คลองน้อย เมืองสุราษ สุราษฎร์ธานี
ประวัติตำบล
ตำบลคลองน้อย แรกเริ่มเดิมมีชื่อว่า ตำบลป่าเหล้า โดยการตั้งชื่อตามเจ้าที่คือ พ่อตาเหล้า แม่ยายเศร้าสร้อย โดยเอาชื่อของตามาตั้งคือ พ่อตาเหล้า มาตั้งเป็นชื่อตำบลป่าเหล้า เพราะสภาพในตอนนั้นเป็นป่ามาก ตำบลป่าเหล้ามีกำนันคนแรกชื่อ ขุนรัตนมาล เป็นกำนันจนครบเกษียณอายุราชการ ต่อมามี พันเขียน เทพพิพิธ เป็นกำนันแทน สมัยนั้นมีการตั้งเป็นก๊กอั้งยี่ (เจ้าพ่อในปัจจุบัน) สามารถคุ้มครองหมู่บ้านได้และมีลูกบ้านเป็นสมาชิก ถ้าหากใครเป็นสมาชิกจะมีที่ตักน้ำซึ่งเรียกว่า หมาตักน้ำ (ทำด้วยกาบหมาก) แขวนไว้ที่หน้าบ้านริมคลอง การปกครองสมัยนั้นบ้านเมืองยุ่งเหยิงมาก และกำนันได้ถูกทางราชการจับตัวไปทิ้งที่แม่น้ำโขง (ตามข่าวที่ทราบ) เมื่อสิ้นสมัยของ พันเขียน เทพพิพิธ บุตรชายพันเขียน เป็นกำนันแทน และได้เปลี่ยนชื่อตำบลป่าเหล้ามาเป็นตำบลคลองน้อย จนกระทั่งปัจจุบันมีนายเดชารัตน์ เครือรัตน์ เป็นกำนัน แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน การตั้งถิ่นฐานมีขึ้นตั้งแต่เมื่อใด ไม่อาจทราบได้ ชาวบ้านตำบลคลองน้อยมีทั้งคนพื้นเพดั้งเดิมและคนที่อพยพถิ่นฐานมาจากที่อื่น เช่น เพชรบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร ซึ่งภาษาพูดมีทั้งภาษากลางและภาษาท้องถิ่นของภาคใต้ ประเพณีดั้งเดิม มีการทำบุญเดือนสิบ วันสงกรานต์ วันปีใหม่ วันตรุษจีนไทย การบวชนาค เป็นต้น
แผนที่
อินโฟกราฟิก
โครงการที่ 1
วันที่ 14 กรกฎาคม 2564
ทางกลุ่มวิศวกรสังคมตำบลคลองน้อย อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมโครงการน้ำพริกกระท้อน ซึ่งได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.สุกัญญา ไหมเครือแก้ว อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มาเป็นวิทยากรอบรมเกี่ยวกับการยืดอายุการเก็บรักษาน้ำพริกกระท้อนให้ยาวนานขึ้นแก่ชาวบ้านที่เข้าร่วม ณ สถานที่ประชุม อบต. ตำบลคลองน้อย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
โครงการที่ 2
วันที่ 15 กรกฎาคม 2564
ทางกลุ่มวิศวกรสังคมตำบลคลองน้อย อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมโครงการศูนย์ฝึกลิง ซึ่งได้รับเกียรติจาก อาจารย์ กนกวรรณ แก้วแกะสะบ้า อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มาเป็นวิทยากรอบรมเกี่ยวกับการสร้างสื่อออนไลน์ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวศูนย์ฝึกลิง ณ สถานที่ประชุม อบต. ตำบลคลองน้อย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
โครงการที่ 3
วันที่ 13 ตุลาคม 2564
ทางกลุ่มวิศวกรสังคมตำบลคลองน้อย อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมโครงการสบู่เปลือกกระท้อน ซึ่งได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ลักษมี ชัยเจริญวิมลกุล อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มาเป็นวิทยากรอบรมเกี่ยวกับการการทำสบู่จากเปลือกกระท้อน สถานที่จัดอบรมปาล์มแปลงใหญ่หมู่ 9 เพื่อให้ชาวบ้านสามารถนำความรู้ที่ได้จากอบรมและลงมือทำ นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันและผลิตเพื่อจำหน่ายให้เกิดรายได้ที่มั่นคงแก่ชุมชน
กิจกรรม 1
23 พฤษภาคม 2564
ทางกลุ่มวิศวกรสังคมตำบลคลองน้อย อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ได้ร่วมกันทำกิจกรรม Covid-19 Week โดยมีการแจกแมส แอลกอฮอล์ และอุปกรณ์ต่างๆในการป้องกันเชื้อ Covid-19 พร้อมทั้งร่วมกันทำความสะอาดสถานที่จัดกิจกรรม
กิจกรรม 2
ปลูกฟ้าทะลายโจร
จำนวน: 50 ต้น สถานที่ปลูก: วัดบุณบันเทิง ม.2 ต.คลองน้อย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี
ขนาดพื้นที่ปลูก: 50 ตะรางเมตร
Facebook Page : https://www.facebook.com
E-Book หนังสือประวัติศาสตร์ : https://anyflip.com/bookcase/tiqtp