ปากทรง พะโต๊ะ ชุมพร ตำบลปากทรง เหตุที่ชาวบ้านเรียกชื่อนี้ สันนิษฐานว่า เจ้าเมืองระนองและเจ้าเมืองหลังสวนเป็นญาติกัน การเดินทางไปเยี่ยมเยียนกันในสมัยก่อนนั้น ไม่มีถนนจึงต้องทรงช้างไปเมืองหลังสวน เมื่อมาถึงปากแม่น้ำก็ต้องลงเรือต่อไปอีก ชาวบ้านเห็นเจ้าเมืองทรงช้างมาลงเรือที่ปากแม่น้ำ จึงเรียกบริเวณนี้ว่า "ปากทรง" และได้ยกเป็นตำบลมาจนถึงทุกวันนี้
พระรักษ์ พะโต๊ะ ชุมพร
ประวัติตำบล
ประวัติตำบลพระรักษ์
ประวัติความเป็นมาชาวบ้านเล่าว่า เมื่อก่อนบริเวณนี้เป็นป่าที่มีความร่มรื่นมาก ใครเดินไปมามักจะนอนพักบริเวนนี้และยังมีชาวบ้านเล่าว่ามีพระธุดงค์มักชอบเดินเข้าไปในป่าเพื่อปักกรดหาไม่เว้นแต่ละวัน และมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ชาวบ้านเห็นว่ามีพระภิกษุจำนวนมากและคิดว่าพระรักษาคุ้มครอง จึงเรียกติดปากว่า พระรักษ์ จนถึงปัจจุบัน
ชุมชนตำบลพระรักษ์ เป็นหนึ่งใน 4 ตำบลของอำเภอพะโต๊ะ ที่มีเทือกเขาสลับซับซ้อนทอดเป็นแนวยาว ในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของหมู่ที่ 4 ตำบลปังหวาน ซึ่งมีนายนุ้ย นุ้ยรัตน์เป็น ผู้ใหญ่บ้าน ต่อมาเมื่อมีการเพิ่มของราษฎร ที่เข้ามาจับจองที่ดินทำกินมากขึ้นเรื่อย ๆ ตำบลปังหวานมีหมู่บ้านในความปกครอง 15 หมู่บ้าน ในปี พ.ศ. 2534 จึงมีการแยกพื้นที่ส่วนหนึ่งของตำบลปังหวาน 8 หมู่บ้าน ตั้งเป็นตำบลพระรักษ์ โดยมีกำนันคนแรกคือ นายทองอยู่ แก้วเจริญ ตำบลพระรักษ์ แบ่งการปกครองเป็น 9 หมู่บ้าน ประชากรส่วนใหญ่ของตำบลพระรักษ์ มาจากหลายๆ ที่ เช่น ประชาชนในจังหวัดทางภาคอีสาน และภาคกลาง เช่น นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี อพยพมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2512 และประชาชนจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช ฯลฯ เนื่องจากในอดีตพื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลพระรักษ์ เป็นพื้นที่ป่าสงวน ที่ขาดการดูแลจากเจ้าหน้าที่ของรัฐทำให้มีการบุรุกพื้นที่ป่ากันอย่างกว้างขวาง เพราะมีการคมนาคมสะดวกขึ้นเนื่องจากทางหลวง สายหลังสวน – ราชกรูด ได้สร้างแล้วเสร็จมีรถประจำทางวิ่งระว่างอำเภอเหลังสวน – อำเภอพะโต๊ะ, จังหวัดระนอง – จังหวัด สุราษฎร์ธานี หมู่บ้านที่เพิ่งจัดตั้งใหม่เมื่อปี 2544 คือหมู่ที่ 9 บ้านจำปุย ตำบลพระรักษ์ มีพื้นที่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำหลังสวน
ประวัติความเป็นมาของหมู่ที่ 1 บ้านพระรักษ์
ก่อนที่จะเป็นหมู่ที่ 1 ตำบลพระรักษ์ แต่ก่อนนั้นเป็นหมู่ที่ 4 ตำบลปังหวานโดยมีผู้ใหญ่นุ้ย นุ้ยรัตน์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน ต่อมาปี พ.ศ.2533 ได้แยกมาเป็นหมู่ที่ 1 พระรักษ์ โดยมีนายวิมล คงสุวรรณ เป็นผู้ใหญ่บ้าน ต่อมาปี พ.ศ.2533 ได้แยกมาเป็น หมู่ที่ 1 ตำบลพระรักษ์ โดยมีนายวิมล คงสุวรรณ เป็นผู้ใหญ่บ้าน ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมาของหมู่ที่ 2 บ้านคลองราง
ก่อนที่จะเป็นหมู่ที่ 2 ตำบลพระรักษ์ แต่ก่อนนั้นเป็นหมู่ที่ 4 ตำบลปังหวาน โดย มีนายจำรัส เสือช่อ เป็นกำนัน นายนุ้ย นุ้ยรัตน์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน ประมาณปี พ.ศ.2529 ผู้ใหญ่นุ้ย นุ้ยรัตน์ อายุครบ 60 ปี จึงได้พ้นจากการเป็นผู้ใหญ่ หลังจากนั้นทางอำเภอได้มีกำหนดให้มีการเลือกตั้ง ผู้ใหญ่บ้านใหม่ ปรากฏว่ามีผู้สมัครรวม 4 คน คือ 1 นายวิมล คงสุวรรณ 2 นายสนิท มณุโชติ 3 นายวิรัตน์ เพรานาสัก 4 นายสนอง บุญเจริญ การเลือกตั้งในครั้งนั้น นายวิมล คงสุวรรณ ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 ได้มีการแยกหมู่บ้านจาก หมู่ที่ 4 เดิมของตำบลปังหวาน เป็นหมู่ที่ 12 ตำบลปังหวาน ทางอำเภอได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านในปี พ.ศ.2531 มีผู้สมัคร 2 คน 1 นายสนิท มณุโชติ 2 นายอุดม ธาดาจร การเลือกตั้งในครั้งนั้น นายสนิท มณุโชติ ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้าน ปี พ.ศ. 2531 โดยตั้งชื่อเป็นหมู่บ้านพระรักษ์คลองราง หมู่ที่ 12 ตำบลปังหวาน ต่อมาทางอำเภอได้แยก จากตำบลปังหวาน เป็นตำบลพระรักษ์และต่อมามีการเลือกตั้งกำนันของตำบล พระรักษ์ มีผู้สมัคร 4 คน 1. ผู้ใหญ่ทองอยู่ แก้วเจริญ 2. ผู้ใหญ่สนิท มณุโชติ 3. ผู้ใหญ่วิมล คงสุวรรณ 4. ผู้ใหญ่เมธ ทิพย์สมบัติ การเลือกตั้งในครั้งนั้น ผู้ใหญ่ทองอยู่ แก้วเจริญ ได้รับการเลือกตั้งเป็น กำนัน ตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ตั้งแต่บัดนั้น
ประวัติความเป็นมาของหมู่ที่ 3 บ้านคลองเหนก
ก่อนที่จะเป็นหมู่ที่ 3 บ้านคลองเหนก ซอย2 ตำบลพระรักษ์ แต่ก่อนนั้นเดิมเป็นหมู่ที่ 10 ตำบลปังหวาน เมื่อปี พ.ศ.2534 และได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นหมู่บ้านพัฒนาและป้องกันตนเอง เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2528 มีการจัดตั้งหมู่บ้านครั้งแรกเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว โดยชาวนครศรีธรรมราช มาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินเป็นส่วนใหญ่ โดยมีผู้ใหญ่บ้านคนที่ 1 คือ นายบรรจบ ชูพริก คนที่ 2 นายสนั่น ทวีรัตน์ คนที่ 3 นายบรรจบ ชูพริก เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 ตำบลพระรักษ์
ประวัติความเป็นมาของหมู่ที่ 4 บ้านน้ำยืน
หมู่ที่ 4 ตำบลพระรักษ์ ตั้งชื่อตามภูมิประเทศด้วยเหตุผลที่ว่า ทิศใต้ของหมู่บ้านมีเทือกเขาและป่าไม้อุดมสมบูรณ์ และมีแหล่งน้ำไหลตลอดทั้งปี แม้ว่าจะเป็นฤดูแล้งก็ตาม แหล่งน้ำดังกล่าว ยังไหลตลอดสายให้ชาวบ้านได้ใช้อุปโภค บริโภคตลอดทั้งปี ชื่อบ้านน้ำยืน ได้ตั้งขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2532 ตั้งโดยผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่ที่ 4 คือ นายวิรัตน์ เกลี้ยงเกลา
ประวัติความเป็นมาของหมู่ที่ 5 บ้านโหมง
บ้านโหมง หมู่ที่ 5 ตำบลพระรักษ์ เป็นชุมชนดั้งเดิมอยู่ติดแม่น้ำหลังสวน โดยสมัยก่อนถนนยังไม่มีการสัญจร ต้องใช้เรือเครื่อง ในการสัญจร หมู่ที่ 5 แยกมาจากหมู่ที่ 4 ตำบลปังหวาน พ.ศ. 2521 เป็นหมู่ที่ 7 ตำบลปังหวาน ผู้ใหญ่บ้านคนแรก คือนายสวาท ทองนวล เป็นได้เพียงหนึ่งปีก็เสียชีวิต มาปี พ.ศ.2522 ก็ได้ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 คือนายวิโรจน์ คุณวุฒิ เป็นผู้ใหญ่บ้านได้ 2 ปี ก็มีปัญหาด้านครอบครัวเลยลาออก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2524 ต่อมาก็มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่คนใหม่ได้นายทองอยู่ แก้วเจริญ และหลังจากนั้นมีการแบ่งแยกหมู่บ้านอีกครั้ง เป็นหมู่ที่ 5 ตำบลพระรักษ์ จนถึงปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมาของหมู่ที่ 6 บ้านพูลสุข
หมู่บ้านพูลสุขมีพื้นที่ติดกับลุ่มแม่น้ำหลังสวนสองด้าน ด้านที่หนึ่งติดกับคลองเหนก ด้านที่สองติดกับแนวป่าไม้ที่เป็นธรรมชาติ ประชาชนในหมู่บ้านอาศัยแม่น้ำหลังสวนและลำคลองเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ซึ่งมีชื่อแต่ละเชี่ยวแตกต่างกัน พื้นที่ของหมู่บ้านแห่งนี้ซึ่งติดกับเชี่ยวพูล ต่อมานายแดง และนางสุข ซึ่งมาจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ตัดถนนผ่านเข้ามาในหมู่บ้าน เพื่อลำเลียงท่อนไม้ซุง ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านได้ใช้ถนนเส้นนี้เป็นทางคมนาคมหลัก แทนการคมนาคมทางน้ำ ดังนั้นนายเพิ่ม ขวัญราช ได้เห็นว่า นายแดง และนางสุข นำความเจริญและความสะดวกสบายมาสู่หมู่บ้านแห่งนี้ จึงเอาชื่อของนางสุข นำความเจริญและความสะดวกสบายมาสู่หมู่บ้านแห่งนี้ จึงเอาชื่อของนางสุข มารวมกับชื่อของเชี่ยวที่เป็นสัญลักษณ์ ของหมู่บ้านมารวมกันว่า “หมู่บ้านพูลสุข” และชาวบ้านได้เรียกต่อกันมาเรื่อยๆ จึงกลายเป็นหมู่บ้านพูลสุข ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมาของหมู่ที่ 7 บ้านเขาช่องแบก
เดิมเป็นพื้นที่ของ หมู่ที่ 5 ตำบลพระรักษ์ในปัจจุบันโดยได้แบ่งแยกมาเป็นหมู่ที่ 7 ตำบลพระรักษ์ ในปี พ.ศ.2526 ได้ประชาคม ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านเขาช่องแบก” เพราะในหมู่บ้านมีสภาพเป็นป่า และมีต้นตะแบกขึ้นระหว่างช่องทางที่ราษฎรในหมู่บ้านเดินผ่านไปทำมาหากิน โดยอาศัยภูมิประเทศตรงนี้ ตั้งชื่อหมู่บ้านต่อไม่นาน คำว่า “ตะ” ก็หายไป จึงได้เรียกเพียงว่า “บ้านเขาช่องแบก” เป็นต้นมา ผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือ ผู้ใหญ่พร้อย นวลศรี ต่อมา ในปี พ.ศ.2544 ผู้ใหญ่พร้อยหมดวาระลงผู้ใหญ่สุทิน นามวงษ์ ได้รับการเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน คนที่ 2 ปัจจุบัน มีผู้ช่วยสุวรรณ สมดวง ผู้ช่วยประเสริฐ พรหมสถิต เป็นผู้ช่วยฝ่ายปกครอง และนายสมศักดิ์ ทองนิล เป็นผู้ช่วยฝ่ายรักษาความสงบ มีนายธงไชย ขวัญโต นายจิรศักดิ์ ชุยหลง เป็น อบต.หมู่ที่ 7 บ้านเขาช่องแบก เมื่อ 80 ปีก่อน สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นตระกูล “นามวงษ์” ซึ่งเป็นตระกูลแรกๆ ที่เข้ามาหักร้างถางป่า ทำมาหากินในแถบนี้ โดยอาศัยสายลำน้ำหลังสวนเป็นเส้นทางลำเลียงเสบียง และลำเลียงพืชผลและผลผลิตทางการเกษตร โดยใช้เรือ แพ เป็นพาหนะ ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าตระกูลที่มาอยู่และอาศัยแรกๆ มักอยู่แถบลุ่มแม่น้ำหลังสวน ในปี พ.ศ.2529 บ้านเขาช่องแบก
ชาวบ้านได้รวมตัวตัดถนนสายเขาช่องแบกได้ดำเนินการในเดือน มีนาคม พ.ศ.2529 โดยมีนายธงไชย ขวัญโต นายมินทร์ ยุตทยานันท์ เป็นหัวหอกใหญ่ มีชาวบ้านในหมู่บ้านทั้งหมดเป็นแนวร่วมค่าใช้จ่ายชาวบ้านเป็นผู้ออกเองทั้งหมด ต่อมาก็มีซอยบุญมี เกิดขึ้นอีก โดยมี “นายมี กิ่งแก้ว” เป็นคนจ้างบุกเบิก ปัจจุบันมีสภาพที่ส่วนรวมหลายแห่ง เช่น ประปาผิวดินขนาดใหญ่ สนามกีฬาฟุตบอล สนามกีฬาวอลเล่ย์บอล หอประชุม หนึ่งฟาร์ม หนึ่งตำบล สถานที่เหล่านี้ ผู้สุทิน นามวงษ์ อนุเคราะห์ที่ดิน หมู่ที่ 7 บ้านเขาช่องแบก จะเห็นได้ว่าจะมีผู้เสียสละ ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมาของหมู่ที่ 8 บ้านไร่ยาว
บ้านไร่ยาว แยกมาจาก หมู่ที่ 7 ตำบลปังหวาน ประมาณปี พ.ศ.2534 โดยมีนายสุชิน พวงผัก เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก จนถึงเกษียณอายุราชการ จึงมีการเลือกตั้งใหม่ ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2538 นายจำรัส สามงามเล็ก ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรง ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้านและหมดวาระในปี พ.ศ. 2543 ต่อมา นายสามารถ เนียมเปีย ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน ระยะเวลา 2 ปี จึงลาออก ปัจจุบันนายถาวร ศรีล่า ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านมาจนถึงปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมาของหมู่ที่ 9 บ้านจำปุย
บ้านจำปุย หมู่ที่ 9 ตำบลพระรักษ์ เมื่อก่อนนั้นขึ้นอยู่กับบ้านไร่ยาว หมู่ที่ 8 ตำบลพระรักษ์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2544 ได้มีคำสั่งจากกระทรวงมหาดไทย แยกเป็นหมู่บ้านใหม่ และมีการเลือกตั้ง ผู้ใหญ่บ้านผลการเลือกตั้ง ได้นายสุธรรม ยังสถิต เป็นผู้ใหญ่บ้านจำปุย ตั้งปี พ.ศ.2544 ถึงปัจจุบัน
พื้นที่ทั้งหมด 4,766 ไร่
แผนที่
อินโฟกราฟิก
โครงการที่ 1
โครงการยกระดับสินค้าทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ชุมชน และสินค้า OTOP ของตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
ผลิตภัณฑ์ชุมชน มี 3 กิจกรรมย่อย ดังนี้
กิจกรรมย่อยที่ 1. ใบจากปลอดสารพิษ หมู่3 บ้านคลองเหนก ตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ผลิตภัณฑ์ใบจาก
ใบจากเป็นผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษ ไม่แช่สารแค่มี ไม่แช่ปูนแดงที่ทำให้เกิดอาการเจ็บคอ ใบใหญ่ สวย
กิจกรรมย่อยที่ 2. น้ำพริกแปรรูป หมู่3 บ้านคลองเหนก ตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
ผลิตภัณฑ์ไตปลาคั่วกลิ้งสมุนไพร
ไตปลาครั่วกลิ้งสมุนไพร ไม่ใส่สารกันบูด ไม่ใส่ผงชูรส รสชาติอร่อยจัดจ้านแบบปักษ์ใต้ ผ่านกระบวนการพาสเจอร์ไรส์ หากเก็บไว้ในตู้เย็นสารถเก็บได้นานถึง 1 เดือน
กิจกรรมย่อยที่3. กล้วยน้ำหว้าผงดิบ หมู่3 บ้านคลองเหนก ตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
ผลิตภัณฑ์ผงกล้วยดิบ
ผงกล้วยดิบเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารืมีไฟเบอร์สูงอยู่ท้องนาน Resistant Starch ค่า IG ต่ำ กล้วยงดิบ 100 % ไม่ผสมแป้ง ไม่มีน้ำตาล
โครงการที่ 2
โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมชุมชน โดยชุมชนเพื่อชุมชน ตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
สถานที่ท่องเที่ยว มี 2 กิจกรรมย่อย ดังนี้
กิจกรรมย่อย 1 ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน หมู่ 3 บ้านคลองเหนก ตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
กิจกรรมย่อย 2 ล่องแพพระรักษ์ หมู่ 7 บ้านเขาช่องแบก ตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
กิจกรรม 1
วันที่ 27-28 พฤษภาคม 2564 ทีมวิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ได้จัดกิจกรรมผนึกกำลัง “U2T Covid-19 week” ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
กิจกรรม 2
วันที่ 29 ตุลาคม 2564 ทีมวิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร อาสาสมัครช่วยรณรงค์หมู่บ้าน ตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
Facebook Page : https://web.facebook.com/U2T-SRU-
E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ : https://anyflip.com/eedeb/tsqy/