skip to Main Content

เกาะพยาม เมืองระนอง ระนอง

ประวัติตำบล

ท่านเจ้าเมืองระนอง (พระยาระนอง) ได้ออกสํารวจพื้นที่หมู่เกาะต่างๆรวมถึงเกาะ พยาม ปรากฏว่ามีพวกล่าอาณานิคม คือทหารชาวอังกฤษได้มาอาศัยในพื้นที่เกาะ พยาม เพราะคิดว่าเป็นเขตแดนของประเทศพม่า แต่จริงๆแล้วพื้นที่แห่งนี้เป็นเขต แดนของประเทศไทยจึงได้ขอให้ชาวอังกฤษออกจากพื้นที่ เมื่อชาวอังกฤษออกจาก พื้นที่จึงได้ให้นายสาด กล้าศึก ที่ติดตามท่านมาด้วยให้เกณฑ์พรรคพวกเข้ามาอยู่ แทน ซึ่งท่านเจ้าเมืองระนอง และคณะได้สํารวจพื้นที่รอบเกาะกินเวลาหนึ่งยามจึง ตั้งชอื่ว่าเกาะยามและมีเรื่องเล่าว่าชาวประมงหนีทหารพม่ามาที่เกาะพยามแล้ว ชาวประมงได้เห็นหินสีขาวแล้วคิดว่าที่ตรงนี้มีสิ่งศักดิ์จงึ ได้บนบานศาลกล่าวให้รอด พ้นจากทหารพม่า หลังจากนั้นชาวประมงก็ได้รอดพ้นจึงทําให้เกิดความศรัทธา และได้ตั้งศาลเล็กๆขึ้นมาเพื่อกราบไหว้ ท่านเจ้าเมืองระนอง (พระยาระนอง) ได้ ออกสํารวจพื้นที่เกาะพยามปรากฎว่ามีพวกล่าอาณานิคมคือ ทหารชาวอังกฤษ ได้มาอาศัยในพื้นที่เกาะพยามจึงได้ขอให้ทหารออกจากพื้นที่บนเกาะ และท่านเจ้า เมืองก็ได้ให้นายสาดและผู้ติดตามมาเฝ้าอยู่ที่เกาะและมอบไก่ให้ครอบครัวละ 1 คู่ และมะม่วงหิมพานต์ครัวละ 1 กํา มาปลูกเลี้ยงชีพบนเกาะพ.ศ.2463 ได้แต่งตั้งให้นายสาด กล้าศึก เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 ตําบลปากน้ํา อําเภอเมือง จังหวัดระนอง จากนั้นได้มีการพัฒนาเกาะพยามจนกระทั้งปลดเกษียณ พ.ศ.2500นายสําเภา ศิริสัมพันธ์ ได้รับสัมปทานการเลี้ยงหอยมุกจากรัฐบาล โดยใช้พื้นที่บน เกาะพยามในการใช้เพาะเลี้ยง ต่อมาก็ได้มีการเรียกชื่อเกาะว่า เกาะพยาม เพราะ การเดินทางของชาวบ้านลําบาก พ.ศ.2501 นายเม่ง เรืองโรจน์ เดิมเป็นชาวเกาะพงัน สํารวจเกาะช้าง พร้อมด้วยญาติ เข้าไป จับจองพื้นที่ทําการเกษตร พ.ศ.2515ก่อตั้งวัดเกาะพยามที่เดียวกับโรงเรียนบ้านเกาะพยามในปัจจุบันก่อตั้งโรงเรยีน บ้านเกาะพยาม โดยมีนายทวีป ง่วนชู เป็นคุณครูใหญ่คนแรก และได้เปิดสอนชั้น ประถมศึกษาตั้งแต่ประถม 1-4 โดยพื้นที่ได้รับบริจาคจากนายสุพล นันทกิจ 20 ไร่ และนายละออง บุญภักดี 10 ไร่ มีอาคารเรียน ป.1 จํานวน 2 ห้อง พ.ศ.2527ได้มีการรวมทั้ง 2 เกาะ คือ เกาะพยาม และเกาะช้าง เป็นตําบลโดยให้หมู่ 1 คือ เกาะพยาม และหมู่ 2 คือ เกาะช้าง นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ในปีนี้ ด้วย(เกาะช้าง) พ.ศ.2543จัดตั้งกลุ่มสตรีแปรรูป OTOP มะม่วงหิมพานต์ (กาหยู) จนเป็นอาชีพหลัก พ.ศ.2553สถานีอนามัยเกาะพยามได้ถูกยกระดับมาเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล และได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ฉุกเฉิน และคณะกรรมการกจิ การ กระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และบริษัทกสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) จัดโครงการให้บริการโทรคมนาคมขั้นพื้นฐานโดยทงั่ ถึง และบริการเพื่อสังคมสําหรับโรงเรียนที่ไม่มีไฟฟ้า พ.ศ.2560ก่อตั้งและจดทะเบียนกลุ่มวิสาหกิจการแปรรูป ท่องเที่ยว และสร้างความรู้พื้นฐาน ต่าง ๆ และสร้างวิสัยทัศน์การพัฒนาเกาะพยาม-เกาะช้าง คือ เกาะพยาม-เกาะ ช้าง แหล่งท่องเที่ยวเกษตรยั่งยืน กาหยูหวาน หาดทรายสวย ชุมชนมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีและยั่งยืน และมีบริษัทพีเจ เพาว์เวอร์ จํากัด มาผลิตและจําหน่ายไฟฟ้า และได้มีการสร้างท่าเทียบเรือเกาะพยามเสร็จสมบูรณ์ และสร้างอาคารอนุบาล อาคาร62พรรษา เจ้าฟ้าสิรินธร ที่โรงเรียนบ้านเกาะช้าง, หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ (พอสว.)มาตรวจฟันและสุขภาพให้เด็กนักเรียนบ้านเกาะช้าง, ชมรม To be number 1 โรงเรียนบ้างเกาะช้างร่วมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรต    พ.ศ.2564 บูรณะโบสถ์กลางน้ํา และได้ร่างโครงการสร้างโซลาร์เซลล์

แผนที่

อินโฟกราฟิก


โครงการที่ 1 
เมื่อวันที่ 29-30 ตุลาคมที่ผ่านมา วิศวกรสังคมตำบลเกาะพยาม อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย) ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี นำทีมโดยอาจารย์อภิสรา ธนาพงษ์ภิชาติ (ที่ปรึกษาประจำตำบล) ได้จัดกิจกรรม อบรมถ่ายทอดความรู้เพื่อยกระดับสินค้าทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ชุมชน และสินค้า OTOP ของตำบลเกาะพยาม ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล ขายสินค้าและบริการผ่านสมาร์ทโฟน โดยมี นางรุ่งนภา ประสพบุญ เป็นวิทยากรในการอบรมเชิงปฎิบัติการผลิกแกงไตปลาแห้งเม็ดมะม่วงหิมพานต์ และมี ผู้ช่วยศาสตร์จารย์พงศกร ศยามล เป็นวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ด้านการตลาดออนไลน์ ความสำคัญของฉลากสินค้าและการออกแบบรวมถึงการสร้าง web page เพื่อใช้ในการตลาด ให้แก่ชาวบ้านและผู้ประกอบการ และสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการฯทุกคนจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองตามมาตรการควบคุมโรคระบาด โควิด-19 ของสาธารณสุข อย่างเคร่งครัดอีกด้วย

โครงการที่ 2 

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ถึง 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา วิศวกรสังคมตำบลเกาะพยาม อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย) ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี นำทีมโดยอาจารย์อภิสรา ธนาพงษ์ภิชาติ (ที่ปรึกษาประจำตำบล) ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม/circular economy เพิ่มรายได้หมุนเวียน โดยมีนายอดิศักดิ์ ขาวผ่อง เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้เรื่องการจัดการดูแลพื้นที่และสิ่งแวดล้อม ธนาคารปูม้า การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และมีผู้ช่วยศาสตร์จารย์พงศกร ศยามล เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ตลาดปูม้า และการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และได้มีการลงพื้นที่ปฏิบัติการเก็บขยะและแยกขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้โดยมีการร่วมมือจาก ทสจ.ระนอง ธ.ก.ส.ระนอง ชาวเกาะพยาม คุณครูอำนาจและชาวมอแกนเกาะพยาม วิสาหกิจชุมชน ท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนเกาะพยามรวมถึงนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ และสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการฯทุกคนจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองตามมาตรการควบคุมโรคระบาด โควิด-19 ของสาธารณสุข อย่างเคร่งครัดอีกด้วย

กิจกรรม 1

Covid-19 week

Facebook Page : https://www.facebook.com/U2T-

E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ : https://online.pubhtml5.com/rybd/rznl/#p=1

Back To Top