ปากทรง พะโต๊ะ ชุมพร ตำบลปากทรง เหตุที่ชาวบ้านเรียกชื่อนี้ สันนิษฐานว่า เจ้าเมืองระนองและเจ้าเมืองหลังสวนเป็นญาติกัน การเดินทางไปเยี่ยมเยียนกันในสมัยก่อนนั้น ไม่มีถนนจึงต้องทรงช้างไปเมืองหลังสวน เมื่อมาถึงปากแม่น้ำก็ต้องลงเรือต่อไปอีก ชาวบ้านเห็นเจ้าเมืองทรงช้างมาลงเรือที่ปากแม่น้ำ จึงเรียกบริเวณนี้ว่า "ปากทรง" และได้ยกเป็นตำบลมาจนถึงทุกวันนี้
พะโต๊ะ พะโต๊ะ ชุมพร
ประวัติตำบล
เมืองพะโต๊ะเป็นเมืองโบราณในอาณาจักรศรีวิชัย มีหลักฐานปรากฏในจดหมายเหตุของชาวจูเกาะ พ.ศ. 1766 และในพงศาวดารจีนราชวงศ์สูง พ.ศ. 1503- 1822 โดยแต่เดิมเมืองพะโต๊ะมีชื่อว่า “เมืองปะตา” ที่แปลว่า ตกหรือเหว ซึ่งเป็นเพราะลักษณะภูมิประเทศของอำเภอพะโต๊ะที่มีเทือกเขาซับซ้อนสลับกับที่ราบลุ่มมีสินค้าสำคัญ ได้แก่ หวาย ยางกิโนแดง ไม้ดำหอม หมาก และมะพร้าว
ในยุครัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ปีพุทธศักราช 2399 พระยาจรูญราชโภคากร (คอซิมเต็ก ณ ระนอง) ได้เป็นเจ้าเมืองหลังสวนจึงได้ยกฐานะบ้านพะโต๊ะตะวันออกเป็นหัวเมืองใย โดยให้ขุนภักดีราษฎร์ (ใย ภักดี) เป็นเจ้าเมือง รวมทั้งยกฐานะบ้านพะโต๊ะตะวันตกเป็นเมืองทอย ซึ่งหัวเมืองทั้งสองมีหน้าที่ส่งอากรเมืองหลังสวนเป็นประจำทุกปี โดยหัวเมืองใย(บ้านพะโต๊ะตะวันออก)และหัวเมืองทอย(บ้านพะโต๊ะตะวันตก)มีหน้าที่ในการปกครองดูแลทุกข์สุขของประชาชนและควบคุมดูแลทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาที่เกิดขึ้นในท้องที่ และในปี พ.ศ.2422 ได้มีการทำเหมืองแร่ดีบุกขึ้นที่บ้านปากทรงมีการนำคนจีนเป็นจำนวนมากเข้ามาทำเหมืองแร่ จึงทำให้อำเภอพะโต๊ะ กลายเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากในสมัยนั้น และในปี พ.ศ. 2460 กระทรวงมหาดไทยจึงได้ยกท้องที่เมืองพะโต๊ะขึ้นเป็นอำเภอพะโต๊ะ ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ขึ้นกับจังหวัดหลังสวน โดยมีหลวงแพ่ง ศุภการ เป็นนายอำเภอคนแรก
ต่อมาช่วงปี พ.ศ. 2480 – 2481 เกิดโรคไข้น้ำระบาด ชาวพะโต๊ะได้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก พวกที่เหลืออยู่ได้พากันอพยพออกไปอยู่ที่อื่น จนเหลือประชากรน้อย ในที่สุด กระทรวงมหาดไทยจึงได้ลดฐานะอำเภอพะโต๊ะลงเป็นกิ่งอำเภอพะโต๊ะ[1] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2481 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม ปีเดียวกัน และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอขันเงิน (อำเภอหลังสวน) แทน
และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอพะโต๊ะ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2534 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน ปีเดียวกัน[2] รวมระยะเวลาการเป็นกิ่งอำเภอ 52 ปี นับว่าเป็นกิ่งอำเภอที่ยาวนาน
แผนที่
อินโฟกราฟิก
โครงการที่ 1
กิจกรรมส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
โครงการที่ 2
กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกคลองคลองหรั่ง หมู่ 14 บ้านปะติมะ ลานกางเต็นท์หมู่ 11 บ้านห้วยกุ้งทอง ตำบลพะดต๊ะ อำเภอพะโตีะ จังหวัดชุมพร
โครงการที่ 3
กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟโรบัสต้าพันธู์ไทยผสมตงกัสอาลี(ต้นปลาไหลเผือก) ผงกล้วยดิบชนิดแคปซูล แยมมังคุด และส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีดิจิตอลสื่อออนไลน์ ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
กิจกรรมอื่น ๆ
1.กิจกรรม covid week
Facebook Page : https://www.facebook.com/U2T
E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ : https://anyflip.com/fdbnp/gbyk/?fbclid=IwAR286u0kb-uwRzUFrhj2EaS-aJOI0Q_F7tXhLf5IRINeJdd3qb83_B33zug