skip to Main Content

มะลวน พุนพิน สุราษฎร์ธานี

ระวัติตำบล

  1.ประวัติตำบลมะลวน

           ตำบลมะลวนมาจากคำว่า “ม้าล้วง “ เนื่องจากมีวัดอยู่วัดหนึ่ง ตั้งอยู่ตรงข้ามกับองค์การบริหาส่วนตำบลมะลวนในปัจจุบัน ฝั่งคลองทางทิศใต้ วัดนี้ไม่มีประวัติศาสตร์ว่าได้สร้างขึ้นในสมัยใด แต่ได้ตั้งขึ้นภายหลังที่ได้ก่อสร้างวัดน้ำรอบ

ด้วยเหตุที่เรียกว่า “มะลวน” ก็มาจากคำว่า “ม้าล้วง” กล่าวคือ วัดนี้มีสระน้ำอยู่สระหนึ่ง กว้าง20*20เมตร ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงมีให้เห็นอยู่ จะมีลักษณะเป็นรูปสระน้ำริมสระในสมัยโบราณ โดยมีรูปปั้นม้าหนึ่งตัวทำด้วยหินอ่อน และมีรูตรงก้นม้า ข้างตัวม้ามีการเขียนด้วยภาษาขอม  ผู้คนในพื้นที่ตำบลมะลวนไม่มีใครอ่านออก จนบังเอิญได้มีบุคคลคนเดินทางมาจากเมืองละโว้ (ลพบุรีในปัจจุบัน) ซึ่งได้มาพักอยู่ในพื้นตำบลมะลวน เขาก็ได้อ่านภาษาขอมที่เขียนไว้ตรงข้างตัวม้าไว้ว่า “ในตัวม้านี้มีเงินมีทองเพชรนิลจินดา แต่ถ้าใครไม่มีวาสนาจะไม่สามารถเอาออกมาได้” หลังจากที่ได้ฟังคำแปล ผู้คนก็ได้เอามือล้วงลงไปในก้นม้าและจับเอาแก้วแหวนเงินทอง แต่ก็ไม่มีผู้ใดที่สามารถเอาออกมาได้ เพราะเมื่อกำมือแล้วจะเอาออกจากกก้นม้าไม่ทำให้สามารถเอาออกมาได้จึงต้องวางของและแบมือออกมาจากก้นม้า ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “ม้าล้วง” และได้เปลี่ยนมาเป็นมะลวนในปัจจุบัน

อีกประวัติหนึ่งของตำบลมะลวนในสมัยสงครามที่พม่ายกทัพมาตีเมืองไทยและพม่าได้เข้ามาตั้งค่ายอยู่ที่ทางทิศตะวันออกของวัดมะลวน และได้ทำการจับคนไทยไปขังไว้ในค่าย คนไทยจึงได้ทำการสู้รบกับพม่า เมื่อพม่าตายไปจึงได้นำศพไว้ไปฝั่งที่ป่าช้า ชาวบ้านสมัยนั้นเรียกว่า “เปลวพม่า” 

ส่วนในปัจจุบันก็ได้มีประวัติความเป็นมาอีกหนึ่งอย่างคือ เมื่อประมาณ 200 ปีที่แล้ว เป็นสมัยที่มีการก่อสร้างทางรถไฟ คนจีนได้เริ่มอพยพมาอยู่ (ตลาดมะลวนในปัจจุบัน) แต่ก่อนตลาดคู่แพรก จะเริ่มนับอาณาเขตตั้งแต่วัดแหลมไผ่-หัวหาร โดยมีบ้านคนแค่เพียง3บ้านเท่านั้น ซึ่งมีลักษณะเป็นทุ่งโล่ง และมีเพียงแนวถนนเป็นเลาๆ นั้น

ว่ากันว่าสร้างในสมัยมะลวนรุ่งเรื่องและในทุ่งโล่งก็มีมากจำนวนมาก คนจีนเห็นม้าจึงพูดออกมาว่า ที่นี่ “มีม้าล้วงๆ” ซึ่งคำดังกล่าวเป็นคำพูดที่พูดออกมาโดยมีการออกเสียงที่ไม่ชัดเจน สรุปคือมีม้าล้วน ๆนั้นเอง จึงได้เพี้ยนมาเป็นมะลวนในปัจจุบัน

 และปัจจุบันได้มีการแบ่งออกเป็น 9 หมู่บ้านดังนี้

หมู๋ที่1 บ้านานดอนโพธิ์-บ้านหัวหาญ

ประวัติบ้านดอนโพธิ์ เนื่องจากบริเวณนั้นมีต้นโพธิ์ใหญ่2ต้น ชาวบ้านเรียกกันว่าต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทอง แต่ปัจจุบันได้ตายไปแล้ว เนื่องจากมีอายุหลายร้อยปี ประกอบกับบริเวณนั้นเป็นที่ดอน จึงเรียกว่าบ้านดอนโพธิ์ ส่วนบ้านหัวหาญที่ใช้เรียกกันในปัจจุบันนั้น มีคำนานเล่ากันว่า ช่วงหน้าฝน ปี พ.ศ.ใดไม่ปรากฎชัด ได้เกิดลมและฝนฟ้าตะนองน้ำท่วมบ้านเรือนและได้มีจระเข้ขึ้นตามน้ำมาถึงหน้าบันได ซึ่งหมู่บ้านแห่งนี้ได้เลี้ยงห่าน เมื่อจระเข้ขึ้นมาห่านก็ไม่รู้ว่าเป็นตัวอะไร ห่านจึงเข้าไปใกล้จระเข้ จระเข้กินห่านตายเป้นจำนวนมาก จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า’หัวหาญ’ ซึ่งมาจากคำว่า (หัวห่าน) ในภาษาใต้

หมู่ที่ 2 บ้านตลาดมะลวน

เนื่องจากสมัยนั้นมีคลองมะลวน น้ำจะไหลมาถึงวัดมะลวน แล้วน้ำจะแยกออกเป็น 3 สาย สายแรกจะแยกไปทางทิศใต้บ้านปลายท่า สายสองแยกไปเข้าเขตตำบลหัวเตย สายสามจะแยกไปทางตะวันตกของวัดแหลมไผ่

ต่อมาไม่ปรากฏว่าปีพ.ศ.อะไร มีตาแกวง(ตาหมื่นเทพ) ขุดคลองจากวัดมะลวนไปถึงบ้านดอนแฝกหรือบ้านปลายด่าน โดยขุดคลองแยกตั้งแต่สะพานคลองมะลวนในตลาดมะลวนไปทางทิศเหนือจนถึงบ้านแหลมไผ่ และทางทิศใต้จนถึงบ้านหัวหาญ   และในตลาดมะลวนจะมีป่าช้าอยู่ 1แห่ง จะเรียกว่า เปรวแขก

 หมู่ที่ 3 บ้านดอนแฝก หรือ บ้านปลายด่าน

เหตุที่เรียกชื่อนี้ เพราะเมื่อก่อนมีหญ้าแฝกมาก มีคลองเป็นทางด่านคนเดิน และวัวควายเดินเป็นคูคลอง ซึ่งนายแหวง (ตาหมื่นเทพ) เป็นคนขุด และหมู่ที่3 นี้จะมีบ่อน้ำอยู่1บ่อ ขุดสมัยปลัดตำบล ข้างๆบ่อจะมีต้นกรูดอยู่1ต้น เดิมจะเป็นที่ดินของ นายนวม รอดภัย ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2514 ผมเองได้ริเริ่มหาเงินสร้างโรงเรียน  เป็นจังหวะเดียวกับที่นายนวม รอดภัย บอกขายที่ดินจำนวน 5 ไร่ 2 งาน แต่ขนาดที่ดินยังน้อยไป จึงขอซื้อที่ดินเพิ่มจากนายสำเนียง ธรรมบำรุง อีก 1 ไร่ 2 งาน รวมเป็นที่ดินทั้งหมด 7 ไร่ ราคาไร่ละ 3,000 บาท สำเนียง ธรรมบำรุง ออกเดินเรี่ยไรเงินจากชาวบ้านนานเป็นเวลา 3 เดือน จึงได้เงินจำนวน 12,000 บาท มาซื้อที่ดินโดยไม่ได้ใช้เงินจากหน่วยงานราชการเลย เมื่อมีที่ดินพร้อมก็เริ่มก่อสร้างทันที แต่เงินที่ก่อสร้างทางการเป็นผู้ออกเงินก่อสร้างให้

 หมู่ที 4 บ้านกลาง

เข้าใจว่าตั้งอยู่กลางๆตำบล โดยมีวัด 2 วัด คือวัดแหลมไผ่กับวัดมะลวนใน( วัดมะลิวัลย์ ) และยังมีสถานีอนามัยที่ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2507 (หลังเดิม)โดยนางถั่ว พิกุลทอง เป็นคนบริจาคที่ดินให้ และชาวบ้านช่วยกันบริจาควัสดุก่อสร้างบางส่วนและช่วยกันทำจนเสร็จและได้ใช้ประโยชน์ ต่อมาทางการได้สร้างอาคารใหม่ให้สวยงามและแข็งแรง

หมู่ที่ 5 บ้านต้นปาบ

ที่เรียกต้นปาบเพราะมีต้นปาบใหญ่ 1 ต้น ขนาด 8 เมตร แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ต้นปาบต้นนี้ตายเมื่อปี พ.ศ. 2522 เนื่องจากบริเวณต้นปาบอยู่ต้องสร้างอ่างเก็บน้ำ  รถแทรกเตอร์ใช้ดินถมดินบริเวณโคนต้นปาบมากเกินไปจึงเป็นเหตุให้ต้นปาบตาย แต่ก็ยังมีชื่อต้นปาบอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้  สมัยก่อนหมู่ที่ 5 จะเรียกอีกชื่อว่าหนองชุมแสง ซึ่งจะมีโรงเรียนบ้านชุมแสงด้วย เหตุที่เรียกหนองชุมแสง เพราะว่ามีหนองน้ำใหญ่ ริมขอบหนองน้ำจะมีต้นชุมแสงอยู่หลายต้น และในสมัยก่อนโน่นหนองชุมแสงมีปลาชุกชุม ชาวบ้านชักชวนกันมาหาปลาโดยถือไฟคนละอันหรือมาก่อกองไฟรอบหนองน้ำ มีแสงสว่างตลอดคืน เขาจึงเรียก หนองชุมแสง 

หมู่ที่ 6 บ้านห้วยกรวด

สมัยก่อนจะมีลำห้วยหรือคลองขนาดเล็กที่มีน้ำไหลตลอดและน้ำที่ไหลจะใสสะอาดสามารถมองเห็นก้อนกรวด ชาวบ้านจึงเรียกว่า บ้านห้วยกรวด

หมู่ที่ 7 บ้านไผ่พระ 

เนื่องจากหมู่บ้านนี้มีกอไผ่หลายกอและมีคนเล่าว่าไปพบพระในกอไผ่ หรืออีกอย่างหนึ่งกอไผ่ทุกกอจะมีสีแดงประดุจดังจีวรพระทั้งหมดจึงเรียก บ้านไผ่พระ  ซึ่งเป็นเพียงเรื่องเล่าต่อ ๆกันมา

 หมู่ที่ 8 บ้านคลองสินทอง

สมัยก่อนมีชาวบ้านร่อนทองในคลองเพราะมีพ่อค้าขายทองเคยไปตั้งบ้านมีฐานะร่ำรวย ต่อมาล้มหายตายจากแต่มีทรัพย์สินเงินทองตกอยู่บริเวณลำคลอง คนรุ่นหลังเคยพบทองในคลองนี้จึงเรียก คลองสินทอง 

หมู่ที่ 9 บ้านหนองพลอง

สมัยก่อนจะมีหนองน้ำใหญ่ริมขอบหนองน้ำจะมีไม้พลองขึ้นอยู่หนาแน่น ชาวบ้านจึงแรกว่าหนองพลอง

2.ข้อมูลพื้นฐานตบลมะลวน

ตำบลมะลวนมีเนื้อที่ทั้งหมด ประมาณ 77 ตารางกิโลเมตร หรือ 48,125ไร่

ทิศเหนือ ติดกับเขต   ตำบลคลองไทร  อำเภอท่าฉาง      จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ทิศใต้ ติดกับเขต   ตำบลหัวเตย       อำเภอพุนพิน      จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ทิศตะวันออก ติดกับเขต   ตำบลศรีวิขัย      อำเภอท่าฉาง       จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ทิศตะวันตก ติดกับเขต   ตำบลบางงอน    อำเภอพุนพิน      จังหวัดสุราษฎร์ธานี

3.ลักษณะภูมิประเทศ

พื้นที่โดยทั่วไปเป็นกึ่งเมืองกึ่งชนบท โดยเฉพาะทางทิศตะวันตกพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าอุดมสมบูรณ์ มีลำคลองและมีน้ำไหลผ่านตลอดแนว เป็นพื้นที่เหมาะสำหรับทำการเกษตร เช่น ทำสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้ และการเกษตรอื่น ๆ 

ทางทิศตะวันออก จะเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีคลองมะลวนและมีน้ำไหลผ่านตลอดสาย เป็นที่ตั้งของชุมชน และพื้นที่ทำการเกษตร การทำนาข้าว และการเลี้ยงสัตว์

4.ลักษณะภูมิอากาศ

ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งทำให้มีช่วงฤดูฝนที่ยาวนาน และยังมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านทำให้มีฤดูร้อนและฤดูฝนที่มีระยะใกล้เคียงกัน ซึ่งมีผลทำให้ช่วงฤดูฝนมักจะมีน้ำมากเกินไป และช่วงฤดูร้อนก็มักจะขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ในช่วงฤดูที่แล้ง

5.ทรัพย์พยากรธรรมชาติ

– ลักษณะของป่าไม้ 

มีสวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 8 ตำบลมะลวน  อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

– ลักษณะของแหล่งน้ำ 

– แม่น้ำสำคัญที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อยู่ 2 แห่งด้วยกัน คือ คือ คลองมะลวน คลองสินทอง 

– ลำน้ำ,และลำห้วย  จำนวน 7 สาย

– บึง,หนอง จำนวน 2 แห่ง

– ลักษณะของดิน

ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนดินมรายเหมาะสำหรับทำการเกษตร เช่น สวนยาพารา สวนปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้พืชผักต่าง ๆ และการเกษตรอื่น ๆ แต่ในช่วงฤดูร้อนซึ่งเป้นช่วงที่แห้งแล้งซึ่งดินประเภทนี้จะไม่สามารถกักเห็บน้ำไว้ในดินได้ ทำให้เกิดปัญหาการเพาะปลูก 

แม่น้ำสำคัญ

มีแหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่าน คือ คลองมะลวน คลองสินทอง ห้วยต้นตอ

มีแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น คือ อ่างเก็บน้ำพรุค้อ(โครงการแก้มลิง) อ่างเก็บน้ำบ้านต้นบาป คลองชลประทาน

แผนที่

อินโฟกราฟิก

โครงการที่ 1 

วันที่ 29 สิงหาคม 2564 

           วิศวกรสังคมตำบลมะลวน ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลมะลวน นำโดยนายจักรา วรกุล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะลวน นายวัชรินทร์  ขมัน เลขานุการฯ สมาชิกอบต.มะลวน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน พร้อมด้วยประชาชน ร่วมดำเนินการปลูกต้นไม้ อาทิ ต้นกัลปพฤกษ์ เหลืองอินเดีย อินทนิล ราชพฤกษ์ ชัยพฤกษ์จำนวน และฟ้าทะลายโจร จำนวน  300  ต้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชนและฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำ

            ตามโครงการยกระดับศักยภาพชุมชนมะลวนพึ่งตนเองเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

(กิจกรรมส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่ตำบลมะลวน) ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยวิศวกรสังคมตำบลมะลวน

ณ เขื่อนแก้มลิงพรุค้อ บ้านคลองสินทอง หมู่ที่ 8 ต.มะลวน อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี

โครงการที่ 2 

วันที่ 18-23 ตุลาคม 2564

          วิศวกรสังคมตำบลมะลวน จัด“อบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับสินค้าทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ชุมชน และสินค้า OTOP ของตำบลมะลวน”

วันที่ 18-19 ตุลาคม 2564

          กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำน้ำผัดไทย ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ส่งเสริมการจำหน่ายและด้านการเจาะตลาด เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้เป็นสินค้า OTOP วิทยากรการให้ความรู้เชิงปฏิบัติเกี่ยวกับการทำผัดไทย โดยคุณนางสาวจิรา โอนคำ  และวิทยากรให้ความรู้เชิงปฏิบัติเกี่ยวกับออกแบบบรรจุภัณฑ์ ส่งเสริมการจำหน่ายและด้านการเจาะตลาดเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้เป็นสินค้า OTOP

โดยเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชน ว่าที่ร้อยตรีสันติชัย บุญแก้ว อสพ.กาญจนดิษฐ์

วันที่ 20-21 ตุลาคม 2564

         กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำขนมตาล และออกแบบบรรจุภัณฑ์ ส่งเสริมการจำหน่ายและด้านการเจาะตลาด เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้เป็นสินค้า OTOP วิทยากรให้ความรู้เชิงปฏิบัติเกี่ยวกับการทำขนมตาล โดยคุณเสาวณี ทับทอง และวิทยากรให้ความรู้เชิงปฏิบัติเกี่ยวกับออกแบบบรรจุภัณฑ์ ส่งเสริมการจำหน่ายและด้านการเจาะตลาดเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้เป็นสินค้า OTOP

โดยเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชน ว่าที่ร้อยตรีสันติชัย บุญแก้ว อสพ.กาญจนดิษฐ์

วันที่ 22-23 ตุลาคม 2564

          กิจกรรมที่ 3 ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ และให้ความรู้เกี่ยวกับ 

การส่งเสริมการจำหน่ายและด้านการเจาะตลาด วิทยากรให้ความรู้ โดย คุณยศฐศักดิ์ เยี่ยงกุลเชาวน์ ศบก.ท่าฉาง เป็นผู้ให้ความรู้ในเรื่องของการทำปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพและสมุนไพรไล่แมลง อีกทั้งคุณมลฤดี สวัสดี นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ,คุณจีรนุช เกลี้ยงสงค์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ,คุณไพโรจน์ ขวัญแก้ว สารวัตรกำนันตำบลคลองไทร ชาวบ้านในพื้นที่ตำบลมะลวน และตำบลคลองไทร เข้าร่วมกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพสมุนไพรไล่แมลง และให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการจำหน่ายและด้านการเจาะตลาด

ครงการที่ 3 

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 วิศวกรสังคมตำบลมะลวนจัด “โครงการนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชนด้วยเทคโนโลยีโดยพัฒนาสัมมาชีพเดิมและสร้างองค์ความรู้สัมมาชีพใหม่ เพื่อเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน”  

          โดยวิทยากร ดร.เกวลิณ อังคณานนท์ อาจารย์สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ คณะ วิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี  บรรยายหัวข้อการนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชนด้วยเทคโนโลยีโดยพัฒนาสัมมาชีพเดิม และสร้างองค์ความรู้สัมมาชีพใหม่ เพื่อเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน  ดังนี้

1. สถิติผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต และสื่อโซเชียลมีเดียใยประเทศไทย

2. การชื้อ ขายสินค้าในตลาดอีคอมเมิร์ช shopee และ lazada

3. การตลาดบนสื่อโซเชียลมีเดีย facebook page และ line oa

4. การสร้าง content ในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์สินค้า

5. การถ่ายภาพสินค้า และวิดีโอให้น่าสนใจ

6. เทคนิคการปิดการขาย

ณ ที่ทำการกองทุนบ้านต้นปาบ หมู่ 5 ตำบลมะลวน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

กิจกรรมอื่น ๆ 

1.เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 เวลา 8.00 น. 

            ทีมวิศวกรสังคมตำบลมะลวน ได้ลงพื้นที่โรงเรียนวัดห้วยกรวด หมู่ 6 บ้านห้วยกรวด ลงพื้นที่เชิงรุกจัดกิจกรรม covid week 

            โดยมีวิศวกรสังคมตำบลมะลวน ร่วมมือกับบุคลากรของโรงเรียนวัดห้วยกรวดและชาวบ้านในพื้นที่ช่วยกันทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน โรงอาหาร ซึ่งได้มีการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อแอลกอฮอล์ 75% ทำความสะอาดทุกจุดสำคัญของโรงเรียน 

              และได้ทำหน้ากากผ้า สำหรับป้องกันในขณะพูดสูดอากาศหรือหายใจ  และได้บรรจุแอลกอฮอล์ใส่ขวด เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับชาวบ้านในพื้นที่ตำบลมะลวนได้นำไปใช้ทำความสะอาด เพื่อป้องกันเชื้อโรค covid 19

กิจกรรมอื่น ๆ 

  2. ระหว่างวันที่ 19-22 กรกฏาคม 2564 วิศวกรสังคมตำบลมะลวน เข้าร่วมอบรม “โครงการเชิงปฏิบัติการโครงการส่งเสริมความรักความสามัคคี มีระเบียบวินัย เข้าใจสิทธิของผู้อื่น กิจกรรมประวัติศาสาตร์และวัฒนธรรมชุมชนเพื่อเสริมสร้างความสามัคคี” มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี

             ในการอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเรื่อง การศึกษาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมชุมชน โดยกิจกรรมครั้งนี้มีรายละเอียด 

1 การศึกษาและสำรวจข้อมูลมรดกวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น

การระบุแหล่งมรดกวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น

2 การเขียนแผนที่มรดกวัฒนธรรมภูมิปํญญาท้องถิ่นและปฏิทินชุมชน

3 การประเมินคุณค่าและวิเคราะห์มรดกวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น

4 การจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนในการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น

5 การอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น

ณ ตำบลน้ำรอบ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Facebook Page : https://www.facebook.com

E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ : 1.ชุมชนเก่าบ้านมะลว http://online.anyflip.com/wsxsm/omux/mobile/index.html    

2.มะลวนชวนเที่ยวhttps://heyzine.com/flip-book/ab03bef6ca.html#page/10   

Back To Top