skip to Main Content

คลองศก พนม สุราษฎร์ธานี

ประวัติตำบล

ตำบลคลองศก เดิมชาวบ้านเรียกว่า “บ้านศก” ก่อนหน้านั้นเรียกว่า “บ้านศพ” เพราะมีเขาลูกหนึ่งรูปร่างคล้ายยักษ์ตนหนึ่งนอนตาย สมัยก่อนเป็นหมู่บ้านกลางป่าแต่อุดมสมบูรณ์ ต่อมาเกิดโรคระบาดชาวบ้านตายเป็นจำนวนมาก บ้านศพจึงกลายเป็นบ้านร้าง ต่อมาเปลี่ยนเป็น “คลองศก” เพราะมีลำคลองศกไหลผ่านเกือบทุกหมู่บ้านในตำบล แบ่งอาณาเขตการปกครอง เป็น 8 หมู่บ้าน ดังนี้ 

หมู่ที่ 1 บ้านสองพี่น้อง มีพื้นที่รวมประมาณ 4,291 ไร่

หมู่ที่ 2 บ้านบางหมาน มีพื้นที่รวมประมาณ 3,245 ไร่

หมู่ที่ 3 บ้านเชียวปง มีพื้นที่รวมประมาณ 2,450 ไร่

หมู่ที่ 4 บ้างสะพานเต่า มีพื้นที่รวมประมาณ 6,350 ไร่

หมู่ที่ 5 บ้างหญ้าปล้อง มีพื้นที่รวมประมาณ 3,300 ไร่

หมู่ที่ 6 บ้านบางปรุ มีพื้นที่รวมประมาณ 22,500 ไร่

หมู่ที่ 7 บ้านบางบอน มีพื้นที่รวมประมาณ 3,510 ไร่

หมู่ที่ 8 บ้านคลองพนม มีพื้นที่รวมประมาณ 6,740 ไร่

1. สภาพทั่วไป

1.1 ที่ตั้ง

          มีเนื้อที่ประมาณ 52,386 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะเป็นภูเขา มีพื้นที่ราบประมาณ 10 % ของพื้นที่ โดยทั่วไปจะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ มีลำคลองศกไหลผ่าน โดยมีอาณาเขตติดกับพื้นที่ตําบลต่าง ๆ ดังนี้

      ทิศเหนือ   ติดต่อกับอำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา

                ทิศใต้       ติดต่อกับอำเภอกะปง จังหวัดพังงา

                 ทิศตะวันออก   ติดต่อกับตำบลพนม และตำบลพลูเถื่อน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

                 ทิศตะวันตก     ติดต่อกับอำเภอกะปง และอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

1.2 ลักษณะภูมิประเทศ

         มีลักษณะเป็นภูเขา มีพื้นที่ราบประมาณ 10 % ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่โดยทั่วไปจะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ลำคลองธรรมชาติสายสำคัญได้แก่ คลองศก ซึ่งมีทิศทางการไหลจากทิศตะวันตก สู่ทางด้านทิศตะวันออก โดยจะไหลผ่านตามซอกเขาต่าง ๆ ซึ่งมีธรรมชาติที่สวยงาม นอกจากนี้จะมีลำห้วยขนาดเล็ก ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำที่ไหลรวมกันลงสู่คลองศกโดยทั่วไปของพื้นที่

 1.3 ลักษณะภูมิอากาศ 

พื้นที่ตำบลคลองศก มีฝนตกชุกเกือบตลอดปี เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทั้งจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ประกอบกับลักษณะของพื้นที่ซึ่งเป็นภูเขาสูงมีป่าไม้ปกคลุมอย่างหนาแน่นที่กั้นขวางอยู่ จึงเป็นเหตุให้มีฝนตกมากกว่าในท้องที่ทั่วๆ ไป มีฤดูกาลที่สามารถแยกได้อย่างชัดเจน 2 ฤดูคือ  ฤดูฝน เริ่มจากเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม  ฤดูร้อน เริ่มจากเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน และในฤดูฝนจะมีฝนตกชุกในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม และฤดูร้อนจะมีอากาศร้อนสูงสุดเดือนเมษายน

1.4 ประชากร

            ประชากรทั้งสิ้นตามทะเบียนราษฎร์ 7,221 คน แยกเป็น 

                  เพศชาย 3,664 คน 

                  เพศหญิง 3,557 คน 

                  ครัวเรือนทั้งหมด 2,560 ครัวเรือน 

1.5 ลักษณะของดิน

ลักษณะของดินในพื้นที่เป็นดินร่วน ดินเหนียว พื้นดินสูงเหมาะแก่การปลุกยางพารา ปาร์มน้ำมัน

1.6 ลักษณะขงแหล่งน้ำ 

ตำบลคลองศกมีแหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่าน ได้แก่ ลำน้ำคลองศก

1.7 ลักษณะของไม้และป่าไม้

ในพื้นที่อยู่ในเขตป่าดิบชื้นและเป็นป่าสมบูรณ์

2. สภาพสังคม

  2.1 สถาบันการศึกษา

ตำบลคลองศกมีสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งสิ้น 4 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รวม 3 แห่ง ดังนี้ 

รงเรียนประถมศึกษา 4 แห่ง ได้แก่

1. โรงเรียนวัดสองพี่น้อง จำนวนนักเรียน 190 คน

2. โรงเรียนบ้านปางปรุ จำนวนนักเรียน 157 คน

3. โรงเรียนบ้านหญ้าปล้อง จำนวนนักเรียน 193 คน 

4. โรงเรียนวัดถ้ำวราราม จำนวนนักเรียน 251 คน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน 3 แห่ง ได้แก่

1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.คลองศก จำนวนนักเรียน 24 คน

2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดสองพี่น้อง จำนวนนักเรียน 28 คน

3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบางปรุ จำนวนนักเรียน 17 คน

2.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา

          ประชาชนตำบลคลองศกทั้งหมดมีเชื้อสายไทยนับถือศาสนาพุทธ โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจต่าง ๆ ซึ่งได้แก่งานบุญงานประเพณีต่าง ๆ มีองค์กรต่าง ๆ ดังนี้

วัด/ สำนักสงฆ์ 4 แห่ง ได้แก่

1. วัดสองพี่น้อง 

2. วัดถ้ำพันธุรัตน์ 

3. วัดถ้ำวราราม 

4. สำนักสงฆ์ถ้ำแสงทอง

ประเพณีและงานประจำปี

– ช่วงเดือนเมษายน งานรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ซึ่งจัดกิจกรรมในวัดถ้ำวราราม หมู่ที่ 4 บ้านสะพานเต่า ตำบลคลองศก

– ช่วงเดือนพฤศจิกายน จัดงานลอยกระทง ในพื้นที่ หมู่ที่ 1 บ้านสองพี่น้อง

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

– ข้าวหลาม คือ กลุ่มแม่บ้านคลองศก

– นวดแผนโบราณ คือ ประชากรในพื้นที่

หมู่ที่ ๒ บ้านบางหมาน

หมู่ที่ 6 บ้านบางปรุ

2.3 สาธารณสุข

สถานีอนามัยประจำตำบล 2 แห่ง ได้แก่

1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองศก 

2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสองพี่น้อง

2.4 ไปรษณีย์

ตำบลคลองศก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี รหัสไปรษณีย์ 84250

2.5 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

        – จุดตรวจประจำตำบล 1 แห่ง

        – จุดตรวจของสถานีตำรวจ 1 แห่ง

      – สถานีตำรวจภูธรพนม

        – หมู่บ้าน อพป.  8 แห่ง

2.6 อาชญากรรม    

–    

2.7 ยาเสพติด    

ปัญหายาเสพติดมีพื้นที่เฝ้าระวัง คือ ทั้งพื้นที่หมู่ที่ 1-8 ตำบลคลองศก     

2.8 การสังคมสงเคราะห์    

องค์การบริหารส่วนตำบลคลองศกได้คอยให้การช่วยเหลือร่วมกับสาธารณสุขตำบลในการ ออกพื้นที่ตรวจเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง

3. สภาพเศรษฐกิจ

  3.1 อาชีพ

การประกอบอาชีพ ประชากรในองค์การบริหารส่วนตำบลคลองศก ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประมาณร้อยละ 90 รองลงมาคือธุรกิจการท่องเที่ยว รับจ้าง ค้าขาย และรับราชการ การประกอบอาชีพรับจ้าง เมื่อว่างจากเกษตรกรรม โดยเป็นแรงงานรับจ้างทั่วไปตามพื้นที่เกษตรกรรม หรือเดินทางเข้าไปในตัวจังหวัด เป็นแรงงานช่างฝีมือและการบริการ อาชีพที่ทำรายได้มากที่สุด คือการทำสวนยาง สวนผลไม้ ธุรกิจท่องเที่ยว มีบังกะโล 350 ห้อง มัคคุเทศก์ 70 คน ไว้รับรองนักท่องเที่ยว 

3.2 การปศุสัตว์ 

ตำบลคลองศกมีการปศุสัตว์ คือ การเลี้ยงโค และการเลี้ยงสุกร ในบางหมู่บ้านของตำบลคลองศก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี       

3.3 การบริการ    

บริการนวดแผนไทย ที่กลุ่มนวดแผนไทย หมู่ที่ 6 บ้านบางปรุ ตำบลคลองศก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี   

1. ร้าน เสริมสวย            จำนวน   9    แห่ง   

2. โรงแรมในพื้นที่   จำนวน   47  แห่ง       

3. รีสอร์ท ในพื้นที่   จำนวน     –    แห่ง      

4. ปั้มน้ำมันและก๊าซ  จำนวน   20  แห่ง    

5. ร้านค้า          จำนวน   42  แห่ง   

6. ธุรกิจการท่องเที่ยว   จำนวน   7    แห่ง   

7. ร้านอาหาร    จำนวน   65  แห่ง

3.4 การท่องเที่ยว 

อุทยานแห่งชาติเขาสก และอุทยานแห่งชาติคลองพนม            

3.5 อุตสาหกรรม 

ตำบลคลองศก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานีไม่มีอุตสาหกรรมในพื้นที่            

3.6 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ    

1. กลุ่ม ธกส.           1 กลุ่ม   

2. กลุ่มออมทรัพย์          8 กลุ่ม   

3. กลุ่มเกษตร                   1 กลุ่ม   

4 กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต   1 กลุ่ม   

5. กลุ่มสหกรณ์การเกษตร            1 กลุ่ม   

6. กลุ่มผลิตไม้กวาดดอกเลา    1 กลุ่ม             

3.7 แรงงาน  

ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมได้แก่ ทำสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน และสวนผลไม้ที่เหลือประกอบอาชีพส่วนตัวและรับจ้าง

4. การบริการพื้นฐาน

  การคมนาคม

4.1 การคมนาคมทางบก

          เป็นเส้นทางการคมนาคมที่สำคัญที่สุดใน ตำบลที่ใช้ในการติดต่อระหว่างชุมชนและขนส่ง ผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาด เส้นทางคมนาคมสายสำคัญใน องค์การบริหารส่วนตำบล คลองศก ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 ซึ่งผ่านทางตอนกลางของตำบลเป็นเส้นทางสายหลักในการติดต่อระหว่างหมู่บ้านต่าง ๆ ในตำบล รวมทั้งติดต่อกับชุมชนอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียงนอกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 แล้วจะมีเส้นทางแยกเข้าหมู่บ้านต่าง ๆ ในตำบลซึ่งโดยมากจะเป็นถนนดินมีขนาดกว้างประมาณ 6 เมตร

4.2 การคมนาคมทางน้ำ

           สภาพปัจจุบันในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองศกจะมีคลองและลำห้วยธรรมชาติไหลผ่านอยู่โดยทั่วไป และลำห้วยมีสภาพคดเคี้ยวและตื้น จะมีน้ำมากในเฉพาะฤดูฝน เหมาะสมแก่การล่องเรือแคนู แพ และใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และระบายน้ำในตำบล

4.3 การโทรคมนาคม

      – โทรศัพท์ใช้จานดาวเทียม 8 แห่ง

      – โทรศัพท์บ้าน 200 แห่ง

4.4 การไฟฟ้า

      ปัจจุบันการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ขยายเขตให้การบริการในตำบลคลองศกทุกหมู่บ้านแต่ยังไม่มีบริการทุกครัวเรือน

4.5 โทรศัพท์   

ปัจจุบันทุกหมู่บ้าน ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นส่วนใหญ่

4.6 การประปา

มีการประปา จำนวน 4 หมู่ ได้แก่ หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 8

4.7 แหล่งน้ำ

แหล่งน้ำธรรมชาติ

– ลำน้ำ, ลำห้วย  7 สาย

– คลองสก – คลองสองพี่น้อง

– คลองโตน – คลองบางหมาน 

– คลองบางนุ้ย – คลองบางวัว – ฯ

– บึง, หนอง 10 แห่ง

– น้ำตก 10 แห่ง

– น้ำตกธารสวรรค์ – น้ำตกโตนบางวัว

– น้ำตกแม่ยาย

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้นมา

– ระบบประปาหมู่บ้าน 5 แห่ง

– ฝ่าย 10 แห่ง

– ฝายกักเก็บน้ำคลองโตน  – ฝายน้ำล้นคลองสองพี่น้อง

– บ่อน้ำตื้น 7 แห่ง

– บ่อโยก 7 แห่ง

ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ และแหล่งท่องเที่ยว

– ศิลปหัตกรรมประเภทไม้ไผ่หวาย 3 แห่ง

– การเกษตรของไทยเกี่ยวกับจุดรวมผลไม้ 1 แห่ง

– มีมรดกทางธรรมชาติได้แก่

        – ถ้ำจำนวน 8 แห่ง ได้แก่ 

– ถ้ำแก้ว – ถ้ำน้ำลอด 

– ถ้ำค้างคาว – ถ้ำผึ้ง 

– ถ้ำเรียน – ถ้ำลูกน้ำ 

– ถ้ำพันธุรัตน์

 – น้ำตกจำนวน 10 แห่ง ได้แก่   

– น้ำธารสวรรค์ – น้ำตกโตนบางวัว 

– น้ำตกแม่ยาย

– แหล่งอนุรักษ์พันธุ์ปลา 2 แห่ง ได้แก่ 

– วัดถ้ำวราราม  – บ้านนาใต้ 107

– มีกีฬาและกิจกรรม ได้แก่

– กีฬาฟุตบอลคลองศกคัพ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี

 – การล่องเรือแคนูในลำน้ำคลองศก คลองพนม

– การเดินป่าชมธรรมชาติในอุทยานแห่งชาติเขาศกและอุทยานแห่งชาติ      

  คลองพนม

 – การเดินป่าส่องดูนกป่าหายาก สัตว์ป่าหายาก

 – การเดินป่าชมดอกบัวผุด (ดอกไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี)

4.8 ป่าไม้

ในพื้นที่อยู่ในเขตป่าชื้นและป่าสมบูรณ์

4.9 ภูเขา           

ในพื้นที่เป็นที่ภูเขาสูง            

4.10 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ 

ในพื้นที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ทรัพยากรป่าไม้ที่สมบูรณ์ ซึ่ง เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ สามารถนำรายได้เข้าท้องที่ เช่น ธุรกิจกิจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ 

5. คณะผู้บริหาร

1. นายธีรยุทธ   แต่งนวล       นายกองค์การบริหารส่วนตำบล

2. นายเกรียงไกร ชุ่มอักษร    เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

3. นายสุรศักดิ์        อิ่มใจดี  รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

4. นายพงศกร        ฤกษ์อุไร    รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสภา

ภาพแผนที่

อินโฟกราฟิก

โครงการที่ 1 

วันที่ 12 ตุลาคม 2564 

คณะทำงานวิศวกรสังคมตำบลคลองศก 

อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี 

ภายใต้โครงการของกระทรวง อว. ที่มีมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี เป็นผู้บริหารโครงการ ได้ร่วมกับส่วนราชการ ท้องถิ่น ผู้นำชุมชน กลุ่มแม่บ้าน จัดทำสเปรย์กันยุงสมุนไพร โฉมใหม่ ที่มีบรรจุภัณฑ์ที่น่าสนใจ เพื่อเป็นตัวเลือกในการเลือกซื้อได้ง่ายต่อผู้บริโภค

โครงการที่ 2

เมื่อวันที่ 10-11 พฤศจิกายน 2564 

คณะทีมวิศวกรสังคม ตำบลคลองศก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน ภายใต้โครงการการยกระดับเศรษฐกิจสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ณ จุดชมวิวกิโลเมตรที่ 99 และเส้นทางศึกษาธรรมชาติจุดชมวิวกิโลเมตรที่ 99-คลองแปะ หมู่ที่ 5 ตำบลคลองศก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับเกียรติจาก นายพิษณุ อัคนี สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขตพนม เป็นประธานและวิทยากรในการเปิดโครงการฯ นายวชร สุรเชษฐพงษ์ นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ หัวหน้าเขตจัดการที่ 1 (เขาสก) ได้มาให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการปลูกปอเทืองละหญ้าแฝกในบริเวณของรัฐ และนายณัฐวุฒิ จุลสงค์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษสำนักงานพัฒนาที่ดิน เขต 11 มีการสาธิตวิธีการปลูกหญ้าแฝก โดยทีมวิศวกรสังคมตำบลคลองศก ได้เรียนรู้การปลูกหญ้าแฝกและได้เรียนรู้เขตพื้นที่ต้องห้ามที่ไม่ให้ปลูกพื้นต่างๆ บริเวณของรัฐ เพื่อไม่ให้สัตว์ป่าที่อยู่บริเวณใกล้เคียงให้ออกมารบกวนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น 

สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ได้ผ่านการคัดกรองตามมาตรการ ควบคุมโรคระบาด โควิด19 อย่างเคร่งครัด เเละได้สวมหน้ากากอนามัยตลอดการจัดกิจกรรม เเละต้องขอขอบคุณ อสม. ตำบลคลองศก ที่มาคอยคัดกรองผู้เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้

โครงการที่ 3 

เมื่อวันที่ 19 พฤษจิกายน พ.ศ.2564 ที่ผ่านมา วิศวกรสังคมตำบลคลองศก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใต้โครงการการยกระดับเศรษฐกิจสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) กิจกรรมการสร้างสัมมาชีพใหม่ให้กับคนในชุมชน ได้แก่ การเลี้ยงปลาดุก และการเพาะเห็ดนางฟ้าจากก้อนสำเร็จ ณ ศาลาประชุม หมู่ 3 ตำบลคลองศก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

การจัดอบรมในครั้งนี้วิศวกรสังคมตำบลคลองศก ได้รับเกียรติจาก นายพิษณุ อัคนี สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขตพนม เป็นประธานในการเปิดโครงการฯ และนายสุรพล สมเกื้อ มาเป็นวิทยากรในการบรรยาย เรื่อง การเลี้ยงปลาดุกอย่างไรให้รอด การเพาะเห็ดอย่างไรให้ออกดอกดี  เพื่อครัวเรือนยากจนสามารถพัฒนาอาชีพ สร้างอาชีพ อย่างมั่นคง สร้างความเข้มแข็งให้ครัวเรือนยากจน และสามารถส่งเสริมสนับสนุนครัวเรือนเป้าหมายสัมมาชีพให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 

ถึงแม้ว่าสถานการณ์โรคระบาดในขณะนี้ยังไม่เบาบางลง แต่การอบรมและการเรียนรู้ยังคงเดินหน้าต่อไปได้ไม่หยุดชะงัก ภายใต้มาตรการคัดกรองการแพร่ระบาด COVID-19 อย่างเคร่งครัด

กิจกรรม 1

COVID WEEK

กิจกรรมอื่น ๆ 2

ฟ้าทะลายโจร

Facebook Page : https://www.facebook.com/U2T

E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ : https://online.pubhtml5.com/yicsv/uhsm/#p=1

Back To Top