หมู่ที่ 1
สำนักสงฆ์บ้านห้วยมุด
โรงเรียนบ้านห้วยมุด
โรงพยาบาลส่งเสริมตำบลอรัญคามวารี(รพ.สต.อรัญคามวารี)
• หมู่ที่ 2
โรงเรียนบ้านบางใหญ่
สำนักสงฆ์เฉลิมพระเกียรติบ้างบางใหญ่
• หมู่ที่ 3
วัดอรัญคามวารี
โรงเรียนวัดอรัญคามวารี
องค์การบริหารส่วนตำบลอรัญคามวารี
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอรัญคามวารี
• หมู่ที่ 4
สำนักสงฆ์บ้านบางใหญ่สามัคคี
โรงเรียนมิตรประชาราษฎร์
• หมู่ที่ 5
หนองผักชี
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
• การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ด้านการคมนาคม จากการคมนาคมทางน้ำเป็นหลักในสมัยก่อนเป็นการคมนาคมทางบก ประกอบด้วย
– ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 44 (กระบี่-ขนอม) ผ่านหมู่ที่ 2
– ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4133 (พุนพิน-พระแสง) ผ่านหมู่ที่ 1,4,5
– ทางหลวงชนบท (โยธาธิการ) (อรัญคามวารี-ท่าชี) ผ่านหมู่ที่ 3,5
– ทางหลวงชนบท (โยธาธิการ) (อรัญคามวารี-เคียนซา) ผ่านหมู่ที่ 1,3
– ถนนลาดยาง (อบจ.) (ถนนสาย 44 – บ้านบางใหญ่) ผ่านหมู่ที่ 2
– ถนนลูกรัง 16 สาย
ถนนคอนกรีต 4 สาย
ด้านการสื่อสาร/การไฟฟ้า/ การประปา
ที่ทำการไปรษณีย์เอกชน 1 แห่ง (หมู่ที่ 1)
ชุมสายโทรศัพท์ 1 แห่ง (หมู่ที่ 3)
เสาสัญญานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2 แห่ง 3 เครือข่าย (หมู่ที่ 1,3)
ประปาหมู่บ้าน 5 แห่ง
• ด้านการพัฒนาของบ้านเมือง
สมัยก่อนวัฒนธรรมการศึกษาจะอยู่ที่วัด ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นการศึกษาในระบบโรงเรียน หรือวัฒนธรรมที่นิยมให้ผู้หญิงเป็นแม่บ้านได้เปลี่ยนไป เพราะผู้หญิงทำงานนอกบ้านมากขึ้น
• การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของตำบลอรัญคามวารีที่เห็นได้ชัด เช่น การแต่งกาย มีการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสำเร็จรูปมากขึ้น การซื้ออาหารสำเร็จรูปรับประทานแทนการประกอบอาหารในครัวเรือน
แผนที่
อินโฟกราฟิก
โครงการที่ 1
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 – 1 สิงหาคม 2564 วิศวกรสังคมตำบลอรัญคามวารี อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี หนึ่งในตำบลของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัดกิจกรรมสร้างสัมมาชีพใหม่และสร้างองค์ความรู้สัมมาชีพใหม่ เพื่อเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน ในพื้นที่ตำบลอรัญคามวารีภายใต้กิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการฝึกทักษะการทำขนมดอกจอก เพื่อเพิ่มอาชีพใหม่ให้ครัวเรือนยากจน ณ ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ 1 ตำบลอรัญคามวารี อำเภอเคียนซาจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ที่ผ่านมา ซึ่งมีคุณวัชรี พืชผล และคุณพงพิพัฒน์ มากช่วยเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับประชาชนตำบลอรัญคามวารีโดยมี นายปรเมษฐ์ นันทสุคนธ์ ดูแลโครงการอย่างใกล้ชิดและสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการฯทุกคนจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองตามมาตรการควบคุมโรคระบาด โควิด-19 ของสาธารณสุข อย่างเคร่งครัดอีกด้วย
โครงการที่ 2
👉เมื่อวันที่ 9-10 ตุลาคม 2564 ทีมวิศวกรสังคมตำบลอรัญคามวารี ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการฝึกทักษะอาชีพการเพาะเห็ดและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด 🍄
👉ณ ศาลาหมู่ที่ 3 ตำบลอรัญคามวารี 🏠
👉โดยได้รับเกียรติจากท่านวิทยากร นายโกวิทย์ หีตนาคราม และนางจันทรา ทุ่มแก้ว เจ้าของหนองจิกฟาร์มเห็ด มาเป็นวิทยากรในการอบรมครั้งนี้ 🙏 #วิศวกรสังคมตำบลอรัญคามวารี #อำเภอเคียนซา #จังหวัดสุราษฎร์ธานี #u2tsru #มหาวิทยาลัยสู่ตำบล
โครงการที่ 3
กิจกรรมพัฒนาบรรจุภัณฑ์และส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP กลุ่มเครื่องแกงสูงวัยใส่ใจสุขภาพ
👉 วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ 2564 เวลา 08.30 น. – 17.00 น.
📍ณ ศาลาหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 ตำบลอรัญคามวารี อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี 👨💻
กิจกรรม 1
กิจกรรม covid week
Facebook Page : https://www.facebook.com/U2T-
E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ : https://online.pubhtml5.com/jsfb/alki/