skip to Main Content

ปังหวาน พะโต๊ะ ชุมพร

ประวัติตำบล

             ตำบลปังหวาน  แต่เดิมเรียกชื่อว่า บ้านมะปรางหวาน ซึ่งมีความเป็นมา ดังนี้ เมื่อก่อนการคมนาคมส่วนมากจะเป็นทางน้ำ โดยมีแม่น้ำสายหลัก คือ แม่น้ำหลังสวน และมีน้ำที่ใหญ่มาก มีหาดทรายกว้าง เป็นที่จอดเรือและแพเพื่อพักแรม และทานอาหาร โดยที่ท่าน้ำที่มีผู้มาจอดพักมีต้นมะปรางหวานต้นใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง ซึ่งเรียกท่าน้ำนี้ว่า ท่าน้ำมะปรางหวาน นามมาก็เพี้ยนมาเป็นบ้านปังหวาน

ชุมชนบ้านปังหวาน สันนิษฐานว่า เริ่มมีผู้คนเข้ามาตั้งชุมชนสมัยเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 และเริ่มหนาแน่นขึ้นเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เดิมนั้นส่วนมากจะอยู่ที่ริมแม่น้ำหลังสวนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีชุมชนอยู่หนาแน่น คือ

1)  ชุมชนบ้านส้มควาย ประกอบด้วย ชุมชนบ้านโพธิ์ทองหลาง และชุมชนบ้านพังเหา

2)  ชุมชนบ้านในคลอง ประกอบด้วย ชุมชนบ้านชุมแสง และชุมชนบ้านคลองอาร์

3)  ชุมชนบ้านคล้ายสองกอ

มี 9 หมู่บ้าน 

หมู่ที่ 1 บ้านส้มควาย ประชากร 120 ครัวเรือน ชาย 139 คน หญิง 140 คน รวม 279 คน

       1) ข้อมูลไทม์ไลน์ของหมู่บ้าน จากการสัมภาษณ์นาย อรรถพล กล่อมทรง ซึ่งเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลปัง หวานให้ข้อมูลเกี่ยวกับ หมู่ที่ 1 บ้านส้มควาย มีการจัดตั้งหมู่บ้านมานานแล้ว ไม่ทราบพ.ศ. ที่ต้อง อย่างชัดเจน ชื่อ ส้มควาย มาจากในขณะที่ต้องหมู่บ้านต้นส้ม ควายหรือส้มแขก จึงได้ตั้งชื่อ หมู่บ้านว่า บ้านส้มควาย แต่บัดนั้ นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

       2) ข้อมูลผลิตภัณฑ์ในชุมชน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์แปรรูปกล้วยฉาบ ผลิตภัณฑ์ขนมไทยหลายชนิด ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกะลามะพร้าว ผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้า

       3) ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน คือ ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและ ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและ เกษตรทฤษฎีใหม่ประจําตําบลปังหวาน

หมู่ที่ 2 บ้านพังเหา ประชากร 336 ครัวเรือน ชาย 419 คน หญิง 370 คน รวม 789 คน 

       1) ข้อมูลไทม์ไลน์ของหมู่บ้าน บ้านพังเหามีประชากรในพื้นที่จํานวนมากจึงแยกหมู่บ้านไปอีกหมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 9 บ้านสร้างสมบูรณ์แยกออกมาจากหมู่บ้านพังเหาใน สมัยผู้ใหญ่คมตะวัน สร้างแก้ว เป็นผู้ใหญ่บ้านอยู่ในขณะนั้นช่วงราวปี พ.ศ.2558

       2) ข้อมูลผลิตภัณฑ์ในชุมชน ในปัจจุบันนี้ ผลิตภัณฑ์ต่างๆของชุมชนมีการยกเลิกไปบางส่วน เนื่องจาก สมาชิกในกลุ่มต่างแยกย้ายไปทําอาชีพของตน และความไม่พร้อมของหลายอย่าง

       3) ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ค้นพบว่ามีสถานที่คล้ายร้านอาหาร มีชื่อว่า ครัวบ้านสวน-ศูนย์เรียนรู้บ้านสวนสุวรรณ ซึ่งเป็นที่พบปะสังสรรค์เป็นแหล่งที่ผู้คนไปมาได้ตลอด และนัดประชุมหรือทํากิจกรรมของคนในหมู่บ้านและผู้คนที่มาท่องเที่ยว

หมู่ที่ 3 บ้านคลองเหนก ประชากร 241 ครัวเรือน ชาย 286 คน หญิง 290 คน รวม 576 คน 

       1) ข้อมูลไทม์ไลน์ของหมู่บ้าน เป็นตำบลดั้งเดิมมีมานานหลายปีไม่ทราบ พ.ศ. ปกครอง โดย กํานันสุมนธ์ทิพย์สมบัติ ซึ่งเป็นคนปัจจุบันในการดำรงตำแหน่งดูแลในพื้นหมู่ที่ 3 บ้าน คลองเหนก

      2) ข้อมูลผลิตภัณฑ์ในชุมชน ผลิตภัณฑ์ในชุมชน คือ น้ำผึ้งโพรง เริ่มจัดกลุ่มทําน้ำผึ้งโพรงขึ้นมาเมื่อ ปีพ.ศ.2557 โดยมีสมาชิกทั้งหมด 30 คน ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านก็ยังทําน้ำผึ้งโพรงกันอยู่

      3) ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ในส่วนของแหล่งท่องเที่ยวในหมู่บ้านมีสถานที่ที่ สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้คือ “เขื่อนน้ำล้น”

หมู่ที่ 4 บ้านคลองนูน ประชากร 348 ครัวเรือน ชาย 520 คน หญิง 445 คน รวม 965 คน

       1) ข้อมูลไทม์ไลน์ของหมู่บ้าน กํานันชอบ แดงหนองหิน ได้แบ่งแยกหมู่บ้านออกจากหมู่ ที่ 6 บ้านท่าแพ มาเป็นหมู่ที่ 4 บ้านคลองนูน เพราะประชากรมาก ครัวเรือนมาก เลยต้องแบ่งแยกหมู่บ้าน มีคลองนูนคลองเดียวคือสายหลักที่ไหลผ่านบ้านท่าแพแล้วออกมาทางคลองใหญ่คือ คลองปังหวาน และน้ำจากคลองปังหวานไหล ออกสู่แม่น้ำหลังสวน มีการรวมกลุ่มของชมรมผู้สูงอายุจัดต้องกลุ่ม ขึ้นมาเมื่อปีพ.ศ.2561 มีสมาชิกประมาณ 40 คน ร่วมทํากิจกรรม เช่น การรํา และกลองยาว

       2) ข้อมูลผลิตภัณฑ์ในชุมชน ในส่วนผลิตภัณฑ์ของชุมชน คือ ทุเรียนทอด ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านก็ยังทํา ผลิตภัณฑ์นี้อยู่ เพื่อค้าขายในหมู่บ้านและตามสถานที่ต่างๆ

      3) ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ไม่มีแหล่งท่องเที่ยว

หมู่ที่ 5 บ้านทอนพงษ์ ประชากร 157 ครัวเรือน ชาย 154 คน หญิง 164 คน รวม 316 คน

       1) ข้อมูลไทม์ไลน์ของหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 หมู่บ้านทอนพงษ์เป็นหมู่บ้านเล็กๆช่วงแรกเริ่มผู้ใหญ่สายันต์ดํารงตําแหน่งผู้ใหญ่บ้าน จนเกษียณราชการ และในปีพ.ศ.2563 ได้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน ลูกของผู้ใหญสายันต์ได้ลงสมัครเลือกต้องเป็นผู้ใหญ่บ้านด้วย ปัจจุบันได้รับตําแหน่งเป็น ผู้ใหญ่บ้าน ชื่อ นายเกียรติศักดิ์ แก้วเจริญ ดํารงตําแหน่งเป็น ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 บ้านทอนพงษ์เป็นคนปัจจุบัน

      2) ข้อมูลผลิตภัณฑ์ในชุมชน คือ ทุเรียนทอด ชาวบ้านในหมู่บ้านทําการค้าขายกันใน หมู่บ้านและตามสถานที่ต่างๆ  

      3) ข้อมูลไทม์ไลน์แหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ไม่มีแหล่งท่องเที่ยว

หมู่ที่ 6 บ้านท่าแพ  ประชากร 285 ครัวเรือน ชาย 338 คน หญิง 315 คน รวม 653 คน 

       1) ข้อมูลไทม์ไลน์ของหมู่บ้าน เมื่อก่อนหมู่บ้านท่าแพอาศัยแพล่องลําคลองออกจากบ้านท่าแพ ไปสู่แม่น้ำหลังสวน มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหลังคาเรือน ผู้ที่ดํารงตําแหน่งปกครองหมู่บ้านคนแรก คือ กํานันชอบ แดงหนองหิน ดํารงตําแหน่งจนเกษียณอายุ จนต่อมานายสัมพันธ์ นาคเสน ดํารงตําแหน่งปกครองต่อมาประมาณ 5 ปีจนหมดวาระในการดํารงตําแหน่งในปีพ.ศ.2555 และเลือกต้องผู้ใหญ่คนที่ 3 ชื่อ ผู้ใหญ่ภาณุพงศ์ พิทักษ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนต่อไป 

       2) ข้อมูลผลิตภัณฑ์ในชุมชน คือ กระเป๋าถุงผ้าปาเต๊ะ เริ่มจัดตั้งทํากลุ่มขึ้น มาเมื่อปีพ.ศ.2562 จัดทําขึ้นเพื่อจัดจําหน่ายให้กับลูกค้าหลักในหมู่บ้าน มีปลาดุกร้า ผลิตภัณฑ์จากไม่ไผ่ และการจัดดอกไม้หน้าพิธี 

      3) ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ไม่มีแหล่งท่องเที่ยว

หมู่ที่ 7 บ้านคลองอาร์ ประชาชน 285 ครัวเรือน ชาย 338 คน หญิง 315 คน รวม 653 คน

       1) ข้อมูลไทม์ไลน์ของหมู่บ้าน ตอนแรกตำบลปังหวานปกครองกันมา 2 ตำบล คือ ตําบลปังหวาน และตําบลพระรักษ์และ ต่อมาตําบลปังหวานแบ่งแยกเป็นตําบลพระรักษ์เมื่อก่อนเป็นตําบลปังหวานก่อนจะมาเป็นตําบลพระรักษ์ และก่อนที่จะจัดต้องเป็นหมู่ที่ 7 บ้านคลองอาร์ พื้นที่นี้เคยเป็นหมู่ที่ 9 มาก่อน ปกครองโดยผู้ใหญ่บ้านเสน่ห์อําพะวัน ปกครองได้ประมาณ 10 ปีแล้วก็ได้แบ่งแยกหมู่บ้านมาเป็น หมู่บ้านห้วยใหญ่หมู่ที่ 8 

      2) ข้อมูลผลิตภัณฑ์ในชุมชน เมื่อก่อนหมู่บ้านได้ทําผลิตภัณฑ์ คือ กล้วยฉาบและข้าวเกรียบมะละกอ ทําขายและทําขายส่ง แต่ในปัจจุบันนี้ผลิตภัณฑ์ต่างๆของชุมชนได้มีการยกเลิกไป เนื่องจากสมาชิกในกลุ่มต่างแยกย้ายไปทําอาชีพของตนและความไม่พร้อมของปัจจัยหลายๆอย่าง

      3) ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ไม่มีแหล่งท่องเที่ยว

หมู่ที่ 8 บ้านห้วยใหญ่ ประชาชน 219 ครัวเรือน ชาย 281 คน หญิง 275 คน รวม 556 คน

       1) ข้อมูลไทม์ไลน์ของหมู่บ้าน ประชากรในชุมชนของหมู่ที่ 7 ผู้ใหญ่เสน่ห์ อําพะวัน ปกครองไม่ทั่วถึง เนื่องจากมีจํานวนครัวเรือนมาก เลยแบ่งหมู่บ้านมาเป็นหมู่ที่ 8 บ้านห้วยใหญ่ ตําบลปังหวาน ผู้ใหญ่เสน่ห์อําพะวัน ผู้ใหญ่หมู่ที่ 7 ทําโครงการแบ่งแยกหมู่บ้าน ตั้งชื่อว่า “หมู่บ้านห้วยใหญ่” เป็นการ แบ่งแยก พ.ศ.2548 ปัจจุบันผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่8 คือ ผู้ใหญ่ถนอม พรหมแก้ว 

      2) ข้อมูลผลิตภัณฑ์ในชุมชน ไม่มีผลิตภัณฑ์ในชุมชน 

      3) ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน คือ บ่อน้ำร้อน มีมานานมากแล้ว และ น้ำตกเหนือเหว เป็นแหล่งน้ำตกตามธรรมชาติสร้างมา 100 กว่าปีแล้ว ได้ปรับปรุงเป็นแหล่งท่องเที่ยวเมื่อปี พ.ศ2550 ได้ปรับปรุงน้ำตกครั้งล่าสุดตั้งแต่สมัยก่อนเรียกน้ำตกเหนือเหว เพราะมีน้ำตกขึ้นอยู่เหนือเหวเลยได้เรียกกันว่าน้ำตกเหนือเหวมาจนถึงปัจจุบัน

หมู่ที่ 9 บ้านสร้างสมบูรณ์ ประชาชน 116 ครัวเรือน ชาย 113 คน หญิง 116 คน รวม 229 คน 

      1) ข้อมูลไทม์ไลน์ของหมู่บ้าน หมู่ที่ 9 ได้แยกหมู่บ้านมาจากหมู่ที่ 2 ช่วงประมาณปีพ.ศ.2558 เหตุที่ได้ตั้งชื่อหมูบ้านสร้างสมบูรณ์มาจากการตั้งชื่อตามบุคคลที่ทําประโยชน์ให้ชุมชน 

      2) ข้อมูลผลิตภัณฑ์ในชุมชน คือ ข้าวตอก ทุเรียนกวน มังคุดกวน และกลุ่มของชุมชน คือ ข้าวตอก ทุเรียนกวน มังคุดกวน และกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์จัดตั้งกลุ่มขึ้นมาประมาณ 15 คน ไม่ทราบปีพ.ศ. ที่จัดตั้ง

      3) ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ไม่มีแหล่งท่องเที่ยว

ภาพแผนที่

อินโฟกราฟิก

โครงการที่

วิศวกรสังคมตำบลปังหวาน อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้จัดกิจกรรมการถ่ายทอดเพื่อยกระดับสินค้าในชุมชนต.ปังหวาน ผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้า เมื่อวันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา ณ ศูนย์หมู่บ้านหมู่ที่1 ตำบลปังหวาน กิจกรรมที่ 1 การออกแบบบรรจุภัณฑ์และออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้า  และต่อด้วยให้ความรู้เกี่ยวกับตลาดสินค้าและการขายผ่านออนไลน์ของสินค้าชุมชนปลาดุกร้า หวังเพื่อให้ชาวบ้านมีรายได้ และยอดขายที่เพิ่มมากขึ้น

  ทางวิศวกรตำบลปังหวานได้รับเกียตริจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงศกร ศยามล ได้ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนอย่างใกล้ชิดจนได้เกิดเป็น ผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้าของชุมชนต.ปังหวาน อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร

โครงการที่ 2

วิศกรสังคมตำบลปังหวาน อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้จัดกิจกรรมการถ่ายทอดเพื่อพัฒนาสัมมาอาชีพเดิมในชุมชนต.ปังหวาน กิจกรรมการทำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า เมื่อวันที่ 17พฤศจิกายนที่ผ่านมา ณ ศูนย์หมู่บ้าน หมู่ที่1 ตำบลปังหวาน การก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าเพื่อเพิ่มรายได้ให้เเก่ชุมชน เเละพัฒนาอาชีพ

  ทางวิศวกรตำบลปังหวานได้รับเกียรติจาก อาจารย์ดอกรัก ชัยสาร เเละผู้ช่วยวิทยากรได้ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนอย่างใกล้ชิด ทำก้อนเชื้อเห็ดเพื่อสร้างรายได้ด้วยตัวเอง และสร้างรายได้ไว้ใช้ หรือเพาะไว้รับประทานในครัวเรือนเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน พร้อมทั้งสอนการทำเชื้อเห็ด และได้ให้ชาวบ้านฝึกทำด้วยตัวเองทุกขั้นตอนในการผลิตก้อนเชื้อเห็ด โดยโครงการ ผศ.ดร.พัชรี หลุ่งหม่าน เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิศวกรสังคมดูแลตลอดโครงการ และได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากผู้นำในชุมชนพร้อมทั้งได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านตำบลปังหวานเป็นอย่างดี

ซึ่งสำหรับผู้ที่เข้าร่วมโครงการทุกคนจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองตามมาตรการ ควบคุมโรคระบาด โควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข อย่างเคร่งครัดอีกด้วย

กิจกรรม 1

กิจกรรม Covid week

เดินหน้าเต็มกำลัง U2T Covid week “รุกคลีนพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย สร้างความปลอดภัยให้ชุมชน”

สำหรับทีมวิศวกรสังคม ตำบลปังหวาน อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมเสริมทัพเป็นกองหนุนรัฐบาลให้ชุมชน เคลียร์เชื้อร้ายรณรงค์เร่งฉีดวัคซีน เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชนชุมชนและณรงค์การสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีน เพื่อต้านไวรัส Covid-19

กิจกรรม 2

กิจกรรม : ปลูกฟ้าทะลายโจรต้านโควิด 

พื้นที่ : ตำบลปังหวาน อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร

เนื้อที่ทั้งหมด : 630 ตารางเมตร โดยในเนื้อที่ส่วนรวม 40 ต้น เนื้อที่ส่วนตัว(บริเวณบ้านของวิศวกรสังคม) 150 ต้น

Facebook Page : https://web.facebook.com/U2T-

E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ : https://anyflip.com/hwuap/dmrd/

Back To Top