บางนอน เมืองระนอง ระนอง อดีต ตำบลบางนอน อยู่ในเขตการปกครองของตำบลปากน้ำ แต่ประชากรและหมู่บ้านเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2490 ได้จัดตั้งตำบลบางนอนแยกออกจากตำบลปากน้ำ ซึ่งแยกออกมาปกครองตนเอง โดยที่ตำบลบางนอน อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมือง ต่อมามีประกาศกระทรวงมหาดไทย จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบางนอนตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2538 และเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2554 มีประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลบางนอน มีดวงตราประจำตำบลเป็นรูป พระพุทธรูปปางไสยาสน์ (พระนอน) ข้อมูลที่ 1 เมื่อสมัยก่อน ได้มีคนเข้ามาทำเหมืองแร่ในหมู่บ้านบางนอน โดยมีการขุดเหมืองแร่จำนวนหลายเหมือง เพราะในเขตพื้นที่บ้านบางนอนในขณะนั้นมีสายแร่ดีบุกดีอยู่เป็นจำนวนมาก อยู่มาวันหนึ่งได้พบพระพุทธรูปองค์หนึ่งอยู่ในรางเหมืองแร่ เป็นปางพระพุทธไสยาสน์ หรือพระนอน การขุดพบพระนอนในครั้งนี้ ทำให้ประชาชนในพื้นที่คิดว่าเป็นนิมิตหมายอันดี พระองค์นี้คงเป็นสิริมงคลของหมู่บ้าน จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านบางนอน” ตามที่พบพระพุทธไสยาสน์ หรือพระนอนในครั้งนั้น ต่อมาได้มีพระสงฆ์รูปหนึ่งธุดงค์ล่องเรือมาจากสงขลา ขึ้นฝั่งที่ท่าน้ำในตำบลปากน้ำ พระสงฆ์รูปนั้น ชื่อว่า หลวงพ่อด่วน ถามวโร ท่านได้สร้างวัดและหล่อพระนอนองค์ใหญ่แทนพระนอนองค์เล็กที่ขุดพบในครั้งนั้น พระนอนองค์ใหญ่ประดิษฐ์สถานอยู่ที่วัดบางนอนมาถึงปัจจุบัน ข้อมูลที่ 2 คนสมัยก่อนได้มีการสัญจรไป - มา ผ่านตำบลบางนอนต้องอาศัยทางเท้าในการเดินทาง คนส่วนใหญ่จะเดินเท้าจากเมืองระนอง เพื่อไปที่หมู่บ้านเขาทะลุ หรือจากหมู่บ้านเขาทะลุเดินทางมายังเมืองระนองใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 2 วัน เมื่อมาถึงหมู่บ้านบางนอน (บาง หมายถึง คลอง) ก็มืดค่ำพอดีและจำเป็นต้องพักค้างคืนที่หมู่บ้านแห่งนี้ รุ่งเช้าจึงออกเดินทาง ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงบอกเล่าและพูดถึงหมู่บ้าน โดยใช้ชื่อว่า “บ้านบางนอน” ข้อมูลที่ 3 สมัยก่อนมีเด็กเลี้ยงควายหลายคนที่เดินทางมาจากหมู่บ้านอื่น จูงความเข้ามากินหญ้าในหมู่บ้านบางนอน ในขณะนั้นหมู่บ้านบางนอนมีทุ่งหญ้าขนาดกว้าง ทำให้เด็กเลี้ยงควายจูงควายเข้ามากินหญ้าบ่อยครั้ง แต่เด็กจูงควายไม่ใช่คนในพื้นที่บ้านบางนอน และครั้นแต่ก่อนหมู่บ้านบางนอนมีชื่อว่า “บ้านลาวนอน” ทำให้เด็กจูงควาย ฟังและพูดผิดเพี้ยน และเล่าผู้อื่นว่า หมู่บ้านที่ตนจูงควายไปกินหญ้าบ่อยๆ มีชื่อว่าบ้านบางนอน ทำให้ผู้อื่นรู้จักและเดินทางเข้ามาในหมู่บ้าน เรียกชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านบางนอน”
เกาะพยาม เมืองระนอง ระนอง
ประวัติตำบล
ท่านเจ้าเมืองระนอง (พระยาระนอง) ได้ออกสํารวจพื้นที่หมู่เกาะต่างๆรวมถึงเกาะ พยาม ปรากฏว่ามีพวกล่าอาณานิคม คือทหารชาวอังกฤษได้มาอาศัยในพื้นที่เกาะ พยาม เพราะคิดว่าเป็นเขตแดนของประเทศพม่า แต่จริงๆแล้วพื้นที่แห่งนี้เป็นเขต แดนของประเทศไทยจึงได้ขอให้ชาวอังกฤษออกจากพื้นที่ เมื่อชาวอังกฤษออกจาก พื้นที่จึงได้ให้นายสาด กล้าศึก ที่ติดตามท่านมาด้วยให้เกณฑ์พรรคพวกเข้ามาอยู่ แทน ซึ่งท่านเจ้าเมืองระนอง และคณะได้สํารวจพื้นที่รอบเกาะกินเวลาหนึ่งยามจึง ตั้งชอื่ว่าเกาะยามและมีเรื่องเล่าว่าชาวประมงหนีทหารพม่ามาที่เกาะพยามแล้ว ชาวประมงได้เห็นหินสีขาวแล้วคิดว่าที่ตรงนี้มีสิ่งศักดิ์จงึ ได้บนบานศาลกล่าวให้รอด พ้นจากทหารพม่า หลังจากนั้นชาวประมงก็ได้รอดพ้นจึงทําให้เกิดความศรัทธา และได้ตั้งศาลเล็กๆขึ้นมาเพื่อกราบไหว้ ท่านเจ้าเมืองระนอง (พระยาระนอง) ได้ ออกสํารวจพื้นที่เกาะพยามปรากฎว่ามีพวกล่าอาณานิคมคือ ทหารชาวอังกฤษ ได้มาอาศัยในพื้นที่เกาะพยามจึงได้ขอให้ทหารออกจากพื้นที่บนเกาะ และท่านเจ้า เมืองก็ได้ให้นายสาดและผู้ติดตามมาเฝ้าอยู่ที่เกาะและมอบไก่ให้ครอบครัวละ 1 คู่ และมะม่วงหิมพานต์ครัวละ 1 กํา มาปลูกเลี้ยงชีพบนเกาะพ.ศ.2463 ได้แต่งตั้งให้นายสาด กล้าศึก เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 ตําบลปากน้ํา อําเภอเมือง จังหวัดระนอง จากนั้นได้มีการพัฒนาเกาะพยามจนกระทั้งปลดเกษียณ พ.ศ.2500นายสําเภา ศิริสัมพันธ์ ได้รับสัมปทานการเลี้ยงหอยมุกจากรัฐบาล โดยใช้พื้นที่บน เกาะพยามในการใช้เพาะเลี้ยง ต่อมาก็ได้มีการเรียกชื่อเกาะว่า เกาะพยาม เพราะ การเดินทางของชาวบ้านลําบาก พ.ศ.2501 นายเม่ง เรืองโรจน์ เดิมเป็นชาวเกาะพงัน สํารวจเกาะช้าง พร้อมด้วยญาติ เข้าไป จับจองพื้นที่ทําการเกษตร พ.ศ.2515ก่อตั้งวัดเกาะพยามที่เดียวกับโรงเรียนบ้านเกาะพยามในปัจจุบันก่อตั้งโรงเรยีน บ้านเกาะพยาม โดยมีนายทวีป ง่วนชู เป็นคุณครูใหญ่คนแรก และได้เปิดสอนชั้น ประถมศึกษาตั้งแต่ประถม 1-4 โดยพื้นที่ได้รับบริจาคจากนายสุพล นันทกิจ 20 ไร่ และนายละออง บุญภักดี 10 ไร่ มีอาคารเรียน ป.1 จํานวน 2 ห้อง พ.ศ.2527ได้มีการรวมทั้ง 2 เกาะ คือ เกาะพยาม และเกาะช้าง เป็นตําบลโดยให้หมู่ 1 คือ เกาะพยาม และหมู่ 2 คือ เกาะช้าง นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ในปีนี้ ด้วย(เกาะช้าง) พ.ศ.2543จัดตั้งกลุ่มสตรีแปรรูป OTOP มะม่วงหิมพานต์ (กาหยู) จนเป็นอาชีพหลัก พ.ศ.2553สถานีอนามัยเกาะพยามได้ถูกยกระดับมาเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล และได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ฉุกเฉิน และคณะกรรมการกจิ การ กระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และบริษัทกสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) จัดโครงการให้บริการโทรคมนาคมขั้นพื้นฐานโดยทงั่ ถึง และบริการเพื่อสังคมสําหรับโรงเรียนที่ไม่มีไฟฟ้า พ.ศ.2560ก่อตั้งและจดทะเบียนกลุ่มวิสาหกิจการแปรรูป ท่องเที่ยว และสร้างความรู้พื้นฐาน ต่าง ๆ และสร้างวิสัยทัศน์การพัฒนาเกาะพยาม-เกาะช้าง คือ เกาะพยาม-เกาะ ช้าง แหล่งท่องเที่ยวเกษตรยั่งยืน กาหยูหวาน หาดทรายสวย ชุมชนมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีและยั่งยืน และมีบริษัทพีเจ เพาว์เวอร์ จํากัด มาผลิตและจําหน่ายไฟฟ้า และได้มีการสร้างท่าเทียบเรือเกาะพยามเสร็จสมบูรณ์ และสร้างอาคารอนุบาล อาคาร62พรรษา เจ้าฟ้าสิรินธร ที่โรงเรียนบ้านเกาะช้าง, หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ (พอสว.)มาตรวจฟันและสุขภาพให้เด็กนักเรียนบ้านเกาะช้าง, ชมรม To be number 1 โรงเรียนบ้างเกาะช้างร่วมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรต พ.ศ.2564 บูรณะโบสถ์กลางน้ํา และได้ร่างโครงการสร้างโซลาร์เซลล์
แผนที่
อินโฟกราฟิก
โครงการที่ 2
เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ถึง 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา วิศวกรสังคมตำบลเกาะพยาม อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย) ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี นำทีมโดยอาจารย์อภิสรา ธนาพงษ์ภิชาติ (ที่ปรึกษาประจำตำบล) ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม/circular economy เพิ่มรายได้หมุนเวียน โดยมีนายอดิศักดิ์ ขาวผ่อง เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้เรื่องการจัดการดูแลพื้นที่และสิ่งแวดล้อม ธนาคารปูม้า การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และมีผู้ช่วยศาสตร์จารย์พงศกร ศยามล เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ตลาดปูม้า และการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และได้มีการลงพื้นที่ปฏิบัติการเก็บขยะและแยกขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้โดยมีการร่วมมือจาก ทสจ.ระนอง ธ.ก.ส.ระนอง ชาวเกาะพยาม คุณครูอำนาจและชาวมอแกนเกาะพยาม วิสาหกิจชุมชน ท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนเกาะพยามรวมถึงนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ และสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการฯทุกคนจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองตามมาตรการควบคุมโรคระบาด โควิด-19 ของสาธารณสุข อย่างเคร่งครัดอีกด้วย
กิจกรรม 1
Covid-19 week
Facebook Page : https://www.facebook.com/U2T-
E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ : https://online.pubhtml5.com/rybd/rznl/#p=1