skip to Main Content

บ้านเสด็จ เคียนซา สุราษฎร์ธานี

ระวัติตำบล

ประวัติความเป็นมาของชุมชน

       จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ในฝั่งตะวันออกของภาคใต้ โดยมีสภาพภูมิประเทศที่หลากหลายทั้งที่ราบสูง ภูมิประเทศแบบภูเขา รวมทั้งที่ราบชายฝั่ง มีพื้นที่ครอบคลุมถึงในบริเวณอ่าวไทย ทั้งบริเวณที่เป็นทะเลและเป็นเกาะ เกาะในพื้นที่จังหวัดสุราษฎkร์ธานีมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กมากถึง  ๙๘ เกาะ นับว่ามากที่สุดเป็นอันดับ ๓ ของประเทศ รองมาจากจังหวัดพังงาที่มี ๑๕๕ เกาะ และจังหวัดภูเก็ตที่มี ๑๕๔ เกาะ เกาะขนาดใหญ่เป็นที่รู้จักเช่น เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า และหมู่เกาะอ่างทอง เนื่องจากทำเลที่ตั้งจึงได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเกิดบริเวณทะเลอันดามันบ้างเป็นครั้งคราวเนื่องจากจะมีแนวเทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาภูเก็ต และเทือกเขานครศรีธรรมราช  แถบบริเวณจังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแนวช่วยลดอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ในทางกลับกันพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีจะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลจีนใต้และอ่าวไทยทำให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนมกราคม

​            อำเภอเคียนซา ได้รับอารยธรรมก่อนสมัยประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ มีพื้นที่อาณาเขตกว้างใหญ่อยู่ในเขตการปกครองของอาณาจักรไชยา เมืองนครศรีธรรมราช มณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลชุมพร มณฑลสุราษฎร์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามลำดับ จนถึงปีพุทธศักราช  ๒๔๔๗ กระทรวงมหาดไทยได้โอนมาขึ้นกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่เดิม อำเภอเคียนซา มีสถานะเป็นเพียงตำบล ตั้งอยู่ในพื้นที่ของอำเภอพะแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และในปีพุทธศักราช ๒๔๖๕ (ร.ศ.๑๔๑) กระทรวงมหาดไทยได้โอนตำบลบางเบา ตำบลกรูด จากอำเภอท่าโรงช้าง ตำบลเคียนซา ตำบลพ่วงพรหมคร จากอำเภอพะแสงมาขึ้นกับอำเภอบ้านนา ต่อมาในปี พุทธศักราช ๒๔๘๑ สมัยรัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้เปลี่ยน ชื่อ สยาม เป็น ราชอาณาจักรไทย และวันที่ ๑๘ มีนาคมพุทธศักราช ๒๔๘๑ ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอบ้านนา ไปตั้งที่ ตำบลนาสาร โดยในปีพุทธศักราช ๒๔๘๒ เปลี่ยนชื่ออำเภอบ้านนา โดยนำชื่อเดิม “บ้านนา”รวมกับสถานที่ตั้งตำบล “นาสาร” เป็นอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย ต่อมาทางราชการได้พิจารณาเห็นว่าอำเภอบ้าน นาสาร มีท้องที่กว้างขวางมีประชากรมาก บางตำบลตั้งอยู่ห่างไกลจากที่ตั้งที่ว่าการอำเภอบ้านนาสาร ไม่สะดวก แก่การปกครองและการติดต่อราชการของประชาชนกระทรวงมหาดไทยจึงได้ปรับปรุงตั้งกิ่งอำเภอขึ้น จึงทำให้ใน วันที่ ๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๑๓ รวมตำบลเคียนซา ตำบลพ่วงพรหมคร ตั้งเป็น กิ่งอำเภอชื่อว่า “กิ่งอำเภอเคียนซา” ต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอเคียนซา จนถึงปัจจุบัน

ประวัติความเป็นมาของตำบล

       ตำบลบ้านเสด็จ เดิมเรียกว่า “บ้านบนดง” เป็นส่วนหนึ่งในเขตการปกครองของตำบลเคียนซา ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด ที่สำคัญ เช่น ไม้ตะเคียน ไม้เคี่ยม ไม้หลุมพอ ไม้จำปา ไม้ยูง เป็นต้น ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ ได้มีราษฎรจากจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง กระบี่ และอำเภอใกล้เคียงในจังหวัดสุราษฎร์ธานี อพยพเข้ามาจับจองตั้งบ้านเรือนและทำสวน ทำนา ทำไร่ เรืื่อยมา

       ปีพุทธศักราช ๒๕๒๗ กองทัพภาคที่ ๔ ภายใต้การนำของ พลโทหาญ ลีลานนท์ แม่ทัพภาคที่ ๔ ได้ปราบอิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์ตามยุทธการใต้ร่มเย็น 

       ตำบลบ้านเสด็จเดิมมี ๔ หมู่บ้านและปัจจุบันได้ขยายเป็น ๒๐ หมู่บ้าน เหตุที่ได้ชื่อบ้านเสด็จเพราะต้นปีพุทธศักราช ๒๕๒๗ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้เสด็จมาเยี่ยมราษฎรเพื่อดูความเป็นอยู่ของชาวบ้านในชุมชน จึงทำให้เกิดชื่อ “ตำบลบ้านเสด็จ” เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่แสดงถึงความห่วงใยของชาวบ้านในถิ่นธุระกันดาร

แผนที่

อินโฟกราฟิก

โครงการที่ 1

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาบรรจุภัณฑ์การเก็บรักษาและการทำน้ำพริกกากหมู สู่การสร้างรายได้ชุมชน

โครงการที่ 2 

วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ โครงการพัฒนาสัมมาชีพครัวเรือนยากจนสู่การสร้างรายได้อย่างมั่นคง

“กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพาะเห็ดนางฟ้า”

ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพรุหวายน้ำ หมู่ที่ ๑๓ ตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

โครงการที่ 3 

โครงการครัวเรือนนำร่องเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

กิจกรรม

๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๔ 

วิศวกรสังคมตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินโครงการปลูกต้นฟ้าทะลายโจร(ครั้งที่๒) เป็นการปลูกเพิ่มเติมจำนวนต้น และปลูกซ่อมในส่วนที่เสียหาย ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

กิจกรรม 2

ทีมวิศวกรสังคม

ตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่กิจกรรมพิเศษ U2T สู้ภัยโควิด “U2T Covid  week”  ร่วมเสริมทัพเป็นกองหนุนรัฐบาลให้ชุมชน เคลียร์เชื้อร้ายรณรงค์เร่งฉีดวัคซีน เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชนชุมชนและณรงค์การสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีน พร้อมทีมวิศวกรสังคมในพื้นที่ดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ทั้ง 82 ตำบล ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ณ. ศาลาหมู่บ้านสันติสุข

Facebook Page  : https://www.facebook.com/เที่ยวเสด็จ-110854801189069/

E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ : http://online.anyflip.com/vbjxv/fpvk/mobile/index.html

Back To Top