ลำพูน บ้านนาสาร สุราษฎร์ ที่ตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลล าพูนตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลล าพูน อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สินปุน พระแสง สุราษฎร์ธานี
ประวัติตำบลอย่างละเอียด
ประวัติความเป็นมาของชุมชน
ความหมายคำว่า “สินปุน” ตามคำบอกเล่าว่ามาจากคลองสินปุนเนื่องจากตำบลสินปุน มีพื้นที่ติดกับคลองดังกล่าว และในสมัยก่อนราษฎรได้ใช้ลำคลองนี้ในการค้าขายส่งสินค้า และสัญจรไปมาสินค้าต่าง ๆ ของราษฎรจำนวนมากที่ขนส่งทางเรือได้ปะปนกันไม่สามารถแยกได้ว่าของผู้ใด เนื่องจากความลำบากในการลำเลียงทางลำคลอง จึงเป็นที่มาของชื่อคลองสินปน ได้เพี้ยนกันมาเป็นคลองสินปุน และเมื่อประมาณ 100 ปี เศษ ทางราชการได้ตั้งตำบลสินปุน ตามชื่อของคลองสินปุนมาจนถึงปัจจุบันอีก นัยหนึ่งสมัยก่อนชาวบ้านมีทรัพย์สินเหลือเก็บ และมีความลำบากในการรักษาเนื่องจากมีผู้ร้ายออกมาปล้นแย่งชิงทรัพย์สิน เพื่อความปลอดภัยในการเก็บรักษาทรัพย์สินเหล่านั้น จึงนำทรัพย์สินส่วนหนึ่งไปฝากไว้ที่บ้านของกำนัล เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีธนาคาร กำนันได้นำทรัพย์สินของชาวบ้านมารวมกันไว้หรือที่เรียกว่า ปน เมื่อยิ่งนานเข้าทรัพย์สินก็มีมากขึ้นจึงเรียกทรัพย์สินเหล่านั้นว่า สินปน รวมทั้งการเรียกเป็นชื่อของ “บ้านสินปน” นานเข้าจึงเพี้ยน กันจนกลายเป็นตำบลสินปุน ในปัจจุบัน
ตำบลสินปุน นับได้ว่ามีประวัติความเป็นมาหลายด้านหนึ่งในนั้นคือความประทับใจ และการระลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ คือ ในครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเสด็จมาเพื่อประกอบพระราชกรณียกิจที่อำเภอพระแสงถึง 4 ครั้งด้วยกัน และได้ทรงพระราชทานรถแทรกเตอร์ บูเดอร์เซอร์ D4 ให้กับอำเภอพระแสง เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2511 เพื่อให้ไว้ใช้ในการก่อสร้างถนน และการตัดถนนทางต่าง ๆ ซึ่งตำบลสินปุน ในขณะนั้นได้รับการอานิสงส์ในการสร้างถนนหลายสาย โดยเฉพาะสายตำบล สายสุขาภิบาลย่านดินแดง ตำบลสินเจริญ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาด้านการคมนาคมเลยก็ว่าได้ ในสมัยก่อนนั้น ตำบลสินปุนใช้การคมนาคมทางน้ำ ก็คือแม่น้ำตาปีนั่นเอง แม่น้ำตาปีมีต้นกำเนิดอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช แม่น้ำตาปีถือเป็นแม่น้ำสายหลัก ที่หล่อเลี้ยงชีวิตคน และเป็นเส้นทางในการสัญจรกรมนาคมโดยการใช้เรือหางยาว หรือเรือเร็วในการเดินทางไปยังอำเภอพระแสง และบ้านดอนอีกทั้งยังมีคลองอิปันเป็นคลองสาขาซึ่งมีต้นน้ำอยู่ที่จังหวัดกระบี่โดยไหลมาบรรจบกับแม่น้ำตาปีถือเป็นแหล่งที่มาของตำนาน ตาปี-อิปัน นั่นเองและมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าในสมัยก่อนมียายแก่คนหนึ่งชื่อ ยายปัน ได้อาศัยเรือล่องมาทางแม่น้ำตาปีจากตำบลท่าข้ามอำเภอพุนพินมาถึงปากแม่น้ำคลองอิปัน คนในพื้นที่เรียกว่าปากปัน ยายปันก็ถามว่าที่นี่คือที่ไหนนายท้ายเรือจึงบอกว่า คลองอิปัน ยายปั่นจึงบอกว่าขอลงที่นี่เพราะที่นี่มีชื่อคล้องกับชื่อของยายก่อนลงจากเรือยายปันได้ให้ขมิ้นนายท้ายเรือ 1 ก้อน เพื่อเป็นค่าตอบแทน ซึ่งว่ากันว่า ยายปันได้กระโดดลงจากเรือแล้วกลายเป็นจระเข้ตัวใหญ่ แล้วขมิ้นที่ยายปันให้ไว้แท้ที่จริงแล้วเป็นทองคำนั่นเอง
ตำนานที่เล่าต่อกันมา เมื่อวันพระ 15 ค่ำ ดวงจันทร์เต็มดวงจะมีการสู้รบที่เป็นตำนานประวัติศาสตร์ เป็นการต่อสู้ครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อแย่งชิงแม่ศรีวันทองหรือแม่ยายปากปัน แม่ศรีวันทองได้แปลงกายเป็นผู้หญิงที่มีร่างกายที่สวยสง่าและงดงามมาก จึงก่อให้เกิดการสู้รบระหว่าง พญาท่าข้ามที่มีร่างกายเป็นจระเข้ พร้อมด้วยสมุนจระเข้น้อยใหญ่กับพระยายอดน้ำซึ่งมีร่างกายเป็นพญางูใหญ่ และมีบริวารเป็นงูเล็กงูใหญ่ต่างก็ช่วยกันสู้รบเพื่อแย่งชิงแม่ศรีวันทอง จนทำให้น้ำทั้งคลองขุ่นแดงเป็นสีแดงเลือด ทั้งคลองตาปีกลายเป็นที่มาของย่านดินแดง และตาบี – อิปัน ซึ่งในเวลาต่อมาทุกวันพระ15 ค่ำ ผู้คนก็จะเห็นแม่ศรีวันทองหรือแม่ยายปากปัน ได้ปรากฎกายให้ชาวบ้านเห็นและได้เคารพบูชา ชาวบ้านในละแวกนั้นจึงตั้งศาลให้ ต่อมานายสามารถ สวัสดิวงค์ ได้มีการบูรณศาลให้ดูดี ชาวบ้านได้มากราบไหว้บูชาจนถึงปัจจุบัน
ภาพแผนที่
อินโฟกราฟิกสรุปงาน
โครงการที่ 1 (ข่าวสั้น) *
โครงการส่งเสริมศูนย์เรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ป่าห้วยแม่ชีวิปัสสนา ตำบลสินปุน อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
1. กิจกรรมการสำรวจชื่อต้นไม้ป่าห้วยแม่ชีวิปัสสนาและการจัดทำป้ายข้อมูลต้นไม้
โดย QR – Code โดยจัดกิจกรรมวันที่ 9 – 10 ตุลาคม 2564 (ต่อ)
1.1.สำรวจต้นไม้ภายในป่าห้วยแม่ชี
1.2.ทำป้ายต้นไม้ด้วย QR code
1.3.ทาสีป้ายต่างๆ
2. กิจกรรมการอบรมจัดทำระบบจองคอร์ดปฏิบัติธรรมออนไลน์และทักษะการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์และ โดยจัดกิจกรรมวันที่ 11 – 12 ตุลาคม 2564
2.1.สร้างเพจให้ป่าห้วยแม่ชีวิปัสสนา
2.2.จัดทำระบบจองคอร์ดปฏิบัติธรรมออนไลน์ให้ป่าห้วยแม่ชีวิปัสสนา
2.3.การจัดทำแผนปฏิบัติงาน
โครงการที่ 2 (ข่าวสั้น) *
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างรายได้และอาชีพให้กับประชาชน
1. การทำเชื้อก้อนเห็ด โดยจัดกิจกรรมวันที่ 30 – 31 ตุลาคม 2564
2.การทำขนมดอกจอก และการทำนมสดผลไม้ตามฤดูการ
โดยจัดกิจกรรมวันที่ 1 – 2 ตุลาคม 2564
โครงการที่ 3 (ข่าวสั้น)
การปลูกฟ้าทะลายโจร
ต้นใช้พื้นที่ในการปลูกประมาณ3*1 เมตร ทั้งตำบลปลูก 346 ต้น
ใช้พื้นที่ประมาณ 87*29 เมตร