skip to Main Content

ท่ากระดาน คีรีรัฐนิคม สุราษฎร์ธานี

ประวัติตำบล

ประวัติความเป็นมา 

ตำบลท่ากระตาน ประชากรในตำบลส่วนใหญ่จะเป็นคนท้องถิ่น เดิมได้ตั้งถิ่นฐานมาช้านานตั้งแต่บรรพบุรุษพื้นที่ตำบลท่ากระดานส่วนใหญ่ เป็นที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำคือ แม่น้ำคลองยัน และแม่น้ำพุมดวง ประวัติเรื่องเล่าความเป็นมาในการก่อตั้งชื่อตำบล คือ เดิมมีต้นไม้เคี่ยมเป็นจำนวนมากโดยใช้ช้างลากไปเป็นทาง ทางที่ลากนี้เรียกว่าทางด่าน ส่วนไม้ที่ลากนี้ลากมาลงที่หินดาน เป็นไม้ที่จะนำไปทำเรือใหญ่ ในสมัยก่อนไม่มีถนนในหมู่บ้าน ใช้ทางด่านนี้เป็นทางเดิน และสามารถเดินไปถึงน้ำ ดังนั้นจึงตั้งชื่อตำบลว่า ท่ากระดาน

การประกอบอาชีพของราษฎร

ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทางด้านการเกษตร การทำสวนยางพารา สวนผลไม้ สวนปาล์ม รับจ้าง  มีส่วนน้อยประกอบอาชีพค้าขาย และรับราชการ การอาศัยของราษฎรที่เป็นชุมชนคือชุมชนสถานีรถไฟคลองเย็น การอาศัยของประชากรส่วนใหญ่จะกระจายทั่วไปตามพื้นที่มีเนื้อที่ 53.89 ตารางกิโลเมตร มีถนนสายหลักผ่าน คือสายอำเภอพุนพินไปคีรีรัฐนิคม ห่างจากตัวจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีประมาณ 50 กิโลเมตร

การกำเนิดเขตตำบลในท้องที่อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี

เนื่องด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้กำหมดเขตตำบลภายในท้องที่ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พุทธศักราช 2547 ดังต่อไปนี้กำหนดเขตตำบลท่ากระดานในท้องที่อำเภอคีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี โดยให้มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน คือ

หมู่ที่ 1   บ้านเกาะยวน

หมู่ที่ 2     บ้านหินดาน

หมู่ที่ 3    บ้านนาชะอม

หมู่ที่ 4     บ้านหาดพอ

หมู่ที่ 5      บ้านนกยาง

หมู่ที่ 6     บ้านโรงกระเบื้อง

หมู่ที่ 7       บ้านบนนา

หมู่ที่ 8      บ้านนาใหม่

หมู่ที่ 9       บ้านทุ่นลาน

หมู่ที่ 1 บ้านเกาะยวน

ประวัติความเป็นมา

บ้านเกาะยวนก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2443 แต่เดิมพื้นที่บริเวณบ้านเกาะยวนมีสภาพเป็นป่ารกและมีไม้ยวน ส่วนใหญ่มีผึ้งมาทำรังที่ต้นยวนเป็นร้อยรัง ผู้คนเข้ามาจับผึ้งบ้างเข้ามาอาศัยหักร้างถางพง ทำนา ทำไร่ เมื่อมีคนเข้ามาอาศัยมากขึ้นจนกลายเป็นหมู่บ้าน ซึ่งเรียกว่า “บ้านเกาะยวน”ในพื้นที่ต้นยวนมากและสภาพเป็นเกาะมีน้ำล้อมรอบประกอบ ด้วยมีคลองพุมดวง คลองภูแบก คลองนารา คลองบางพราน ต่อมามีผู้คนมากขึ้นอย่างหนาแน่นจึงแบ่งพื้นที่เป็น 4 จุด บ้านออก บ้านตก บ้านตีน และบ้านหัวนอน ทั้ง 4 จุด คือบ้านเกาะยวน หมู่ที่ 1  ตำบลท่ากระดาน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

หมู่ที่ 2 บ้านหินดาน

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

บ้านหินดานเมื่อประมาณ 150 ปีที่ผ่านมาได้มีผู้คนมาจากไหนไม่ทราบได้ทราบแต่เพียงว่าได้มีสกุลเทียนชัยเป็นสกุลแรกซึ่งอยู่ในอันดับต้นและสกุลชานิเวชที่ผ่านมาในสมัยนั้นและบ้านหินดานที่ได้ชื่อนี้เกิดจากที่อยู่ติดกับแม่น้ำคลองยันและในลำน้ำคลองยันได้มีก้อนหินใหญ่ยาวทับลุ่มแม่น้ำคลองยันเมื่อประชาชนสมัยก่อนพบก็เลยได้ตั้งชื่อว่าบ้านหินดาน หมู่ที่2 ตำบลท่ากระดานอำเภอคีรีรัฐนิคมจังหวัดสุราษฎร์ธานี

หมู่ที่ 3 บ้านนาชะอม

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

เมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมา มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งเดินทางมาหักร้างถางพงเพื่อหาที่ดินทำกิน ประมาณ 8 ครอบครัว ทางด้านทิศตะวันออกของคลองยัน ห่างจากคลองยันประมาณ 700 เมตร ชาวบ้านได้ถางป่าเบญจพรรณและได้พบต้นชะอมขึ้นตามจอมปลวก หลังจากหักร้างเป็นนาข้าวแล้ว ปรากฏว่าต้นชะอมที่ชาวนาเว้นไว้น้ำท่วมในทุ่งแต่ต้นชะอมไม่ตายชาวบ้านได้ตัดต้นชะอมนั้นไปปลูกในดินบริเวณบ้านของตนเอง ทำให้ต้นชะอมมีการกระจายทั่วทั้งหมู่บ้าน เมื่อมีประชุมจัดพื้นที่เป้าหมายสมมติชื่อพื้นที่ ชาวบ้านกลุ่มนี้ก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าพรุ่งแห่งนี้ควรชื่อทุ่งนาชะอม จนภายหลังได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองพุทธศักราช 2474 มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านชาวบ้านจึงเรียกชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า”บ้านนาชะอม”จนถึงปัจจุบัน

หมู่ที่ 4 บ้านหาดพอ

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

เมื่ออดีตพอลำดับความได้ว่า ก่อนจะมาเป็นบ้านหาดพอ มีการกล่าวเล่าสืบต่อกันมาเป็นเวลาร้อยกว่าปีแล้วสมัยก่อนการเดินทางไปมาค้าขายของชาวบ้านนั้น ได้ใช้แม่น้ำคลองยันเป็นเส้นทางคมนาคมในการเดินเรือสินค้าและได้หยุดพักค้างแรมที่ชายหาดอันสวยงาม ซึ่งมีต้นพอขนาดใหญ่อยู่เรียงรายมากมายแต่ในปัจจุบันไม่มีต้นพอหลงเหลืออยู่ให้ชาวบ้านได้พบเห็น เพราะกระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางได้พัดพาเอาดงไม้พอไปกับกระแสน้ำ และขาวบ้านก็ได้นำไม้พอไปสร้างบ้านเรือนต่อเรือจึงเหลือไว้แต่ชื่อว่า ” บ้านหาดพอ ” หมู่ที่ 4 ตำบลท่ากระดาน อำเภอศีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

หมู่ที่ 5 บ้านนกยาง

ประวัติความเป็นมา

         จากคำบอกเล่าของบรรพบุรุษในหมู่บ้านมีการเล่าสืบต่อกันมาว่า  ผืนแผ่นดินแห่งนี้เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์มีพันธ์ไม้น้อยนาชนิด มีหนองน้ำเป็นที่พักอาศัยและเป็นแหล่งอาหารของสัตว์หลากหลายสายพันธ์ โดยเฉพาะฝูงนกอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากใกล้บริเวณหนองน้ำแห่งนี่ ต่อมาได้ถูกเรียกว่า “นานกยาง” หลังจากผืนป่าหายไปนกกระยางยังคงหลงเหลือและวนเวียนอยู่ละแวกหมู่บ้านจนถึงปัจจุบันเพราะเหตูนี้จึงเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่า บ้านนกยาง หมู่ที่ 5 ตำบลท่ากระดาน อำเภอ คีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

หมู่ที่ 6 บ้านโรงกระเบื้อง

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

ได้มีคนเล่าต่อกันมาว่าในสมัยโบราณได้มีครอบครัวของชาวจีนครอบครัวหนึ่งอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่พื้นที่แห่งนี้ครอบครัวของชาวจีนได้ทดลองนำเอาดินเหนียวมาเป็นกระเบื้อง และการนำเอาดินเหนียวมาทำเป็นกระเบื้องประสบความสำเร็จ ชาวบ้านในสมัยนั้นจึงนิยมใช้กระเบื้องที่ผลิตจากดินเหนียวเพื่อมุงหลังคา และต่อมาชาวจีนจึงได้สร้างเป็นโรงงานขนาดเล็กเพื่อผลิตกระเบื้องจากดินเหนียวไว้ขายให้แก่ชาวบ้านในสมัยนั้น ต่อมาเมื่อทางการให้จัดตั้งหมู่บ้านจึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “หมู่บ้านโรงกระเบื้อง” หมู่ที่ 6 ตำบลท่ากระกระดาน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

หมู่ที่ 7 บ้านบนนา

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

เดิมบ้านบนนาเป็นพื้นที่การปกครองของบ้านเกาะยวน หมู่ที่ 1 ตำบลท่ากระดาน สมัยนั้นนายพ่วง พืชผล เป็นผู้ใหญ่บ้าน พื้นที่บ้านเกาะยวนมีพื้นที่มากและกว้างผู้ใหญ่บ้านดูแลไม่ทั่วถึง เพราะถนนหนทางและการเดินทางไม่สะดวกเหมือนปัจจุบัน นายพ่วงพืชผลจึงขอแบ่งแยกหมู่บ้านจากหมู่ที่1บ้านเกาะยวนมาเป็นหมู่ที่7คือบ้านบนนาในปีพ.ศ2515ชื่อนายสมศักดิ์บุญทิพย์เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกสาเหตุที่ชื่อบ้านบนนาเพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มและเป็นพื้นที่เป็นนาประกอบด้วยนาถาง นาคดเค็ด นาป่าตอ นาหนองหว้า นาเขาดิน และชุมชนคุ้งวัง ปากหมิด เลยตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านบนนา หมู่ที่ 7 ตำบลท่ากระดาน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี จนถึงปัจจุบัน

หมู่ที่ 8 บ้าน นาใหม่

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

ได้แยกเขตการปกครองจาก หมู่ที่ 3 เมื่อปีพุทธศักราช 2524 เนื่องจากประชาชนในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงได้อพยพมาสร้างที่อาศัยอยู่บริเวณสถานีคลองยัน ซึ่งเป็นจุดรับส่ง-ผู้โดยสารรถไฟ และสินค้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย สายสุราษฏร์ธานี-คีรีรัฐนิคม ที่แล่นผ่านพื้นที่หมู่ 3และประชาชนที่อพยพมาอยู่อาศัยเป้นผืนนา เมื่อมีประชาชนจำนวนมากตามเกณฑ์ที่จะจัดตั้งหมู่บ้านได้ ชาวบ้านจึงร้องขอให้จัดตั้งหมู่บ้านต่อกระทรวงมหาดไทย และตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “ บ้านนาใหม่ “ จนถึงปัจจุบันนี้

หมู่ที่ 9บ้านทุ่งลาน

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

เดิมบ้านทุ่งลานแยกออกจากหมู่ที่ 2 บ้านหินดาน เมื่อปี พ.ศ. 2524พื้นที่ของบ้านทุ่งลานส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขาสูง มีข้อสันนิษฐานว่าแต่เดิมมีราษฎรมาก่อตั้งบ้านเรือนเป็นที่อยู่อาศัย  ลักษณะพื้นที่เป็นทุ่งหญ้ากว้างมีต้นลานกลางทุ่งจำนวนมาก ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่าบ้านทุ่งลาน หมู่ที่ 9ตำบลท่ากระดาน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี จนถึงปัจจุบัน

แผนที่

อินโฟกราฟิก

ครงการที่ 1 

วิศวกรสังคม ต.ท่ากระดาน อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี  จัดกิจกรรมอบรม ถ่ายทอดการใช้ช่องทางการขายผ่านตลาดออนไลน์ใน platform Marketplace ผ่านสมาร์ทโฟน เพื่อยกระดับสินค้าทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ชุมชนและสินค้า OTOP ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยปฏิบัติการครั้งนี้ มีการอบรมเชิงปฏิบัติการที่หลากหลายทั้งการพัฒนาสินค้า OTOP ไตปลาแห้ง  เค้กกล้วยหอม และขนมทองม้วน   จัดขึ้น ณ  ศาลาประชาคม หมู่ที่ 3 บ้านนาชะอม ต.ท่ากระดาน อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี ภายใต้การดูแลการปฏิบัติการของ นายชูศักดิ์ ช่วยธรรมกิจ อาจารย์ที่ปรึกษาวิศวกรสังคม ต.ท่ากระดาน อ.คีรีรัฐนิคม

         การอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ทางโครงการฯได้ นายสุชาครีย์ คงเช้า และ ว่าที่ร.ต.ฤทธิชัย น้อยนรินทร์  มาเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับประชาชนที่เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้อีกด้วย ซึ่งการอบรมในครั้งนี้ได้มีการแบ่งกลุ่มเป็น3กลุ่ม ของแต่ละผลิตภัณฑ์และมีการฝึกปฏิบัติการใช้งานอุปกรณ์บน smartphone การสืบค้นข้อมูลบน Internet และการใช้ application รวมถึงการออกแบบตราสินค้า ผลิตภัณฑ์ต่างๆเพื่อนำไปต่อยอดสร้างแบรนสร้างอาชีพได้ในอนาคต และยกระดับสินค้าสู่ตลาดทั่วไปและตลาดออนไลน์

         สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการฯในครั้งนี้ทุกคนจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองตามมาตรการ ควบคุมโรคระบาด โควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข จ.สุราษฎร์ธานีอย่างเคร่งครัด

#มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ

#มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

#U2TSRU

ครงการที่ 2 

วันที่ 14 – 15 เดือนตุลาคมที่ผ่านมา สมาชิกวิศวกรสังคม ต.ท่ากระดาน อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี หนึ่งตำบลใน “โครงการ ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี” จัดกิจกรรมส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ ภายใต้ชื่อ โครงการพัฒนาสัมมาชีพใหม่ เพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน และสร้างองค์ความรู้สัมมาชีพใหม่ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน ณ บ้านบนนา หมู่ที่ 7 ตำบลท่ากระดาน               โดยมีนายสุชาติ สิทธิวงศ์ ให้เกียรติกล่าวเปิดโครงการ  ซึ่งการจัดอบรมมีด้วยกัน 1 กิจกรรมคือ อบรมทำก้อนเชื้อเห็ด                

โดยมี อาจารย์นายชูศักดิ์ ช่วยธรรมกิจ เป็นอาจารย์ปรึกษาโครงการ 

ส่วนของรายละเอียดของการอบรมทางตำบลท่ากระดานได้วิทยากรจาก อาจารย์ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีที่มาถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติให้กับประชนที่เข้าร่วม เช่นการเพาะเชื้อเห็ดนางฟ้า การทำก้อนเห็ดจากขี้เลื่อย การหยอดเชื้อเห็ด การดูแลรักษา และยังได้ก้อนเชื้อเห็ดกลับไปดูแลที่บ้านอีกด้วย โดยสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองตามมาตรการ ควบคุมโรคระบาด โควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข จ.สุราษฎร์ธานีอย่างเคร่งครัดอีกด้วย

#ศูนย์ประสานงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

#มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ

#มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

#U2TSRU

โคงการที่ 3 

วันที่ 27-28 ตุลาคม 2564 สมาชิกวิศวกรสังคม ต.ท่ากระดาน อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี หนึ่งตำบลใน “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี” จัดกิจกรรมส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ ภายใต้ชื่อ โครงการพัฒนาสัมมาชีพใหม่ เพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน และสร้างองค์ความรู้สัมมาชีพใหม่ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน ณ บ้านนาชะอม หมู่ที่ 3 ตำบลท่ากระดาน โดยมีนายสุชาติ สิทธิวงศ์ ให้เกียรติกล่าวเปิดโครงการ ซึ่งการจัดอบรมมีด้วยกัน 1 กิจกรรมคือ อบรมสัมมาชีพทำแหนมหมูและแหนมปลา โดยมี อาจารย์นายชูศักดิ์ ช่วยธรรมกิจ เป็นอาจารย์ปรึกษาโครงการ 

โดยสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองตามมาตรการ ควบคุมโรคระบาด โควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข จ.สุราษฎร์ธานีอย่างเคร่งครัดอีกด้วย

#วิศวกรสังคมตำบลท่ากระดาน

#ศูนย์ประสานงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

#มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ

#มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

#U2TSRU

ครงการที่ 4 

วันที่ 28-29 ตุลาคม 2564 สมาชิกวิศวกรสังคม ต.ท่ากระดาน อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี หนึ่งตำบลใน “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี” จัดกิจกรรมส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ ภายใต้ชื่อ โครงการพัฒนาสัมมาชีพใหม่ เพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน และสร้างองค์ความรู้สัมมาชีพใหม่ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน ณ โรงเรียนดอนสุวรรณ บ้านโรงกระเบื้อง หมู่ที่ 6 ตำบลท่ากระดาน โดยมีนายสุชาติ สิทธิวงศ์ ให้เกียรติกล่าวเปิดโครงการ ซึ่งการจัดอบรมมีด้วยกัน 1 กิจกรรมคือ อบรมสัมมาชีพการเป็นผู้นำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพด้วยทักษะแอโรบิคตาราง 9 ช่อง โดยมี อาจารย์นายชูศักดิ์ ช่วยธรรมกิจ เป็นอาจารย์ปรึกษาโครงการ 

โดยสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองตามมาตรการ ควบคุมโรคระบาด โควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข จ.สุราษฎร์ธานีอย่างเคร่งครัดอีกด้วย

#วิศวกรสังคมตำบลท่ากระดาน

#ศูนย์ประสานงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

#มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ

#มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

#U2TSRU

กิจกรรมอื่น ๆ 

1.วันที่ 31 ตุลาคม และ 1 พฤศจิกายน 2564 สมาชิกวิศวกรสังคม ต.ท่ากระดาน อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี หนึ่งตำบลใน “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี” จัดกิจกรรมส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ ภายใต้ชื่อ โครงการพัฒนาสัมมาชีพใหม่ เพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน และสร้างองค์ความรู้สัมมาชีพใหม่ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน ณ  บ้านโรงกระเบื้อง หมู่ที่ 6 ตำบลท่ากระดาน โดยมีนายสุชาติ สิทธิวงศ์ ให้เกียรติกล่าวเปิดโครงการ ซึ่งการจัดอบรมมีด้วยกัน 1 กิจกรรมคือ อบรมสัมมาชีพการเลี้ยงปลาในบ่อสำเร็จรูป โดยมี อาจารย์นายชูศักดิ์ ช่วยธรรมกิจ เป็นอาจารย์ปรึกษาโครงการ 

โดยสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองตามมาตรการ ควบคุมโรคระบาด โควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข จ.สุราษฎร์ธานีอย่างเคร่งครัดอีกด้วย

#วิศวกรสังคมตำบลท่ากระดาน

#ศูนย์ประสานงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

#มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ

#มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

#U2TSRU

Facebook Page : https://m.facebook.com/U2t

E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ : https://online.fliphtml5.com/ukqgu/vqmz/

Back To Top