skip to Main Content

เกาะเต่า เกาะพะงัน สุราษฎร์ธานี

ประวัติตำบล

เกาะเต่า เป็นเกาะในอ่าวไทย อยู่ในตำบลเกาะเต่า อำเภอเกาะพงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกาะมีรูปร่างโค้งเว้าเหมือนกับเมล็ดถั่ว เกาะตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะพงัน ห่างประมาณ 45 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 21 ตารางกิโลเมตร และมีผู้ที่อาศัยอยู่บนเกาะเต่าประมาณ 12,000 คน โดยมีแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานที่เกาะเต่ากว่า 5,000 คนที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงแรงงาน ซึ่งถือว่าเป็นเกือบสองเท่าของคนไทยในทะเบียนราษฎร กว่า 2,189 คน โดยที่เหลือเป็นประชากรแฝง นอกจากนี้ บริเวณใกล้เคียงมีเกาะนางยวนซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ ทางทิศตะวันตะวันตกเฉียงเหนือ มีสันทรายเชื่อมต่อกับเกาะเต่าในลักษณะเหมือนทะเลแหวก เป็นแหล่งดำน้ำชมปะการัง มีอาณาเขตดังนี้ 

ทิศเหนือ จดพิกัดกริด UTM ที่ N 1119300

ทิศใต้ จดพิกัดกริด UTM ที่ N 1111600

ทิศตะวันออก จดพิกัดกริด UTM ที่ E 589100

ทิศตะวันตก จดพิกัดกริด UTM ที่ E 594200

ลักษณะภูมิประเทศ 

             พื้นที่เทศบาลตำบลเกาะเต่ามีเนื้อที่ประมาณ 11,704 ไร่ หรือ 18.73 ตร.กม. รวมเกาะนางยวน เป็น 21.03 ตร.ม. 1.2 ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศของเกาะเต่านั้น พบว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่บน เกาะเต่าเป็นภูเขาซึ่งมีจุดสูงสุด 374 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางโดยแนวของภูเขาวางตัวในแนวทิศ เหนือ – ใต้ของตัวเกาะ นอกจากนี้ทางด้านทิศตะวันออกของเกาะมีลักษณะเป็นหน้าผาชัน ส่วนทางด้านทิศ ตะวันตกเป็นพื้นที่ลาดชันน้อย และเป็นพื้นที่ราบซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านละชุมชน 1.3 ลักษณะภูมิอากาศ สภาพภูมิอากาศของเกาะเต่า – เกาะนางยวน แบ่งเป็น 2 ฤดู ได้แก่ ฤดู ร้อน และฤดูฝน 1.4 ลักษณะของดิน เป็นลักษณะของดินทราย 1.5 ลักษณะทางสมุทรศาสตร์ สภาพท้องทะเลโดยรอบเกาะเต่า/เกาะนางยวน มีความลึกประมาณ 30 – 40 เมตร สภาพพื้นท้องทะเลมีความชันสูง น้ำขึ้น – น้ำลง มีลักษณะเป็นน้ำเดี่ยว (น้ำจะขึ้นและลง วันละ 1 ครั้ง) 1.6 ลักษณะของป่าไม้ ลักษณะเป็นป่าเบญจพรรณ

ภูมิอากาศ

สภาพอากาศบนเกาะจะเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจ ที่ตั้งในอ่าวไทยนอกชายฝั่งตะวันออกของแผ่นดินไทยหมายความว่าเกาะเต่ามีสภาพอากาศแบบกึ่งร้อนชื้นเกาะแห่งนี้อาจมีอากาศร้อนชื้นและมีแสงแดดตลอดทั้งปีเนื่องจากอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรทำให้ได้รับแสงแดดในเวลากลางวันปริมาณเท่ากัน

มัยเกาะเต่าเป็นคุกการเมือง

ช่วงปี พ.ศ. 2486 – 2487 เกาะเต่าถูกใช้เป็นที่คุมขังนักโทษการเมืองคดี ‘กบฏบวรเดช’ ซึ่งถูกย้ายมาจากคุกบนเกาะตะรุเตา คุกตั้งอยู่ที่อ่าวแม่หาด มีอาณาเขตประมาณ 35 ไร่ โดยมีนักโทษการเมือง 54 คน นักโทษทั่วไปอีก 50 คน และผู้คุม 15 คน ตามคำบอกเล่าของนักโทษที่เคยถูกคุมขัง เกาะเต่าคือเกาะนรกที่ล้อมรอบด้วยฉลาม ต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอด ชีวิตเต็มไปด้วยความอดอยากแร้นแค้นและโรคภัยไข้เจ็บโดยเฉพาะไข้จับสั่น

นักโทษคนนึงได้กล่าวไว้ว่า :

“ความสุขเดียวของแต่ละวัน คือ การได้เฝ้าดูพระอาทิตย์ตกลงสู่ทะเล มันช่างสวยงามจับใจ ทะเลเปลี่ยนเป็นสีม่วงชมพูตัดกับท้องฟ้าสีคราม” ในปี พ.ศ. 2487 นักโทษได้รับพระราชทานอภัยโทษและได้ถูกส่งตัวกลับบ้าน ปล่อยให้เกาะเต่ากลับมารกร้าง ไร้ผู้คนอยู่อาศัยอีกครั้ง

สมัยผู้บุกเบิกรุ่นแรก

ในปี พ.ศ. 2490 พี่น้องฝาแฝด ตาโอและตาเอื้อม ผู้บุกเบิกรุ่นแรกได้แล่นเรือใบมาจากเกาะสมุย เรือใบที่ใช้เป็นแบบโบราณ มีสองเสา ใบเรือทำจากใบมะพร้าวและผ้า พวกเขานำข้าวสารบรรทุกมากับเรือ เมื่อมาถึงเกาะเต่าได้เริ่มถางที่และหาเศษซากของคุกมาสร้างกระท่อมสำหรับพักอาศัยชั่วคราว ต่อมาพวกเขาได้พาครอบครัวมาตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของหาดทรายรี หกปีหลังจากนั้นผู้คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนเกาะพะงันเริ่มย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานและเริ่มชีวิตใหม่ที่เกาะเต่าแห่งนี้ ชีวิตความเป็นอยู่บนเกาะเต่ายุคนั้นเป็นไปอย่างเรียบง่าย พอเพียง ชาวบ้านทำมาหากินด้วยการหาปลา ทำสวนมะพร้าว ปลูกข้าว และทำสวนผลไม้ สมัยนั้นเกาะเต่ามีเต่าทะเลอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ในฤดูวางไข่ของแต่ละปีบนชายหาดจะเต็มไปด้วยลูกเต่าที่เพิ่งเกิดใหม่จนทำให้หาดทรายกลายเป็นสีดำ

สมัยนักท่องเที่ยวยุคแร

ในปี พ.ศ. 2520 นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกลุ่มแรกได้เดินทางมาเกาะเต่าเพื่อดำน้ำสำรวจธรรมชาติใต้น้ำที่อุดมสมบรูณและไม่เคยมีใครค้นพบมาก่อน พวกเขาเดินทางมากับเรือประมงและเรือบรรทุกมะพร้าว ในปี พ.ศ. 2527 ที่พักแห่งแรกของเกาะเต่าได้ถูกสร้างขึ้นที่อ่าวเทียนออก มีชื่อว่า ‘นิยมบังกะโล’ ราคาห้องคืนละ 30 บาท ตั้งแต่นั้นมาเกาะเต่าเริ่มเปลี่ยนจากการทำประมงและเพาะปลูกมาเป็นการท่องเที่ยวซึ่งได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เกาะเต่ามีสิ่งอำนวยความสะดวกและกิจกรรมการท่องเที่ยวมากมายเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาประมาณ 350,000 คนต่อปี

เฉพาะการนั่งเรือจากจุดอื่นๆเข้าไปเท่านั้น และยังมีจุดชมวิวมุมสูงที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวคือ จุดชมวิวจอห์น-สุวรรณ

ด้านการเมือง/การปกครอง 

เขตการปกครอง การปกครองของตำบลเกาะเต่า แบ่งออกเป็น 3 หมู่บ้าน 

หมู่ที่ 1 บ้านหาดทรายรี ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายวรพันธ์ ตู้วิเชียร 

หมู่ที่ 2 บ้านแม่หาด ชื่อกำนัน นายกอบชัย เสาวลักษณ์ 

หมู่ที่ 3 บ้านโฉลกบ้านเก่า ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายโกศล พงศ์ผดุงเกียรติ

ระบบเศรษฐกิจ 

       ปัจจุบันประชากรในเขตเทศบาลตำบลเกาะเต่า มีอาชีพหลักที่สำคัญ คือ การประกอบธุรกิจการ ท่องเที่ยว หรือธุรกิจเกี่ยวเนี่องกับการท่องเที่ยวเช่น ธุรกิจบังกะโล/ที่พัก ธุรกิจโรงเรียนสอนดำน้ำ ธุรกิจเรือทัวร์ รอบเกาะ ฯลฯ รองลงมาคือ การค้าขาย ทำสวนมะพร้าว ตามล าดับ ประชากรมีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างดี มีระดับรายได้เฉลี่ยครัวเรือน 240,000 บาท/ปี 

การศึกษา

    – โรงเรียนประถมศึกษา 

    – มัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง 

    –  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง

    – ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จำนวน 1 แห่ง 

สถาบันและองค์กรทางศาสนา 

    – วัด จำนวน ๑ แห่ง การนับถือศาสนา ประชาชนนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ 

ระเพณีและงานประจำปี 

     -ช่วงเดือนเมษายน งานสรงน้ำพระและรดน้ำผู้สูงอายุ 

ภูมิปัญญาท้องถิ่น 

     ภาษาถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ การละเล่นพื้นบ้าน การทำขนมไทย การจักสาน 

     ภาษาถิ่น คือ ภาษาใต้ 

สาธารณสุข 

    – โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลเกาะเต่า 1 แห่ง 

    – อาสาสมัครสาธารณสุข 3. แห่ง 

    – คลินิกทางการแพทย์ 4 แห่ง 

    – ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 9 แห่ง 

    – คลินิกพยาบาล 7 แห่ง – คลินิกทันตกรรม 1 แห่ง 

ารสังคมสงเคราะห์ 

    – ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 1169

ระบบบริการพื้นฐานการคมนาคมขนส่ง 

    – ทางหลวงท้องถิ่น จำนวน 16 

การไฟฟ้า 

    – ไฟฟ้าเข้าถึงทั้ง 3 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ ๙๕ 

การประปา 

   – มีประปาหมู่บ้าน 1 หมู่บ้าน (หมู่ที่ 3)

แผนที่

อินโฟกราฟิก

โครงการที่ 1 

โครงการฝึกทักษะด้านการสร้างเส้นทางท่องเที่ยวแบบบรูณาการและนันทนาการรูปแบบใหม่ 

เป็นกิจกรรมสร้างเส้นทางท่องเที่ยวแบบบูรณาการและนันทนาการรูปแบบใหม่ขึ้นมาใหม่ 3 เส้นทาง ณ หมูู่บ้านป่าม่วง หมู่ที่ 1 และหมู่บ้านโฉลกบ้านเก่า หมู่ที่ 3 ได้แก่ เส้นทางที่ 1 แหลมกระโจมไฟ(ไลฟ์เฮาส์) เส้นทางที่ 2 อ่าวม่วง และเส้นทางที่ 3 ต้นไทรยักษ์ เพื่อกระจายรายได้สู่ชุมชนและชาวบ้านมีรายได้หมุนเวียน  โดยมีการบอกกล่าวและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและภาคส่วนต่างๆที่เข้าร่วมทำกิจกรรมมีการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มก่อนการเข้ากิจกรรม เพื่อความปลอดภัยของทุกฝ่าย

โครงการที่ 2 

โครงการฝึกทักษะการคำนวณต้นทุนราคาเส้นทางท่องเที่ยวแบบบูรณาการและนันทนาการรูปแบบใหม่

ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลเกาะเต่า หมู่ที่ 3 และ ศาลาปันรักษ์ศูนย์การเรียนรู้รักษ์แบน โรงแรมแบนส์ไดฟ์วิ่งรีสอร์ท หมู่ที่ 1 วัตถุประสงค์ของการจัดโครงการ

1. พัฒนาการท่องเที่ยวของเกาะเต่าเป็นระบบการท่องเที่ยวแบบบูรณาการและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่กัน

2. ผู้ประกอบการรายย่อยมีการพัฒนามีรายได้

3.เกิดวามรู้ความเข้าใจทักษะการคำนวณต้นทุนราคาเส้นทางท่องเที่ยว

4.กระจายรายได้สู่ชุมชนและชาวบ้านมีรายได้หมุนเวียน

5.ลดปัญหาการว่างงานในชุมชน

โดยมีการบอกกล่าวและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและภาคส่วนต่างๆที่เข้าร่วมทำกิจกรรมมีการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มก่อนการเข้ากิจกรรม เพื่อความปลอดภัยของทุกฝ่าย

กิจกรรม 1

เริ่มจากการปลูกต้นฟ้าทะลายโจรโดยทีมวิศวกรสังคมตำบลเกาะเต่า ปลูกนำร่องที่บ้านของวิศวกรสังคมซึ่งกำลังขยายพันธให้กับชาวบ้านเพื่อนำไปปลูกเเต่ละครัวเรือนต่อไป

กิจกรรม 2

กิจกรรม COVID WEEK ทำการเชิญชวนประชาชนในพื้นที่ลงทะเบียนรับวัคซีนป้องกันโควิท 19 และร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ อสม.ตำบลเกาะเต่าร่วมกันกระจายความรู้การทำหน้ากากอนามัย และเจลล้างมือ แอลกอฮอล์ และร่วมกันทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะให้ปลอดเชื้อ เช่น วัดเกาะเต่าสันติธรรม โรงเรียนบ้านเกาะเต่า และท่าเรือแม่หาด

Facebook Page : https://www.facebook.com/kohtaoU2T

E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ : https://anyflip.com/qxpzp/ihfy/

Back To Top