skip to Main Content

สองแพรก ชัยบุรี สุราษฎร์ธานี

ประวัติตำบล

1.ขนาดและที่ตั้ง

•ที่ตั้ง

     องค์การบริหารส่วนตำบลสองแพรก อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอชัยบุรี มีระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอชัยบุรี ประมาณ ๖ กิโลเมตร ห่างจากศาลากลาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประมาณ ๑๐๖ กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาในการเดินทาง ประมาณ ๒ ชั่วโมง

•อาณาเขตติดต่อ

         ทิศเหนือ ติดต่อตำบลไทรขึง อำเภอพระแสง

         ทิศใต้ ติดต่อ  ตำบลชัยบุรี อำเภอชัยบุรี

         ทิศตะวันออก  ติดต่อตำบลไทรขึง อำเภอพระแสง

         ทิศตะวันตก  ติดต่อ ตำบลคลองน้อย อำเภอชัยบุรี

  •เนื้อที่

      องค์การบริหารส่วนตำบลสองแพรก มีเนื้อที่ประมาณ ๗๘.๘๖ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๔๙,๒๘๗.๕ ไร่ จัดได้ว่ามีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับตำบลอื่น

2.ลักษณะภูมิประเทศ

   •ภูมิประเทศ

      ลักษณะภูมิประเภทเป็นเทือกเขา และมีที่ราบสูงอยู่ทางทิศตะวันออก มีพื้นที่ราบต่ำประมาณครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมด

3.แม่น้ำสำคัญ

แม่น้ำหรือลำคลองที่สำคัญ คือ คลองโตรม คลองศอก และคลองบางปัด

แหล่งน้ำธรรมชาติ

     – ลำน้ำ, ลำห้วย ๑๔ สาย

     – บึง, หนองและอื่น ๆ ๕ แห่ง

แหล่งน้ำที่สร้าง

      – ประปาหมู่บ้าน ๕ แห่ง

      – บ่อน้ำตื้น ๒๘๑ แห่ง

      – ถังเก็บน้ำ ๓๓ แห่ง

      – บ่อบาดาล ๑๖ แห่ง

      – สระน้ำ ๔ แห่ง

      – โอ่งใส่น้ำ ๑,๐๘๐ แห่ง

      – ฝายน้ำล้น ๑๔ แห่ง

4.ภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มีฤดูกาล 2 ฤดู คือ

–  ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนเมษายน

–  ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึง เดือนมกราคม

5.ทรัพยากรธรรมชาติ

   ทรัพยากรธรรมชาติ

– มีหน่วยพิทักษ์ป่า ที่ สฎ. ๑๗ จำนวน ๑ แห่ง 

-น้ำ

คลองโตรม ต้นน้ำกำเนิดจากเขาพนม จังหวัดกระบี่ เป็นสายน้ำขนาดใหญ่ มีความยาวประมาณ ๕o กิโลเมตร เริ่มต้นที่บ้านสองแพรก ตำบลไทรทอง ไหลไปทางทิศเหนือ ผ่านตำบลไทรทอง ตำบลชัยบุรี สู่ตำบลสองแพรก ลงสู่คลองอิปันที่ตำบลไทรขึง อำเภอพระแสง

คลองทางข้าม ต้นน้ำกำเนิดจากเทือกเขาหน้าแดง ตำบลคลองน้อย ไหลไปทางทิศตะวันออก ลงสู่ คลองโตรม ที่บ้านทางข้าม หมู่ที่ ๓ ตำบลสองแพรก มีความยาว ๑๑ กิโลเมตร

คลองศอก ต้นกำเนิดจากเทือกเขาหน้าแดง ตำบลคลองน้อย ไหลไปทางทิศตะวันออก ลงสู่คลองโตรม ที่บ้านคลองศอก หมู่ที่ ๒ ตำบลสองแพรก มีความยาวประมาณ ๙กิโลเมตร

– ป่าไม้  ป่าสงวนไสท้อน – คลองโซง

– ภูเขา  ภูเขาเพชร และเขาหมี อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ ๔ บ้านในช่อง

– คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ

6.การคมนาคม

  การคมนาคม

     องค์การบริหารส่วนตำบลสองแพรก อยู่ห่างจากศาลากลาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประมาณ ๑๐๖ กิโลเมตร มีระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอชัยบุรี ประมาณ ๖ กิโลเมตร มีถนนภายในเขตตำบล ดังนี้

     –  ถนนทางหลวงแผ่นดิน ๑ สาย

     –  ถนนลาดยาง ๔ สาย

     –  ถนนคอนกรีต ๔ สาย

     –  ถนนหินคลุก ๘ สาย

     –  ถนนลูกรังและหินผุ ๒๕ สาย

     –  ถนนดินเดิม ๓ สาย

 การโทรคมนาคม

     –  ที่ตั้งเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์ ๑ แห่ง

     – โทรศัพท์สาธารณะ ๑๑ แห่ง

     – จำนวนครัวเรือนที่มีโทรศัพท์ส่วนตัว ๒๔๑ แห่ง

   การไฟฟ้า

     –  จำนวนหมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึง ๙ หมู่บ้าน

    – จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้า ๑,๑๒๐ ครัวเรือน

7.ประวัติความเป็นมาของชุมชน

           ตำบลสองแพรกเป็นตำบลหนึ่งขึ้นอยู่กับอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี สาเหตุที่เรียกว่า “สองแพรก” เนื่องจากมีลำคลองสองสายมาบรรจบกันบริเวณที่ตั้งวัดสองแพรก(ปัจจุบันวัดแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตตำบลไทรทอง) จึงใช้ชื่อดังกล่าวเป็นชื่อตำบล

         ท้องที่อำเภอชัยบุรีเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอพระแสง ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองอำเภอพระแสง ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอชัยบุรี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม ปีเดียวกัน

และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอชัยบุรี อำเภอพระแสง ขึ้นเป็น อำเภอชัยบุรี[2] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน ปีเดียวกัน

วันที่ 11 มิถุนายน 2517 ตั้งตำบลไทรขึง แยกออกจากตำบลอิปัน ตำบลสองแพรก และตำบลบางสวรรค์

วันที่ 12 กันยายน 2521 ตั้งตำบลชัยบุรี แยกออกจากตำบลสองแพรก

วันที่ 17 มีนาคม 2524 แยกพื้นที่ตำบลสองแพรก และตำบลชัยบุรี อำเภอพระแสง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอชัยบุรี ขึ้นกับอำเภอพระแสง

วันที่ 4 ตุลาคม 2533 ตั้งตำบลคลองน้อย แยกออกจากตำบลสองแพรก ตั้งตำบลไทรทอง แยกออกจากตำบลชัยบุรี

วันที่ 3 มิถุนายน 2537 ยกฐานะกิ่งอำเภอชัยบุรี อำเภอพระแสง เป็น อำเภอชัยบุรี

แผนที่

อินโฟกราฟิก

โครงการที่ 1 

      อบรมเชิงปฏิบัติการสนับสนุนส่งเสริมสัมมาชีพด้านเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างรายได้และอาชีพใหม่ให้ครัวเรือนยากจนและครัวเรือนที่มีรายได้น้อย อย่างน้อย15ครัวเรือน วันที่13-14 กันยายน02564 มีการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง การทำแปลงสาธิตพืชผักสวนครัว โดยนายลือชา อุ่นยวง การเลี้ยงสัตว์น้ำและปฏิบัติการสาธิตการทำโรงเพาะเห็ด โดยคุณบุญเลิศ ไชยคง

โครงการที่ 2 

     การสร้างและส่งเสริมพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม อบรมเชิงปฏิบัติการและพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564  โดยวิทยากร ดร.กฤษณะ ทองแก้ว

โครงการที่ 3 

    อบรมเชิงปฎิบัติการเพื่อส่งเสริมพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2564 โดยนาย พิพิธ พลเพ็ชร

โครงการที่ 4 

     อบรบเชิงปฎิบัติการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์OTOP เพื่อพัฒนาชุมชน และสร้างอาชีพใหม่ให้ชุมชน

การอบรมเชิงปฎิบัติการกลุ่มกระบวนการทำเครื่องแกงคั่วสำเร็จรูปกึ่งแห้ง อบรมเชิงปฎิบัติการกระบวนการทำปลาดุกร้าทรงเครื่องสมุนไพร และอบรบเชิงปฎิบัติการกระบวนการทำปลาดุกร้าแดดเดียวทรงเครื่องโดย ดร.สุพรรณิการ์ ศรีบัวทอง ผศ.ดร.พราวตา จันทโร และ ผศ.ดร.สุกัญญา ไหมเครือแก้ว มาเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ชุมชน

กิจกรรม 1

โครงการปลูกไม้เสริม เพิ่มมูลค่าป่าชุมชน วันที่5 ธันวาคม 2564 โดยมีผู้นำชุมชน ชาวบ้านและวิศวกรสังคม ร่วมกันปลูกต้นไม้ ณ ป่าชุมชนภูเขาเพชร หมู่ที่4 บ้านในช่อง ตำบลสองแพรก อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

กิจกรรม  2

กิจกรรมต้อนหมู วิถีชีวิตของคนในอดีต หมู่ที่4 บ้านในช่อง ตำบลสองแพรก อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมี ดร.กฤษณะ ทองแก้ว เป็นประธานในการเปิดพิธี

Facebook Page : https://web.facebook.com/messages/t/101667488814284/

E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ : https://issuu.com/pomdemandgroup/docs/_6ccfed71bfb700

Back To Top