skip to Main Content

พนม พนม สุราษฎร์ธานี

พนม พนม สุราษฎร์ธานี ตำบลพนม อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานีซึ่งเป็นตำบล 1 ในจำนวน 6 ตำบลของอำเภอ โดยใช้ถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 (สุราษฎร์-ตะกั่วป่า) มีเนื้อที่ทั้งหมด 134.67 ตารางกิโลเมตร ประมาณ 84,229 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ในเขตความผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลพนม จำนวน 70.754 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 44,109 ไร่ ส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่ในเขตรับผิดชอบของเทศบาลตำบลพนม

มะลวน พุนพิน สุราษฎร์ธานี

มะลวน พุนพิน สุราษฎร์ธานี ลวนมาจากคำว่า “ม้าล้วง “ เนื่องจากมีวัดอยู่วัดหนึ่ง ตั้งอยู่ตรงข้ามกับองค์การบริหาส่วนตำบลมะลวนในปัจจุบัน ฝั่งคลองทางทิศใต้ วัดนี้ไม่มีประวัติศาสตร์ว่าได้สร้างขึ้นในสมัยใด แต่ได้ตั้งขึ้นภายหลังที่ได้ก่อสร้างวัดน้ำรอบ

ย่านยาว คีรีรัฐนิคม สุราษฎร์ธานี

ย่านยาว คีรีรัฐนิคม สุราษฎร์ธานี ตำบลย่านยาวตั้งอยู่บริเวณลุ่มน้ำพุมดวงในอดีต ประชาชน ส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ ริมฝั่งแม่น้ำ เพราะต้องอาศัยเส้นทางคมนาคมที่สำคัญสายหนึ่ง ของอำเภอ คีรีรัฐนิคม เริ่ม จากบริเวณอำเภอบ้านตาขุน ที่เรียกว่า ."เขาวง" ผ่านเข้าสู่ ตำบลย่านยาว แนวฝั่งคลองเป็นแนวตรงตลอด ประชากรบริเวณนี้ จึงเรียกชื่อตามตำบลของตนเองว่า "ย่านยาว"

กะเปา คีรีรัฐนิคม สุราษฎร์ธานี

กะเปา คีรีรัฐนิคม สุราษฎร์ธานี สงครามเดินทางมาสงครามเดินทางมาทางทิศตะวันออกมาพักอาศัยอยู่ที่บ้านทุ่งสะท้อนได้ เห็นหวานพรวนมีมากจึงตัดหนากหวายพรวนมาทำที่ดักปลาตามร่องน้ำสานให้ปากกว้างเครื่องมือนี้ เรียกว่าเปาต่อมาได้มีประกาศให้ทุกแห่งที่มีคนอาศัยตั้งชื่อหมู่บ้านชาวบ้านเห็นมี เปาที่ใช้ทำงานหาเลี้ยงปากท้องจึงพี้อมใจตั้งชื่อว่าเปา ต่อมาได้สถาปนาเป็นตำบลเลยเพิ่มเลยเพิ่มคำว่ากระขึ้นมาเพื่ เพื่อให้คำดูสวยยิ่งขึ้น

ถ้ำสิงขร คีรีรัฐนิคม สุราษฎร์ธานี

ถ้ำสิงขร คีรีรัฐนิคม สุราษฎร์ธานี ตำบลถ้ำสิงขร อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นพื้นที่ ที่มีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบสูงทางด้านทิศใต้ ลาดต่ำมาทางทิศเหนือสู่คลองพุมดวง มีภูเขาหิน 2 ลูก คือ เขาน้อยและเขาถ้ำสิงขร โดยพื้นที่มีลำคลองสายหลัก 2 สาย คือ คลอง   พุมดวงและคลองแทง

บ้านเสด็จ เคียนซา สุราษฎร์ธานี

บ้านเสด็จ เคียนซา สุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ในฝั่งตะวันออกของภาคใต้ โดยมีสภาพภูมิประเทศที่หลากหลายทั้งที่ราบสูง ภูมิประเทศแบบภูเขา รวมทั้งที่ราบชายฝั่ง มีพื้นที่ครอบคลุมถึงในบริเวณอ่าวไทย ทั้งบริเวณที่เป็นทะเลและเป็นเกาะ

ปังหวาน พะโต๊ะ ชุมพร

ปังหวาน พะโต๊ะ ชุมพร  ตำบลปังหวาน  แต่เดิมเรียกชื่อว่า บ้านมะปรางหวาน ซึ่งมีความเป็นมา ดังนี้ เมื่อก่อนการคมนาคมส่วนมากจะเป็นทางน้ำ โดยมีแม่น้ำสายหลัก คือ แม่น้ำหลังสวน และมีน้ำที่ใหญ่มาก มีหาดทรายกว้าง เป็นที่จอดเรือและแพเพื่อพักแรม และทานอาหาร โดยที่ท่าน้ำที่มีผู้มาจอดพักมีต้นมะปรางหวานต้นใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง ซึ่งเรียกท่าน้ำนี้ว่า ท่าน้ำมะปรางหวาน นามมาก็เพี้ยนมาเป็นบ้านปังหวาน

ทุ่งตะไคร ทุ่งตะโก ชุมพร

ทุ่งตะไคร ทุ่งตะโก ชุมพร ประวัติความเป็นมาของตำบลทุ่งตะไคร อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร นั้นเดิมเรียกว่าบ่อตะไคร ต่อมามีประชาชนเข้ามาอาศัยอยู่มาก ประกอบกับพื้นที่เหมาะแก่การทำนา เนื่องจากพื้นที่ต่ำ ประชาชนจึงบุกเบิกเพื่อขยายทุ่งนา เพื่อปลูกข้าวมากขึ้นเป็นทุ่งกว้าง จึงเปลี่ยนมาเป็นชื่อทุ่งตะไคร้ และเพี้ยนเป็นทุ่งตะไครจนถึงปัจจุบัน

พระรักษ์ พะโต๊ะ ชุมพร

พระรักษ์ พะโต๊ะ ชุมพร    ประวัติความเป็นมาชาวบ้านเล่าว่า เมื่อก่อนบริเวณนี้เป็นป่าที่มีความร่มรื่นมาก  ใครเดินไปมามักจะนอนพักบริเวนนี้และยังมีชาวบ้านเล่าว่ามีพระธุดงค์มักชอบเดินเข้าไปในป่าเพื่อปักกรดหาไม่เว้นแต่ละวัน และมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ชาวบ้านเห็นว่ามีพระภิกษุจำนวนมากและคิดว่าพระรักษาคุ้มครอง จึงเรียกติดปากว่า พระรักษ์ จนถึงปัจจุบัน

ท่าข้าม พุนพิน สุราษฎร์ธานี

ท่าข้าม พุนพิน สุราษฎร์ธานี   “ตำบลท่าข้าม” แต่ก่อนนั้นความเจริญของตลาดท่าข้าม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำตาปี มีการเข้ามาตั้งรกรากกันในยุคแรก ๆ จากนั้นผู้คนเริ่มทยอยเข้ามาปักหลักอยู่อาศัยและค้าขายมากขึ้น เช่น ขุนประกิต กาญจนเขตร (ขาบ วิชัยดิษฐ์) อดีตกำนันตำบลทุ่งกง อำเภอกาญจนดิษฐ์ นายผิน คชรักษ์ มาสร้างบ้านหลังใหญ่กว่าใครในสมัยนั้น นอกจากนี้ก็มีชาวจีนเชื้อสายไหหลำเข้ามาตั้งถิ่นฐาน เมื่อชุมชนเติบโตมากขึ้นบ้านเรือนก็เพิ่มขึ้นบนถนนดินสายแคบ ๆ 
Back To Top