ลำพูน บ้านนาสาร สุราษฎร์ ที่ตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลล าพูนตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลล าพูน อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เขาหัวควาย พุนพิน สุราษฎร์ธานี
ประวัติตำบล
1.ประวัติความเป็นมาของชุมชน
ตำบลเขาหัวควาย แยกจากตำบลท่าสะอ้าน เมื่อปี พ.ศ.2525 มีภูเขาหนึ่งลูกมีลักษณะเหมือนหัวควาย ซึ่งชาวเรือจะใช้เป็นหลักในการตั้งทิศทางเรือ จากไชยา ท่าธาร ในการเดินเรือเข้าสู่อ่าวบ้านดอน
2.ขนาดและที่ตั้ง
เนื้อที่ ตำบลเขาหัวควาย มีพื้นที่ทั้งหมด 29 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 18,122 ไร่พื้นที่เกษตรกรรม 12,977 ไร่ พื้นที่อื่นๆ 5,144 ไร่ โดยแบ่งเป็นหมู่บ้าน 4 หมู่บ้าน คือ
-หมู่ที่ 1 บ้านบางอ้อ
-หมู่ที่ 2 บ้านเขาหัวควาย
-หมู่ที่ 3 บ้านท่านาง
-หมู่ที่ 4 บ้านห้วยบอน
ที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลเขาหัวควาย เป็นตำบลหนึ่งในจำนวน 16 ตำบล ของอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ทำการตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ห่างจากที่ว่าการอำเภอพุนพินไปทางทิศใต้ของอำเภอพุนพินประมาณ 7.5 กิโลเมตร การเดินทางเข้าสู่พื้นที่โดยทางรถยนต์ ใช้เส้นทางสุราษฎร์-ตะกั่วป่าโดยมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่างๆ ดังนี้
-ทิศเหนือ จดเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
-ทิศใต้ จดเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
-ทิศตะวันออก จดเขตเทศบาลตำบลวัดประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
-ทิศตะวันตก จดแม่น้ำตาปี
3.ลักษณะภูมิประเทศ
หมู่ที่ 1 เป็นที่ลุ่มแม่น้ำตาปีไหลผ่าน น้ำท่วมถึงบางฤดูการใช้เป็นพื้นที่ปลูกผัก ผลไม้ ปาล์มน้ำมัน
หมู่ที่ 2,3,4 เป็นที่สูง ส่วนใหญ่ปลูกยางพรารา ผลไม้ ปาล์มน้ำมัน
4. แม่น้ำสำคัญ
แหล่งน้ำมีแม่น้ำตาปี คลองท่าสะท้อนไหลผ่าน และมีคลองบางไทร คลองคึกฤทธิ์ ในการทำเกษตร ส่วนแหล่งน้ำสำหรับครัวเรือน ได้จากประปาหมู่บ้านซึ่งเป็นแหล่งน้ำจากบ่อบาดาล
5. ภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศมีลักษณะอบอุ่นตลอดปี มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-พฤษภาคม และฤดูฝน จะมีฝนตกชุกในช่วงเดือน มิถุนายน-พฤศจิกายน
แผนที่
อินโฟกราฟิก
โครงการที่ 1
เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา วิศวกรสังคมตำบลเขาหัวควาย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย) ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี โดยมี ดร.โชติกา ภู่พงศ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบล ได้จัดกิจกรรมภายใต้ ชื่อ “โครงการการส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของคนในชุมชนตำบลเขาหัวควาย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ” ณ วัดสันติคีรีรมย์ หมู่ที่ 2 ตำบลเขาหัวควาย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีพระอธิการประยุค ยติกโร เจ้าอาวาส วัดสันติคีรีรมย์ พระนักอนุรักษ์ป่า และพันธุ์ไม้ เป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ และร่วมกันปลูกไม้เศรษฐกิจ และพืชสมุนไพร ณ วัดสันติคีรีรมย์
สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้เน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการในการปลูกต้นไม้อย่างถูกวิธี ถูกที่ ถูกฤดูกาล พร้อมทั้งบรรยายธรรม เรื่อง ธรรมะกับการอนุรักษ์ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อม ให้แก่บุคคลที่เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งผู้ที่เป็นชาวบ้านตำบลเขาหัวควาย มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 32 คน ซึ่งจะเป็นกำลังหลักในการร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และป่าไม้ของชุมชนให้ยั่งยืนต่อไป
โครงการที่ 2
เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา วิศวกรสังคมตำบลเขาหัวควาย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย) ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี โดยมี ดร.โชติกา ภู่พงศ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบล ได้จัดกิจกรรมภายใต้ ชื่อ” โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การเรียนรู้หนังตะลุง ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ อนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม” ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting โดยมีนายสุธน เกื้อสกุล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของหนังตะลุง และชีวประวัติของ นายพัฒน์ เกื้อสกุล ผู้เป็นครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 2 ,ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง พุทธศักราช 2550 และเป็นผู้ก่อตั้งหนังศรีพัฒน์ เกื้อสกุล
สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้เน้นการบรรยายความรู้ การประชาสัมพันธ์ และการปลูกฝังการอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ ให้แก่บุคคลที่เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งผู้ที่เป็นชาวบ้านตำบลเขาหัวควายและบุคคลทั่วไปที่ให้ความสนใจ มีการลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 41 คน โดยผู้ที่สนใจศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังตะลุงสามารถติดต่อขอเข้าไปเรียนรู้ได้ที่บ้านของนายสุธน เกื้อสกุล ณ หมู่ที่ 3 ต.เขาหัวควาย อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี
โครงการที่ 3
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา วิศวกรสังคมตำบลเขาหัวควาย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย) ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี โดยมี ดร.โชติกา ภู่พงศ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบล ได้จัดกิจกรรมภายใต้ชื่อ “โครงการการพัฒนาเกษตรทฤษฎีใหม่ การทำปุ๋ยอินทรีย์และฮอร์โมนเพื่อเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชนในตำบลเขาหัวควาย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี” ณ สวนลุงน้อย บ้านเลขที่ 16 หมู่3 ตำบลเขาหัวควาย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายธวัช ศรีมณี นักวิชาการการพัฒนาชุมชนชำนาญการ มาเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ สำหรับกิจการรมในครั้งนี้มีนายอนันต์ เจริญมี เป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ การทำปุ๋ยอินทรีย์และการทำปุ๋ยฮอร์โมนจากไข่ เพื่อหวังลดการใช้สารเคมี ลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ยทำการเกษตร และสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน
.
โครงการที่ 4
วิศวกรสังคมตำบลเขาหัวควาย ได้มีการดำเนิน โครงการ การยกระดับสินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชน และสินค้า OTOP ของตำบลเขาหัวควาย ผสมผสานองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี ในวันที่ 13-19 ตุลาคม 2564 ซึ่งมี 4 กิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมที่ 1ผลิตชีวภัณฑ์ควบคุมโรคพืช
เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2564 วิศวกรสังคมตำบลเขาหัวควาย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี หนึ่งในตำบลของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้จัดกิจกรรมภายใต้ชื่อ”โครงการ การยกระดับสินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชน และสินค้า OTOP ของตำบลเขาหัวควาย ผสมผสานองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี” กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการผลิตชีวภัณฑ์ควบคุมโรคพืช โดยการเลี้ยงเชื้อราไตรโคเดอร์มา NST-009 ชนิดสดเพื่อควบคุมโรคพืช ณ ศาลาประชุมหมู่บ้าน หมู่ 1 ตำบลเขาหัวควาย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
กิจกรรมที่ 2 ผลิตภัณฑ์ตะกร้าเชือกมัดฟาง
เมื่อวันที่ 14-15 ต.ค. 2564 ที่ผ่านมา วิศวกรสังคมตำบลเขาหัวควาย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย) ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี โดยมี ดร.โชติกา ภู่พงศ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบล ได้จัดกิจกรรมภายใต้ชื่อโครงการ การยกระดับสินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชน และสินค้า OTOP ของตำบลเขาหัวควาย ผสมผสานองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 2 “ผลิตภัณฑ์ตะกร้าเชือกมัดฟาง” ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 วันด้วยกัน คือ ในวันที่ 14 ต.ค. 2564 เป็นการบรรยายความรู้ เทคโนโลยี การประชาสัมพันธ์ และตลาดออนไลน์ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงศกร ศยามล เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ และในวันที่ 15 ต.ค. 2564 เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตตะกร้าเชือกมัดฟาง โดยมี คุณกฤษณาวรรณ ประดิพัทธ์นฤมล เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม และนอกจากนี้ ทางวิศวกรสังคมตำบลเขาหัวควาย ได้มีการประสานงานระหว่างชุมชน กับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพุนพิน เพื่อดำเนินการขึ้นทะเบียน OTOP ให้แก่กลุ่มตะกร้าเชือกมัดฟาง ตำบลเขาหัวควาย จนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นที่เรียบร้อยในวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 อีกด้วย
กิจกรรม ที่ 3 ผลิตภัณฑ์กล้วยกรอบแก้ว หรอยนิ
เมื่อวันที่ 16-17 ต.ค. 64 ที่ผ่านมา วิศวกรสังคมตำบลเขาหัวควาย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย) ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี โดยมี ดร.โชติกา ภู่พงศ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบล ได้จัดกิจกรรมภายใต้ชื่อโครงการ การยกระดับสินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชน และสินค้า OTOP ของตำบลเขาหัวควาย ผสมผสานองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 3 “ผลิตภัณฑ์กล้วยกรอบแก้ว หรอยนิ” ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 วันด้วยกัน คือ ในวันแรกเป็นการอบรมปฏิบัติการผลิต โดยมี นางวิภาดา เจริญมี เป็นผู้ถ่ายทอดกระบวนการผลิตกล้วยกรอบแก้ว หรอยนิ ให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม และในวันที่ 2 เป็นการบรรยายความรู้ เทคโนโลยี การประชาสัมพันธ์ และตลาดออนไลน์ โดยมีท่านอาจารย์วิรัตน์ ทองแก้ว เป็นผู้บรรยาย และ นอกจากนี้ ทางวิศวกรสังคมตำบลเขาหัวควาย ได้มีการพัฒนาโลโก้ ตราสินค้า ผลิตภัณฑ์กล้วยกรอบแก้ว หรอยนิ ให้มีเอกลักษณ์ สวยงามและโดดเด่นขึ้น และได้มีการผลักดัน และประสานงานระหว่างชุมชน กับสำนักงานเกษตรอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อดำเนินการขอจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ให้แก่กลุ่มเกษตรกรบ้านท่านาง จนได้รับหนังสือการจดวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรบ้านท่านาง เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2564
กิจกรรมที่ 4 ผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้าแม่ลูกจันทร์
เมื่อวันที่ 18-19 ตุลาคม ที่ผ่านมาทีมวิศวกรสังคม ตำบลเขาหัวควาย อำเภอพุนพิน ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย) ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมีดร.โชติกา ภู่พงศ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลได้จัดกิจกรรม โครงการการยกระดับสินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชน และสินค้า OTOP ของตำบลเขาหัวควาย ผสมผสานองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 4 ผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้าแม่ลูกจันทร์ แบ่งออกเป็น 2 กิจกรรม การอบรมเชิงปฏิบัติการเป็นการถ่ายทอดกระบวนการผลิตและเสริมสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านตำบลเขาหัวควาย และอีกกิจกรรมการอบรมตลาด โดยสอนวิธีการขายสินค้าในรูปแบบออนไลน์
วิศกรสังคมโครงการยกระะดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ) ได้ประสานงานกับสำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอพุนพิน เพื่อดำเนินการขึ้นทะเบียน OTOP ให้แก่กลุ่มตะกร้าเชือกมัดฟางและผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้าแม่ลูกจันทร์จนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นที่เรียบร้อยในวันที่ 27 กรกฎาคม 2564
กิจกรรม
-กิจกรรม Covid Week
วันที่ 27-28 พฤษภาคม 2564 ทีมวิศวกรสังคมตำบลเขาหัวควาย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดำเนินการจัดทำกิจกรรม U2T สู้ภัยโควิด โดยทีมวิศวกรสังคมตำบลเขาหัวควายได้ร่วมกันทำหน้ากากผ้า เพื่อนำไปแจกให้กับชาวบ้าน และได้ร่วมเดินรณรงค์การป้องกันโรค covid-19 โดยได้เชิญชวนให้ประชาชนไปฉีดวัคซีน และได้ร่วมกันแจกหน้ากากผ้า หน้ากากอนามัย สเปรย์แอลกอฮอล์ คู่มือการเรียนรู้สู้โควิดให้แก่ชาวบ้าน และ รพ.สต.เขาหัวควาย หลังจากนั้นได้ร่วมทำความสะอาด จัดสถานที่เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการตรวจคัดกรองโรค covid-19 ณ ศาลาเอนกประสงค์ วัดสันติคีรีรมย์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ชุมชนได้ใช้ร่วมกัน
-กิจกรรมปลูกฟ้าทะลายโจรในตำบลเขาหัวควาย
ทีมวิศวกรสังคมตำบลเขาหัวควาย ได้มีการแจกต้นฟ้าทะลายโจรให้ชาวบ้านปลูกในตำบล ทั้งหมด 100 ต้น โดยพื้นที่การปลูก 2 ต้น ต่อ 1 ตารางเมตร รวมทั้งหมด 50 ตารางเมตร
Facebook Page : https://web.facebook.com/U2T-SRU-
E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ : https://online.fliphtml5.com/dtsyf/qrsw/