ปากทรง พะโต๊ะ ชุมพร ตำบลปากทรง เหตุที่ชาวบ้านเรียกชื่อนี้ สันนิษฐานว่า เจ้าเมืองระนองและเจ้าเมืองหลังสวนเป็นญาติกัน การเดินทางไปเยี่ยมเยียนกันในสมัยก่อนนั้น ไม่มีถนนจึงต้องทรงช้างไปเมืองหลังสวน เมื่อมาถึงปากแม่น้ำก็ต้องลงเรือต่อไปอีก ชาวบ้านเห็นเจ้าเมืองทรงช้างมาลงเรือที่ปากแม่น้ำ จึงเรียกบริเวณนี้ว่า "ปากทรง" และได้ยกเป็นตำบลมาจนถึงทุกวันนี้
ตะโก ทุ่งตะโก ชุมพร
ประวัติความเป็นมา
ได้ปรากฏหลักฐานการสร้างเมืองนครศรีธรรมราช ว่ามีการสร้างเมืองสิบสองนักษัตร เป็นเมืองบริวารซึ่งหนึ่งในจำนวนนี้คือเมืองชุมพร ซึ่งมีศักดิ์เป็นเมืองตรีและมีเมืองขึ้นเล็กๆ อีก 7 เมืองด้วยกัน คือ เมืองปะทิว เมืองท่าแซะ เมืองเมลิวัน เมืองกระ (ปัจจุบัน คือ อ.กระบุรี) เมืองระนอง เมือง หลังสวน และเมืองตะโก ต่อมาในภายหลัง ได้รวมเอาเมืองกำเนิดนพคุณ (คือ อ.บางสะพานน้อย) เข้ามาด้วย เมืองตะโกจึงได้มีชื่อในประวัติศาสตร์ตั้งแต่บัดนั้น และได้ถูกจัดให้เป็นหัวเมืองจัตวาชั้นเอก และที่มีความสำคัญเนื่องจากเป็นทางผ่านของกองทัพที่ยกมาจากเมืองหลวง ทั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงธนบุรี และ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ดังปรากฏความตอนหนึ่งในสมัยกรุงธนบุรีว่า เมื่อปีกุน เอกศกล.ส. 1137 (พ.ศ.2312) พระเจ้ากรุงธนบุรี ได้โปรดเกล้าให้พระยาจักรียกทัพไปตีเมืองนครศรีธรรมราชมาถึงเมืองชุมพร นายมั่นชาวเมืองชุมพร ให้หาสมัครพรรคพวกจากเมืองชุมพร และเมืองตะโก เข้าเป็นกองอาสาศึก และฝึกทหารที่เมืองตะโกบริเวณใกล้วัดธรรมถาวร ในปัจจุบัน ซึ่งในสมัยนั้นชาวบ้านเรียกว่า ดอนหัดม้า มีตาขุนเพชรเป็นหัวหน้า และต่อมาในสมัยกรุรัตนโกสินทร์ ปีมะเส็ง สัปตศก จ.ศ.1147 (พ.ศ.2328) พม่าได้ยกทัพมาตีเมืองไทยทางเมืองระนอง เมืองกระ เมืองชุมพร เมืองตะโก และเมืองไชยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาสรสิงหานาท ยกทัพเรือขึ้นบกที่เมืองชุมพร เพื่อช่วยเหลือหัวเมืองปักใต้ โดยเดินทัพผ่านเมืองตะโก เมืองหลังสวน ไปสู้กันที่เมืองไชยา เมืองตะโกถูกพม่าตีแตกและเผาทำลายจนสิ้นซากพร้อมกับเมืองชุมพร จึงเป็นเมืองที่ไร้ชื่อตลอดมา จากหลักฐานที่ปรากฏว่าคนสุดท้ายที่รักษาเมืองตะโก คือ หมื่นรามราชรักษา จนถึง พ.ศ. 2440 เมืองตะโกได้ถูกลดฐานะลงมาเป็นตำบล ขึ้นกับเมืองสวีตลอดมา ต่อมา พ.ศ. 2518 นายประมวล กุลมาต ส.ส. เมืองชุมพร ได้เสนอเรื่องต่อกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอยก ต.ตะโก ต.ปากตะโก และ ต.ทุ่งตะไคร ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอทุ่งตะโก จึงได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่มที่ 93 ตอนที่ 106 เรื่องแบ่งท้องที่อำเภอสวี จ.ชุมพร และตั้งเป็นกิ่งอำเภอทุ่งตะโก ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2519 ตำบลตะโกเป็นตำบลหนึ่งใน 4 ตำบล ของอำเภอทุ่งตะโก ตั้งชื่อตามคลองโก และต้นไม้ชนิดหนึ่งคือต้นตะโก โดยขุนผาซึ่งเป็นกำนันในขณะนั้นได้ตั้งชื่อตำบล เป็นตำบลตะโกจนถึงปัจจุบัน ประชาชนส่วนใหญ่พูดภาษาไทยภาคใต้ นับถือศาสนาพุทธ ปัจจุบันตำบลตะโกมี 14 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านท่าทอง บ้านท่า บ้านคลองเพรา บ้านแหลมยางนา บ้านทับช้าง บ้านควนดิน บ้านดอนเมา บ้านเขาเหรง บ้านควนเสาธง บ้านฉานเรน บ้านเนินทอง บ้านห้วยคล้า บ้านคลองลาด และบ้านสามแยกจำปา ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม เช่น การเพาะปลูกไม้ผล การเลี้ยงกุ้ง การเลี้ยงปลา การเลี้ยงสุกร อาชีพทางด้านการเกษตรกรรมจึงถือเป็นอาชีพและรายได้หลักของประชาชนในพื้นที่
ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร มีพื้นที่ขนาด 127 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 79,375 ไร่
อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอทุ่งตะโกไปทางทิศใต้ ระยะทาง 5 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขต ตำบลช่องไม้แก้ว อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร
ทิศใต้ ติดต่อกับเขต ตำบลนาขา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขต ตำบลเขาค่าย อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขต ตำบลปากตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของตำบลตะโก ทางทิศตะวันตกเป็นพื้นที่ภูเขาสูงลาดต่ำลงมา ด้านทิศตะวันออกมีลักษณะเป็นที่สูง ที่ราบลุ่มน้ำท่วมขัง และป่าชายเลนพรุกระจูดหนูกระจูดใหญ่ ในพื้นที่หมู่ที่ 6 หมู่ที่ 9 และหมู่ที่ 12 บางส่วน
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื้น อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู ซึ่งมี 3 ฤดู ดังนี้
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนมกราคมของทุกปี
ฤดูหนาว เริ่มตั้งเดือนธันวาคม ถึงเดือนมกราคมของทุกปี
ลักษณะของดิน
ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร ลักษณะดินพบเป็นดินเหนียว ดินเหนียวปนหิน ดินเหนียวปนร่วน ไม้ผลที่เหมาะกับลักษณะดินนี้ ได้แก่ เงาะ มังคุด ทุเรียน ส้มโชกุน กาแฟ ยางพารา ปาล์ม
ลักษณะของแหล่งน้ำ
มีแหล่งน้ำสายสำคัญ 4 สายตัดผ่าน ได้แก่
1. คลองเพรา ไหลผ่านหมู่ที่ 2 , 3 , 4 , 5 , 7 , 13
2. คลองกรูด ไหลผ่านหมู่ที่ 1
3. คลองโชน ไหลผ่านหมู่ที่ 8
4. คลองตะโก ไหลผ่านหมู่ที่ 10 , 15
โดยประชาชนส่วนใหญ่จะใช้น้ำจากคลองเพราเป็นหลัก
ส่วนที่ 2 ด้านการเมืองการปกครอง
เขตการปกครอง
ตำบลตตะโก แบ่งเขตการปกครองท้องที่ ออกเป็น 14 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านท่าทอง
หมู่ที่ 2 บ้านท่า
หมู่ที่ 3 บ้านคลองเพรา
หมู่ที่ 4 บ้านแหลมยางนา
หมู่ที่ 5 บ้านทับช้าง
หมู่ที่ 6 บ้านควนดิน
หมู่ที่ 7 บ้านดอนเมา
หมู่ที่ 8 บ้านเขาเหรง
หมู่ที่ 9 บ้านควนเสาธง
หมู่ที่ 10 บ้านฉานเรน
หมู่ที่ 11 บ้านเนินทอง
หมู่ที่ 12 บ้านห้วยคล้า
หมู่ที่ 13 บ้านคลองลาด
หมู่ที่ 14 บ้านสามแยกจำปา
ประชากร
ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร มีประชากรทั้งหมด 9,037 คน
แยกเป็นเพศชาย 4,526 คน เพศหญิง 4,511 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 71 คน/ตารางกิโลเมตร
ส่วนที่ 3 สภาพทางสังคม
การศึกษา
สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 6 แห่ง ดังนี้
1. โรงเรียนวัดท่าทอง สถานที่ตั้งหมู่ที่ 1 บ้านท่าทอง
2. โรงเรียนชุมชนวัดท่าสุธาราม สถานที่ตั้งหมู่ที่ 2 บ้านท่า
3. โรงเรียนแหลมยางนา สถานที่ตั้งหมู่ที่ 4 บ้านแหลมยางนา
4. โรงเรียนบ้านทับช้าง สถานที่ตั้งหมู่ที่ 5 บ้านทับช้าง
5. โรงเรียนวัดเทพนิมิตวนาราม สถานที่ตั้งหมู่ที่ 8 บ้านเขาเหรง
6. โรงเรียนบ้านสามแยกจำปา สถานที่ตั้งหมู่ที่ 14 บ้านสามแยกจำปา
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 แห่งดังนี้
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเกษตรตะโก สถานที่ตั้งหมู่ที่ ตำบลตะโก
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนทับช้าง สถานที่ตั้งหมู่ที่ 5 บ้านทับช้าง
3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสามแยกจำปา สถานที่ตั้งหมู่ที่ 14 บ้านสามแยกจำปา
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ( กศน. ) จำนวน 1 แห่งดังนี้
1. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร สถานที่ตั้งหมู่ที่ 8 บ้านเขาเหรง
สาธารณสุข
สถานพยาบาลของรัฐ จำนวน 3 แห่ง ดังนี้
1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโก ที่ตั้งหมู่ที่ 2 บ้านท่า มีเขตพื้นที่ในการรับผิดชอบ 6 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 1 บ้านท่าทอง
หมู่ที่ 2 บ้านท่า
หมู่ที่ 3 บ้านคลองเพรา
หมู่ที่ 6 บ้านควนดิน
หมู่ที่ 9 บ้านควนเสาธง
หมู่ที่ 12 บ้านห้วยคล้า
2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทับช้าง ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 บ้านทับช้าง มีเขตพื้นที่ในการรับผิดชอบ 4 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 5 บ้านทับช้าง
หมู่ที่ 7 บ้านดอนเมา
หมู่ที่ 11 บ้านเนินทอง
หมู่ที่ 13 บ้านคลองลาด
3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามแยกจำปา ตั้งอยู่หมู่ที่ 14 บ้านสามแยกจำปา มีเขตพื้นที่ในการรับผิดชอบ 4 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 4 บ้านแหลมยางนา
หมู่ที่ 8 บ้านเขาเหรง
หมู่ที่ 10 บ้านฉานเรน
หมู่ที่ 14 บ้านสามแยกจำปา
แผนที่
อินโฟกราฟิก
โครงการที่ 1
กิจกรรมพัฒนา “ยุวมัคคุเทศก์ชุมชน” เพิ่มทักษะและองค์ความรู้สู่ผู้นำการท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวท้องถิ่น
กิจกรรมย่อย 1) เพิ่มองค์ความรู้ สู่การเป็นยุวมัคคุเทศก์ท้องถิ่น
2) วางรากฐานการเป็นยุวมัคคุเทศก์ที่ดี
3) สร้างยุวมัคคุเทศก์ที่มีความเต็มใจให้บริการ
4) นำความรู้สู่การฝึกปฏิบัติภาคสนาม
5) จัดทำหนังสือประวัติศาสตร์ชุมชน สร้างศูนย์การเรียนรู้ชุมชน เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
วันที่ 30-31 ตุลาคม , 1-3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
สถานที่จัดโครงการ ศาลาหมู่บ้าน หมู่ 6 บ้านควนดิน ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร
เป้าหมาย
1) เยาวชนและประชาชนในชุมชน จำนวน 40 คน
2) หนังสือประวัติศาสตร์ชุมชนจำนวน 100 เล่ม
3) ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน 1 ศูนย์
แบ่งกิจกรรมออกเป็น 5 วัน ดังนี้…
วันที่ 30-31 ตุลาคม 2564 : เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ การให้ความรู้เรื่องตำบลตะโก ประวัติความเป็นมาของตำบลตะโก , สถานที่ท่องเที่ยวในตำบลตะโก และอบรมเชิงปฏิบัติการ เพิ่มองค์ความรู้ สู่การเป็นยุวมัคคุเทศก์ท้องถิ่น , การวางรากฐานการเป็นยุวมัคคุเทศก์ที่ดี , ยุวมัคคุเทศก์ที่มีความเต็มใจให้บริการ , การนำความรู้สู่การฝึกปฏิบัติภาคสนาม
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 : เป็นกิจกรรมต่อยอดความรู้ หลังจากการอบรมเชิงปฏิบัติการ 2 วันที่ผ่านมา คือกิจกรรมการลงพื้นที่ สถานที่ท่องเที่ยวภายในตำบลตะโก และจัดทำคลิปวีดีโอ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว โดยมัคคุเทศก์น้อยของตำบลตะโก ที่ได้ผ่านการอบรมมาแล้ว โดยเป็นการร่วมมือกันระหว่างวิศวกรสังคมตำบลตะโก และยุวมัคคุเทศก์ชุมชนตำบลตะโก
วันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2564 : เป็นการจัดทำศูนย์การเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวของตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร ณ หมู่ 10 บ้านฉานเรน ต.ตะโก อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร
กิจกรรมอื่น ๆ
1. กิจกรรมปลูกฟ้าทลายโจร ของตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร
2. กิจกรรม U2T Covid Week
Facebook Page : https://web.facebook.com/U2T-SRU-
E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ : https://online.pubhtml5.com/ebtpp/oexl/