skip to Main Content

บ้านยาง คีรีรัฐนิคม สุราษฎร์ธานี

ประวัติตำบล

“ตำบลบ้านยาง” แบ่งการปกครองออกเป็น 11 หมู่บ้าน ประกอบด้วยหมู่ที่ 1 บ้านยาง หมู่ที่ 2 บ้านปากหาร หมู่ที่ 3 บ้านย่านยาว หมู่ที่ 4 บ้านต้นเหรียง หมู่ที่ 5 บ้านนางแก้ว หมู่ที่ 6 บ้านปากคู หมู่ที่ 7 บ้านท่ากระดาน หมู่ที่ 8 บ้านเชี่ยวหมวง หมู่ที่ 9 บ้านเขาวง หมู่ที่ 10 บ้านหน้าเขา หมู่ที่ 11 บ้านเชี่ยวไทร ประชาชนในพื้นที่ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมยางพารา ปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้ รับจ้างทั่วไป และค้าขาย

ประวัติความเป็นมาตำบลบ้านยาง

ที่มาของคำว่าบ้านยาง จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า มีต้นยางชันต้นใหญ่ขนาดเท่าเรืออยู่ต้นหนึ่งและต้นเล็กๆ จำนวนมากขึ้นอยู่ตามพื้นที่ทุกหมู่บ้านทั่วทุกตำบล เมื่อครั้นสมัยก่อนไม่มีน้ำมันปิโตรเลียมและไฟฟ้าใช้ ดังนั้นแสงสว่างที่ได้จึงต้องอาศัยน้ำมันยางชันโดยใช้กระบอกไม้ไผ่และกาบน้ำมะพร้าวหรือเปลือกเสม็ด คลุกน้ำมันชันและห่อด้วยใบเตยหรือกาบหมากใช้เพื่อจุดเป็นแสงสว่าง (หรือเรียกว่าไต้) และประโยชน์อีกอย่างหนึ่ง คือ ใช้อุดรอยรั่วหรือภาชนะตักน้ำ ส่วนต้นยางชันยังคงเหลืออยู่แทบทุกหมู่บ้านในปัจจุบัน

ส่วนที่ ๑ สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

๑. ด้านกายภาพ

ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล

ตำบลบ้านยาง เป็นตำบลในเขตปกครองอำเภอคีรีรัฐนิคม ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของที่ว่าการอำเภอคีรี-รัฐนิคมห่างจากตัวอำเภอที่ใกล้ที่สุด ประมาณ ๕ กิโลเมตร ส่วนที่ไกลที่สุด ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๖๕.๖๐ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๔๕,๗๘๘ ไร่ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านยาง อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้ 

                 ทิศเหนือ ติดต่อ    กับตำบลน้ำหัก

                 ทิศใต้            ติดต่อ    กับตำบลท่าขนอนและพุมดวง

                 ทิศตะวันออก  ติดต่อ     กับตำบลท่ากระดาน

                 ทิศตะวันตก    ติดต่อ     กับตำบลท่าขนอน

 ๒. ลักษณะภูมิประเทศ

                สภาพพื้นที่และลักษณะประเทศของตำบลบ้านยาง ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและที่ราบต่ำ บางส่วนริมฝั่งแม่น้ำคลองยัน พื้นที่เหมาะสมสำหรับทำเกษตร เช่น ทำสวนยางพารา ทำสวนผลไม้ ปลูกผัก ปลูกปาล์มน้ำมัน ปลูกพืชไร่ และมีบางส่วนสามารถทำนาได้ประมาณ ๗ % ของพื้นที่ทั้งหมดของตำบลบ้านยาง พื้นที่ทำนา มีอยู่หมู่บ้านที่ ๑,๓,๕,๖,๙ ทุ่งนาที่ทำอยู่ประจำ คือ หมู่ที่ ๑ และหมู่ที่ ๖ พื้นที่แม่น้ำคลองยันไหลผ่าน คือ หมู่ที่ ๒,๖,๗,๙,๑๐,๔ คลองพุมดวงผ่าน หมู่ที่ ๓ และมีภูเขาขนาดเล็กในพื้นที่หลายลูกเช่น

  เขาหลุง ตั้งอยู่ เขตหมู่ที่ ๕ และหมู่ที่ ๔

  เขาทะลุ ตั้งอยู่ เขตหมู่ที่ ๕ จดแม่น้ำคลองยัน

  เขาชังกะ ตั้งอยู่ เขตหมู่ที่ ๗,๑๐,๘,๑๑

  เขาวง ตั้งอยู่ เขตหมู่ที่ ๙

  ถ้ำฤาษี ตั้งอยู่ เขตหมู่ที่ ๙

  ถ้ำแก้ว ตั้งอยู่ เขตหมู่ที่ ๕

  ถ้ำหนองไหล ตั้งอยู่ เขตหมู่ที่ ๑๑

 ๓. ลักษณะภูมิอากาศ

  สภาพภูมิอากาศของตำบลบ้านยาง ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดอ่าวไทย ดังนั้น จึงทำให้มีช่วงฤดูฝนยาวนานมากโดยกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนมกราคม

๔. ลักษณะของดิน

  สภาพพื้นที่ของตำบลบ้านยาง ส่วนใหญ่ เป็นพื้นที่เหมาะสำหรับทำเกษตร เช่น ทำสวน ยางพารา ทำสวนผลไม้ ปลูกผักปลูกปาล์มน้ำมัน ปลูกพืชไร่ และมีบางส่วนสามารถทำนาได้ประมาณ ๗ % ของพื้นที่ทั้งหมดของตำบลบ้านยาง

๕. ด้านการปกครอง/การปกครอง

  ตำบลบ้านยางแบ่งออกเป็น ๑๑ หมู่บ้าน ๑,๓๘๑ ครัวเรือน

  หมู่ที่  ๑    บ้านยาง มี          ๑๒๗     ครัวเรือน

  หมู่ที่  ๒    บ้านปากหาร มี          ๑๕๓     ครัวเรือน

  หมู่ที่  ๓    บ้านย่านยาว มี          ๑๙๘      ครัวเรือน

  หมู่ที่  ๔    บ้านต้นเหรียง มี          ๑๒๖     ครัวเรือน

  หมู่ที่  ๕    บ้านนางแก้ว มี          ๖๖        ครัวเรือน

  หมู่ที่  ๖    บ้านปากคู มี          ๑๘๗      ครัวเรือน

  หมู่ที่  ๗    บ้านท่ากระดาน มี           ๘๙        ครัวเรือน

  หมู่ที่  ๘    บ้านเชี่ยวหมวง มี          ๑๔๑       ครัวเรือน

  หมู่ที่  ๙    บ้านเขาวง มี           ๗๘         ครัวเรือน

  หมู่ที่  ๑๐  บ้านหน้าเขา มี           ๑๑๖       ครัวเรือน

  หมู่ที่  ๑๑  บ้านเชี่ยวไทร มี            ๑๐๐       ครัวเรือน

๖. ประชากร ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร 

ตำบลบ้านยาง มีประชาชน รวม ๓,๘๓๗ คน แยกเป็นชาย ๑,๘๘๗ คน  แยกเป็นหญิง ๑,๙๕๐ คน

๗. สภาพทางสังคม

               การศึกษา ระดับประถมศึกษา จำนวน ๕ แห่ง

                ๑. โรงเรียนบ้านเชี่ยวหมวง ตั้งอยู่    หมู่ที่ ๘

                ๒. โรงเรียนบ้านปากหาร ตั้งอยู่    หมู่ที่ ๒

                ๓. โรงเรียนบ้านย่านยาว ตั้งอยู่    หมู่ที่ ๓

                ๔. โรงเรียนวัดนิลาราม ตั้งอยู่    หมู่ที่ ๖

                ๕. โรงเรียนบ้านยาง ตั้งอยู่    หมู่ที่ ๑

              การศึกษา ระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๑ แห่ง 

๑. โรงเรียนคีรีรัฐวิทยาคม       ตั้งอยู่     หมู่ที่ ๑

              การศึกษา โรงเรียนเอกชน จำนวน ๑ แห่ง

               ๑. โรงเรียนอนุบาลวริศา         ตั้งอยู่     หมู่ที่ ๒

              ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๑ แห่ง 

๑. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลบ้านยาง

              สาธารณสุข จำนวน ๑ แห่ง

                ๑. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยาง 

๘. ระบบบริการพื้นฐาน 

               การคมนาคมขนส่ง (ทางบก,ทางน้ำ,ทางราง) การเดินทางมายังตำบลบ้านยาง สามารถเดินทางโดยรถยนต์ โดยใช้เส้นเส้นทางสายพุนพิน-คีรีรัฐนิคม 

การเดินทางโดยรถไฟ มีสถานีรับ-ส่ง ผู้โดยสาร ๒ แห่ง คือ

                    ๑. ที่หยุดรถเขาหลุงตั้งอยู่ที่ ๕ กับ หมู่ที่ ๓

                    ๒. ป้ายบ้านยาง ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๑

          การไฟฟ้า

                     – ไฟฟ้าทั่วถึงทุกหมู่บ้านในตำบล

การประปา

                     – มีระบบประปาหมู่บ้าน จำนวน ๑๗ แห่ง

แผนที่

อินโฟกราฟิก

โครงการที่ 1 

วันที่19-21 พฤศจิกายน 64

– กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำฐานข้อมูลชุมชนและหนังสือเล่าเรื่องวิถีชุมชนคนบ้านยาง(ปราชญ์ชาวบ้าน)

👉โดยพระสมุห์สมหมาย พลญาโณ (เจ้าอาวาสวัดวนาราม(กาซีเหนือ)) 

👉คุณจิราพร สุดสิน (ครูวุ้น)

👉คุณประจวบ วิเชียรวงศ์ ให้ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาชาวบ้านและวิถีชุมชนคนบ้านยาง

👉และ คุณ นาวา จันทร์สังสา 

       เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 จึงได้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านวิศวกรสังคมตำบลบ้านยางแทนการอบรมในประชาชนหมู่มาก เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และสำหรับวิศวกรสังคมตำบลบ้านยางผู้เข้าร่วมโครงการฯในครั้งนี้ทุกคนจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองตามมาตรการ ควบคุมโรคระบาด โควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข จ.สุราษฎร์ธานีอย่างเคร่งครัด

:

ภาพข่าว : วิศวกรสังคมตำบลบ้านยาง

โครงการที่ 2 

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การเพิ่มมูลค่าและยกระดับปลาดุกร้าสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน ระหว่างวันที่ 10-12 ตุลาคม 2564 

                 วันที่ 10 ตุลาคม 2564 วิศวกรสังคม ต.บ้านยาง อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี นำโดย อาจารย์ พรทวี พระวิวงค์ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการ เพิ่มมูลค่าและยกระดับปลาดุกร้าสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน ณ ศาลาหมู่ 7 ตำบลบ้านยาง อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

         ซึ่งเป็นกิจกรรมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ชุมชน มีการแลกเปลี่ยนความคิดการคิดชื่อแบรนด์และผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้เป็นจุดเด่นที่น่าสนใจ โดยมีวิทยากรจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี มาถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับวิศวกรสังคมตำบลบ้านยาง เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดแก่ประชาชนตำบลบ้านยางได้ต่อยอดการสร้างรายได้ภายในตำบลบ้านยางเพื่อยกระดับสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้เป็นสินค้า Otop ในอนาคต

               วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2564 การอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ทางโครงการฯได้อาจารย์จากวิทยาลัยอาชีวศึกษามาเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับวิศวกรที่เข้าร่วมอบรมดังกล่าว ซึ่งการอบรมในครั้งนี้ได้ถ่ายทอดความรู้ในการออกแบบแบรนด์โลโก้ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้าผ่านกระบวนการซีนปลาดุกร้าแล้วนำไปบรรจุลงกล่องบรรจุภัณฑ์พร้อมใช้ ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดสร้างอาชีพได้ในอนาคต

           วันที่ 12 ตุลาคม 2564 วิศวกรสังคม ต.บ้านยาง อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี นำโดย อาจารย์ พรทวี พระวิวงค์ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการ เพิ่มมูลค่าและยกระดับปลาดุกร้าสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน ณ ศาลาหมู่ 7 ตำบลบ้านยาง อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

         ซึ่งเป็นกิจกรรมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการทำตลาดออนไลน์ เช่น การเปิดร้าน E-commerce 1). การเปิดร้านบน Shopee 2). การเปิดร้านบน Facebook Page 3). การเปิดร้านบนสื่อออนไลน์ต่างๆ โดยมีวิทยากรจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี มาถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับวิศวกรสังคมตำบลบ้านยาง เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดแก่ประชาชนตำบลบ้านยางได้ต่อยอดการสร้างรายได้ภายในตำบลบ้านยางเพื่อยกระดับสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้เป็นสินค้า Otop ในอนาคต

เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 สำหรับวิศวกรสังคมตำบลบ้านยางและประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการฯในครั้งนี้ทุกคนจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองตามมาตรการ ควบคุมโรคระบาด โควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข จ.สุราษฎร์ธานีอย่างเคร่งครัด

ภาพ : วิศวกรสังคม ต.บ้านยาง

โครงการที่ 3 

30 ตุลาคม 2564

       วันนี้ เวลา 09:00 น. เริ่มพิธีเปิดโครงการการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย) ตำบลบ้านยาง อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยโดยมี กำนันศุภชัย พืชผล และ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ต่างๆในตำบลบ้านยางมาเป็นผู้เปิดพิธี

กิจกรรมแรก การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (อุทกภัย)

        ในช่วงฤดูฝน หลายพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย โดยเฉพาะที่ราบลุ่ม ที่ลาดเชิงเขา และริมฝั่งแม่น้ำ ซึ่งตำบลบ้านยางก็เป็น1ในพื้นที่เสี่ยงภัยเช่นกัน เพื่อป้องกันและลดผลกระทบที่เกิดจากอุทกภัย อาจารย์ พรทวี พระวิวงค์ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการ จึงได้เรียนเชิญ คุณธีรยุทธ ขำยินดี (หัวหน้าทีม) และลูกทีมจากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด มาเป็นวิทยากรแนะนำการเตรียมพร้อมรับมือ และปฏิบัติตนอย่างปลอดภัยเมื่อเกิดอุทกภัยแก่วิศวกรสังคมตำบลบ้านยาง กำนัน ผู้ใหญ่บ้านเพื่อที่จะนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้แก่ประชาชนตำบลบ้านยาง

31 ตุลาคม 2564

       สำหรับกิจกรรมในวันนี้ต้องบอกเลยว่าสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี งานไฟ งานร้อน งานลุย เราชาววิศวกรสังคมตำบลบ้านยางก็ไม่หวั่น

กิจกรรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (อัคคีภัย)

       เริ่มแรกเรามารู้จักอัคคีภัยกันก่อนว่าอัคคีภัยคืออะไร 👉🏻 อัคคีภัย คือ ภัยใกล้ตัวที่เกิดขึ้นบ่อยคร้ัง ส่วนใหญ่มีสาเหตุ จากความประมาท และความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งแต่ละครั้ง ที่เกิดเพลิงไหม้ สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน อย่างมหาศาล โดยเฉพาะหากเกิดในชุมชนแออัด อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้า และโรงงานอุตสาหกรรม จะยิ่งสร้างความเสียหายมากข้ึน 

       ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยต่อประชาชนและวิศวกรสังคมตำบลบ้านยาง อาจารย์ พรทวี พระวิวงค์ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการ จึงได้เรียนเชิญ คุณธีรยุทธ ขำยินดี (หัวหน้าทีม) และลูกทีมจากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด มาเป็นวิทยากรแนะนำสาเหตุการเกิด วิธีป้องกันเพลิงไหม้ รวมถึงการปฏิบัติตน และอพยพออกจากอาคารที่เกิดเพลิงไหม้อย่างปลอดภัยแก่วิศวกรสังคมตำบลบ้านยาง เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดแก่ประชาชนตำบลบ้านยาง หลังเสร็จสิ้นกิจกรรมอาจารย์พรทวี พระวิวงค์เป็นผู้ดำเนินการปิดกิจกรรมในครั้งนี้

       เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 สำหรับวิศวกรสังคมตำบลบ้านยางและประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการฯในครั้งนี้ทุกคนจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองตามมาตรการ ควบคุมโรคระบาด โควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข จ.สุราษฎร์ธานีอย่างเคร่งครัด

ภาพ : วิศวกรสังคม ต.บ้านยาง

โครงการที่ 4 

วิศวกรสังคมตำบลบ้านยาง อ.คีรีรัฐนิคม หนึ่งตำบลในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้จัดพัฒนาส่งเสริมสัมมาชีพ 15 ครัวเรือนยากจนสู่การสร้างรายได้อย่างมั่นคง กับ 6 กิจกรรม หวังสร้างรายได้ให้ครัวเรือนยากจน กับกิจกรรมเลี้ยงปลาดุก/การแปรรูปปลาดุก กิจกรรมแปลงผักพอเพียง/การแปรรูปผัก และกิจกรรมเพาะเห็ดฟาง/การแปรรูปเห็ดฟาง ระหว่างวันที่ 8 – 15 กันยายน 2564 ณ ชุมชนหมู่ 1 ต.บ้านยาง อ.คีรีรัฐนิคม  จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยวันที่8-9 กันยายน จัดกิจกรรม การเลี้ยงปลาดุก วันที่ 10-11 กันยายน เป็นกิจกรรมแปลงผักพอเพียง  วันที่ 12 กันยายน  กิจกรรมเพาะเห็ดฟาง  13 กันยายน กิจกรรมแปรรูปปลาดุก  14 กันยายน กิจกรรมแปรรูปพริก และวันที่ 15 กันยายน เป็นกิจกรรมแปรรูปเห็ดฟาง โดยมีนายธีระยุทธ อ่อนทอง และนางสาวจิตรา ช่วยบางเดื่อ เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ โดยมีคุณพรทวี พระวิวงค์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ

    โดยผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองตามมาตรการ ควบคุมโรคระบาด โควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข จ.สุราษฎร์ธานีอย่างเคร่งครัด

ภาพ : วิศวกรสังคม ต.บ้านยาง

Facebook Page : https://www.facebook.com/U2T-SRU-

E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ : http://online.anyflip.com/rtnhn/lrai/mobile/index.html

Back To Top